พบผลลัพธ์ทั้งหมด 278 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษข้าราชการในคดียาเสพติด: การพิจารณาโทษทวีคูณและการแก้ไขโทษที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
จำเลยทั้งสองกระทำความผิดฐานมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย ตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) , 66 วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการ ซึ่ง พ.ร.บ. มาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่เมื่อบทบัญญัติของกฎหมายมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้ว จึงไม่อาจวางโทษเป็นสามเท่าได้อีก ทั้งไม่อาจนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับด้วยได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม) , 66 วรรคสอง (เดิม) เท่านั้น คงวางโทษจำเลยที่ 1 ได้เพียงจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิต การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 วางโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานร่วมกันมีเมทแอมเฟตามีนไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย 50 ปี และที่ศาลล่างทั้งสองวางโทษจำคุกจำเลยที่ 2 ในความผิดดังกล่าวมีกำหนด 45 ปี นั้น ไม่ต้องตาม พ.ร.บ. ยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 66 วรรคสอง (เดิม) โดยลงโทษต่ำกว่าอัตราโทษที่กฎหมายบัญญัติไว้ แต่โจทก์มิได้อุทธรณ์ฎีกาในปัญหานี้ จึงไม่อาจแก้ไขกำหนดโทษให้เป็นไปตามบทกฎหมายดังกล่าวได้ เพราะจะเป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยทั้งสอง ต้องห้ามตาม ป.วิ.อ. มาตรา 212 ประกอบด้วยมาตรา 225
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 171/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลงโทษจำคุกในคดีครอบครองและจำหน่ายยาเสพติด: การพิจารณาโทษสามเท่าสำหรับข้าราชการและบทบัญญัติที่แก้ไขใหม่
จำเลยที่ 1 ร่วมกับจำเลยที่ 2 มีเมทแอมเฟตามีน 7,000 เม็ด น้ำหนัก 644.30 กรัมคำนวณเป็นสารบริสุทธิ์ได้ 143.67 กรัม ไว้ในครอบครองเพื่อจำหน่าย อันเป็นความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ. 2522 มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม), 66 วรรคสอง (เดิม) ต้องระวางโทษจำคุกตลอดชีวิต หรือประหารชีวิตแม้จำเลยที่ 1 เป็นข้าราชการทหาร ซึ่งพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด พ.ศ. 2534 มาตรา 10 บัญญัติให้ต้องระวางโทษเป็นสามเท่าของโทษที่กำหนดไว้สำหรับความผิดนั้น แต่เมื่อมีระวางโทษจำคุกตลอดชีวิตหรือประหารชีวิตแล้ว จึงไม่อาจวางโทษเป็นสามเท่าได้อีก ทั้งไม่อาจนำมาตรา 10 แห่งบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าวมาปรับด้วยได้ จำเลยที่ 1 คงมีความผิดตามพระราชบัญญัติยาเสพติดให้โทษ พ.ศ.2522มาตรา 15 วรรคสอง (เดิม),66 วรรคสอง (เดิม) เท่านั้นซึ่งคงวางโทษจำเลยที่ 1 ได้เพียงจำคุกตลอดชีวิต
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2795/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เงินประจำตำแหน่งข้าราชการไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2)
เนื่องจาก พ.ร.บ.เงินเดือนและเงินประจำตำแหน่ง พ.ศ.2538 มาตรา 12 วรรคสาม บัญญัติไว้ว่า เงินประจำตำแหน่งไม่ถือเป็นเงินเดือน ดังนั้น เงินประจำตำแหน่งของข้าราชการจึงมิใช่เงินเดือนในความหมายของเงินเดือนของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาล ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5508/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
จำหน่ายคดี, คุณสมบัติกรรมการ, การแต่งตั้งข้าราชการ, อำนาจศาล, ฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์บรรยายฟ้องว่าคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายกำหนดวันให้โจทก์เริ่มการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทรายโดยไม่พิจารณาความพร้อมของโรงงานน้ำตาลทราย ชาวไร่อ้อย และความหวานของอ้อย แต่มิได้บรรยายฟ้องกล่าวอ้างถึงวันประกาศราชกิจจานุเบกษาของประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าเกิดขึ้นหลังวันที่กำหนดให้โจทก์เริ่มการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทราย และหลังจากวันที่โจทก์เริ่มการหีบอ้อยผลิตน้ำตาลทรายแล้วหรือไม่ ประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฯ มีผลใช้บังคับเมื่อใด จะมีผลย้อนหลังบังคับโจทก์ได้หรือไม่ โจทก์มิได้บรรยายไว้ในคำฟ้องทั้งสิ้น ฎีกาโจทก์จึงเป็นการกล่าวอ้างข้อเท็จจริงขึ้นใหม่เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่มิได้ยกขึ้นว่ากล่าวมาแต่ศาลชั้นต้นแม้ศาลอุทธรณ์จะวินิจฉัยให้ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อที่ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่างทั้งสอง
พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายฯ มาตรา 9 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มิได้มีข้อกำหนดให้ระบุชื่อเฉพาะของข้าราชการและไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใดบังคับว่าการแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นกรรมการจะต้องระบุชื่อโดยเฉพาะ ทั้งตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษอื่นใดย่อมแต่งตั้งโดยระบุตำแหน่งได้โดยถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นเป็นตัวแทนของส่วนราชการหน่วยนั้น ๆและเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตำแหน่งไม่ติดตัวและสิ้นสภาพไปเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้น ตาย โอนย้ายหรือลาออกจากราชการไป ฉะนั้น หากผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ผู้อยู่ในลำดับรองลงไปก็สามารถรับมอบหมายให้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ ทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าว ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้แต่งตั้งผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการดังกล่าวย่อมมอบหมายให้ข้าราชการในกรมที่ตนสังกัดอยู่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยเข้าประชุมแทนได้
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 198วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ได้ คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของโจทก์มิใช่คำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต่อไป
พระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายฯ มาตรา 9 เป็นบทบัญญัติเกี่ยวกับการแต่งตั้งคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย มิได้มีข้อกำหนดให้ระบุชื่อเฉพาะของข้าราชการและไม่ปรากฏว่ามีบทบัญญัติของกฎหมายที่เกี่ยวข้องอื่นใดบังคับว่าการแต่งตั้งข้าราชการให้เป็นกรรมการจะต้องระบุชื่อโดยเฉพาะ ทั้งตามระเบียบบริหารราชการแผ่นดิน การแต่งตั้งข้าราชการให้ปฏิบัติหน้าที่พิเศษอื่นใดย่อมแต่งตั้งโดยระบุตำแหน่งได้โดยถือว่าผู้ได้รับแต่งตั้งนั้นเป็นตัวแทนของส่วนราชการหน่วยนั้น ๆและเป็นเอกสิทธิ์เฉพาะตำแหน่งไม่ติดตัวและสิ้นสภาพไปเมื่อผู้ดำรงตำแหน่งที่ได้รับแต่งตั้งนั้น ตาย โอนย้ายหรือลาออกจากราชการไป ฉะนั้น หากผู้ดำรงตำแหน่งไม่อยู่ผู้อยู่ในลำดับรองลงไปก็สามารถรับมอบหมายให้รักษาราชการแทนหรือปฏิบัติราชการแทนในตำแหน่งนั้น ๆ ได้ ทั้งการปฏิบัติหน้าที่ของกรรมการที่ได้รับการแต่งตั้งโดยตำแหน่งหน้าที่ราชการดังกล่าว ไม่มีกฎหมายกำหนดให้ต้องประชุมด้วยตนเองและไม่มีกฎหมายห้ามมิให้แต่งตั้งผู้อื่นปฏิบัติหน้าที่แทนกรรมการดังกล่าวย่อมมอบหมายให้ข้าราชการในกรมที่ตนสังกัดอยู่ไปปฏิบัติหน้าที่ราชการโดยเข้าประชุมแทนได้
จำเลยที่ 1 ขาดนัดยื่นคำให้การ โจทก์ไม่ยื่นคำขอต่อศาลชั้นต้นภายในกำหนดระยะเวลาที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 198 วรรคหนึ่ง ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งจำหน่ายคดีออกจากสารบบความตามมาตรา 198วรรคสอง คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา โจทก์มิได้โต้แย้งคำสั่งจำหน่ายคดีของศาลชั้นต้นเพื่อใช้สิทธิอุทธรณ์ฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์ฎีกาคำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้จำหน่ายคดีเฉพาะจำเลยที่ 1 ได้ คำร้องขอให้เพิกถอนกระบวนพิจารณาที่ผิดระเบียบของโจทก์มิใช่คำโต้แย้งคัดค้านคำสั่งระหว่างพิจารณาเพื่อใช้สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะทหารกองประจำการกับการเป็นข้าราชการเพื่อการลงโทษตามกฎหมายยาเสพติด
การที่บุคคลใดจะเป็นข้าราชการหรือไม่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมาย หาใช่ว่าบุคคลใดที่ต้องไปปฏิบัติราชการแล้วจะมีฐานะเป็นข้าราชการเสมอไป ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการทหาร" หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2479 มาตรา 4 (3) บัญญัติว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด และมาตรา 4 (8) บัญญัติว่า "ทหารประจำการ" หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ จึงเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ ได้แยกทหารประจำการ และ ทหารกองประจำการไว้ต่างหากจากกัน เฉพาะทหารประจำการเท่านั้นที่ถือว่าเป็นข้าราชการ จะแปลความให้หมายความรวมถึงจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทหารกองประจำการว่าเป็นข้าราชการ อันจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสามเท่า ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 ด้วย หาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5333/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะข้าราชการของทหารกองประจำการตามกฎหมายยาเสพติด: การตีความข้อยกเว้น
การที่บุคคลใดจะเป็นข้าราชการหรือไม่ต้องเป็นไปตามบทบัญญัติของกฎหมายหาใช่ว่าบุคคลใดที่ต้องไปปฏิบัติราชการแล้วจะมีฐานะเป็นข้าราชการเสมอไป ซึ่งพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหาร พ.ศ. 2521 มาตรา 4 บัญญัติว่า "ข้าราชการ"หมายความว่า ทหารประจำการและข้าราชการกลาโหมพลเรือนที่บรรจุในตำแหน่งอัตราทหาร ส่วนคำว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ทหารกองประจำการตามกฎหมายว่าด้วยการรับราชการทหาร และพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2479มาตรา 4(3) บัญญัติว่า "ทหารกองประจำการ" หมายความว่า ผู้ซึ่งขึ้นทะเบียนกองประจำการและได้เข้ารับราชการในกองประจำการจนกว่าจะได้ปลด และมาตรา 4(8)บัญญัติว่า "ทหารประจำการ" หมายความว่า ทหารซึ่งรับราชการตามที่กระทรวงกลาโหมกำหนดซึ่งไม่ใช่ทหารกองประจำการ จึงเห็นได้ว่าตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการทหารฯ และพระราชบัญญัติรับราชการทหารฯ ได้แยกทหารประจำการ และ ทหารกองประจำการไว้ต่างหากจากกัน เฉพาะทหารประจำการเท่านั้นที่ถือว่าเป็นข้าราชการจะแปลความให้หมายความรวมเป็นจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นทหารกองประจำการว่าเป็นข้าราชการ อันจะต้องรับโทษหนักขึ้นเป็นสามเท่า ตามพระราชบัญญัติมาตรการในการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดฯ มาตรา 10 ด้วยหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับเงินค่าป่วยการของข้าราชการ: เงินค่าป่วยการที่ไม่ใช่เงินเดือนและไม่อยู่ในข่ายได้รับการคุ้มครองตาม ป.วิ.พ. มาตรา 286(2)
เจตนารมย์ของบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 286 (2) มุ่งหมายที่จะให้ความคุ้มครองข้าราชการแห่งรัฐที่เลี้ยงชีพด้วยเงินเดือนอันเป็นรายได้ประจำเพียงอย่างเดียวที่แน่นอนตายตัว แต่เงินที่โจทก์ขออายัดเป็นเงินค่าป่วยการรายเดือน และเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งซึ่งเหมาจ่ายเป็นรายเดือนโดยคำนวณจากรายได้จริงตามงบประมาณทั่วไปที่เทศบาลจัดเก็บเองจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับและรายได้จากทรัพย์สินของเทศบาลของปีงบประมาณที่ผ่านมา จึงมีลักษณะไม่คงที่ อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ของเทศบาล ซึ่งต่างจากเงินเดือนและค่าจ้างของข้าราชการประจำที่มีลักษณะคงที่แน่นอนไม่ผันแปรโดยง่าย ดังนั้นเงินค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งจึงมิได้อยู่ในความหมายของคำว่า "เงินเดือน" ของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 286 (2) โจทก์ย่อมขอบังคับคดีได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2092/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับคดีกับเงินค่าป่วยการของเทศมนตรี: เงินค่าป่วยการไม่ใช่เงินเดือน จึงบังคับคดีได้
