คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ข้อเท็จจริง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 3,082 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7096/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลแขวงและการอุทธรณ์คำพิพากษายกฟ้องในปัญหาข้อเท็จจริง
คดีอยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลแขวง เมื่อศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลแขวงพิพากษายกฟ้อง จึงต้องห้ามมิให้โจทก์อุทธรณ์คำพิพากษาในปัญหาข้อเท็จจริง ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวง พ.ศ.2499 มาตรา 22 โจทก์ยื่นอุทธรณ์และยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง ที่ศาลชั้นต้นสั่งคำร้องว่า กรณีศาลมีคำสั่งว่าคดีไม่มีมูล โจทก์ย่อมใช้สิทธิอุทธรณ์ได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 170 วรรคหนึ่ง ให้ยกคำร้อง และมีคำสั่งรับอุทธรณ์ของโจทก์ จึงไม่ชอบ และการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 3 เพียงแต่ไม่รับวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์โดยมิได้สั่งให้เพิกถอนคำสั่งรับอุทธรณ์และคำสั่งตามคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงของศาลชั้นต้น ให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาตั้งแต่ชั้นสั่งรับอุทธรณ์เสียใหม่ให้ถูกต้อง เป็นการไม่ชอบเช่นกัน ปัญหานี้แม้โจทก์จะมิได้ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลฎีกาเห็นเป็นการจำเป็นที่จะยกขึ้นวินิจฉัย ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6906/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนคำสั่งศาลที่ไม่ชอบ และการพิจารณาคำร้องขออนุญาตฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงที่ถูกจำกัดสิทธิ
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นเฉพาะโทษที่ลงแก่จำเลยจากจำคุก 1 ปี เป็นจำคุก 6 เดือน โดยมิได้แก้บทมาตราด้วย เป็นการแก้ไขเล็กน้อยและยังคงลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลยที่ขอให้ผู้พิพากษาศาลชั้นต้นและผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งพิจารณาและลงชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงในคดีที่ต้องห้ามมิให้จำเลยฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงว่า กรณีไม่ต้องห้ามฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงและมีคำสั่งรับฎีกาของจำเลย เป็นการสั่งโดยผิดหลงและเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ไม่ชอบ ศาลฎีกามีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยโดยให้เพิกถอนคำสั่งและการดำเนินการที่ไม่ชอบของศาลชั้นต้น และสั่งให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องได้ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 208 (2) ประกอบมาตรา 225

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 684/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม: จำเลยรับสารภาพ-แก้โทษเล็กน้อย-ไม่อุทธรณ์พยานหลักฐาน-ฎีกาข้อเท็จจริง
เมื่อศาลชั้นต้นสอบคำให้การจำเลย จำเลยให้การรับสารภาพ ศาลชั้นต้นวินิจฉัยว่า จำเลยกระทำความผิดตามฟ้อง จำเลยอุทธรณ์ขอให้ลงโทษสถานเบาโดยมิได้อุทธรณ์ว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบประกอบคำรับสารภาพของจำเลยไม่อาจฟังลงโทษจำเลยได้ ปัญหาว่าพยานหลักฐานโจทก์รับฟังได้ว่าจำเลยกระทำความผิดตามฟ้องหรือไม่ จึงยุติตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น จำเลยจะฎีกาโต้เถียงเป็นอย่างอื่นมิได้ เมื่อจำเลยฎีกาว่ามิได้กระทำความผิดตามฟ้อง จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 9 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้คำพิพากษาศาลชั้นต้นทั้งบทความผิดและบทกำหนดโทษกับแก้โทษปรับที่ลงแก่จำเลย ก็เป็นเพียงปรับวรรคของบทความผิดและบทกำหนดโทษให้ถูกต้อง โดยมิได้แก้ฐานความผิดแต่อย่างใด ถือเป็นการแก้ไขเล็กน้อย เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 9 ยังคงลงโทษจำคุกจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวกระทงละไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ที่จำเลยฎีกาขอให้ลงโทษสถานเบา เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการลงโทษของศาลอุทธรณ์ภาค 9 จึงเป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามฎีกาตามบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าว ที่ศาลชั้นต้นสั่งรับฎีกาจำเลยในความผิดทั้งสองฐานดังกล่าวนั้นเป็นการมิชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6562/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงโทษและระยะเวลาฝึกอบรมในคดีเยาวชน การฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงถูกจำกัด
โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในข้อหาชิงทรัพย์ แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับโดยเห็นว่า "คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 83, 339 วรรคสาม ประกอบมาตรา 340 ตรี จำคุก 4 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนดขั้นต่ำ 2 ปี 6 เดือน ขั้นสูง 3 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 6 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 295 จำคุก 1 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน มีกำหนดขั้นต่ำ 1 ปี ขั้นสูง 2 ปี ข้อหาชิงทรัพย์ให้ยก กรณีจึงเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตามกฎหมายตาม ป.อ. มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 124" เมื่อโจทก์ไม่ได้ดำเนินการขอให้ผู้พิพากษาซึ่งพิจารณาหรือลงชื่อในคำพิพากษาอนุญาตให้ฎีกาหรืออัยการสูงสุดลงลายมือชื่อรับรองในฎีกาว่ามีเหตุอันควรที่ศาลสูงสุดจะได้วินิจฉัยคดีของโจทก์จึงยุติไปตามคำสั่งไม่รับฎีกาของศาลชั้นต้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6433/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อุทธรณ์ในข้อเท็จจริงต้องห้ามตาม พ.ร.บ.แรงงาน และการจ่ายค่าจ้างในนามมารดาเพื่อลดหย่อนภาษี
อุทธรณ์โจทก์เป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง แต่ได้บิดเบือนเพื่อให้เห็นเป็นข้อกฎหมายและเพื่อให้ศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงใหม่ต่างไปจากศาลแรงงานกลางว่าจำเลยที่ 1 มีข้อตกลงจ่ายเงินค่าบำเหน็จจากการขายหรือค่าคอมมิชชั่นให้แก่โจทก์ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง
จำเลยทั้งสองไม่ได้จัดให้มีการประชุมคณะกรรมการของจำเลยทั้งสองเพื่อจัดตั้งกองทุนเกษียณอายุ ไม่มีการลงมติรับรองรายงานการประชุม จำเลยทั้งสองไม่ได้จัดตั้งกองทุนเกษียณอายุดังที่โจทก์ฟ้อง โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกเงินจากกองทุนเกษียณอายุดังที่โจทก์ฟ้องได้ โจทก์อุทธรณ์โดยอ้างว่ารายงานการประชุมเป็นเอกสารที่ทำขึ้นโดยชอบด้วยกฎหมายและอยู่ในความครอบครองของจำเลยทั้งสองตาม ป.พ.พ. มาตรา 1207 จึงมีผลผูกพันจำเลยทั้งสองให้ต้องปฏิบัติตามรายงานการประชุม เป็นอุทธรณ์ที่บิดเบือนว่าข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยทั้งสองได้จัดตั้งกองทุนเกษียณอายุขึ้นโดยชอบแล้วตามรายงานการประชุมเพื่อให้ศาลฎีกาวินิจฉัยในข้อกฎหมายว่าเมื่อรายงานการประชุมเป็นเอกสารที่จัดทำขึ้นโดยชอบและรักษาไว้ ณ สำนักงานที่ดินได้จดทะเบียนของจำเลยทั้งสอง เมื่อโจทก์ซึ่งเป็นประธานแห่งการประชุมลงลายมือชื่อไว้แล้วย่อมสันนิษฐานได้ว่าเป็นหลักฐานอันถูกต้องแห่งข้อความที่ได้จดบันทึกไว้จึงย่อมมีผลผูกพันจำเลยทั้งสอง จึงเป็นอุทธรณ์ในข้อเท็จจริง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงานฯ มาตรา 54 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
สัญญาจ้างแรงงานระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์นั้น แม้มีข้อตกลงเกี่ยวกับวิธีการจ่ายเงินค่าจ้างอันมีผลทำให้รัฐจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากโจทก์ได้ลดน้อยลง ถือได้ว่าเป็นการไม่สุจริต แต่ข้อตกลงการจ่ายค่าจ้างให้แก่โจทก์ของจำเลยที่ 1 ก็หาตกเป็นโมฆะไม่ โจทก์จึงมีสิทธิรับค่าจ้างในส่วนนี้ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5281/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่อุทธรณ์ข้อเท็จจริงที่รับสารภาพ และยืนยันโทษฐานกระทำชำเราเด็ก
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 ซึ่งเป็นเด็กอายุไม่เกินสิบห้าปี โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม จำเลยให้การรับสารภาพ ข้อเท็จจริงรับฟังได้ว่า จำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอม จำเลยฎีกาว่า จำเลยกระทำชำเราด้วยความยินยอมของผู้เสียหายที่ 2 จึงเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงที่จำเลยให้การรับสารภาพแล้วและเป็นการยกข้อเท็จจริงขึ้นใหม่ในชั้นฎีกา จึงมิใช่ข้อที่ได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ภาค 7 ต้องห้ามฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
การที่จะไม่ต้องรับโทษในความผิดที่กระทำโดยอาศัยบทบัญญัติมาตรา 277 วรรคสี่ แห่ง ป.อ. นั้น จะต้องได้ความว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ยินยอมให้กระทำ เมื่อข้อเท็จจริงได้ความว่าจำเลยกระทำชำเราผู้เสียหายที่ 2 โดยผู้เสียหายที่ 2 ไม่ยินยอมแล้ว แม้ภายหลังศาลจะอนุญาตให้จำเลยกับผู้เสียหายที่ 2 สมรสกัน ก็ไม่เข้าเงื่อนไขในอันที่จะไม่ต้องรับโทษตามบทบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความตามข้อเท็จจริง แม้ต่อมาไม่เข้าข่ายความผิดทางกฎหมาย ก็ไม่ถือเป็นความเท็จ
ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น เป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองจะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งความย่อมหมายถึงเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองตามที่จำเลยแจ้ง และพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ทั้งสองก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงที่ปรากฏ หากความเข้าใจของจำเลยสอดคล้องกับเหตุการณ์จริง แม้ผลทางกฎหมายจะต่างกัน ก็ไม่ถือเป็นความเท็จ
การกระทำของโจทก์กับพวกเป็นเหตุให้จำเลยเข้าใจได้ว่าเป็นการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ และทำให้เสียทรัพย์ที่มีไว้เพื่อสาธารณประโยชน์ จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นดังกล่าว ส่วนการกระทำของโจทก์จะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ตามที่จำเลยแจ้ง และพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ คดีของโจทก์จึงไม่มีมูล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5236/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความตามข้อเท็จจริง แม้ผลสอบไม่ผิด ก็ไม่ถือเป็นความเท็จ
ข้อความที่จำเลยแจ้งความร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนตรงตามสภาพเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยแจ้งความตามข้อเท็จจริงที่ปรากฏ ส่วนการกระทำของโจทก์ทั้งสองจะเป็นความผิดต่อกฎหมายตามที่จำเลยแจ้งหรือไม่ ไม่สำคัญ เพราะการแจ้งข้อความย่อมหมายถึงแจ้งเฉพาะข้อเท็จจริงไม่เกี่ยวกับข้อกฎหมาย แม้ต่อมาพนักงานสอบสวนจะได้ดำเนินคดีแก่โจทก์ทั้งสองตามที่จำเลยแจ้งและพนักงานอัยการมีคำสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องคดีโจทก์ทั้งสองก็ตาม ก็ยังถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นความเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5212/2549

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาไม่ชอบเมื่อเนื้อหาเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ซ้ำ โดยมิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์
ข้อความในฎีกาของโจทก์ล้วนมีเนื้อหาเป็นการโต้แย้งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นทั้งสิ้นโดยคัดลอกจากข้อความในอุทธรณ์ของโจทก์ทั้งหมด ซึ่งศาลอุทธรณ์ได้มีคำวินิจฉัยในปัญหาเดียวกันไว้แล้ว ฎีกาของโจทก์มิได้กล่าวอ้างว่าศาลอุทธรณ์วินิจฉัยข้อเท็จจริงตอนใดไม่ถูกต้องอย่างไรและไม่เห็นด้วยกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์เพราะเหตุใด ทั้งๆ ที่เหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นต่างกับเหตุผลในคำวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ แม้โจทก์จะมีคำขอท้ายฎีกาขอให้ศาลฎีกาพิจารณาและพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ และมีคำพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้องของโจทก์ต่อไปด้วย ก็ไม่อาจถือเป็นคำคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ไปได้ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นฎีกาที่มิได้คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ เป็นฎีกาที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.อ. มาตรา 216 ประกอบด้วย พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแขวงและวิธีพิจารณาความอาญาในศาลแขวงฯ มาตรา 4
of 309