พบผลลัพธ์ทั้งหมด 109 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9876/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทรัพย์สินเกี่ยวเนื่องกับคดียาเสพติด: ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายและภาระการพิสูจน์ของผู้ถูกกล่าวหา
ตาม พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 29 วรรคสอง ที่บัญญัติว่า? ถ้าปรากฏหลักฐานว่าจำเลยหรือผู้ถูกตรวจสอบเป็นผู้เกี่ยวข้องหรือเคยเกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบรรดาเงินหรือทรัพย์สินที่ผู้นั้นมีอยู่หรือได้มาเกินกว่าฐานะหรือความสามารถในการประกอบอาชีพหรือกิจกรรมอย่างอื่นโดยสุจริตเป็นทรัพย์สินที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด ดังนั้น เมื่อผู้คัดค้านถูกฟ้องเป็นจำเลยและถูกลงโทษในข้อหามียาเสพติดให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย จึงถือได้ว่าผู้คัดค้านเป็นผู้เกี่ยวข้องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดมาก่อน ทรัพย์สินของผู้คัดค้านที่ผู้ร้องขอให้ริบย่อมต้องด้วยข้อสันนิษฐานของบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ผู้คัดค้านจึงมีภาระการพิสูจน์หักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวตามมาตรา 29 (1) (2) ว่า ทรัพย์สินของผู้คัดค้านนั้นไม่ได้เกี่ยวเนื่องกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดหรือได้ทรัพย์สินมาโดยสุจริต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9525/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเรื่องลิขสิทธิ์และการพิสูจน์เจ้าของลิขสิทธิ์ในคดีละเมิดลิขสิทธิ์ โดยจำเลยไม่โต้แย้งสิทธิ
คดีเกี่ยวกับลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดงตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 ไม่ว่าจะเป็นคดีแพ่งหรือคดีอาญา ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่า งานที่มีการฟ้องร้องในคดีนั้นเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง
ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยถือว่าเป็น การฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 62 เช่นเดียวกับที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ให้การหรือนำสืบโต้แย้งว่า ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมตามฟ้อง หรือโต้แย้งสิทธิของผู้เสียหายในงานดังกล่าวมาโดยชัดแจ้ง ผู้เสียหายย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ว่า งานดนตรีกรรมที่มีการฟ้องร้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในข้อนี้อีก ดังนั้น ไม่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาในข้อนี้จะมีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อคดีของโจทก์
งานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องรวม 22 เพลง เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและแผ่นซีดีของกลางซึ่งบันทึกงานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นแผ่นซีดีเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย จำเลยได้เสนอขายแผ่นซีดีเพลงวัตถุพยานของกลางซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายให้แก่พนักงานของผู้เสียหายผู้ล่อซื้อและพฤติการณ์ที่มีการวางปกแผ่นซีดีเพลงดังกล่าวในร้านค้าที่เกิดเหตุ ย่อมชี้ให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเสนอขายแผ่นซีดีเพลงตามแผ่นปกดังกล่าวมาแต่ต้นแล้ว กรณีนี้ถือไม่ได้ว่า พนักงานของผู้เสียหายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด
ผู้เสียหายเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์หรือสิทธิของนักแสดง การที่พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องจำเลยถือว่าเป็น การฟ้องคดีแทนผู้เสียหาย จึงต้องถือว่าผู้เสียหายได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537 มาตรา 62 เช่นเดียวกับที่ผู้เสียหายเป็นโจทก์
จำเลยปฏิเสธฟ้องโจทก์แต่เพียงว่าจำเลยมิได้กระทำความผิดเท่านั้น เมื่อจำเลยไม่ให้การหรือนำสืบโต้แย้งว่า ไม่มีผู้ใดเป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ในงานดนตรีกรรมตามฟ้อง หรือโต้แย้งสิทธิของผู้เสียหายในงานดังกล่าวมาโดยชัดแจ้ง ผู้เสียหายย่อมได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ พ.ศ. 2537 มาตรา 62 วรรคหนึ่ง ว่า งานดนตรีกรรมที่มีการฟ้องร้องเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายโดยโจทก์ไม่จำต้องสืบพยานในข้อนี้อีก ดังนั้น ไม่ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบมาในข้อนี้จะมีน้ำหนักเพียงพอให้รับฟังได้หรือไม่ก็ตาม ก็ไม่มีผลกระทบกระเทือนต่อคดีของโจทก์
งานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องรวม 22 เพลง เป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายและแผ่นซีดีของกลางซึ่งบันทึกงานดนตรีกรรมตามรายชื่อเพลงท้ายฟ้องดังกล่าวเป็นแผ่นซีดีเพลงที่มีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหาย จำเลยได้เสนอขายแผ่นซีดีเพลงวัตถุพยานของกลางซึ่งมีผู้ทำขึ้นโดยละเมิดลิขสิทธิ์ของผู้เสียหายให้แก่พนักงานของผู้เสียหายผู้ล่อซื้อและพฤติการณ์ที่มีการวางปกแผ่นซีดีเพลงดังกล่าวในร้านค้าที่เกิดเหตุ ย่อมชี้ให้เห็นได้โดยชัดแจ้งว่าจำเลยมีเจตนาที่จะเสนอขายแผ่นซีดีเพลงตามแผ่นปกดังกล่าวมาแต่ต้นแล้ว กรณีนี้ถือไม่ได้ว่า พนักงานของผู้เสียหายเป็นผู้ก่อให้จำเลยกระทำความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6504/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลล้มละลายจากหนี้ฉ้อโกงประชาชน – ข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยที่ 2 ร่วมกระทำความผิดฐานกู้ยืมเงินที่เป็นการฉ้อโกงประชาชนและต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ชำระเงินคืนแก่ประชาชน รวมเป็นเงิน 13,620,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้ที่อาจกำหนดจำนวนได้โดยแน่นอน จำเลยที่ 1 และที่ 2 มีทรัพย์สินให้ยึดและอายัดเพียงประมาณ 100,000 บาท เท่านั้น ซึ่งต่ำกว่าจำนวนหนี้ที่ต้องรับผิดอยู่เป็นจำนวนมาก พนักงานสอบสวนได้ออกหมายจับจำเลยที่ 2 มาดำเนินคดี แต่จำเลยที่ 2หลบหนี และในระหว่างพิจารณาคดีของศาลชั้นต้นยังติดตามจับกุมจำเลยที่ 2 ไม่ได้ พฤติการณ์แสดงว่า จำเลยที่ 2 ได้ไปเสียจากเคหสถานที่เคยอยู่หรือหลบหนีไป กรณีจึงต้องด้วยข้อสันนิษฐานตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 8(4) ข. ว่าจำเลยที่ 2 มีหนี้สินล้นพ้นตัว และมีหน้าที่ต้องนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐาน แต่เมื่อจำเลยที่ 2 ไม่นำสืบพยานหลักฐานใด จึงถือได้ว่าจำเลยที่ 2มีหนี้สินล้นพ้นตัว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2136/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานการครอบครองยาเสพติดเกิน 20 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย และการวินิจฉัยความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง บัญญัติว่า การมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นข้อสันนิษฐานโดยเด็ดขาด จำเลยทั้งสองไม่อาจกล่าวอ้างหรือนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้ เมื่อข้อเท็จจริงฟังเป็นยุติว่า จำเลยทั้งสองร่วมกันมีเฮโรอีน ซึ่งคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้เกินยี่สิบกรัมไว้ในครอบครอง การกระทำของจำเลยทั้งสองจึงเป็นการร่วมกันมีเฮโรอีนของกลางไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายอันเป็นความผิดตามฟ้อง
ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 นั้น ศาลฎีกาส่งข้อโต้แย้งดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 33
ส่วนที่จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งว่า พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 33 นั้น ศาลฎีกาส่งข้อโต้แย้งดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 6 ประกอบมาตรา 264 วรรคหนึ่ง ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาแล้วมีคำวินิจฉัยว่า พระราชบัญญัติดังกล่าวไม่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 33
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 984/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดเรื่องยาเสพติด: การมียาเสพติดเกิน 20 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
ตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 เป็น ข้อสันนิษฐานเด็ดขาดของกฎหมายที่ให้ถือว่าถ้ามียาเสพติด ให้โทษในประเภท 1 ไว้ในครอบครองเป็นสารบริสุทธิ์ตั้งแต่ 20 กรัมขึ้นไป ให้ถือว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย มิได้บัญญัติว่าถ้ามีไว้ในครอบครองไม่ถึง 20 กรัม แม้จะจำหน่าย ก็จะฟังว่ามีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 64/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเล่นการพนัน: โจทก์พิสูจน์ได้ตามข้อสันนิษฐาน พ.ร.บ.การพนัน จำเลยต้องนำสืบหักล้าง
