พบผลลัพธ์ทั้งหมด 164 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3294/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาลงโทษนอกฟ้อง: ศาลฎีกายกฟ้องเมื่อศาลอุทธรณ์ลงโทษจำเลยนอกเหนือจากข้อหาที่โจทก์ฟ้อง
การกระทำของจำเลยที่โจทก์ฟ้องระบุว่าเป็นความผิดและขอให้ลงโทษ คือการจำนองที่ดินโฉนดเลขที่ 29344 ที่คงเหลือและที่ดินโฉนดเลขที่ 157147 ซึ่งศาลชั้นต้นได้พิพากษายกฟ้อง โจทก์อุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์เห็นพ้องด้วยในส่วนนี้โดยมิได้มีคู่ความฝ่ายใดฎีกาโต้แย้งแล้ว จึงเป็นอันยุติ แต่ในส่วนที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาลงโทษจำเลยเนื่องมาจากการขายที่ดินแปลงย่อย 3 แปลง ซึ่งเป็นที่ดินแปลงอื่นที่โจทก์มิได้กล่าวในฟ้องนั้น ย่อมเป็นการพิพากษานอกฟ้อง จึงนำมารับฟังลงโทษจำเลยไม่ได้ ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 192 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2543 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร: พิจารณาจากจำนวนข้อหาที่แยกจากกันได้
พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ.2539 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาใช้บังคับโดยอนุโลม ตามมาตรา 17 แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าว ซึ่งตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ.เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่า คดีหนึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 200,000 บาท ในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ถึงปี 2539 ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมิน และให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมิน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 38 โดยการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตาม ป.รัษฏากร มาตรา 65 ว่า ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้จำเลยชำระภาษีตามที่ได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่จำเลยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่งปี 2538 ข้อหาหนึ่ง และปี 2539 อีกข้อหาหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน และสามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ถึงปี 2539 ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมิน และให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมิน ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 38 โดยการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตาม ป.รัษฏากร มาตรา 65 ว่า ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้จำเลยชำระภาษีตามที่ได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่จำเลยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่งปี 2538 ข้อหาหนึ่ง และปี 2539 อีกข้อหาหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน และสามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร: การพิจารณาจำนวนข้อหาจากคำฟ้องแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากรพ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่า คดีหนึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 200,000 บาทในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ถึงปี 2539 ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมินและให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 38 โดยการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ว่า ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้จำเลยชำระภาษีตามที่ได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่จำเลยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่งปี 2538 ข้อหาหนึ่ง และปี 2539 อีกข้อหาหนึ่งคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกันและสามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ถึงปี 2539 ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมินและให้เจ้าพนักงานประเมินเป็นผู้ประเมินตามประมวลรัษฎากรมาตรา 38 โดยการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตามประมวลรัษฎากร มาตรา 65 ว่า ถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้จำเลยชำระภาษีตามที่ได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลแก่จำเลยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่งปี 2538 ข้อหาหนึ่ง และปี 2539 อีกข้อหาหนึ่งคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกันและสามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1220/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร: พิจารณาจากจำนวนข้อหาที่เสนอต่อศาลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชี
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะดังนั้นจึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว ซึ่งตามตาราง 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่าคดีหนึ่งต้องเสียค่าขึ้นศาลไม่เกิน 200,000 บาท ดังนั้น ในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ ซึ่ง ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 1(3) บัญญัติว่า คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลฯ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหาแต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่ง ปี 2538 ข้อหาหนึ่งและปี 2539อีกข้อหาหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกันสามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1219/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าขึ้นศาลคดีภาษีอากร: คำฟ้องหลายข้อหาแยกจากกันได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนข้อหา
ท้าย ป.วิ.พ. (ค่าขึ้นศาล)
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่า คดีหนึ่งเสียค่าขึ้นศาล ไม่เกินสองแสนบาท ดังนั้นในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) บัญญัติว่า คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลฯ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และปี 2538 และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2537 ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมินและให้เจ้าพนักงานประเมินผู้ประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 38 และ 77 โดยการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีเงินได้ของนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 และการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของ เจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83 และ 83/1 ว่าถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายหรือแสดงรายการภาษีขายและภาษีซื้อ รวมทั้งการเครดิตภาษีแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือ แต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้จำเลยชำระภาษีตามที่ได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี ดังนั้น สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่อง การประเมินภาษีในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีและแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่งและปี 2538 ข้อหาหนึ่ง รวมทั้งฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2537 อีกข้อหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา
พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 และข้อกำหนดคดีภาษีอากร พ.ศ. 2539 มิได้บัญญัติเรื่องค่าขึ้นศาลไว้โดยเฉพาะ จึงต้องนำบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลมตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งตามตาราง 1 ท้าย ป.วิ.พ. เรื่องค่าขึ้นศาลมิได้บัญญัติว่า คดีหนึ่งเสียค่าขึ้นศาล ไม่เกินสองแสนบาท ดังนั้นในการพิจารณาว่าคดีใดจะต้องเสียค่าขึ้นศาลเท่าใด จำต้องพิจารณาคำฟ้องเป็นเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 1 (3) บัญญัติว่า คำฟ้อง หมายความว่า กระบวนพิจารณาใด ๆ ที่โจทก์ได้เสนอข้อหาต่อศาลฯ ดังนี้ การเรียกค่าขึ้นศาลจึงต้องดูว่าคำฟ้องที่เสนอต่อศาลมีกี่ข้อหา แต่ละข้อหาเกี่ยวข้องกันหรือแยกจากกันได้หรือไม่
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 และปี 2538 และภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2537 ตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมิน ซึ่งภาษีเงินได้นิติบุคคลและภาษีมูลค่าเพิ่มจัดอยู่ในประเภทภาษีอากรประเมินและให้เจ้าพนักงานประเมินผู้ประเมินตาม ป.รัษฎากร มาตรา 38 และ 77 โดยการประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลของเจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีเงินได้ของนิติบุคคลในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 65 และการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของ เจ้าพนักงานประเมินเป็นการประเมินการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีตาม ป.รัษฎากร มาตรา 83 และ 83/1 ว่าถูกต้องและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ ซึ่งอาจมีปัญหาเกี่ยวกับการรับรู้รายได้และรายจ่ายหรือแสดงรายการภาษีขายและภาษีซื้อ รวมทั้งการเครดิตภาษีแตกต่างกันในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือ แต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี และการฟ้องคดีของโจทก์ก็เพื่อให้จำเลยชำระภาษีตามที่ได้มีหนังสือแจ้งภาษีเงินได้นิติบุคคลหรือหนังสือแจ้งการประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มแก่จำเลยในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี ดังนั้น สภาพแห่งข้อหาตามคำฟ้องของโจทก์จึงเป็นเรื่อง การประเมินภาษีในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีหรือแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีแล้วแต่กรณี ซึ่งในแต่ละรอบระยะเวลาบัญชีและแต่ละเดือนภาษีหรือช่วงเวลาภาษีไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ เมื่อโจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีปี 2537 ข้อหาหนึ่งและปี 2538 ข้อหาหนึ่ง รวมทั้งฟ้องขอให้จำเลยชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีสิงหาคม 2537 อีกข้อหนึ่ง คำฟ้องของโจทก์จึงเป็นการเสนอข้อหาต่อศาล 3 ข้อหา ที่ไม่เกี่ยวข้องกัน สามารถแยกออกจากกันได้ โจทก์จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลทั้งสามข้อหา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดตามข้อหาที่แจ้ง พ้นเหตุฎีกาเมื่อไม่ได้ยกข้อต่อสู้ตั้งแต่ต้น
ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 ที่ว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นการพนันแปดเก้า แต่คดีนี้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 เพียงฐานร่วมกันเล่นการพนัน มิได้แจ้งข้อหาความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังกล่าว และไม่มีการสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 6 ในข้อหาความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นแปดเก้า เมื่อไม่มีการสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1 และที่ 6 ในข้อความผิดดังกล่าวนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง กล่าวคือ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อความผิดตามที่อ้างในฎีกาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6หรือไม่ ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง และคดีนี้จำเลยที่ 1 และที่ 6 ให้การรับสารภาพว่าได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น ทั้งมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นข้อฎีกาที่มิชอบด้วย ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย ป.วิ.อ.มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5583/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องจำกัดเฉพาะข้อหาที่แจ้งสอบสวน การให้การรับสารภาพไม่ขัดขวางการยกเหตุไม่มีอำนาจฟ้องในชั้นฎีกา
ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 ที่ว่า โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และขอให้ลงโทษจำเลยที่ 6 ฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่น การพนันแปดเก้า แต่คดีนี้พนักงานสอบสวนแจ้งข้อหาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 เพียงฐานร่วมกันเล่นการพนันมิได้แจ้งข้อหาความผิดตามที่โจทก์ฟ้องดังกล่าว และไม่มีการสอบสวนจำเลยที่ 1 และที่ 6 ในข้อหาความผิดฐานเป็นเจ้ามือรับกินรับใช้และฐานเป็นผู้จัดให้มีการเล่นแปดเก้าเมื่อไม่มีการสอบสวน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1และที่ 6 ในข้อความผิดดังกล่าวนั้น เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับอำนาจฟ้อง กล่าวคือ เป็นฎีกาที่ต้องวินิจฉัยข้อเท็จจริงเสียก่อนว่าพนักงานสอบสวนได้แจ้งข้อความผิดตามที่อ้างในฎีกาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 6 หรือไม่ฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและคดีนี้จำเลยที่ 1 และที่ 6 ให้การรับสารภาพว่า ได้กระทำความผิดตามฟ้องโจทก์ โดยมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในศาลชั้นต้น ทั้งมิได้ยกข้อเท็จจริงดังกล่าวขึ้นเป็นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ ข้อเท็จจริงที่ยกขึ้นอ้างในฎีกาของจำเลยที่ 1 และที่ 6 จึงเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ เป็นข้อฎีกาที่มิชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3235/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษฐานรับของโจร แม้ฟ้องฐานลักทรัพย์ หากจำเลยปฏิเสธและมีเหตุผล ศาลลงโทษฐานรับของโจรได้
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสามบัญญัติให้การกระทำความผิดระหว่างฐานลักทรัพย์และรับของโจรมิให้ถือว่าแตกต่างกันในข้อสาระสำคัญแต่เป็นเพียงข้อแตกต่างในรายละเอียดเท่านั้น และไม่ให้ถือว่าเป็นกรณีเกินคำขอหรือเป็นเรื่องที่โจทก์ไม่ประสงค์ให้ลงโทษด้วย เว้นแต่จะหลงต่อสู้ เมื่อคดีนี้แม้โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ แต่จำเลยให้การและนำสืบปฏิเสธโดยอ้างฐานที่อยู่ว่าไม่ได้เกี่ยวข้องกับทรัพย์ของกลางจึงมิใช่เป็นเรื่องที่จำเลยหลงต่อสู้อันจะได้รับประโยชน์จากบทบัญญัติดังกล่าว ศาลจึงลงโทษจำเลยในความผิดฐานรับของโจรตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏในการพิจารณานั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำฟ้องปลอมพินัยกรรมต้องระบุรายละเอียดการปลอมเพื่อให้จำเลยต่อสู้คดีได้
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยได้ร่วมกันปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดก แล้วใช้พินัยกรรมปลอมของเจ้ามรดกที่ทำขึ้นโดยไม่ชอบไม่ถูกต้องตามกฎหมายไปทำการรับโอนมรดกที่ดินของเจ้ามรดก โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ร่วมกันทำการปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดกด้วยวิธีการอย่างไร เป็นการปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่บางส่วน ตลอดจนไม่ได้ระบุวันเวลาที่ทำการปลอมอีกด้วย จึงเป็นคำฟ้องที่มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาและสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับจำเลยในข้อหาปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2553/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเคลือบคลุมข้อหาปลอมพินัยกรรม จำเลยไม่เข้าใจข้อหาและไม่สามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง
โจทก์บรรยายฟ้องแต่เพียงว่าจำเลยได้ร่วมกันปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดก แล้วใช้พินัยกรรมปลอมของเจ้ามรดกที่ทำขึ้นโดยไม่ชอบไม่ถูกต้องตามกฎหมายไปทำการรับโอนมรดกที่ดินของเจ้ามรดก โดยมิได้บรรยายฟ้องให้ปรากฏข้อเท็จจริงว่า จำเลยได้ร่วมกันทำการปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดกด้วยวิธีการอย่างไร เป็นการปลอมขึ้นทั้งฉบับหรือแต่บางส่วนตลอดจนไม่ได้ระบุวันเวลาที่ทำการปลอมอีกด้วย จึงเป็นคำฟ้อง ที่มิได้แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาและสามารถต่อสู้คดีได้อย่างถูกต้อง ฟ้องโจทก์เกี่ยวกับ จำเลยในข้อหาปลอมพินัยกรรมของเจ้ามรดกจึงเป็นฟ้องเคลือบคลุม