คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อห้าม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 60 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4754/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาข้อห้ามอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงแยกตามฟ้องโจทก์และฟ้องแย้ง
การพิจารณาว่าคดีตามคำฟ้องของโจทก์และฟ้องแย้งของจำเลยจะต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงหรือไม่ ต้องแยกพิจารณาต่างหากเป็นคนละส่วนกัน
โจทก์ฟ้องขอให้ขับไล่จำเลยออกจากอสังหาริมทรัพย์มีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 4,000 บาท คดีตามฟ้องโจทก์จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อ-เท็จจริง ส่วนคดีตามฟ้องแย้งจำเลยเป็นคดีที่จำเลยขอให้บังคับโจทก์ดำเนินการทำสัญญาเช่ากับเทศบาลเมืองเพื่อให้โจทก์ทำสัญญาเช่ากับจำเลยจึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ซึ่งต้องด้วยข้อยกเว้นที่ให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 224 วรรคสอง ตอนต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3027/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์ต้องยกเหตุข้อกล่าวหาใหม่ที่ไม่เคยถูกยกขึ้นในศาลแรงงานถือเป็นข้อห้ามตามกฎหมาย
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นลูกจ้างจำเลยได้รับค่าจ้างอัตราสุดท้ายเท่าใดกำหนดจ่ายค่าจ้างเมื่อใด สหภาพแรงงานแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเมื่อใด รวมทั้งวันที่จำเลยมีคำสั่งเลิกจ้างโจทก์โดยมิได้ขออนุญาตต่อศาลแรงงาน ซึ่งไม่เป็นการเลิกจ้างตามกฎหมาย ขอให้เพิกถอนคำสั่งเลิกจ้างดังกล่าวและรับโจทก์กลับเข้าทำงานตามเดิม พร้อมทั้งจ่ายค่าจ้างและดอกเบี้ยให้แก่โจทก์ ถือได้ว่าเป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหา คำขอบังคับ และข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว โดยไม่จำต้องบรรยายว่า กรรมการลูกจ้างที่สหภาพแรงงานแต่งตั้งมีจำนวนกี่คน เป็นบุคคลใดบ้าง และตำแหน่งกรรมการลูกจ้างที่ว่างลง 2 คน นั้นคือใคร ตำแหน่งว่างเพราะเหตุใด สหภาพแรงงานมีจำนวนสมาชิกที่เป็นลูกจ้างจำเลยจำนวนเท่าใด มากพอเท่ากับที่กฎหมายกำหนดไว้ในการที่จะมีอำนาจแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างหรือไม่ เพราะข้อเท็จจริงดังกล่าวโจทก์นำสืบในชั้นพิจารณาได้ ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
จำเลยให้การว่า โจทก์ไม่ใช่กรรมการลูกจ้างเพราะสหภาพแรงงานผู้แต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างมีสมาชิกไม่ถึงจำนวนตามที่กฎหมายกำหนดให้มีสิทธิในการแต่งตั้งกรรมการลูกจ้างได้ แต่จำเลยกลับอุทธรณ์ว่า การแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่างไม่ชอบ เพราะสมาชิกที่สมัครก่อนถึงวันประชุมใหญ่ของสหภาพแรงงานยังไม่มีฐานะเป็นสมาชิกและไม่มีสิทธิแต่งตั้งกรรมการสหภาพแรงงาน กรรมการสหภาพแรงงานที่ได้รับการแต่งตั้งจึงเป็นกรรมการโดยไม่ชอบ ไม่มีสิทธิแต่งตั้งโจทก์เป็นกรรมการลูกจ้างเพิ่มแทนตำแหน่งที่ว่าง โจทก์จึงเป็นกรรมการลูกจ้างที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งเป็นคนละเหตุกับที่จำเลยให้การต่อสู้ไว้ จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลแรงงาน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 ประกอบด้วยพ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2617/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าเช่าในสัญญาเช่าเดิมเป็นตัวกำหนดขอบเขตค่าเสียหายคดีขับไล่ หากอุทธรณ์ข้อเท็จจริงเกินกว่านั้นเป็นข้อห้าม
แม้โจทก์จะกล่าวในฟ้องที่ขอให้ขับไล่จำเลยผู้เช่าออกจากอาคารพิพาทว่าหากให้ผู้อื่นเช่าจะได้ค่าเช่าเดือนละ 25,000 บาทและใช้อัตราดังกล่าวเป็นเกณฑ์คำนวณเรียกค่าเสียหายและศาลชั้นต้นกำหนดค่าเสียหายให้เดือนละ 15,000 บาท ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้อง โจทก์จำเลยนำสืบว่าจำเลยเช่าจากเจ้าของเดิมในอัตราค่าเช่าเดือนละ 1,000 บาท ต้องฟังว่าอาคารพิพาทมีค่าเช่าในขณะยื่นคำฟ้องไม่เกินเดือนละ 2,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224 เดิมซึ่งบังคับใช้ในขณะยื่นอุทธรณ์ แม้ศาลอุทธรณ์จะรับวินิจฉัยให้ก็ไม่ชอบ ถือว่าข้อเท็จจริงยุติไปตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นจำเลยจึงไม่มีสิทธิฎีกาในข้อเท็จจริงดังกล่าวอีก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 228/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงราคาซื้อขายที่ดิน การนำสืบหลักฐานราคาที่แท้จริงไม่ขัดต่อข้อห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
สัญญาซื้อขายที่ดินระบุราคาซื้อขายจำนวน3,000,000บาทแต่คู่ความรับกันว่าซื้อขายกันจริงในราคา9,500,000บาทดังนั้นแม้สัญญาซื้อขายมีข้อความว่าผู้ซื้อได้ชำระและผู้ขายได้รับเงินค่าที่ดินเรียบร้อยแล้วก็ตามการที่ผู้ขายนำสืบว่ายังได้รับเงินค่าที่ดินไม่ครบถ้วนตามราคาที่แท้จริงจึงไม่เป็นการนำสืบเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อความในสัญญาซื้อขายไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา94(ข)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2033/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตก่อสร้างอาคารตามกฎหมายควบคุมอาคาร แม้ไม่มีข้อห้ามในตอนแรก แต่มีข้อห้ามใช้บังคับในภายหลัง
แม้นับแต่เวลาที่โจทก์ยื่นคำขออนุญาตก่อสร้างอาคารจนถึงเวลาที่โจทก์อุทธรณ์คำสั่งของจำเลยที่ไม่อนุญาตให้โจทก์ก่อสร้างอาคารต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะยังไม่มีประกาศกระทรวงมหาดไทยหรือข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครห้ามก่อสร้างอาคารในบริเวณที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างก็ตามแต่ตามกฎหมายที่ใช้ในขณะที่ศาลชั้นต้นพิพากษาคดีจนถึงเวลาที่ศาลฎีกาพิพากษาคดีนี้ได้มีประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯและข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครเรื่องกำหนดบริเวณห้ามก่อสร้างดัดแปลงใช้หรือเปลี่ยนการใช้อาคารบางชนิดหรือบางประเภทริมถนนสุขาภิบาล2ทั้งสองฟากฯลฯซึ่งออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา9และมาตรา13แห่งพระราชบัญญัติควบคุมอาคารพ.ศ.2522ออกมาใช้บังคับโดยห้ามมิให้บุคคลใดทำการก่อสร้างอาคารในระยะ15เมตรจากเขตถนนทั้งสองฟากของถนนสุขาภิบาล2และยังมีผลใช้บังคับอยู่ซึ่งรวมถึงบริเวณสถานที่ที่โจทก์ประสงค์จะก่อสร้างอาคารของโจทก์ศาลจึงไม่อาจพิพากษาบังคับให้เป็นไปตามคำขอของโจทก์อันเป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายดังกล่าวได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1210/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยกข้อไม่ชัดเจนในคำให้การและการยกประเด็นใหม่ในชั้นฎีกาที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นเจ้าของมีสิทธิครอบครองที่ดินมือเปล่าจำเลยที่ 1 บุกรุกและนำที่ดินด้านทิศเหนือให้จำเลยที่ 2 เช่าปลูกอ้อย จำเลยที่ 1ให้การว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 มิใช่ของโจทก์ จำเลยที่ 1 ครอบครองที่พิพาทมานาน 8 ปีแล้ว หากจะฟังว่าที่พิพาทเป็นของโจทก์คดีก็ขาดอายุความเพราะจำเลยที่ 1 เข้าทำประโยชน์มาก่อนฟ้องเกินกว่า 1 ปี ดังนี้เป็นคำให้การที่ไม่ชัดแจ้งว่าที่พิพาทเป็นของจำเลยหรือของโจทก์ และขัดแย้งกันเอง ไม่ชอบด้วยป.วิ.พ. มาตรา มาตรา 177 วรรคสอง คดีไม่มีประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์ฟ้องคดีเพื่อเอาคืนซึ่งการครอบครองภายใน 1 ปี นับแต่ถูกแย่งการครอบครองหรือไม่ที่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ในประเด็นดังกล่าวจึงไม่ชอบ ถือว่าเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องเบิกเกินบัญชี: คำฟ้องชัดเจน พยานหลักฐานต้องนำสืบในชั้นศาล ข้อฎีกาใหม่ต้องห้าม
