พบผลลัพธ์ทั้งหมด 483 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1444/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทเรื่องที่ดิน: การฟ้องแย้งความเป็นเจ้าของและข้อจำกัดการฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อทุนทรัพย์ไม่เกินสองแสนบาท
ประเด็นที่โจทก์ จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมโต้เถียงกันในชั้นฎีกามีว่า ที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน ซึ่งหากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทไม่ใช่สาธารณประโยชน์ โจทก์ย่อมได้ไปซึ่งสิทธิในที่ดินพิพาท แต่หากข้อเท็จจริงฟังได้ว่าที่ดินพิพาทเป็นสาธารณประโยชน์ จำเลยร่วมย่อมมีอำนาจหน้าที่ครอบครองดูแลรักษาและจัดการตามกฎหมาย อันมีผลให้จำเลยทั้งห้ามีหน้าที่ดูแลรักษาและจัดการด้วย ดังนั้น ประโยชน์ที่โจทก์ได้ตามฟ้องหรือประโยชน์ที่จำเลยทั้งห้าและจำเลยร่วมได้ตามคำให้การ รวมทั้งประโยชน์ที่จำเลยทั้งห้าได้ตามฟ้องแย้งย่อมเป็นกรณีพิพาทกันด้วยเรื่องความเป็นเจ้าของแห่งที่ดินพิพาท จึงเป็นคำขอปลดเปลื้องทุกข์ที่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้อันเป็นคดีมีทุนทรัพย์ แม้โจทก์จะมีคำขอห้ามจำเลยทั้งห้าเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาท และจำเลยทั้งห้าฟ้องแย้งห้ามโจทก์เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทมาด้วย ก็เป็นผลต่อเนื่องมาจากประเด็นหลักเรื่องที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์หรือเป็นสาธารณประโยชน์ที่ประชาชนใช้ร่วมกัน เมื่อราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาเป็นจำนวนไม่เกินสองแสนบาท คดีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริง ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8171/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด การบอกเลิกสัญญา และการโอนกรรมสิทธิ์ กรณีมีข้อพิพาทเรื่องการครอบครอง
ผู้ร้องเป็นผู้เข้าประมูลสู้ราคาและซื้อทรัพย์ได้จากการขายทอดตลาดของผู้คัดค้าน ข้อเท็จจริงไม่ได้ความว่า ผู้ร้องแจ้งความประสงค์ต่อผู้คัดค้านว่าจะนำทรัพย์ดังกล่าวไปพัฒนาทางธุรกิจเมื่อใด อย่างไร ที่จะทำให้เห็นว่าการได้รับโอนทรัพย์ดังกล่าวล่าช้าทำให้เสียประโยชน์ในทางธุรกิจของผู้ร้องถึงขนาดที่ว่าที่ดินนั้นหมดประโยชน์แก่ผู้ร้องอีกต่อไป ข้ออ้างดังกล่าวเป็นเรื่องที่ผู้ร้องยกขึ้นกล่าวอ้างภายหลังทั้งสิ้น ทั้งการซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดมีกระบวนการต่างจากการซื้อทรัพย์จากเจ้าของทรัพย์โดยตรง ป.วิ.พ. ว่าด้วยการบังคับตามคำพิพากษาหรือคำสั่งเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายทอดตลาดได้ผู้ร้องย่อมต้องทราบว่าผู้ซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดอาจยังไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นทันที เพราะอาจมีการร้องคัดค้านการขายทอดตลาดดังกล่าว ฉะนั้น จะถือว่าระยะเวลา 4 ปีเศษ เป็นเวลานานเกินสมควรทำให้การชำระหนี้เป็นอันพ้นวิสัยนั้นไม่ได้ ประกอบกับศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ยกคำร้องของ ว. ที่ร้องขอให้เพิกถอนการขายแล้ว ผู้คัดค้านสามารถโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่ผู้ร้องได้ กรณีไม่ต้องด้วย ป.พ.พ. มาตรา 219 และ 388 ผู้ร้องจึงไม่มีสิทธิบอกเลิกสัญญาและขอเงินมัดจำคืน
ตามสัญญาซื้อขายที่ดินมิได้กำหนดเวลาไว้โดยชัดแจ้งว่าผู้คัดค้านจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเมื่อใด และนิติกรรมที่จะเป็นโมฆะตามมาตรา 190 ต้องเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขจะสำเร็จได้หรือไม่สุดแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้ แต่การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ผู้ร้องย่อมทราบว่าอาจไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นทันทีเนื่องจากอาจมีผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายดังกล่าว ซึ่งเหตุที่ทำให้โอนกรรมสิทธิ์ล่าช้าดังกล่าวไม่ใช่การกระทำตามอำเภอใจของผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่สัญญาสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 3 ผู้บริโภคซึ่งเข้าทำสัญญาในฐานะผู้ซื้อที่จะได้รับความคุ้มครองตามความในมาตรา 4 ต้องไม่ได้เข้าทำสัญญาเพื่อการค้าทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใด แต่ตามคำร้องและทางนำสืบของผู้ร้องยืนยันว่าผู้ร้องเข้าซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ทางการค้า ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้บริโภคตามความหมายดังกล่าวทั้งตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวยังกำหนดว่า พ.ร.บ. นี้ไม่ใช้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ซึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2540 โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ผู้ร้องประมูลซื้อทรัพย์และทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2539 ก่อน พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ ใช้บังคับ สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ดังกล่าว
ตามสัญญาซื้อขายที่ดินมิได้กำหนดเวลาไว้โดยชัดแจ้งว่าผู้คัดค้านจะต้องโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่ผู้ร้องเมื่อใด และนิติกรรมที่จะเป็นโมฆะตามมาตรา 190 ต้องเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและเงื่อนไขจะสำเร็จได้หรือไม่สุดแต่ใจของฝ่ายลูกหนี้ แต่การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาด ผู้ร้องย่อมทราบว่าอาจไม่ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์นั้นทันทีเนื่องจากอาจมีผู้มีส่วนได้เสียร้องคัดค้านการขายดังกล่าว ซึ่งเหตุที่ทำให้โอนกรรมสิทธิ์ล่าช้าดังกล่าวไม่ใช่การกระทำตามอำเภอใจของผู้คัดค้านซึ่งเป็นคู่สัญญาสัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่เป็นโมฆะ
พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ มาตรา 3 ผู้บริโภคซึ่งเข้าทำสัญญาในฐานะผู้ซื้อที่จะได้รับความคุ้มครองตามความในมาตรา 4 ต้องไม่ได้เข้าทำสัญญาเพื่อการค้าทรัพย์สิน บริการ หรือประโยชน์อื่นใด แต่ตามคำร้องและทางนำสืบของผู้ร้องยืนยันว่าผู้ร้องเข้าซื้อที่ดินเพื่อประโยชน์ทางการค้า ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้บริโภคตามความหมายดังกล่าวทั้งตามมาตรา 12 ของ พ.ร.บ. ดังกล่าวยังกำหนดว่า พ.ร.บ. นี้ไม่ใช้บังคับแก่นิติกรรมหรือสัญญาที่ทำขึ้นก่อนวันที่ พ.ร.บ. นี้ใช้บังคับ ซึ่ง พ.ร.บ. ดังกล่าวประกาศในราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2540 โดยให้ใช้บังคับเมื่อพ้นกำหนดหนึ่งร้อยแปดสิบวันนับแต่วันประกาศในราชกิจจานุเบกษา แต่ผู้ร้องประมูลซื้อทรัพย์และทำสัญญาซื้อขายที่ดินกับผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม 2539 ก่อน พ.ร.บ. ว่าด้วยข้อสัญญาที่ไม่เป็นธรรมฯ ใช้บังคับ สัญญาซื้อขายที่ดินดังกล่าวจึงไม่อยู่ในบังคับของ พ.ร.บ. ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9086/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาหยุดงานชั่วคราวไม่ใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ต้องเสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อนฟ้อง
โจทก์ทั้งสองกับจำเลยทำสัญญาจ้างให้ก่อสร้างงานหลัก โดยมีข้อสัญญาอนุญาโตตุลาการว่า หากมีกรณีพิพาทให้เสนอข้อพิพาทต่ออนุญาโตตุลาการก่อน ต่อมาโจทก์ทั้งสองกับจำเลยได้ตกลงตามสัญญาหยุดงานชั่วคราว ให้โจทก์ทั้งสองหยุดงานไว้ก่อนเพราะภาวะเศรษฐกิจด้านการเงินที่จำเลยประสบอยู่ จำเลยไม่อาจจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ทั้งสองให้ครบถ้วนตามกำหนดได้ เจตนารมณ์ของโจทก์ทั้งสองกับจำเลยที่ทำสัญญาหยุดงานก่อสร้างไว้ชั่วคราว ทั้งสองฝ่ายยังมีเจตนาจะผูกพันกันตามสัญญาว่าจ้างให้ก่อสร้างงานหลักต่อกันอยู่ สัญญาหยุดงานชั่วคราวจึงหาใช่สัญญาประนีประนอมยอมความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 850 ไม่ และเมื่อโจทก์ทั้งสองบอกเลิกสัญญาเพื่อจะใช้สิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ผิดสัญญาตามข้อตกลงที่กำหนดไว้ในสัญญาหยุดงานชั่วคราว โจทก์ทั้งสองจึงต้องนำข้อพิพาทเสนออนุญาโตตุลาการเพื่อวินิจฉัยก่อน ตามที่กำหนดไว้ในสัญญาว่าจ้างให้ก่อสร้างงานหลัก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5645/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การถือหุ้นในบริษัทจำกัด ความรับผิดของกรรมการ และสิทธิเรียกร้องเมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับที่ดิน
จำเลยที่ 3 จดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดย่อมมีฐานะเป็นนิติบุคคลต่างหากจากโจทก์ จำเลยที่ 1 กับพวกซึ่งมีฐานะเป็นเพียงผู้ถือหุ้นของจำเลยที่ 3 เท่านั้น โจทก์ จำเลยที่ 1 กับพวก ร่วมลงทุนซื้อที่ดินกันก่อนที่จำเลยที่ 3 จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัด จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นคู่สัญญาด้วย จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ ความรับผิดระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 1 หรือผู้ถือหุ้นคนอื่นก่อนที่จำเลยที่ 3 จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลจะมีอยู่อย่างไร จำเลยที่ 3 ย่อมไม่ต้องร่วมรับผิดด้วย นอกจากนี้จำเลยที่ 3 ไม่อาจเป็นเจ้าของถือหุ้นของตนเองจึงไม่อาจโอนหุ้นแก่บุคคลหนึ่งบุคคลใดได้ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ขอให้โอนหุ้นในบริษัทจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์
บริษัทจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์แท้จริงเพียงเพื่อถือที่ดินแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง และดำเนินการต่าง ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับที่ดินนั้น ในส่วนของผู้ถือหุ้นคิดคำนวณจำนวนหุ้นตามสัดส่วนที่ดินที่เป็นเจ้าของ มิได้ถือหุ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ประการอื่น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องจำนวนหุ้นจึงมีนัยเดียวกันกับเรียกร้องเอาที่ดินคืน ดังนั้น หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนหุ้นของจำเลยที่ 1 ในบริษัทจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์ ก็ให้ใช้ราคาหุ้นตามราคาที่ดิน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2546)
บริษัทจำเลยที่ 3 เป็นนิติบุคคลจัดตั้งขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์แท้จริงเพียงเพื่อถือที่ดินแทนเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่แท้จริง และดำเนินการต่าง ๆ ที่จำเป็นเกี่ยวกับที่ดินนั้น ในส่วนของผู้ถือหุ้นคิดคำนวณจำนวนหุ้นตามสัดส่วนที่ดินที่เป็นเจ้าของ มิได้ถือหุ้นโดยอาศัยหลักเกณฑ์ประการอื่น การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องจำนวนหุ้นจึงมีนัยเดียวกันกับเรียกร้องเอาที่ดินคืน ดังนั้น หากจำเลยที่ 1 ไม่สามารถโอนหุ้นของจำเลยที่ 1 ในบริษัทจำเลยที่ 3 ให้แก่โจทก์ ก็ให้ใช้ราคาหุ้นตามราคาที่ดิน
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 5/2546)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3923-3932/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทค่าจ้างหลังคำสั่งเดิมถูกยกเลิก: ศาลยืนตามคำพิพากษาเดิม อายุความ 10 ปีมิใช่อายุความ 1 ปี
