พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 505/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงเพิ่มเติมจากสัญญาค้ำประกันและการยึดโฉนดที่ไม่เข้าข่ายจำนอง
เจ้าหนี้เงินกู้จะนำพยานบุคคลมาสืบว่ามีข้อตกลงว่าผู้ค้ำประกันยอมให้เจ้าหนี้ยึดโฉนดที่นาไว้เป็นประกันหนี้นั้นอีกได้แม้ข้อตกลงนั้นจะไม่ได้ระบุไว้ในสัญญาไม่เป็นการสืบเพิ่มเติมเอกสารสัญญาค้ำประกันตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 94(ข) เพราะข้อตกลงนั้นเป็นสัญญาซึ่งตกลงต่างหากจากสัญญาค้ำประกัน และไม่มีกฎหมายบังคับว่าต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ
การที่ผู้ค้ำประกันตกลงให้เจ้าหนี้เงินกู้ยึดโฉนดไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนดังกล่าวนั้นไม่เข้าลักษณะจำนอง
การที่ผู้ค้ำประกันตกลงให้เจ้าหนี้เงินกู้ยึดโฉนดไว้จนกว่าจะได้รับชำระหนี้ครบถ้วนดังกล่าวนั้นไม่เข้าลักษณะจำนอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2493 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม้ซุง: ข้อตกลงเพิ่มเติมที่ไม่ปรากฏในสัญญา และการงดสืบพยานที่ไม่น่าเชื่อถือ
เมื่อข้อสัญญามีความชัดว่าการนำไม้จากป่ามากรุงเทพฯ เป็นหน้าที่ของจำเลย จำเลยกลับจะขอนำสืบว่า ก่อนทำสัญญาโจทก์ได้ตกลงด้วยวาจาเป็นผู้จัดหาช้างงัดไม้ลงน้ำให้ ดังนี้ แม้ไม่ต้องห้ามตาม ป.ม.วิ.แพ่งมาตรา 94 เมื่อสืบตัวจำเลยแล้วศาลเห็นว่าไม่สมเหตุผลก็สั่งงดสืบพยานอื่นของจำเลยที่เป็นเพียงพยานประกอบได้
เงินที่วางศาลไว้ในระหว่างคดยังไม่ถึงที่สุดไม่มีกฎหมายให้ศาลต้องจ่ายให้แก่ผู้ชนะทันทีในเมื่ออีกฝ่ายยังคัดค้านอยู่
เงินที่วางศาลไว้ในระหว่างคดยังไม่ถึงที่สุดไม่มีกฎหมายให้ศาลต้องจ่ายให้แก่ผู้ชนะทันทีในเมื่ออีกฝ่ายยังคัดค้านอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 645/2493
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายไม้ซุง: ข้อตกลงเพิ่มเติมที่ไม่ปรากฏในสัญญา และการจ่ายเงินวางศาล
เมื่อข้อสัญญามีความชัดว่าการนำไม้จากป่ามากรุงเทพฯเป็นหน้าที่ของจำเลย จำเลยกลับจะขอนำสืบว่า ก่อนทำสัญญาโจทก์ได้ตกลงด้วยวาจาเป็นผู้จัดหาช้างงัดไม้ลงน้ำให้ ดังนี้ แม้ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 เมื่อสืบตัวจำเลยแล้วศาลเห็นว่าไม่สมเหตุผลก็สั่งงดสืบพยานอื่นของจำเลยที่เป็นเพียงพยานประกอบได้
เงินที่วางศาลไว้ในระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดไม่มีกฎหมายให้ศาลต้องจ่ายให้แก่ผู้ชนะทันทีในเมื่ออีกฝ่ายยังคัดค้านอยู่
เงินที่วางศาลไว้ในระหว่างคดียังไม่ถึงที่สุดไม่มีกฎหมายให้ศาลต้องจ่ายให้แก่ผู้ชนะทันทีในเมื่ออีกฝ่ายยังคัดค้านอยู่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 654/2482
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือ ข้อตกลงเพิ่มเติมด้วยวาจาใช้ไม่ได้ และจำเลยจะอ้างว่าโจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่าไม่ได้หากได้ใช้ทรัพย์สินไปแล้ว
สัญญาเช่าโกดัง เป็นสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์ ต้องมีหลักฐานเป็นหนังสือตาม ป.ม.แพ่งฯมาตรา 538 ฉะนั้น ผู้เช่าจะขอนำสืบพยานบุคคลว่านอกจากที่ปรากฎในข้อสัญญาเช่า ที่ทำกันไว้เป็นลายลักษณ์อักษรแล้ว ยังมีข้อตกลงด้วยวาจาเพิ่มเติมต่อไปอีก รวม 4 ข้อ หาได้ไม่เพราะข้อตกลงนั้นย่อมเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเช่าอสังหาริมทรัพย์นั้นเอง จึงต้องห้ามตามมาตรา 44 แห่งป.ม.วิ.แพ่ง.
จำเลยผู้เช่าได้ทำสัญญาเช่าโกดังจากโจทก์ และจำเลยได้ใช้ทรัพย์ที่เช่าคือโกดังและได้ชำระค่าเช่า แก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว จำเลยจะต่อสู้ว่าโกดังเป็นของผู้อื่น โจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่านั้น ไม่ได้.
จำเลยผู้เช่าได้ทำสัญญาเช่าโกดังจากโจทก์ และจำเลยได้ใช้ทรัพย์ที่เช่าคือโกดังและได้ชำระค่าเช่า แก่โจทก์ตามสัญญาแล้ว จำเลยจะต่อสู้ว่าโกดังเป็นของผู้อื่น โจทก์ไม่มีสิทธิให้เช่านั้น ไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2521/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: การแก้ไขเพิ่มเติมข้อตกลงด้วยวาจาขัดกับหลักฐานหนังสือ และผลของการผิดสัญญา
การจะซื้อขายระหว่างโจทก์กับจำเลยเป็นการจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งกฎหมายกำหนดรูปแบบและหลักฐานในการทำสัญญากันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสอง ว่า สัญญาจะขายหรือจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ จากบทกฎหมายดังกล่าว หากคู่สัญญาจะทำสัญญาจะซื้อขายให้มีผลทางกฎหมายในการฟ้องร้องบังคับกันได้ ต้องเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คือ ทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือวางประจำหรือมัดจำ หรือมีการชำระหนี้บางส่วน เมื่อโจทก์และจำเลยเลือกรูปแบบของสัญญาโดยทำสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำกันไว้ ถือเป็นกรณีทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใด โดยลงลายมือชื่อโจทก์และจำเลยไว้เพื่อให้คู่สัญญาฟ้องบังคับฝ่ายที่ผิดสัญญาได้ จึงเป็นกรณีที่หากฟ้องร้องบังคับคดีต้องมีสัญญาจะซื้อขายมาแสดงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ดังนั้น การที่โจทก์นำสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างเพิ่มเติมว่ายังมีข้อตกลงด้วยวาจาว่า ก่อนทำสัญญาจำเลยแจ้งต่อโจทก์ว่ามีถนนทางผ่านเข้าออกไปยังที่ดินพิพาทเชื่อมกับถนนสาธารณะ จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข) ปัญหาข้อนี้แม้จะมิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 8 แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งคู่ความที่เกี่ยวข้องย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคสอง (เดิม) ซึ่งใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง ข้อเท็จจริงแห่งคดีจึงรับฟังไม่ได้ว่ามีข้อตกลงเรื่องถนนเชื่อมผ่านตามที่โจทก์กล่าวอ้าง จำเลยมิได้เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่อาจบอกเลิกสัญญาและเรียกร้องเงินมัดจำคืน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 15379/2555
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อจะขาย: การชำระราคาเป็นเงื่อนไขสำคัญ และการนำสืบข้อตกลงเพิ่มเติม
ตามหนังสือสัญญาซื้อขายมีข้อความว่า โจทก์ขายบ้านพร้อมที่ดินและกิจการน้ำดื่มแก่จำเลยที่ 1 เป็นเงิน 2,000,000 บาท และยอมส่งมอบทรัพย์สินที่ขายให้แก่จำเลยที่ 1 ในวันเดียวกัน แม้หนังสือสัญญาซื้อขายจะระบุชื่อชัดเจนว่าเป็นหนังสือสัญญาซื้อขายอันอาจจะแปลได้ว่าเป็นสัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด แต่เมื่อพิจารณาเนื้อหาความตกลงในสัญญาโดยเฉพาะสัญญาข้อ 5 ที่ระบุว่าผู้ซื้อต้องชำระราคาทรัพย์สินที่ซื้อให้แก่ผู้ขายให้ครบจำนวนภายในเวลา 1 ปี หากผู้ซื้อไม่ปฏิบัติตามถือว่าสัญญาเป็นโมฆะ เป็นที่เห็นได้ว่าการซื้อขายที่ดินยังไม่อาจโอนกรรมสิทธิ์แก่กันได้ จำต้องอาศัยผลของการชำระเงินเป็นเงื่อนไข จึงแสดงถึงเจตนาของคู่สัญญาว่ามีเจตนาจะไปโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินกันในภายหลังแม้โจทก์ส่งมอบที่ดินที่ซื้อขายแก่จำเลยที่ 1 แล้ว แต่จำเลยที่ 1 มีหน้าที่ต้องปฏิบัติการชำระหนี้ต่อโจทก์ สัญญาดังกล่าวจึงเป็นสัญญาจะซื้อจะขาย หาใช่สัญญาซื้อขายเสร็จเด็ดขาด
หนังสือสัญญาซื้อขายไม่ได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขาย การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าที่ดินที่โจทก์ขายให้แก่จำเลยทั้งสองรวมที่ดินของ ว. และ ห. เนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ในรั้วที่ดินที่โจทก์นำชี้ด้วย และโจทก์ไม่สามารถโอนที่ดินเนื้อที่ 3 งาน ให้แก่จำเลยทั้งสองได้ โจทก์และจำเลยทั้งสองจึงตกลงกันให้หักราคาที่ดินเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งเป็นของ ว. และ ห. เป็นเงิน 300,000 บาท ออกจากราคาที่ดิน 2,000,000 บาท ตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นการนำสืบถึงข้อตกลงต่างหากจากสัญญาซื้อขายดังกล่าวว่าได้มีการตกลงในการชำระราคาที่ดินที่ซื้อขายกันอย่างไร มิได้เป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาซื้อขาย จำเลยย่อมนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
หนังสือสัญญาซื้อขายไม่ได้ระบุจำนวนเนื้อที่ดินที่ซื้อขาย การที่จำเลยทั้งสองนำสืบว่าที่ดินที่โจทก์ขายให้แก่จำเลยทั้งสองรวมที่ดินของ ว. และ ห. เนื้อที่ 3 งาน ซึ่งอยู่ในรั้วที่ดินที่โจทก์นำชี้ด้วย และโจทก์ไม่สามารถโอนที่ดินเนื้อที่ 3 งาน ให้แก่จำเลยทั้งสองได้ โจทก์และจำเลยทั้งสองจึงตกลงกันให้หักราคาที่ดินเนื้อที่ 3 งาน ซึ่งเป็นของ ว. และ ห. เป็นเงิน 300,000 บาท ออกจากราคาที่ดิน 2,000,000 บาท ตามสัญญาซื้อขาย จึงเป็นการนำสืบถึงข้อตกลงต่างหากจากสัญญาซื้อขายดังกล่าวว่าได้มีการตกลงในการชำระราคาที่ดินที่ซื้อขายกันอย่างไร มิได้เป็นการนำสืบหักล้างหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในเอกสารสัญญาซื้อขาย จำเลยย่อมนำสืบได้ ไม่เป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14241/2553
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์: ข้อตกลงเพิ่มเติมทางวาจาขัดแย้งกับหลักฐานหนังสือ
สัญญาระหว่างโจทก์และจำเลยเป็นการจะซื้อขายอสังหาริมทรัพย์ซึ่งกฎหมายกำหนดรูปแบบและหลักฐานในการทำสัญญากันไว้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 วรรคสองว่า สัญญาจะขายหรือจะซื้ออสังหาริมทรัพย์ถ้ามิได้มีหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญหรือได้วางประจำไว้ หรือได้ชำระหนี้บางส่วนแล้ว ท่านว่าจะฟ้องร้องให้บังคับคดีหาได้ไม่ จากบทกฎหมายดังกล่าว หากคู่สัญญาจะทำสัญญาจะซื้อขายให้มีผลทางกฎหมายในการฟ้องร้องบังคับคดีกันได้ต้องเลือกกระทำอย่างใดอย่างหนึ่ง คือทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดลงลายมือชื่อฝ่ายผู้ต้องรับผิดเป็นสำคัญ หรือวางประจำ หรือมัดจำ หรือมีการชำระหนี้บางส่วน เมื่อโจทก์และจำเลยเลือกรูปแบบของสัญญาโดยทำสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำกันไว้ ถือเป็นกรณีทำหลักฐานเป็นหนังสืออย่างหนึ่งอย่างใดโดยลงลายมือชื่อโจทก์จำเลยไว้เพื่อให้คู่สัญญาฟ้องบังคับฝ่ายที่ผิดสัญญาได้ จึงเป็นกรณีที่หากฟ้องร้องบังคับคดีต้องมีสัญญาจะซื้อขายมาแสดงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 ดังนั้น จำเลยจะขอสืบพยานบุคคลประกอบข้ออ้างอย่างใดอย่างหนึ่ง เมื่อนำสัญญาจะซื้อขายหรือสัญญาวางมัดจำมาแสดงแล้ว อ้างว่ายังมีข้อตกลงด้วยวาจาว่าโจทก์จะชำระเงินที่เหลือภายใน 1 เดือน จึงต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94 (ข)