พยานโจทก์เบิกความว่า หลังจากพันตำรวจโทค.เคาะประตูบ้านที่เกิดเหตุ เมื่อมีคนเปิดประตูแล้วพยานพบว่า ภายในบ้านมีการเล่นการพนันกันจึงจับจำเลยกับพวก แม้ข้อเท็จจริงได้ความจากคำเบิกความของพันตำรวจโท ค.และจ่าสิบตำรวจอ.พยานโจทก์ตอบทนายจำเลยถามค้านว่าขณะพยานจับจำเลยนั้นพยานไม่เห็นจำเลยถือไพ่อยู่ก็ตาม แต่ พันตำรวจโท ค.เบิกความด้วยว่า จำเลยที่ 2 เป็นคนเปิดประตูให้พยาน เมื่อจำเลยที่ 2 เปิดประตูแล้วพยายามหลบหนี ส่วนจำเลยที่ 1 นั่งอยู่ที่ข้างวงการพนัน เป็นการที่พยานโจทก์ ดังกล่าวเบิกความยืนยันว่า ขณะพยานเข้าไปในบ้านเกิดเหตุคนในบ้าน กำลังเล่นการพนันกันโดยมีจำเลยอยู่ในบ้านที่เกิดเหตุ จึงเป็นการที่โจทก์ได้นำสืบข้อเท็จจริงได้ความตาม ข้อสันนิษฐานที่พระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 มาตรา 6 บัญญัติไว้ กรณีถือว่าโจทก์นำพยานเข้าสืบได้ความตาม คำฟ้องแล้ว จึงเป็นหน้าที่ที่จำเลยจะต้องนำสืบหักล้าง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2076/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: การพิสูจน์หนี้สินล้นพ้นตัว และข้อโต้แย้งเกี่ยวกับข้อสันนิษฐานตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
คดียังคงเหลือประเด็นต้องวินิจฉัยเฉพาะจำเลยที่ 1 ว่า จำเลยที่ 1 เป็นบุคคลมีหนี้สินล้นพ้นตัวหรือไม่เท่านั้น แต่พยานหลักฐานที่จำเลยที่ 1 ฎีกาขอให้ศาลฎีกาอนุญาตให้จำเลยที่ 1 ระบุพยานเพิ่มเติมซึ่งเป็นพยานสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 2 โดยเฉพาะ ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยที่ 1 จึงไม่มีเหตุที่จะอนุญาตให้นำพยานหลักฐานเฉพาะต่อจำเลยที่ 2 มานำสืบสนับสนุนข้อต่อสู้ของจำเลยที่ 1 เพราะเป็นพยานหลักฐานคนละส่วนกัน
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังบัญญัติไว้ในมาตรานี้เกิดขึ้นให้เชื่อไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนฟ้องเสมอไปไม่ แม้เจ้าหนี้มิได้ทวงถามหรือการทวงถามไม่ชอบตามมาตรา 8 (9) ดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ นำสืบได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่ฟ้อง เจ้าหนี้ก็มีอำนาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องตามคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องของจำเลยไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 โดยอ้างว่า พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อปรากฏว่ากรณีตามคำร้องมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวมาตราใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งปัญหาดังกล่าวได้ล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา ซึ่งจำเลยก็มิได้ ยื่นคำคัดค้านหรือฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาด้วย กรณีจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ ทั้งไม่มีเหตุที่จะส่ง คำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 8 (9) เป็นเพียงข้อสันนิษฐานว่ามีเหตุอย่างหนึ่งอย่างใดดังบัญญัติไว้ในมาตรานี้เกิดขึ้นให้เชื่อไว้ก่อนว่าลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัว หาใช่บทบัญญัติให้เจ้าหนี้ต้องบอกกล่าวทวงถามให้ลูกหนี้ชำระหนี้ก่อนฟ้องเสมอไปไม่ แม้เจ้าหนี้มิได้ทวงถามหรือการทวงถามไม่ชอบตามมาตรา 8 (9) ดังกล่าว แต่เจ้าหนี้ นำสืบได้ว่ามีหนี้สินล้นพ้นตัวตามที่ฟ้อง เจ้าหนี้ก็มีอำนาจฟ้องลูกหนี้ให้ล้มละลาย
ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์ จำเลยยื่นคำร้องตามคำร้องขอให้ศาลส่งคำร้องของจำเลยไปให้ ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 โดยอ้างว่า พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ขัดต่อรัฐธรรมนูญ เมื่อปรากฏว่ากรณีตามคำร้องมิใช่เป็นการโต้แย้งว่าบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวมาตราใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ ทั้งปัญหาดังกล่าวได้ล่วงเลยมาถึงชั้นฎีกา ซึ่งจำเลยก็มิได้ ยื่นคำคัดค้านหรือฎีกาในปัญหาดังกล่าวมาด้วย กรณีจึงไม่เป็นประเด็นที่ศาลฎีกาจะวินิจฉัยให้ ทั้งไม่มีเหตุที่จะส่ง คำร้องของจำเลยไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายยาเสพติด: ครอบครองสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
พ.ร.บ.ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522 มาตรา 15 วรรคสองที่บัญญัติว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้าส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายโดยเด็ดขาด โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนอย่างใดบ้างเมื่อจำเลยรับว่ามีเฮโรอีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 65.9 กรัม ไว้ในครอบครอง จึงต้องถือว่าและฟังได้ว่าจำเลยมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะค้นพบเฮโรอีนของกลางได้ที่ใดและจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนด้วยหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญ เพราะจำเลยไม่อาจนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4747/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อสันนิษฐานทางกฎหมายยาเสพติด: ครอบครองสารบริสุทธิ์เกิน 20 กรัม ถือว่ามีไว้เพื่อจำหน่าย
พระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสองที่บัญญัติว่า การผลิต นำเข้า ส่งออก หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 1 คำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ตั้งแต่ยี่สิบกรัมขึ้นไป ให้ถือว่าผลิต นำเข้า ส่งออกหรือมีไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่ายนั้น เป็นข้อสันนิษฐานของกฎหมายโดยเด็ดขาด โจทก์จึงไม่จำต้องนำสืบว่าจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนอย่างใดบ้าง เมื่อจำเลยรับว่ามีเฮโรอีนของกลางคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์หนัก 65.9 กรัมไว้ในครอบครอง จึงต้องถือว่าและฟังได้ว่าจำเลยมีไว้ ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ส่วนข้อเท็จจริงที่ว่า เจ้าพนักงานตำรวจจะค้นพบเฮโรอีนของกลางได้ที่ใดและจำเลยมีพฤติการณ์จำหน่ายเฮโรอีนด้วยหรือไม่ ไม่ใช่ข้อสำคัญเพราะจำเลยไม่อาจนำสืบหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7248/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การล้มละลาย: ศาลต้องพิจารณาความจริง ไม่เพียงแค่ข้อสันนิษฐานทางกฎหมาย และพิจารณาฐานะหนี้สินที่แท้จริงของลูกหนี้
ข้อสันนิษฐานว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวตามพระราชบัญญัติล้มละลายพ.ศ. 2483 มาตรา 8 นั้น เป็นเพียงเหตุหนึ่งที่กฎหมายให้อำนาจโจทก์ฟ้องจำเลยให้ล้มละลายได้เท่านั้น ส่วนการพิจารณาคดีล้มละลาย มาตรา 14 ให้ศาลพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 และการที่ศาลจะมีคำสั่งให้ผู้ใดเป็นบุคคลล้มละลาย ไม่ใช่อาศัยแต่ลำพังข้อเท็จจริงอันเป็นเงื่อนไขตามข้อสันนิษฐานของกฎหมายอย่างเดียว แต่ยังต้องพิเคราะห์ถึงเหตุผลอื่นประกอบที่พอแสดงให้เห็นว่าจำเลยตกอยู่ในฐานะผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริง เพราะการวินิจฉัยให้บุคคลล้มละลายนั้นย่อมกระทบถึงสิทธิและเสรีภาพในการดำรงชีวิตตามกฎหมายตลอดจนสถานะของบุคคลและสิทธิในทางทรัพย์สินของผู้นั้นโดยตรง ข้อเท็จจริงในคดีนี้แม้จะรับฟังว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์พร้อมดอกเบี้ยคิดถึงวันฟ้องเป็นเงิน 72,915.75 บาท และมีพฤติการณ์เข้าข้อสันนิษฐานตามกฎหมายก็ตาม แต่มูลคดีเดิมที่โจทก์ฟ้องต่อศาลแพ่งกรุงเทพใต้นั้นเป็นมูลหนี้เกิดขึ้นในปี 2532 ซึ่งยอดหนี้ที่จำเลยจะต้องรับผิดเพียง 36,077.25 บาทเท่านั้น โจทก์รอจนกระทั่งปี 2539 จึงได้นำคดีมาฟ้องเป็นคดีล้มละลาย พฤติการณ์เช่นนี้ก่อให้เกิดการคิดคำนวณดอกเบี้ยเรื่อยมานับแต่ปี 2532 ทำให้ต้นเงินและดอกเบี้ยเมื่อคิดถึงวันฟ้องคดีนี้เป็นจำนวนถึง 72,915.75 บาท อีกทั้งการสืบหาทรัพย์สินของจำเลยปรากฏว่าบ้านทาวน์เฮาส์ 2 ชั้นของจำเลยปิดประตูใส่กุญแจอยู่ในลักษณะทิ้งร้างเท่านั้น แต่โจทก์ไม่ได้เข้าไปตรวจดูว่ามีทรัพย์สินอื่นใดบ้างกลับแถลงต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีว่าไม่มีทรัพย์สินของจำเลยอยู่ในบ้านและโจทก์ก็มิได้นำเจ้าพนักงานบังคับคดีที่ไปทำการยึดทรัพย์สินมาเบิกความสนับสนุนให้เห็นถึงฐานะของจำเลยว่าไม่มีทรัพย์สินอันจะพึงให้ยึดได้จริง เมื่อไม่ปรากฏว่าจำเลยเป็นหนี้บุคคลอื่นใดอีกรูปคดียังไม่พอฟังว่าจำเลยเป็นผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัว กรณีมีเหตุที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย