พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 568/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระโดดหนีเจ้าพนักงานไม่ถึงขั้นต่อสู้ขัดขวางการจับกุม และข้อสงสัยในการใช้ปืน
จ่าสิบตำรวจ ส.กับพวกพบจำเลยกับพวกสะพาย อาวุธปืนยาวมาคนละกระบอก จ่าสิบตำรวจ ส. กับพวกจึงขอตรวจค้น จำเลยส่งอาวุธปืนยาวให้เจ้าพนักงานตำรวจแล้วได้กระโดดหนีเจ้าพนักงานตำรวจ และจ่าสิบตำรวจ ส.จึงได้กระโดดเข้าจับจำเลยและกอดปล้ำกันตกลงไปตามทางลาดชัน การที่จำเลยกระโดดหนีเจ้าพนักงานตำรวจนี้ ยังไม่อาจถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ขัดขวางการจับกุมของเจ้าพนักงานซึ่งกระทำการตามหน้าที่อันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 138
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1368/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกายกฟ้องคดีพยายามฆ่าและอาวุธปืน เหตุพยานหลักฐานโจทก์มีข้อสงสัย ไม่น่าเชื่อถือ
ที่จำเลยฎีกาว่า จำเลยมิได้กระทำผิดฐานพาอาวุธปืนไปในเมือง หมู่บ้าน หรือทางสาธารณะโดยเปิดเผยหรือโดยไม่มีเหตุสมควร ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371เป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 และพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ มาตรา 8 ทวิ,72 ทวิ แต่ให้ลงโทษตามพระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ซึ่งเป็นบทหนักให้จำคุก 6 เดือนและศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาแก้เป็นว่า ให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 371 ให้ปรับ 100 บาท ซึ่งเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและโทษจำคุกไม่เกินห้าปีจึงต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคแรก เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยกระทำผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจพิพากษายกฟ้องไปถึงความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาตที่ยุติตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์โดยจำเลยต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 185 ประกอบมาตรา 215 และมาตรา 225 เพราะเป็นข้อเท็จจริงอันเดียวเกี่ยวพันกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2205/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตีความสัญญาจำนอง: ข้อสงสัยต้องตีความเป็นคุณแก่ลูกหนี้
หนังสือสัญญาต่อท้ายหนังสือจำนองมีข้อความว่า ผู้จำนองได้จำนองที่ดินและสิ่งปลูกสร้างเป็นประกันเงินซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือในเวลาใดเวลาหนึ่งต่อไปภายหน้าเป็นจำนวนเงิน 160,000 บาท หรือในเรื่องเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้า ผู้จำนองยอมรับผิดชอบทั้งสิ้น ข้อความในสัญญาดังกล่าวในตอนแรกระบุว่า การจำนองรายนี้เป็นประกันหนี้เงิน 160,000 บาทซึ่งเท่ากับจำนวนเงินที่โจทก์กู้ยืมไปจากจำเลย ส่วนข้อความในตอนหลังที่ระบุให้การจำนองเป็นประกันเงินจำนวนใดจำนวนหนึ่งซึ่งผู้จำนองเป็นหนี้ผู้รับจำนองอยู่ในเวลานี้หรือจะเป็นหนี้ต่อไปในภายหน้านั้นไม่ได้ระบุให้ชัดแจ้งว่า ให้เป็นประกันถึงหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดหรือหนี้อย่างอื่นคนละประเภทกันที่จะเกิดขึ้นในภายหน้า กรณีจึงมีข้อสงสัย ดังนั้น การตีความถึงเจตนาของคู่สัญญาในกรณีที่มีข้อสงสัยเช่นนี้ ต้องตีความไปในทางที่เป็นคุณแก่คู่กรณีฝ่ายที่จะเป็นผู้ต้องเสียในมูลหนี้นั้น ต้องฟังว่าสัญญาจำนองรายนี้ไม่ได้ประกันถึงหนี้อันเกิดจากมูลละเมิดซึ่งโจทก์จะต้องรับผิดต่อจำเลยอีกประเภทหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5753/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิดจากการตัดฟิวส์โทรศัพท์โดยไม่ตรวจสอบข้อสงสัยของลูกหนี้ และความบกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่