ค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งที่จำเลยได้รับจากเทศบาลนคร ซึ่งให้เหมาจ่ายเป็นรายเดือน โดยคำนวณจากรายได้จริงตามงบประมาณทั่วไปที่เทศบาลจัดเก็บเองจากภาษีโรงเรือนและที่ดิน ภาษีบำรุงท้องที่ภาษีป้าย อากรฆ่าสัตว์ค่าธรรมเนียม ค่าใบอนุญาต ค่าปรับ และรายได้จากทรัพย์สินของเทศบาลของปีงบประมาณที่ผ่านมา มีลักษณะไม่คงที่อาจเปลี่ยนแปลงขึ้นลงได้ตามรายได้ เงินดังกล่าวมิใช่เงินเดือน ค่าจ้าง บำนาญ บำเหน็จ และเบี้ยหวัดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) แม้ตำแหน่งเทศมนตรีที่จำเลยดำรงอยู่จะถือว่าเป็นข้าราชการการเมือง แต่เมื่อเงินค่าป่วยการรายเดือนและเงินค่าป่วยการประจำตำแหน่งมิได้อยู่ในความหมายหรือคำว่า "เงินเดือน"ของข้าราชการหรือลูกจ้างของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว โจทก์ย่อมขอบังคับคดีแก่เงินดังกล่าวได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1863/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลูกหนี้มีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่มีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้ แม้เป็นข้าราชการ ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ได้
จำเลยมีเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงรวมเดือนละประมาณ 26,000 บาท จำเลยเป็นหนี้โจทก์จำนวน 104,025.39 บาท ซึ่งเป็นหนี้ที่เกิดจากการใช้บัตรเครดิตซื้อสินค้าและเบิกเงินสดโดยจำเลยไม่เคยชำระหนี้แก่โจทก์เลยเป็นเวลานานเกือบ 4 ปี ทำให้จำนวนหนี้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อนับถึงวันฟ้องมีจำนวน 204,600 บาท ซึ่งเมื่อเทียบกับรายได้ต่อเดือนของจำเลยแล้วจำนวนหนี้มีมากกว่ารายได้ แม้จำเลยเป็นข้าราชการมีเงินเดือน แต่เงินเดือนตลอดทั้งบำเหน็จบำนาญไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 286(2) จำเลยรับราชการมานานแต่ไม่มีทรัพย์สินอื่นใดอีก แสดงว่าเงินเดือนและเบี้ยเลี้ยงของจำเลยมีจำนวนเพียงแค่การดำรงชีพของจำเลยในแต่ละเดือนเท่านั้น ไม่เหลือพอที่จะแบ่งไปผ่อนชำระหนี้แก่โจทก์ได้ เงินสะสมของข้าราชการมีสภาพเป็นส่วนหนึ่งของเงินเดือนข้าราชการ แม้จำเลยจะมีเงินสะสมในกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการก็ไม่อยู่ในความรับผิดแห่งการบังคับคดีเช่นกัน ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวและไม่อาจชำระหนี้ได้ทั้งหมดทั้งพฤติการณ์ของจำเลยมิได้แสดงให้เห็นถึงความตั้งใจในทางที่จะขวนขวายเพื่อชำระหนี้แก่โจทก์ด้วยความสุจริตใจ คดีจึงไม่มีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1211/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาข้าราชการไปศึกษาต่อต่างประเทศ: การตีความขอบเขตการใช้ทุนและการโอนย้ายสังกัด
ตามสัญญาของข้าราชการไปศึกษาหรือฝึกอบรม ณ ต่างประเทศของจำเลยข้อ 3ระบุว่า เมื่อจำเลยสำเร็จการศึกษาหรือไม่ จำเลยจะรับราชการต่อไปในสังกัดกรมอาชีวศึกษาโจทก์ กระทรวงศึกษาธิการหรือในกระทรวง ทบวง กรมอื่นตามที่ทางราชการเห็นสมควรและข้อ 4 ระบุว่า หากจำเลยผิดสัญญาในข้อ 3 หรือไม่กลับมารับราชการด้วยเหตุใด ๆจำเลยยินยอมชดใช้เงินเดือนหรือเงินอื่นใดที่ได้รับในระหว่างไปศึกษาพร้อมเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ สัญญาดังกล่าวมิใช่ว่าจำเลยต้องรับราชการในสังกัดโจทก์เท่านั้น ทั้งตามหนังสือขอโอนข้าราชการโจทก์เป็นผู้เห็นสมควรให้จำเลยโอนไปรับราชการที่สำนักงานสภาสถาบันราชภัฏ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดกระทรวงศึกษาธิการ จำเลยจึงมิได้ปฏิบัติผิดสัญญา จึงไม่ผิดนัดและไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามสัญญาข้อ 4 แก่โจทก์ หนังสือรับสภาพหนี้แม้จะทำขึ้นเพื่อให้โจทก์ยอมอนุมัติให้จำเลยโอนไปรับราชการอื่นได้ ก็ไม่มีภาระผูกพันหรือทำให้มีหนี้ที่จะต้องชำระเงินตามที่รับสภาพไว้