เมื่ออธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางมีคำวินิจฉัยว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานกลาง คำวินิจฉัยของอธิบดีฯ ย่อมเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานฯ มาตรา 9 แม้จำเลยที่ 6 จะยื่นคำร้องขอให้ศาลแรงงานกลางดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลฯ มาตรา 10 ก่อนที่ศาลแรงงานกลางจะสืบพยานโจทก์ แต่ในขณะนั้นศาลปกครองชั้นต้นที่จัดตั้งตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลปกครองฯ ยังไม่ได้เปิดดำเนินการและแม้จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 จะยื่นคำร้องเช่นเดียวกันนี้ต่อศาลแรงงานกลางหลังจากศาลปกครองชั้นต้นเปิดดำเนินการแล้ว ก็เป็นการยื่นคำร้องหลังจากศาลแรงงานกลางสืบพยานโจทก์ไปแล้ว ไม่เข้ากรณีที่ศาลแรงงานกลางจะต้องรอการพิจารณาคดีไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปให้ศาลปกครองชั้นต้นเพื่อดำเนินการต่อไปตามมาตรา 10 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว การที่ศาลแรงงานกลางดำเนินกระบวนพิจารณาต่อไปโดยไม่รอการพิจารณาไว้ชั่วคราวและจัดทำความเห็นส่งไปยังศาลปกครองชั้นต้น จึงชอบแล้ว
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำฟ้องของโจทก์บรรยายว่า เงินเดือนอัตราใหม่ที่จำเลยที่ 2 รับไประหว่างวันที่31 ตุลาคม 2538 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2542 รวมเป็นเงิน 317,130 บาท และเมื่อตรวจสอบแล้วเงินจำนวนดังกล่าวเกินจากจำนวนที่จำเลยที่ 2 มีสิทธิได้รับเป็นจำนวน62,066.77 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยที่ 2 ต้องรับผิด เห็นได้ว่าเมื่ออ่านคำฟ้องและเอกสารท้ายฟ้องอันเป็นส่วนหนึ่งของคำฟ้องประกอบกันแล้ว จำเลยที่ 2 ย่อมเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ คำฟ้องของโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
การที่โจทก์จ่ายค่าจ้างเพิ่มให้แก่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 เป็นการจ่ายตามคำสั่งที่ 63/2539 และที่ 64/2539 ซึ่งมีผลใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น การรับเงินของจำเลยที่ 2ถึงที่ 11 จากโจทก์จึงมิใช่เป็นการรับโดยปราศจากมูลอันจะอ้างกฎหมายได้ แม้ต่อมาคำสั่งดังกล่าวจะถูกยกเลิกก็ตาม ทั้งการสิ้นผลบังคับของคำสั่งดังกล่าวมิใช่เป็นเหตุอย่างใดอย่างหนึ่งซึ่งมิได้มีได้เป็นขึ้น หรือเป็นเหตุที่ได้สิ้นสุดไปเสียก่อนแล้ว อันจะถือว่าเป็นการได้ทรัพย์มาในฐานลาภมิควรได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 406 จึงไม่อาจนำอายุความ 1 ปี ที่กำหนดสำหรับลาภมิควรได้มาใช้แก่กรณีที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินดังกล่าวคืนจากจำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ได้ ต้องใช้อายุความ 10 ปี ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/30
เมื่อหนี้ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 ต้องชำระเป็นหนี้เงินและมีการผิดนัดดอกเบี้ยที่ศาลแรงงานกลางกำหนดให้จำเลยที่ 2 ถึงที่ 11 จ่ายแก่โจทก์ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีเป็นการกำหนดให้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 224 ซึ่งศาลแรงงานกลางไม่อาจใช้ดุลพินิจกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้ต่ำลงกว่านี้อีกได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3896/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดบังคับคดีเมื่อมีข้อพิพาทเรื่องความเป็นบริวารและการฉ้อโกงในสัญญาซื้อขาย
โจทก์นำเจ้าพนักงานบังคับคดีไปปิดประกาศขับไล่ผู้ร้องให้ออกไปจากที่ดินแต่ผู้ร้องคัดค้านว่าผู้ร้องไม่ใช่บริวารของจำเลย หากแต่เป็นผู้ซื้อที่ดินและบ้านที่โจทก์กับจำเลยได้ร่วมกันจัดสรรขึ้น แต่โจทก์กับจำเลยไม่ยอมโอนที่ดินและบ้านให้แก่ผู้ร้อง โดยโจทก์แกล้งฟ้องขับไล่จำเลยต่อศาล หากเป็นความจริง การที่จะให้บังคับคดีโดยให้ผู้ร้องทุกรายออกไปจากที่ดิน อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องได้ แม้โจทก์จะมีสิทธิบังคับคดีให้เป็นไปตามคำพิพากษาก็ตาม แต่การที่จะงดการบังคับคดีไว้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 292(2) ก็เป็นอำนาจและดุลพินิจของศาลที่จะสั่งตามที่เห็นสมควร โดยไม่ต้องไต่สวนให้ได้ความจริงก่อนว่าผู้ร้องเป็นบริวารของจำเลยหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3702/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอคดีทางภาระจำยอม: จำเป็นต้องฟ้องเป็นคำฟ้องเมื่อมีข้อพิพาท
ผู้ร้องอ้างว่าทางเข้าออกตามเอกสารท้ายคำร้องขอตกเป็นทางภาระจำยอมแก่ที่ดินของผู้ร้อง ผู้ร้องเคยขอให้ผู้เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวไปจดทะเบียนเป็นภาระจำยอมแก่ที่ดินของผู้ร้อง แต่ผู้มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินดังกล่าวเพิกเฉย แสดงว่าผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิตามที่อ้าง ผู้ร้องต้องเสนอคดีต่อศาลเป็นคำฟ้อง มิใช่คำร้องขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1030/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: คดีมีข้อพิพาทเรื่องอำนาจศาลแรงงาน ต้องส่งให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยก่อน
ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 9วรรคสอง บัญญัติถึงกรณีมีปัญหาว่าคดีใดอยู่ในอำนาจของศาลแรงงานหรือไม่ ไม่ว่าจะเกิดปัญหาในศาลแรงงานหรือศาลอื่น ให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางเป็นผู้วินิจฉัย โดยให้คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด เมื่อจำเลยที่ 2 ถูกโจทก์ฟ้องให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ในฐานะผู้ค้ำประกันการปฏิบัติงานของจำเลยที่ 1 ซึ่งได้ยกข้อต่อสู้ไว้ในคำให้การว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแรงงานเป็นประเด็นมาแต่เริ่มแรก ฉะนั้น การที่ศาลชั้นต้นทำการพิจารณาคดีต่อไปแล้ววินิจฉัยเองว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจของศาลชั้นต้นโดยไม่ส่งปัญหาไปให้อธิบดีผู้พิพากษาศาลแรงงานกลางวินิจฉัยเสียก่อนนั้น จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 991/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อพิพาทตัวแทนซื้อขายหลักทรัพย์: การชำระเงินเกิน และอายุความ 10 ปี
จำเลยทำสัญญาตั้งให้โจทก์เป็นตัวแทนนายหน้าในการซื้อขายหลักทรัพย์ ดังนั้นความผูกพันระหว่างโจทก์กับจำเลยจึงเป็นความผูกพันในฐานะตัวการกับตัวแทน ซึ่งไม่มีกฎหมายบัญญัติเรื่องอายุความไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/30 เมื่อโจทก์ชำระเงินให้แก่จำเลยเกินจำนวนที่จำเลยสั่งให้ขายก็เป็นการกระทำที่อยู่ในฐานะของตัวแทนของจำเลย โจทก์ฟ้องคดีนี้ภายในกำหนด 10 ปี จึงยังไม่ขาดอายุความ
จำเลยสั่งให้โจทก์ขายหุ้นเพียง 10,000 หุ้น แต่โจทก์ขายหุ้นไปจำนวน 20,000 หุ้น และส่งมอบเงินที่ขายได้ทั้งหมดจำนวน 502,475 บาท ให้แก่จำเลย จึงมียอดเงินที่จำเลยรับไว้เกินเป็นจำนวน 251,237.50 บาท จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไป
จำเลยสั่งให้โจทก์ขายหุ้นเพียง 10,000 หุ้น แต่โจทก์ขายหุ้นไปจำนวน 20,000 หุ้น และส่งมอบเงินที่ขายได้ทั้งหมดจำนวน 502,475 บาท ให้แก่จำเลย จึงมียอดเงินที่จำเลยรับไว้เกินเป็นจำนวน 251,237.50 บาท จำเลยจึงต้องคืนเงินจำนวนดังกล่าวพร้อมดอกเบี้ยในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันผิดนัดเป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5366/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การทำลายพืชผลในที่ดินเช่า แม้สิทธิในสัญญาเช่ายังเป็นข้อพิพาท ถือเป็นการละเมิด
สิทธิตามสัญญาเช่าระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสองยังมีข้อโต้แย้งว่าโจทก์อยู่ในที่ดินพิพาทโดยอาศัยสิทธิตามหนังสือสัญญาเช่าลงวันที่ 7 มกราคม 2537 หรือตามหนังสือสัญญาเช่าลงวันที่ 23 มีนาคม 2537 และโจทก์ยังไม่ยินยอมที่จะส่งมอบที่ดินพิพาทคืนให้แก่จำเลยทั้งสอง จำเลยทั้งสองจึงไม่อาจที่จะเข้ายึดถือครอบครองที่ดินพิพาทได้โดยอำนาจของตนเอง การที่จำเลยทั้งสองเข้าไถทำลายต้นอ้อยที่โจทก์เป็นผู้ปลูกได้รับความเสียหาย จึงเป็นการกระทำโดยไม่มีอำนาจและไม่ชอบด้วยกฎหมายอันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ จำเลยทั้งสองจึงต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์และโจทก์มีสิทธิที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองได้