พบผลลัพธ์ทั้งหมด 151 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8081/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีเครื่องหมายการค้า: โจทก์มีสิทธิฟ้องทั้งนายทะเบียนและคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้
พ.ร.ฎ. แบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญา กระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา (จำเลยที่ 1) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วย? เครื่องหมายการค้า? มาตรา 4 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2 ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 5 (3) (ก) เป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและควบคุมดูแลการดำเนินการของกองตรวจสอบ 2 เกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ส่วนจำเลยที่ 10 เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจหน้าที่รับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 เมื่อจำเลยที่ 10 มีคำวินิจฉัยให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นคัดค้านไว้และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมติยืนตามคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 10 โดยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า รวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 10 เป็นจำเลยต่อศาลได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 866/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจการออกใบอนุญาตขนส่งทางบก: บทบาทนายทะเบียนกลาง/ประจำจังหวัด และขอบเขตอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่ง
การประกอบการขนส่งทางบกมีบทกฎหมายแยกแยะประเภทของการขนส่ง การออกใบอนุญาตประกอบการขนส่ง ผู้มีอำนาจออกใบอนุญาตประกอบการขนส่ง การอนุมัติเงื่อนไขในการประกอบการขนส่งที่ต้องระบุในใบอนุญาตประกอบการขนส่งไว้ตามลำดับความสำคัญ กล่าวคือ ถ้าเป็นการประกอบการขนส่งในกรุงเทพ-มหานคร หรือการขนส่งระหว่างจังหวัด หรือเป็นการขนส่งระหว่างประเทศ เป็นอำนาจของนายทะเบียนกลางเป็นผู้ออกใบอนุญาตตามมาตรา 30 ส่วนการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งในแต่ละจังหวัดรวมทั้งการออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กนั้น เป็นอำนาจของนายทะเบียนประจำจังหวัดนั้น ๆ ตามมาตรา 30 โดยให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเป็นผู้อนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 33 เว้นแต่การออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งประจำทางเท่านั้นที่นอกจากจะให้คณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดเป็นผู้อนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 31 แล้ว ยังต้องได้รับอนุมัติจากคณะกรรมการดังกล่าวตามมาตรา 30 วรรคสอง อีกด้วย
เมื่อจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดนครศรีธรรรมราชพิจารณาคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์และของผู้ยื่นคำขอรายอื่นที่ยื่นไว้ภายในกำหนดทุกรายแล้วเห็นว่า โจทก์เป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและตามหลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่กรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด จึงเห็นควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ แล้วนำเรื่องการขออนุญาตพร้อมความเห็นที่ควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้แก่โจทก์เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่ออนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 33คณะกรรมการดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 ประกอบด้วยมาตรา 33 เฉพาะที่เกี่ยวกับการขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กย่อมมีอำนาจเพียงเฉพาะอนุมัติเงื่อนไขที่เกี่ยวกับจำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถ เครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง ฯลฯไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 33 เท่านั้น หามีอำนาจที่จะลงมติออกใบอนุญาตหรือไม่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือลงมติยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 5 ได้พิจารณาและลงความเห็นว่าสมควรออกใบอนุญาตให้แก่โจทก์ผู้ยื่นคำขอจนเสร็จไปแล้ว หรือลงมติให้จำเลยที่ 5 ไปพิจารณาทบทวนความเห็นใหม่ว่าสมควรที่จะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอรายใดอันเป็นการขัดต่อบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจไว้หาได้ไม่
เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชมีมติให้ยกเลิกมติที่ประชุมที่ได้ลงผิดไปเกี่ยวกับการยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์ โดยให้คำขออนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์ยังคงมีผลในการพิจารณาต่อไป จึงเท่ากับว่าคำขออนุญาตของโจทก์และความเห็นของจำเลยที่ 5 ที่เห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์นั้น ยังคงมีผลอยู่ตามเดิม จึงชอบที่จำเลยทั้งห้าในฐานะคณะกรรมการดังกล่าวจำต้องปฏิบัติตามต่อไปตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 33 หรือหากเห็นว่า ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่จะใช้ในการกำหนดเงื่อนไขไม่พอเพียงก็ชอบที่จะเลื่อนการพิจารณากำหนดเงื่อนไขออกไปเพื่อให้จำเลยที่ 5 หามาเพิ่มเติมได้และเมื่อมีการอนุมัติเงื่อนไขแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ซึ่งหากได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องขวนขวายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ถ้าโจทก์ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามจำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยที่ 5 โดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์ได้ตามมาตรา 46
การที่จำเลยทั้งห้าอ้างว่าคำขออนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์มีรถซ้ำซ้อนคันกัน ไม่แน่ว่าโจทก์จะรวมรถได้จริง ทั้ง ๆ ที่ในประกาศรับคำขอก็มิได้กำหนดจำนวนรถที่จะใช้ในการประกอบการขนส่งว่าจะต้องใช้รถทั้งหมดกี่คันและคำขอทุกรายก็มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับรถซ้อนคันกันเช่นเดียวกัน แล้วด่วนยกขึ้นเป็นสาเหตุลงมติให้จำเลยที่ 5 ไปทบทวนความเห็นที่จะออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้แก่โจทก์เสียใหม่ โดยที่ยังไม่มีการกำหนดจำนวนรถเป็นเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตให้โจทก์จำต้องปฏิบัติตาม จึงนอกจากจะไม่เป็นสาระสำคัญในชั้นพิจารณาคำขออนุญาตประกอบการขนส่งเพราะอาจจะกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการก้าวล่วงเข้าไปชี้นำการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งเป็นอำนาจของจำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดโดยตรงตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 30และมาตรา 33 อันเป็นการกระทำที่เกินขอบอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดที่บัญญัติให้อำนาจไว้ในมาตรา 20 และมาตรา 33อีกด้วย มติที่ประชุมของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่กำหนดเงื่อนไขในการที่จะออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ แต่มีมติให้จำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดไปพิจารณาทบทวนความเห็นใหม่ว่าควรออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขออนุญาตรายใด จึงเป็นมติที่ไม่ชอบ
การที่จำเลยที่ 5 กลับความเห็นเดิมแล้วมีความเห็นใหม่กลายเป็นว่าไม่สมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์เพราะผลของการประชุมของคณะกรรมการที่พยายามจะให้จำเลยที่ 5 ยกเลิกหรือทบทวนความเห็นเกี่ยวกับคำขอของโจทก์เป็นความเห็นและคำสั่งที่ปราศจากหลักเกณฑ์และเหตุผล ไม่มีกฎหมายให้อำนาจจำเลยที่ 5 ทำได้ถึงเพียงนั้น เป็นการไม่ให้ความคุ้มครองและไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ควรเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดีกว่าบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือที่ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งภายในเวลาที่ทางราชการประกาศกำหนด และแม้จะยังไม่ได้ชื่อว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยสมบูรณ์ แต่โจทก์ผู้มีสิทธิดีกว่าผู้อื่นย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ลงมติให้จำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจารณาทบทวนความเห็นควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งว่าควรออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขอรายใด และย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 5 ที่ให้ยกเลิกคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์โดยไม่ชอบนั้นเสียได้ และมีผลทำให้คำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์พร้อมด้วยความเห็นของจำเลยที่ 5 ที่เห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ยังมีผลอยู่ตามเดิม เป็นอำนาจหน้าที่ของขนส่งจังหวัดในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดจะพิจารณาดำเนินการตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 33 ต่อไป
เมื่อจำเลยที่ 5 ซึ่งเป็นนายทะเบียนประจำจังหวัดนครศรีธรรรมราชพิจารณาคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์และของผู้ยื่นคำขอรายอื่นที่ยื่นไว้ภายในกำหนดทุกรายแล้วเห็นว่า โจทก์เป็นผู้มีคุณสมบัติถูกต้องครบถ้วนตามกฎหมายและตามหลักเกณฑ์การพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กที่กรรมการควบคุมการขนส่งทางบกกลางกำหนด จึงเห็นควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ แล้วนำเรื่องการขออนุญาตพร้อมความเห็นที่ควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้แก่โจทก์เข้าสู่การพิจารณาของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชเพื่ออนุมัติเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 33คณะกรรมการดังกล่าวโดยอาศัยอำนาจตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 20 ประกอบด้วยมาตรา 33 เฉพาะที่เกี่ยวกับการขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กย่อมมีอำนาจเพียงเฉพาะอนุมัติเงื่อนไขที่เกี่ยวกับจำนวนรถที่ต้องใช้ในการประกอบการขนส่ง ลักษณะ ชนิด ขนาดและสีของรถ เครื่องหมายของผู้ประกอบการขนส่งที่ต้องให้ปรากฏประจำรถทุกคัน เส้นทางที่ใช้ในการประกอบการขนส่ง เวลาและจำนวนเที่ยวของการเดินรถ อัตราค่าขนส่งและค่าบริการอย่างอื่นในการขนส่ง ฯลฯไว้ในใบอนุญาตตามมาตรา 33 เท่านั้น หามีอำนาจที่จะลงมติออกใบอนุญาตหรือไม่ออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็ก หรือลงมติยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์ซึ่งจำเลยที่ 5 ได้พิจารณาและลงความเห็นว่าสมควรออกใบอนุญาตให้แก่โจทก์ผู้ยื่นคำขอจนเสร็จไปแล้ว หรือลงมติให้จำเลยที่ 5 ไปพิจารณาทบทวนความเห็นใหม่ว่าสมควรที่จะออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นคำขอรายใดอันเป็นการขัดต่อบทกฎหมายที่บัญญัติให้อำนาจไว้หาได้ไม่
เมื่อคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชมีมติให้ยกเลิกมติที่ประชุมที่ได้ลงผิดไปเกี่ยวกับการยกเลิกการยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์ โดยให้คำขออนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์ยังคงมีผลในการพิจารณาต่อไป จึงเท่ากับว่าคำขออนุญาตของโจทก์และความเห็นของจำเลยที่ 5 ที่เห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์นั้น ยังคงมีผลอยู่ตามเดิม จึงชอบที่จำเลยทั้งห้าในฐานะคณะกรรมการดังกล่าวจำต้องปฏิบัติตามต่อไปตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 33 หรือหากเห็นว่า ข้อมูลหรือข้อเท็จจริงที่จะใช้ในการกำหนดเงื่อนไขไม่พอเพียงก็ชอบที่จะเลื่อนการพิจารณากำหนดเงื่อนไขออกไปเพื่อให้จำเลยที่ 5 หามาเพิ่มเติมได้และเมื่อมีการอนุมัติเงื่อนไขแล้วย่อมเป็นหน้าที่ของโจทก์ซึ่งหากได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งจะต้องขวนขวายปฏิบัติตามเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนดไว้ ถ้าโจทก์ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งไม่ปฏิบัติตามจำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดย่อมมีอำนาจที่จะสั่งให้โจทก์ปฏิบัติให้ถูกต้อง หรือจัดการแก้ไขให้ถูกต้องภายในระยะเวลาที่กำหนด หากไม่ปฏิบัติหรือไม่แก้ไขให้ถูกต้อง จำเลยที่ 5 โดยอนุมัติของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชย่อมมีอำนาจสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์ได้ตามมาตรา 46
การที่จำเลยทั้งห้าอ้างว่าคำขออนุญาตประกอบการขนส่งของโจทก์มีรถซ้ำซ้อนคันกัน ไม่แน่ว่าโจทก์จะรวมรถได้จริง ทั้ง ๆ ที่ในประกาศรับคำขอก็มิได้กำหนดจำนวนรถที่จะใช้ในการประกอบการขนส่งว่าจะต้องใช้รถทั้งหมดกี่คันและคำขอทุกรายก็มีข้อบกพร่องเกี่ยวกับรถซ้อนคันกันเช่นเดียวกัน แล้วด่วนยกขึ้นเป็นสาเหตุลงมติให้จำเลยที่ 5 ไปทบทวนความเห็นที่จะออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งให้แก่โจทก์เสียใหม่ โดยที่ยังไม่มีการกำหนดจำนวนรถเป็นเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตให้โจทก์จำต้องปฏิบัติตาม จึงนอกจากจะไม่เป็นสาระสำคัญในชั้นพิจารณาคำขออนุญาตประกอบการขนส่งเพราะอาจจะกำหนดเป็นเงื่อนไขไว้ในใบอนุญาตดังกล่าวแล้ว ยังเป็นการก้าวล่วงเข้าไปชี้นำการพิจารณาออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กซึ่งเป็นอำนาจของจำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดโดยตรงตาม พ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 30และมาตรา 33 อันเป็นการกระทำที่เกินขอบอำนาจของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดที่บัญญัติให้อำนาจไว้ในมาตรา 20 และมาตรา 33อีกด้วย มติที่ประชุมของคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราช ที่ไม่กำหนดเงื่อนไขในการที่จะออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ แต่มีมติให้จำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดไปพิจารณาทบทวนความเห็นใหม่ว่าควรออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขออนุญาตรายใด จึงเป็นมติที่ไม่ชอบ
การที่จำเลยที่ 5 กลับความเห็นเดิมแล้วมีความเห็นใหม่กลายเป็นว่าไม่สมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์เพราะผลของการประชุมของคณะกรรมการที่พยายามจะให้จำเลยที่ 5 ยกเลิกหรือทบทวนความเห็นเกี่ยวกับคำขอของโจทก์เป็นความเห็นและคำสั่งที่ปราศจากหลักเกณฑ์และเหตุผล ไม่มีกฎหมายให้อำนาจจำเลยที่ 5 ทำได้ถึงเพียงนั้น เป็นการไม่ให้ความคุ้มครองและไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ที่ควรเป็นผู้มีสิทธิจะได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งดีกว่าบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ หรือที่ไม่ได้ยื่นคำขออนุญาตประกอบการขนส่งภายในเวลาที่ทางราชการประกาศกำหนด และแม้จะยังไม่ได้ชื่อว่าโจทก์เป็นผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยสมบูรณ์ แต่โจทก์ผู้มีสิทธิดีกว่าผู้อื่นย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องขอให้เพิกถอนมติที่ประชุมคณะกรรมการควบคุมการขนส่งทางบกประจำจังหวัดนครศรีธรรมราชที่ลงมติให้จำเลยที่ 5 ในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดพิจารณาทบทวนความเห็นควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งว่าควรออกใบอนุญาตให้แก่ผู้ยื่นขอรายใด และย่อมมีอำนาจที่จะฟ้องให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 5 ที่ให้ยกเลิกคำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์โดยไม่ชอบนั้นเสียได้ และมีผลทำให้คำขออนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กของโจทก์พร้อมด้วยความเห็นของจำเลยที่ 5 ที่เห็นสมควรออกใบอนุญาตประกอบการขนส่งโดยรถขนาดเล็กให้แก่โจทก์ยังมีผลอยู่ตามเดิม เป็นอำนาจหน้าที่ของขนส่งจังหวัดในฐานะนายทะเบียนประจำจังหวัดจะพิจารณาดำเนินการตามพ.ร.บ.การขนส่งทางบก พ.ศ.2522 มาตรา 33 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสภาแรงงาน การจดทะเบียน และอำนาจฟ้องร้องตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์
การนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือกตั้งใหม่ไปขอจดทะเบียนนั้นพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 93 ไม่ได้กำหนดขั้นตอนไว้ดังมาตรา 91 และ 107 ทั้งไม่มีมาตราใดกำหนดขั้นตอนไว้ให้ผู้ยื่นคำขออุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีได้ โจทก์จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียนดังกล่าวต่อรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ต้องสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ การที่จำเลยที่ 1 ไม่สั่งอุทธรณ์ของโจทก์ยังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7092/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการสหภาพแรงงานและการไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรี
ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 91เป็นกรณีที่นายทะเบียนเห็นว่าคำขอจดทะเบียนสหภาพแรงงานและร่างข้อบังคับเมื่อแรกจัดตั้งสหภาพแรงงานไม่ถูกต้องก็ให้นายทะเบียนมีคำสั่งไม่รับจดทะเบียนและให้สิทธิผู้ขอจดทะเบียนอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ มาตรา 106เป็นกรณีนายทะเบียนมีอำนาจสั่งให้กรรมการผู้ใดผู้หนึ่งหรือคณะกรรมการของสหภาพแรงงานออกจากตำแหน่ง และมาตรา 107 ให้สิทธิกรรมการผู้นั้นหรือคณะกรรมการอุทธรณ์คำสั่งต่อรัฐมนตรีได้ ซึ่งกรณีตามมาตรา 91,106 และ 107ไม่ใช่การนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียนต่อนายทะเบียน ส่วนมาตรา 93 แม้จะเป็นกรณีนำรายชื่อคณะกรรมการไปขอจดทะเบียน ต่อนายทะเบียน แต่เป็นรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับเลือก จากที่ประชุมใหญ่สามัญครั้งแรกหลังจากจดทะเบียนสหภาพแรงงาน แต่กรณีนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงคณะกรรมการซึ่งพ้นตำแหน่ง ไปตามข้อบังคับ และเป็นการนำรายชื่อคณะกรรมการที่ได้รับ เลือกตั้งใหม่ไปขอจดทะเบียน แต่การขอจดทะเบียนรายชื่อ คณะกรรมการทั้งสองกรณีดังกล่าว มาตรา 93 ไม่ได้กำหนดขั้นตอน ไว้ดังเช่นที่กำหนดไว้ตามมาตรา 91 และ 107 ทั้งไม่มีมาตราใด กำหนดขั้นตอนไว้ให้ผู้ยื่นคำขออุทธรณ์คำสั่งไม่รับจดทะเบียน ต่อรัฐมนตรีได้ เมื่อโจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่ง ไม่รับจดทะเบียนต่อรัฐมนตรีและรัฐมนตรีไม่มีหน้าที่ ต้องสั่งอุทธรณ์ของโจทก์ การที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน และสวัสดิการสังคม จำเลยไม่สั่งอุทธรณ์ของโจทก์ กรณียังถือไม่ได้ว่าโจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโจทก์ย่อมไม่มีอำนาจ ฟ้องจำเลย จึงชอบที่ศาลแรงงานจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องโจทก์ เฉพาะที่เกี่ยวกับจำเลยที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิเรียกประชุมผู้ถือหุ้นวิสามัญเมื่อคณะกรรมการไม่ดำเนินการตามข้อบังคับบริษัท
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า "การประชุมวิสามัญ ให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น" ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมวิสามัญได้ โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 26 ซึ่งมีข้อความว่า "การใด ๆ อันเกี่ยวกับการที่จะต้องปฏิบัติในส่วนที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในข้อบังคับนี้ฯลฯ ก็ให้ถือตาม ป.พ.พ.ที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด" กล่าวคือปฏิบัติตาม ป.พ.พ.มาตรา1174 วรรคสอง เมื่อคณะกรรมการบริษัทไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นตามที่ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นร้องขอภายใน 30 วัน ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นจึงเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเองได้ การประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4794/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิผู้ถือหุ้นร้องขอประชุมวิสามัญ หากคณะกรรมการไม่ดำเนินการภายใน 30 วัน ผู้ถือหุ้นมีสิทธิเรียกประชุมเองได้
ข้อบังคับของบริษัทมีว่า "การประชุมวิสามัญ ให้มีเมื่อบริษัทมีกิจการสำคัญที่จะต้องดำเนินการโดยเร่งด่วนและจำเป็น หรือมีผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอ ก็ให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมใหญ่ผู้ถือหุ้น" ดังนี้ เมื่อปรากฏว่าตามข้อบังคับดังกล่าวผู้ถือหุ้นไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนผู้ถือหุ้นทั้งหมดร่วมกันร้องขอให้คณะกรรมการบริษัทจัดให้มีการประชุมวิสามัญได้โดยปฏิบัติตามข้อบังคับ ข้อ 26 ซึ่งมีข้อความว่า "การใด ๆ อันเกี่ยวกับการที่จะต้องปฏิบัติในส่วนที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด ซึ่งมิได้กล่าวไว้ในข้อบังคับนี้ ฯลฯ ก็ให้ถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่ว่าด้วยบริษัทจำกัด" กล่าวคือปฏิบัติตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1174 วรรคสอง เมื่อคณะกรรมการบริษัทไม่เรียกประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นตามที่ผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นร้องขอภายใน 30 วันผู้คัดค้านและผู้ถือหุ้นอื่นจึงเรียกประชุมใหญ่วิสามัญเองได้ การประชุมใหญ่วิสามัญผู้ถือหุ้นครั้งดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3651/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเปรียบเทียบปรับ พ.ร.บ.โรงงาน: จำเป็นต้องยินยอมก่อนส่งเรื่องให้คณะกรรมการ
กรณีตาม พ.ร.บ.โรงงาน พ.ศ.2535 มาตรา 65 เมื่อคดีถึงพนักงานสอบสวน การที่พนักงานสอบสวนจะส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีได้นั้น ผู้ต้องหานั้นต้องแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับเสียก่อน ผู้ต้องหานั้นจะแสดงความยินยอมให้เปรียบเทียบปรับในระหว่างการพิจารณาของศาลหาได้ไม่
คดีนี้จำเลยไม่ได้แสดงความยินยอมต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนย่อมไม่จำต้องส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดี โดยไม่ได้ส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจึงมิใช่เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คดีนี้จำเลยไม่ได้แสดงความยินยอมต่อพนักงานสอบสวนว่าจำเลยยินยอมให้เปรียบเทียบปรับ พนักงานสอบสวนย่อมไม่จำต้องส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีก่อน ดังนั้น การที่พนักงานสอบสวนส่งเรื่องให้พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องคดี โดยไม่ได้ส่งเรื่องให้แก่คณะกรรมการเปรียบเทียบคดีจึงมิใช่เป็นการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนที่กฎหมายบัญญัติ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1199/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตอำนาจคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ภาษี: ต้องพิจารณาเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินตั้งไว้เท่านั้น
คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มิได้เป็นเจ้าพนักงานประเมินซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งตาม ป.รัษฎากร มาตรา 16 คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาอุทธรณ์ของผู้ต้องเสียภาษีอากรเฉพาะประเด็นที่เจ้าพนักงานประเมินได้ประเมินไว้ และผู้ต้องเสียภาษีอากรอุทธรณ์เท่านั้นจะไปตั้งประเด็นใหม่นอกเหนือไปจากประเด็นเดิมที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินหาได้ไม่ ส่วนการที่คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์มีอำนาจทำการไต่สวนและเรียกพยานมาตรวจสอบเพิ่มเติมตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 32 และมีอำนาจในการวินิจฉัยให้ผู้อุทธรณ์เสียภาษีอากรเพิ่มขึ้นได้ตามป.รัษฎากร มาตรา 31 วรรคสอง นั้น คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์จะมีอำนาจดำเนินการดังกล่าวได้ต้องเป็นการดำเนินการในประเด็นเดียวกับที่เจ้าพนักงานประเมินได้ทำการประเมินไว้ด้วย
คดีนี้หลังจากโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ต่อเจ้าพนักงานประเมินแล้วเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบ เห็นว่า แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้นั้นถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณภาษีในอัตราร้อยละเจ็ดของยอดขายและยอดซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ไม่ตรงกับตัวเลขตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ปรับปรุงการคำนวณภาษีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535เป็นเงิน 10,825 บาท และเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 เป็นเงิน 33 บาทส่วนในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับเห็นว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวไม่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบใบกำกับภาษีขายกับใบกำกับภาษีซื้อแล้ว โจทก์ได้นำใบกำกับภาษีขายและใบกำกับภาษีซื้อในเดือนภาษีอื่นนำมาเครดิตภาษีในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ขัดกับมาตรา 78/1 แห่ง ป.รัษฎากร แล้ววินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535 เป็นเงิน 25,585.01 บาท ส่วนเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 ให้ปลดภาษีที่จะต้องชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเสีย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหม่ที่ในชั้นตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งประเด็นไว้ในการไต่สวนเพื่อทำการประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 88, 88/2 และ 88/4 โจทก์จึงไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานและอุทธรณ์โต้แย้งตามลำดับขั้นตอนได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยผู้พิจารณาคำอุทธรณ์ของโจทก์กลับไต่สวนเสียเอง แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ได้ความจากพยานหลักฐานที่ไต่สวนในประเด็นอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้มีคำสั่งไว้ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เพราะผู้ที่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเด็นดังกล่าวได้นั้น คือเจ้าพนักงานประเมินเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 แห่ง ป.รัษฎากร
คดีนี้หลังจากโจทก์ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ต่อเจ้าพนักงานประเมินแล้วเจ้าพนักงานประเมินได้ทำการตรวจสอบ เห็นว่า แบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่มที่โจทก์ยื่นไว้นั้นถูกต้อง แต่โจทก์คำนวณภาษีในอัตราร้อยละเจ็ดของยอดขายและยอดซื้อในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ไม่ตรงกับตัวเลขตามความเป็นจริง เจ้าพนักงานประเมินจึงได้ปรับปรุงการคำนวณภาษีแล้วประเมินเรียกเก็บภาษีเพิ่มเติมพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่มจากโจทก์ในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535เป็นเงิน 10,825 บาท และเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 เป็นเงิน 33 บาทส่วนในชั้นพิจารณาของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์กลับเห็นว่า การประเมินของเจ้าพนักงานประเมินดังกล่าวไม่ถูกต้อง และเมื่อตรวจสอบใบกำกับภาษีขายกับใบกำกับภาษีซื้อแล้ว โจทก์ได้นำใบกำกับภาษีขายและใบกำกับภาษีซื้อในเดือนภาษีอื่นนำมาเครดิตภาษีในเดือนภาษีกุมภาพันธ์และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นการไม่ถูกต้อง ขัดกับมาตรา 78/1 แห่ง ป.รัษฎากร แล้ววินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีและเงินเพิ่มในเดือนภาษีกุมภาพันธ์ 2535 เป็นเงิน 25,585.01 บาท ส่วนเดือนภาษีพฤษภาคม 2535 ให้ปลดภาษีที่จะต้องชำระตามการประเมินของเจ้าพนักงานประเมินเสีย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ดังกล่าวจึงเป็นเรื่องใหม่ที่ในชั้นตรวจสอบเจ้าพนักงานประเมินมิได้ตั้งประเด็นไว้ในการไต่สวนเพื่อทำการประเมินเรียกเก็บภาษีจากโจทก์ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.รัษฎากรมาตรา 88, 88/2 และ 88/4 โจทก์จึงไม่มีโอกาสชี้แจงแสดงหลักฐานและอุทธรณ์โต้แย้งตามลำดับขั้นตอนได้ การที่เจ้าพนักงานของจำเลยผู้พิจารณาคำอุทธรณ์ของโจทก์กลับไต่สวนเสียเอง แล้วคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้โจทก์ชำระภาษีตามที่ได้ความจากพยานหลักฐานที่ไต่สวนในประเด็นอื่นที่เจ้าพนักงานประเมินมิได้มีคำสั่งไว้ จึงเป็นการไม่ปฏิบัติตามที่กฎหมายได้บัญญัติไว้เพราะผู้ที่มีอำนาจประเมินเรียกเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มในประเด็นดังกล่าวได้นั้น คือเจ้าพนักงานประเมินเท่านั้น ดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 88 แห่ง ป.รัษฎากร
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8293/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์สินโดยคำสั่งนายกฯ และการวินิจฉัยสิทธิในทรัพย์สินโดยคณะกรรมการ: ความชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.40/2516 และคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517 ต่างออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ที่ให้อำนาจนายกรัฐมนตรีที่จะออกคำสั่งหรือกระทำการใด ๆโดยมติของคณะรัฐมนตรีได้และให้ถือว่าคำสั่งหรือการกระทำเช่นว่านั้นรวมถึงการปฏิบัติตามคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งหรือการกระทำหรือการปฏิบัติที่ชอบด้วยกฎหมายด้วยนายกรัฐมนตรีมีคำสั่งที่ สลร.40/2516 ให้อายัดทรัพย์ของจอมพล ถ.และภริยากับพวกรวม 6 คน รวมทั้งที่ดินโฉนดเลขที่ 2361 ซึ่งเป็นที่ดินพิพาท มีชื่อโจทก์และท่านผู้หญิงจ.ภริยาจอมพล ถ.ร่วมกันในโฉนดที่ดิน คณะกรรมการซึ่งดำเนินการตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ได้อายัดที่ดินพิพาทไว้ ต่อมามีคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่สลร.39/2517 ให้ทรัพย์สินของจอมพล ถ.และภริยา กับพวกรวม 6 คน ซึ่งอายัดไว้ตามคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.40/2516 ตกเป็นของรัฐ ให้กระทรวงการคลังจำเลยที่ 1 เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินบรรดาที่ตกเป็นของรัฐ และให้ดำเนินการตามควรทุกประการในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สิน โดยให้นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่งเพื่อปฏิบัติการตามคำสั่งนี้ การที่ปรากฏชื่อของโจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยนั้นเป็นเพียงข้อสันนิษฐานในเบื้องต้นว่า โจทก์เป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทอยู่ด้วยเท่านั้น เมื่อโจทก์ใช้สิทธิตามคำสั่งที่ สลร.39/2517ข้อ 5 แล้ว และต่อมาคณะกรรมการวินิจฉัยตามข้อ 6 ว่า โจทก์มิได้พิสูจน์ให้เป็นที่พอใจว่าที่ดินพิพาทเป็นสินสมรสระหว่างโจทก์กับพันตรีหลวง จ. เมื่อพันตรีหลวง จ.ได้ทำพินัยกรรมยกให้ท่านผู้หญิง จ.แล้ว โจทก์ก็ไม่มีสิทธิในที่ดินดังกล่าว ดังนี้เท่ากับคณะกรรมการวินิจฉัยแล้วว่าที่ดินพิพาทเป็นของท่านผู้หญิง จ. และในชั้นพิจารณาของศาลเมื่อโจทก์ไม่สามารถนำสืบหักล้างข้อวินิจฉัยดังกล่าวของคณะกรรมการได้ ที่ดิน-พิพาทก็ย่อมตกเป็นของรัฐตามคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ สลร.39/2517
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ระบุไว้ชัดว่าต้องการให้การสอบสวนเรื่องทรัพย์สินที่อายัดไว้แล้วนั้นเสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังนั้นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจึงมีหน้าที่ทำการสอบสวนให้เสร็จไปโดยเร็ว การที่คณะกรรมการไม่แจ้งให้โจทก์นำพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดเข้าสืบประกอบเอกสารซึ่งคณะกรรมการรับพิจารณาอยู่แล้วก็ดี หรือนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาเป็นข้อวินิจฉัยก็ดี ย่อมอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการตามที่เห็นสมควร อันจักพึงชี้ให้เห็นได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ซึ่งได้มาโดยสุจริตและโดยชอบหรือไม่ หาใช่จำกัดไว้เฉพาะข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการพิจารณาโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 การพิจารณาของคณะกรรมการดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
คำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 ออกโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2515 ระบุไว้ชัดว่าต้องการให้การสอบสวนเรื่องทรัพย์สินที่อายัดไว้แล้วนั้นเสร็จสิ้นโดยเร็ว ดังนั้นคณะกรรมการที่จัดตั้งขึ้นจึงมีหน้าที่ทำการสอบสวนให้เสร็จไปโดยเร็ว การที่คณะกรรมการไม่แจ้งให้โจทก์นำพยานบุคคลหรือพยานเอกสารใดเข้าสืบประกอบเอกสารซึ่งคณะกรรมการรับพิจารณาอยู่แล้วก็ดี หรือนำพยานหลักฐานใดมาพิจารณาเป็นข้อวินิจฉัยก็ดี ย่อมอยู่ในดุลพินิจของคณะกรรมการตามที่เห็นสมควร อันจักพึงชี้ให้เห็นได้ว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของโจทก์ซึ่งได้มาโดยสุจริตและโดยชอบหรือไม่ หาใช่จำกัดไว้เฉพาะข้อเท็จจริงตามคำร้องของโจทก์เท่านั้น เมื่อไม่ปรากฏว่าคณะกรรมการพิจารณาโดยมีเจตนากลั่นแกล้งโจทก์ให้ได้รับความเสียหาย และได้ปฏิบัติตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรี ที่ สลร.39/2517 การพิจารณาของคณะกรรมการดังกล่าวจึงเป็นการชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 22/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจหน้าที่คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาล, การออกประกาศเรียกเก็บเงินสมทบ, และการใช้ประกาศที่ถูกต้องตามช่วงเวลา
ตามพระราชบัญญัติอ้อยและน้ำตาลทรายพ.ศ.2527มาตรา17ได้กำหนดอำนาจและหน้าที่ของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายไว้หลายประการเช่นมาตรา17(18)ให้มีอำนาจกำหนดหลักเกณฑ์วิธีการและเงื่อนไขการจำหน่ายน้ำตาลทรายและเพื่อไว้บริโภคในราชอาณาจักรและกำหนดราคาขายน้ำตาลทรายดังกล่าว(30)ให้อำนาจกำหนดระเบียบอื่นใดเพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัตินี้ซึ่งระเบียบดังกล่าวต้องได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้ออกระเบียบคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายว่าด้วยการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกฉบับที่1(พ.ศ.2528)ประกาศเมื่อวันที่26มีนาคม2528ระเบียบในข้อ5มีความว่าให้คณะกรรมการน้ำตาลทรายมีอำนาจหน้าที่(6)กำหนดจำนวนเงินสมทบและระยะเวลาการจ่ายเงินสมทบและ(7)ให้กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายจัดทำบัญชีเรียกว่า"บัญชีเงินจ่ายคืนผู้ผลิต"เพื่อนำเงินสมทบที่กองทุนอ้อยและน้ำตาลทรายเรียกเก็บจากโรงงานน้ำตาลทุกโรงงานตามจำนวนที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายกำหนดดังนั้นการที่คณะกรรมการน้ำตาลทรายออกประกาศเรื่องการจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี2530/2531เมื่อวันที่23มีนาคม2531โดยอาศัยอำนาจตามข้อ5แห่งระเบียบดังกล่าวจึงชอบด้วยกฎหมายโจทก์ขอให้เพิกถอนประกาศดังกล่าวไม่ได้ ประกาศคณะกรรมการน้ำตาลทรายที่เรียกเก็บเงินสมทบเป็นประกาศที่ใช้บังคับแก่การจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตปี2530/2531ที่พิพาทกันในคดีนี้จะนำประกาศคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายฉบับที่5พ.ศ.2532ซึ่งใช้บังคับแก่การจำหน่ายน้ำตาลทรายให้แก่ผู้ผลิตสินค้าเพื่อการส่งออกในฤดูการผลิตในปีต่อๆไปอันเป็นระยะเวลาภายหลังฤดูการผลิตปี2530/2531มาใช้บังคับแก่กรณีนี้หาได้ไม่มติของคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายจึงชอบแล้ว