พบผลลัพธ์ทั้งหมด 32 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4138-4139/2529 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำให้การ/คำเบิกความในคดีอื่นมิใช่ข้อผูกพัน มิให้เปลี่ยนแปลงข้อเท็จจริงในคดีปัจจุบัน ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานประกอบ
ในประเด็นว่า โจทก์เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ห้องพิพาทหรือไม่นั้นลำพังเพียงแต่โจทก์ยื่นคำให้การไว้ในคดีแพ่งคดีหนึ่งว่า โจทก์มิได้เป็นเจ้าของห้องแถวพิพาท กับโจทก์ได้เบิกความไว้ในคดีแพ่งอีกคดีหนึ่งว่าจำเลยเป็นผู้เช่าที่ดินโจทก์ปลูกห้องพิพาทเองนั้น ไม่ถึงกับปิดปากโจทก์มิให้เถียงเป็นอย่างอื่นได้ คำให้การและคำเบิกความรับของโจทก์ในคดีเรื่องอื่นถือว่าเป็นเพียงพยานหลักฐานที่จำเลยจะนำสืบอ้างอิงมายันโจทก์เท่านั้น ส่วนการที่ศาลจะรับฟังว่าห้องพิพาทเป็นกรรมสิทธิ์ของโจทก์หรือไม่ เป็นเรื่องที่ศาลจะใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของคู่ความทั้งสองฝ่ายต่อไป การที่ศาลชั้นต้นสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยแล้วด่วนวินิจฉัยว่าห้องพิพาทมิใช่กรรมสิทธิ์ของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อบังคับกองทุนบำเหน็จไม่ผูกพันลูกจ้างเก่า และการแก้ไขข้อบังคับโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ข้อบังคับโรงงานน้ำตาล กรมโรงงานอุตสาหกรรม ว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขในการจ่ายเงินบำเหน็จแตกต่างจากค่าชดเชยตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานข้อ 46 เพราะตามข้อบังคับดังกล่าวข้อ 10 นั้น แม้กรณีที่พนักงานตายหรือลาออกก็มีสิทธิได้รับบำเหน็จ ถือได้ว่าเงินบำเหน็จตามข้อบังคับของจำเลยเป็นเงินประเภทอื่นซึ่งนายจ้างตกลงจ่ายให้แก่ลูกจ้าง แม้ข้อบังคับข้อ 12 วรรคแรกจะระบุว่า 'พนักงานที่ออกจากงานโดยมีสิทธิได้รับค่าชดเชยตามกฎหมายเกี่ยวกับแรงงานแล้วไม่มีสิทธิได้รับเงินบำเหน็จตามข้อบังคับนี้ แต่ถ้าค่าชดเชยที่มีสิทธิได้รับนั้นต่ำกว่าเงินบำเหน็จที่จะได้รับตามข้อบังคับนี้ ก็ให้จ่ายเพิ่มให้เท่าจำนวนที่ต่ำกว่านั้น' ก็ตาม แต่ความในวรรคสองของข้อบังคับดังกล่าวก็ระบุว่า 'ความในวรรคแรก มิให้ใช้บังคับกับพนักงานที่เข้าทำงานอยู่ก่อนวันที่ 30 พฤษภาคม 2526' เมื่อปรากฏว่าโจทก์เข้าทำงานตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2509 ข้อบังคับนี้จึงไม่มีผลใช้บังคับแก่โจทก์
การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2527 ระบุยกเว้นมิให้ถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย และข้อบังคับใหม่ก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างข้อบังคับในส่วนนี้จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
การที่จำเลยแก้ไขเพิ่มเติมข้อบังคับว่าด้วยกองทุนบำเหน็จ พ.ศ. 2527 ลงวันที่ 26 มิถุนายน 2527 ระบุยกเว้นมิให้ถือว่าค่าครองชีพเป็นค่าจ้างด้วยนั้นถือได้ว่าเป็นการแก้ไขข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างโดยไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมาย และข้อบังคับใหม่ก็ไม่เป็นคุณแก่ลูกจ้างข้อบังคับในส่วนนี้จึงไม่มีผลผูกพันโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1634/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผูกพันตามหนังสือให้คำมั่นซื้อขายที่ดิน: กำหนดระยะเวลาและผลของการไม่ปฏิบัติตาม
หนังสือให้คำมั่นของโจทก์ที่ให้ไว้แก่จำเลยระบุไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่า จำเลยต้องยื่นคำเสนอว่าจะซื้อที่พิพาทคืนภายในกำหนดเวลา 2 ปีนับแต่วันที่ 14 ธันวาคม 2515 การที่จำเลยเพิ่งเสนอว่าจะซื้อที่พิพาทคืนเมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน 2522. จึงล่วงเลยกำหนดระยะเวลาตามคำมั่นเสียแล้ว คำเสนอขอซื้อของจำเลยจึงไร้ผล
การที่ศาลชั้นต้นในคดีอื่นมีคำสั่งห้ามโอนที่พิพาทเป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น มิได้เป็นข้อห้ามหรือขัดข้องแก่การที่จำเลยจะยื่นคำเสนอขอซื้อที่พิพาทคืน เพราะการเสนอขอซื้อเป็นคนละขั้นตอนกับการจำหน่ายจ่ายโอน คำสั่งห้ามชั่วคราวดังกล่าวจึงไม่มีผลให้ระยะเวลาตามคำมั่นต้องสะดุดหยุดลง
ข้อฎีกาที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่ศาลชั้นต้นในคดีอื่นมีคำสั่งห้ามโอนที่พิพาทเป็นการชั่วคราวจนกว่าคดีจะถึงที่สุดนั้น มิได้เป็นข้อห้ามหรือขัดข้องแก่การที่จำเลยจะยื่นคำเสนอขอซื้อที่พิพาทคืน เพราะการเสนอขอซื้อเป็นคนละขั้นตอนกับการจำหน่ายจ่ายโอน คำสั่งห้ามชั่วคราวดังกล่าวจึงไม่มีผลให้ระยะเวลาตามคำมั่นต้องสะดุดหยุดลง
ข้อฎีกาที่จำเลยมิได้ให้การต่อสู้ไว้ เป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาในศาลชั้นต้นศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1446/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผูกพันคำพิพากษาคดีแพ่งในคดีอาญา: ศาลอาญาต้องพิจารณาพยานหลักฐานอย่างอิสระ
ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้ศาลที่พิจารณาคดีอาญาจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนแพ่ง เพราะหลักการวินิจฉัยชั่งน้ำหนักคำพยานในคดีแพ่งและคดีอาญาไม่เหมือนกัน ในคดีแพ่งศาลจะชั่งน้ำหนักคำพยานว่าฝ่ายใดมีน้ำหนักน่าเชื่อถือยิ่งกว่ากัน แต่ในคดีอาญาศาลจะต้องใช้ดุลพินิจชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานทั้งปวงจนกว่าจะแน่ใจว่าพยานโจทก์พอรับฟังลงโทษจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่ง แม้จะผูกพันโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีแพ่งนั้น ก็เป็นการผูกพันเฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น และเป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ในคดีอาญาว่า ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักพอรับฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่เท่านั้น แต่จะรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเพียงอย่างเดียวมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีอาญา โดยมิได้สืบพยานโจทก์จำเลยให้สิ้นกระแสความเสียก่อน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่ง แม้จะผูกพันโจทก์จำเลยซึ่งเป็นคู่ความในคดีแพ่งนั้น ก็เป็นการผูกพันเฉพาะในทางแพ่งเท่านั้น