ค่าเช่าและค่าบริการโทรศัพท์ที่โจทก์ค้างชำระ เลยงวดการชำระหนี้หลายงวดและได้มีการชำระในงวดหลังหลายงวด บางงวดก็นานมากแล้ว นอกจากนี้ยังเคยปรากฏว่าจำเลยที่ 1เรียกเก็บค่าเช่าและค่าบริการจากโจทก์ผิดพลาดมาก่อนถึง 2 ครั้ง ย่อมเป็นเหตุอันควรที่โจทก์จะสงสัยว่าได้ชำระไปแล้ว โจทก์มีสิทธิที่จะโต้แย้งและขอตรวจสอบได้
จำเลยที่ 3 ที่ 4 มิได้ตรวจสอบสำเนาใบแจ้งหนี้ตามคำขอของโจทก์ และปรากฏว่าได้มีการส่งสำเนาใบแจ้งหนี้ดังกล่าวให้โจทก์แล้ว ทั้งโจทก์เคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ว่า หากมีหลักฐานว่าค้างชำระก็จะชำระให้ แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิเสธว่าจะไม่ชำระหนี้ที่ทวงถามโดยเด็ดขาดเมื่อโจทก์ไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง จำเลยที่ 3 ทำบันทึกเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นผ่านจำเลยที่ 4เพื่อพิจารณา จนในที่สุดผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็มีคำสั่งปลดฟิวส์มิให้โจทก์ใช้โทรศัพท์เหตุที่มีการปลดฟิวส์จึงเป็นผลจากการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 มุ่งแต่จะบีบบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ที่ค้างไม่สนใจที่จะแก้ข้อสงสัยที่มีเหตุอันควรสงสัยของโจทก์ ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่สามารถกระทำได้โดยง่ายซึ่งการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ยอมแก้ข้อสงสัยของโจทก์เช่นนั้น จำเลยที่ 3 ที่ 4 ย่อมคาดหมายได้ว่าโจทก์จะไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้างและจะต้องถูกปลดฟิวส์ ซึ่งย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้โทรศัพท์ การกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
เมื่อโจทก์มีหนังสือโต้แย้งเรื่องค่าเช่าและค่าบริการที่อ้างว่าโจทก์ค้างชำระไปยังจำเลยที่ 2 กลับเป็นว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการตามหนังสือแทนจำเลยที่ 2 เสียเองโดยไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แสดงว่าจำเลยที่ 2 บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 3 ที่ 4
พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 มาตรา 6มีวัตถุประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ของประชาชนด้วย การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเป็นเหตุให้โจทก์ถูกตัดฟิวส์โทรศัพท์ตามฟ้อง ถือว่ามิได้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ของประชาชน เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย เป็นละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย
จำเลยที่ 3 ที่ 4 มิได้ตรวจสอบสำเนาใบแจ้งหนี้ตามคำขอของโจทก์ และปรากฏว่าได้มีการส่งสำเนาใบแจ้งหนี้ดังกล่าวให้โจทก์แล้ว ทั้งโจทก์เคยมีหนังสือถึงจำเลยที่ 1 ว่า หากมีหลักฐานว่าค้างชำระก็จะชำระให้ แสดงว่าโจทก์มิได้ปฏิเสธว่าจะไม่ชำระหนี้ที่ทวงถามโดยเด็ดขาดเมื่อโจทก์ไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้าง จำเลยที่ 3 ทำบันทึกเสนอต่อผู้บังคับบัญชาตามลำดับชั้นผ่านจำเลยที่ 4เพื่อพิจารณา จนในที่สุดผู้บังคับบัญชาของจำเลยที่ 3 ที่ 4 ก็มีคำสั่งปลดฟิวส์มิให้โจทก์ใช้โทรศัพท์เหตุที่มีการปลดฟิวส์จึงเป็นผลจากการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 มุ่งแต่จะบีบบังคับโจทก์ให้ชำระหนี้ที่ค้างไม่สนใจที่จะแก้ข้อสงสัยที่มีเหตุอันควรสงสัยของโจทก์ ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่สามารถกระทำได้โดยง่ายซึ่งการที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ไม่ยอมแก้ข้อสงสัยของโจทก์เช่นนั้น จำเลยที่ 3 ที่ 4 ย่อมคาดหมายได้ว่าโจทก์จะไม่ยอมชำระหนี้ที่ค้างและจะต้องถูกปลดฟิวส์ ซึ่งย่อมทำให้โจทก์เสียสิทธิที่จะได้รับประโยชน์จากการใช้โทรศัพท์ การกระทำของจำเลยที่ 3 ที่ 4 จึงเป็นการกระทำโดยจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย
เมื่อโจทก์มีหนังสือโต้แย้งเรื่องค่าเช่าและค่าบริการที่อ้างว่าโจทก์ค้างชำระไปยังจำเลยที่ 2 กลับเป็นว่าจำเลยที่ 4 เป็นผู้ดำเนินการตามหนังสือแทนจำเลยที่ 2 เสียเองโดยไม่ปรากฏว่าเหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น แสดงว่าจำเลยที่ 2 บกพร่องในการปฏิบัติหน้าที่ในการควบคุมการทำงานของจำเลยที่ 3 ที่ 4
พระราชบัญญัติองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทย พ.ศ.2497 มาตรา 6มีวัตถุประสงค์ให้จำเลยที่ 1 ดำเนินกิจการโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ของประชาชนด้วย การที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ปฏิบัติหน้าที่บกพร่องเป็นเหตุให้โจทก์ถูกตัดฟิวส์โทรศัพท์ตามฟ้อง ถือว่ามิได้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เพื่อประโยชน์ของประชาชน เป็นการกระทำที่มิชอบด้วยกฎหมาย เป็นละเมิดต่อโจทก์ จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จึงต้องร่วมกันรับผิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 เป็นนายจ้างต้องร่วมรับผิดด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 33/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คดีอาญาพยานหลักฐานไม่เพียงพอ โจทก์ต้องพิสูจน์ความผิดจำเลยโดยปราศจากข้อสงสัย
ในคดีอาญา โจทก์ต้องนำสืบให้ปราศจากความสงสัยว่าจำเลยกระทำความผิด เมื่อคดีมีปัญหาว่าถ้อยคำที่จำเลยให้การต่อเจ้าพนักงานว่า บ. เป็นบุตรของ ค. นั้นเป็นเท็จหรือไม่ โดยโจทก์มี พ.เท่านั้นที่เบิกความว่า บ.ที่จำเลยพามาให้ดูไม่ใช่บุตรของ ค.กับว. พยานโจทก์นอกจากนี้ก็มีแต่คำให้การที่เจ้าพนักงานบันทึกไว้ มิได้นำพยานบุคคลมาสืบประกอบ จำเลยไม่มีโอกาสซักค้านพยานดังกล่าวได้พยานโจทก์จึงยังเป็นที่สงสัย ยกประโยชน์แห่งความสงสัยนั้นให้จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2270/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตรวจสอบมูลหนี้และข้อสงสัยในการสอบสวนคดีล้มละลาย ศาลต้องพิจารณาพยานหลักฐานและเหตุผลอย่างรอบคอบ
แม้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้มีหน้าที่นำพยานหลักฐานมาสืบประกอบคำขอรับชำระหนี้ว่ามีหนี้อยู่จริงตามคำขอก็ตาม แต่ตามพระราชบัญญัติ ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 105 ให้อำนาจเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกเจ้าหนี้ ลูกหนี้หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินจึงเป็นอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตามกฎหมายเพื่อสอบสวนหาความจริงว่าหนี้รายใดขอรับชำระหนี้ได้หรือต้องห้ามไม่ให้ขอรับชำระหนี้ตามมาตรา 94 เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงชอบที่จะใช้อำนาจนี้สอบสวนค้นคว้าหาความจริงเพื่อประโยชน์ของความเป็นธรรม การที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ทำการสอบสวนยังไม่สิ้นกระแสความ แล้วอาศัยเพียงคำให้การของเจ้าหนี้ที่ตอบคำถามเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ซึ่งตนยังสงสัยอยู่มาอ้างเป็นข้อพิรุธสงสัยว่าไม่มีมูลหนี้ต่อกันจริงเพื่อยกคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงเป็นการไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 113/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความน่าเชื่อถือของพยานหลักฐานในคดีอาญา: การพิสูจน์ความผิดต้องชัดเจนและปราศจากข้อสงสัย
ผู้ตายก่อนตายมีสติสัมปชัญญะไม่ดี มีอาการหนักพูดไม่ค่อยเต็มปาก พูดถึงคนยิงว่าสงสัยจะเป็นนาย วิน โดยไม่ได้บอกว่าเป็นนาย วิน คนไหน นามสกุลอะไรในหมู่บ้านเกิดเหตุมีคนชื่อนาย วิน ถึง 3 คน เมื่อโจทก์ไม่มีประจักษ์พยานรู้เห็นขณะที่ผู้ตายถูกคนร้ายยิง จึงฟังไม่ได้ว่าจำเลยเป็นคนร้ายที่กระทำผิดดังที่โจทก์ฟ้อง.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 635/2530
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามในปัญหาข้อเท็จจริง: การชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานและข้อสงสัยตามกฎหมาย
คดีที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นให้ลงโทษจำคุกจำเลย5 ปี เป็นคดีต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 ฎีกาของจำเลยที่ว่าพยานหลักฐานในคดีไม่ปรากฏว่าใครเป็นเจ้าของทรัพย์ที่แท้จริง และโจทก์ก็มิได้นำสืบถึงผู้เสียหาย และเจ้าของทรัพย์ที่ถูกลัก การที่ศาลลงโทษจำเลยโดยอาศัยพยานหลักฐานแวดล้อมเป็นการฟังพยานหลักฐานที่ขัดต่อประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 227และเมื่อคดีมีข้อสงสัยว่า จำเลยจะได้กระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ ศาลควรยกประโยชน์แห่งความสงสัยให้แก่จำเลย โดยพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียนั้น เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการชั่งน้ำหนักพยานหลักฐานของศาล จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ซึ่งต้องห้ามตามบทกฎหมายดังกล่าว
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร โดยบรรยายฟ้องตอนต้นว่า มีคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในเคหสถานของผู้เสียหายต่อมาในฟ้องข้อ 2 โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อไปว่า มีผู้พบเห็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลย จึงกล่าวหาว่า จำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์ดังกล่าวไปหรือมิฉะนั้นจำเลยก็รับทรัพย์นั้นไว้จากคนร้ายโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อันเป็นความผิดฐานรับของโจร โดยขอให้ลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งซึ่งก็แล้วแต่ทางพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดฐานใด โจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐาน ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกัน และสมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว.(ที่มา-เนติ)
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร โดยบรรยายฟ้องตอนต้นว่า มีคนร้ายเข้าไปลักทรัพย์ในเคหสถานของผู้เสียหายต่อมาในฟ้องข้อ 2 โจทก์ได้บรรยายฟ้องต่อไปว่า มีผู้พบเห็นทรัพย์ของผู้เสียหายที่ถูกลักไปอยู่ในความครอบครองของจำเลย จึงกล่าวหาว่า จำเลยเป็นคนร้ายลักทรัพย์ดังกล่าวไปหรือมิฉะนั้นจำเลยก็รับทรัพย์นั้นไว้จากคนร้ายโดยรู้อยู่แล้วว่าเป็นทรัพย์ที่ได้มาจากการกระทำความผิดฐานลักทรัพย์อันเป็นความผิดฐานรับของโจร โดยขอให้ลงโทษจำเลยฐานใดฐานหนึ่งซึ่งก็แล้วแต่ทางพิจารณาว่าจำเลยกระทำผิดฐานใด โจทก์มิได้ขอให้ลงโทษจำเลยทั้งสองฐาน ดังนั้น คำฟ้องของโจทก์จึงไม่ขัดแย้งกัน และสมบูรณ์ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 158(5) แล้ว.(ที่มา-เนติ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1105/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกระทำของผู้จัดการมรดกที่ไม่จ่ายมรดกเนื่องจากข้อสงสัยความถูกต้องของทายาท ไม่ถือเป็นการละเมิด
การที่จำเลยทั้งสามซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกไม่จ่ายเงินมรดกให้แก่โจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นทายาทเพราะยังไม่แน่ใจว่าโจทก์ที่ 1 เป็นบุตรเจ้ามรดกหรือไม่ และเพราะมีเหตุทำให้เข้าใจว่าโจทก์ที่ 2 ปิดบังยักย้ายมรดกนั้น ไม่เป็นการทำละเมิดต่อโจทก์ทั้งสองอันจะเป็นเหตุให้โจทก์ทั้งสองมีสิทธิเรียกค่าเสียหายเป็นดอกเบี้ยจากจำเลย ในจำนวนเงินมรดกที่โจทก์ทั้งสองควรได้รับ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2009/2492
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การระบุพยาน: ศาลต้องไต่สวนก่อนตัดพยาน หากมีข้อสงสัยเรื่องการยื่นบัญชีพยาน
ในวันพิจารณาครั้งแรกปรากฏว่าทนายจำเลยได้ยื่นบัญชีพยานเพิ่มเติมครั้งที่ 1 ไว้ต่อศาล แต่ในสำนวนไม่ปรากฏว่า จำเลยได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้ก่อน วันนัดสืบพยาน 3 วัน ทนายจำเลยแถลงยืนยันว่าได้ยื่นบัญชีระบุพยานไว้แล้ว พนักงานศาลอาจกลัดสำนวนผิดได้ ดังนี้ศาลควรไต่สวนเรื่องระบุพยานจำเลยก่อนดำเนินการพิจารณาพิพากษาต่อไป จะตัดพยานจำเลยเสียทีเดียวไม่ได้