โจทก์ฟ้องเรียกเงินที่จำเลยเบิกเกินบัญชี โดยบรรยายฟ้องว่าจำเลยขอเปิดบัญชีเงินฝากกระแสรายวันกับโจทก์ และตกลงว่าในกรณีเงินฝากคงเหลือในบัญชีดังกล่าวของจำเลยไม่พอจ่าย หากโจทก์ผ่อนผันจ่ายเงินไปก่อนแล้ว จำเลยยอมชำระเงินจำนวนที่เบิกเกินบัญชีคืนแก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ย โดยส่งคำขอเปิดบัญชีและหลักฐานการหักทอนบัญชีมาพร้อมคำฟ้องนั้น เป็นคำฟ้องที่แสดงโดยแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 172 แล้ว ส่วนข้อที่ว่าจำเลยเป็นหนี้โจทก์เมื่อใด มูลหนี้เกี่ยวกับอะไรและที่มาของมูลหนี้นั้น เป็นรายละเอียดที่โจทก์สามารถจะสืบได้ในชั้นพิจารณา จำเลยยื่นเช็คและใบคืนเช็คมาท้ายฎีกาเพื่อสนับสนุนข้อฎีกาของจำเลยที่ว่าไม่เคยทำข้อตกลงบัญชีเดินสะพัดกับโจทก์ โดยจำเลยมิได้ยื่นบัญชีระบุเช็คกับใบคืนเช็คดังกล่าวเป็นพยาน และไม่ได้นำสืบไว้ในชั้นพิจารณาของศาลชั้นต้น จึงรับฟังเช็คและใบคืนเช็คดังกล่าวเป็นพยานหลักฐานไม่ได้ จำเลยฎีกาว่า โจทก์อนุมัติจ่ายเงินตามเช็คที่จำเลยสั่งจ่ายจากบัญชีของจำเลยโดยประมาทเลินเล่อ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดในต้นเงินและดอกเบี้ยโดยจำเลยไม่ได้ให้การต่อสู้ในข้อนี้ไว้ จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วในศาลชั้นต้น ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 220/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง: คดีค่าเสียหายที่ไม่เกินสองแสนบาทและมีลักษณะคล้ายคดีขับไล่
ในการวินิจฉัยว่าคดีต้องห้ามฎีกาข้อเท็จจริงหรือไม่นั้นต้องพิจารณาบทกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันยื่นคำฟ้องฎีกา คดีฟ้องขับไล่ตามสัญญาเช่าแม้จะไม่มีประเด็นเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกา แต่ในการวินิจฉัยว่าคดีต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงหรือไม่ก็ต้องแปลว่ามีประเด็นในเรื่องขับไล่ในชั้นฎีกาด้วย เพื่อให้บทบัญญัติของกฎหมายซึ่งใช้เฉพาะในชั้นฎีกามีผลเช่นเดียวกันอย่างแท้จริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4184/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีที่มีทุนทรัพย์น้อยกว่าสองแสนบาท และข้อห้ามฎีกาในข้อเท็จจริง
ในคดีที่ราคาทรัพย์สินหรือจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกินสองแสนบาท ห้ามมิให้คู่ความฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดย พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติม ป.วิ.พ. (ฉบับที่ 12) พ.ศ.2534 มาตรา 18คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้จำเลยที่ 3 ชำระเงิน190,454 พร้อมด้วยดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปีนับแต่วันฟ้องเป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ จำเลยที่ 3 ฎีกาขอให้ตนเป็นฝ่ายชนะคดี จำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาคงมีจำนวนเพียง 190,454 บาท ส่วนดอกเบี้ยอัตราร้อยละเจ็ดครึ่งต่อปี นับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ถือเป็นค่าเสียหายในอนาคตจำนำมาคำนวณเป็นทุนทรัพย์ในชั้นฎีกาหาได้ไม่
ฎีกาของจำเลยที่ 3 ที่ว่าจำเลยที่ 1 มิได้เป็นฝ่ายประมาทเลินเล่อและจำเลยที่ 1 มิใช่ลูกจ้างและกระทำการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 เป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอันเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงจึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาของจำเลยที่ 3 จึงไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3012/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อจำกัดการฎีกาในคดีประกันตัว: ทุนทรัพย์แต่ละรายไม่เกินห้าหมื่นบาท ถือเป็นข้อห้ามฎีกา
โจทก์ฟ้องให้จำเลยชำระค่าปรับตามสัญญาประกันผู้ต้องหา 2 ฉบับถือว่าสัญญาประกันแต่ละฉบับเป็นคนละรายแบ่งแยกรับผิดเป็นส่วนสัดกันเมื่อทุนทรัพย์แต่ละรายไม่เกินห้าหมื่นบาท โจทก์จำเลยจึงต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง.
of 6