และเป็นเพียงพยานหลักฐานที่ศาลจะนำมาชั่งน้ำหนักประกอบพยานหลักฐานของโจทก์ในคดีอาญาว่า ข้อเท็จจริงมีน้ำหนักพอรับฟังว่าจำเลยได้กระทำผิดจริงหรือไม่เท่านั้น แต่จะรับฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเพียงอย่างเดียวมาวินิจฉัยชี้ขาดคดีอาญา โดยมิได้สืบพยานโจทก์จำเลยให้สิ้นกระแสความเสียก่อน ย่อมเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3424/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงขึ้นค่าจ้าง: การตีความขอบเขตและระยะเวลาของข้อผูกพัน
ข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างระหว่างโจทก์จำเลยมีความว่านายจ้างตกลงขึ้นค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างประจำที่ทำงานครบ180 วันทุกคนวันละ 4 บาท โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 21 กันยายน 2518 ฝ่ายลูกจ้างจะไม่เรียกร้องขึ้นค่าจ้างอีก จนถึงกำหนดการพิจารณาขึ้นค่าจ้างประจำปีดังนี้หมายความว่าลูกจ้างที่ทำงานครบ 180 วัน ในวันทำข้อตกลงคือวันที่ 20 กันยายน 2518 จะได้ขึ้นค่าจ้างวันละ4 บาท โดยเริ่มขึ้นค่าจ้างให้ในวันที่ 21 กันยายน2518 ไม่มีข้อความตอนใดมีความหมายว่านายจ้างจะต้องขึ้นค่าจ้างให้ลูกจ้างอีกต่อไปทุกปี เมื่อปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติตามข้อตกลงโดยขึ้นค่าจ้างให้ลูกจ้างในพ.ศ.2518 แล้วกรณีจึงไม่มีเหตุที่โจทก์จะเรียกร้องให้จำเลยขึ้นค่าจ้างอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2123/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาต่างตอบแทน, การโอนสิทธิ, ผู้เช่าเดิม: โจทก์ต้องผูกพันตามสัญญาเช่าเดิมเมื่อซื้อที่ดินและยอมรับข้อผูกพัน
สัญญาต่างตอบแทนให้สร้างตึกเช่า 15 ปี แต่ไม่ได้จดทะเบียนผู้ให้เช่าขายที่ดินโดยผู้ซื้อบันทึกยอมรับข้อผูกพันเดิม จึงมีผลถึงสัญญาตอบแทนที่ชำระหนี้แก่คนภายนอกด้วย ผู้ซื้อต้องให้ผู้เช่าเช่าต่อไปตามสัญญาเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1324/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงพยานคนกลางมีผลผูกพัน หากพยานเบิกความสมฝ่ายใด ฝ่ายนั้นชนะคดี การอ้างเหตุอื่นนอกคำตกลงถือเป็นการนอกคำท้า
คู่ความท้ากันให้ อ. เป็นพยานคนกลางสาบานตนเบิกความต่อศาลว่า ที่พิพาททั้งสามแปลงเป็นของโจทก์หรือของจำเลยหาก อ. เบิกความสมฝ่ายใด ให้ฝ่ายนั้นเป็นฝ่ายชนะคดี ดังนี้ เมื่อ อ. พยานคนกลางเบิกความว่า จำเลยได้ร่วมทำกินในที่พิพาททั้งสามแปลงกับมารดาและพี่น้องของจำเลย จำเลยเป็นผู้แจ้งการครอบครองที่ดินพิพาท โจทก์ไม่เคยเข้าเกี่ยวข้อง จึงเป็นคำเบิกความที่เจือสมฝ่ายจำเลย โจทก์จึงต้องเป็นฝ่ายแพ้คดี โจทก์จะอ้างว่าคำเบิกความของพยานคนกลางไม่ตรงกับข้อกฎหมายเรื่องการครอบครองจำเลยพิสูจน์ไม่ได้ว่าเป็นผู้ครอบครอง จึงไม่มีสิทธิในที่ดินพิพาทและเอกสาร ส.ค.1 ที่จำเลยอ้างส่งเป็นพยานไม่ถูกต้องเลอะเลือน นั้น ไม่ได้ เพราะเป็นการนอกคำท้า
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 914/2520 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อผูกพันคำพิพากษาคดีอาญาต่อคดีแพ่ง: ศาลพลเรือนต้องถือข้อเท็จจริงจากคำพิพากษาศาลทหาร
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลพลเรือนจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาของศาลทหาร ตามพระราชบัญญัติธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ. 2498 มาตรา 54 เมื่อศาลทหารพิพากษาชี้ขาดข้อเท็จจริงแล้วว่าพยานโจทก์ไม่พอฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ว่าประมาท ข้อเท็จจริงดังกล่าวย่อมผูกพันโจทก์ผู้เป็นผู้เสียหายในคดีอาญาของศาลทหาร การที่โจทก์นำสืบข้อเท็จจริงในคดีส่วนแพ่งใหม่ว่าจำเลยที่ 1 ประมาททำให้โจทก์เสียหาย ศาลจะรับฟังตามที่โจทก์นำสืบหาได้ไม่ เพราะขัดกับข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีอาญาดังกล่าว เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 ประมาททำให้โจทก์เสียหาย จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ด้วย (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 2985/2518)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 725/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาฝึกงานและข้อผูกพันหลังฝึกงาน: สัญญาไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อย แม้มีข้อตกลงเรื่องเงินเดือนที่ไม่เป็นธรรม
โจทก์ออกเงินส่งจำเลยไปฝึกงานที่ญี่ปุ่น จำเลยจะกลับมาทำงานให้โจทก์ 5 ปี ตามอัตราเงินเดือนที่โจทก์กำหนด ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยทำงานให้โจทก์ 1 ปี 3 เดือนก็ลาออกจำเลยผิดสัญญา ศาลให้จำเลยใช้ค่าเสียหาย 45,000 บาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2293/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องกรณีข้อผูกพันก่อนซื้อฝาก และสิทธิอุทธรณ์คำสั่งงดสืบพยาน
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์ทั้งสองเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินร่วมกับเจ้าของรวมอีกคนหนึ่ง โจทก์ได้ครอบครองที่ดินนั้นเป็นส่วนสัดอยู่ก่อนจำเลยได้รับซื้อฝากที่ดินสืบต่อมาจากเจ้าของรวมคนนั้นแล้ว และจำเลยได้รู้เห็นยินยอมในการที่โจทก์กับเจ้าของรวมคนดังกล่าวขอรังวัดแบ่งแยกโฉนดไปตามส่วนของที่ดิน ที่โจทก์ครอบครอง ขอบังคับจำเลยให้แบ่งแยกโฉนดตามที่เจ้าพนักงานรังวัดไว้นั้น ดังนี้ เป็นเรื่องที่โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยปฏิบัติตามข้อผูกพันที่จำเลยได้รู้และมีอยู่ก่อนจำเลยได้รับซื้อฝากที่ดิน ไม่ใช่เรื่องฟ้องขอให้บังคับตามสัญญา หรือตามเรื่องประนีประนอมยอมความ กรณีเช่นนี้ แม้มิได้มีหนังสือระหว่างโจทก์จำเลย โจทก์ก็มีอำนาจฟ้องจำเลย
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ตามคำฟ้อง คำให้การ คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ โจทก์ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งได้
การที่ศาลชั้นต้นสั่งว่า ตามคำฟ้อง คำให้การ คดีพอวินิจฉัยได้แล้ว จึงงดสืบพยานแล้วพิพากษาคดีไปโดยข้อกฎหมายนั้น เป็นการที่ศาลวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในข้อกฎหมายซึ่งทำให้คดีเสร็จไปทั้งเรื่องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 24 ไม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 227 ดังนั้น แม้โจทก์จะมิได้โต้แย้งคำสั่งไว้ โจทก์ก็มีสิทธิ์อุทธรณ์คำสั่งได้