คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีก่อน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 155 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 601/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องถูกจำกัดจากคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีก่อน การฟ้องคดีใหม่ต้องไม่ขัดแย้งกับคำพิพากษาเดิม
จำเลยที่ 3 เคยฟ้องจำเลยที่ 1 และโจทก์ต่อศาลแพ่งว่า จำเลยทั้งสี่เป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินพิพาททั้งแปลงพร้อมสิ่งปลูกสร้างกับโจทก์โดยไม่ได้รับความยินยอมจากจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่น ขอให้เพิกถอนสัญญาจะซื้อจะขายระหว่างจำเลยที่ 1 กับโจทก์ซึ่งคดีดังกล่าวโจทก์ให้การว่า จำเลยที่ 3 มิได้เป็นเจ้าของรวม จำเลยที่ 3 เชิดหรือยอมให้จำเลยที่ 1เป็นตัวแทน จำเลยที่ 3 จึงปฏิเสธความรับผิดต่อโจทก์ไม่ได้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นการต่อสู้ว่าที่ดินพิพาทเป็นของจำเลยที่ 1 แต่เพียงผู้เดียวซึ่งต่อมาศาลฎีกาวินิจฉัยว่า จำเลยที่ 3เป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท 3 ใน 7 ส่วน การที่จำเลยที่ 1 ไปทำสัญญาจะซื้อจะขายกับโจทก์โดยจำเลยที่ 3 และเจ้าของรวมคนอื่นมิได้ยินยอมและมิได้เชิดจำเลยที่ 1 เป็นตัวแทน สัญญาดังกล่าวจึงไม่มีผลผูกพันกรรมสิทธิ์ส่วนของจำเลยที่ 3 จำเลยที่ 3 จึงฟ้องขอให้เพิกถอนสัญญาดังกล่าวได้ โดยพิพากษาให้เพิกถอนเฉพาะในส่วนที่เกี่ยวข้องกับสิทธิของจำเลยที่ 3 จำนวน 3 ใน 7 ส่วน คำพิพากษาในคดีดังกล่าวจึงผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 โจทก์จะมาฟ้องคดีนี้ให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ซึ่งเป็นเจ้าของรวมในที่ดินพิพาท และให้เพิกถอนสัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาตามยอมในคดีที่จำเลยทั้งสี่ฟ้องร้องกันโดยอ้างว่าจำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของที่ดินพิพาทแต่เพียงผู้เดียว จำเลยอื่นร่วมกับจำเลยที่ 1 แสดงเจตนาลวงและฉ้อฉลโจทก์โดยทำสัญญาประนีประนอมยอมความฉบับดังกล่าว อันเป็นข้อเท็จจริงแตกต่างไปจากที่โจทก์ต้องผูกพันหาได้ไม่ เมื่อโจทก์ไม่สามารถอ้างสิทธิใด ๆ ในการฟ้องขอให้เพิกถอนบันทึกข้อตกลง สัญญาประนีประนอมยอมความและคำพิพากษาดังกล่าว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นกล่าวอ้าง ศาลฎีกาเห็นสมควรหยิบยกขึ้นวินิจฉัยได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246,247และกรณีเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันไม่อาจแบ่งแยกได้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์และฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 1 ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 245(1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4276/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องร้องเรียกคืนเงินและค่าเสียหายหลังบอกเลิกสัญญาได้ แม้จะมีคดีก่อนหน้านี้แล้ว
แม้มูลเหตุที่โจทก์ฟ้องจำเลยในคดีก่อนและคดีนี้จะมาจากเหตุที่จำเลยปฏิบัติผิดสัญญาเช่นเดียวกัน แต่คดีก่อนโจทก์ฟ้องขอให้บังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาคือรื้อถอนอาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 โดยที่โจทก์ไม่ได้บอกเลิกสัญญา ศาลพิพากษาว่าการที่จำเลยก่อสร้างอาคารเพิ่มจาก 27 เป็น 30 ชั้นนั้น จำเลยผิดสัญญาจริง แต่ไม่อาจบังคับให้จำเลยรื้อได้ เช่นนี้ เมื่อโจทก์เห็นว่าจำเลยไม่อาจปฏิบัติให้เป็นไปตามสัญญาได้ จึงได้บอกเลิกสัญญาและขอบังคับให้จำเลยคืนเงินที่โจทก์ชำระให้จำเลย แม้ว่าข้อเท็จจริงที่โจทก์นำมาเป็นเหตุฟ้องในคดีนี้ จะมีอยู่แล้วในขณะโจทก์ฟ้องคดีก่อนแต่เป็นสิทธิของโจทก์ที่จะฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาหรือจะบอกเลิกสัญญา เพราะหากในคดีก่อนที่โจทก์ฟ้องให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาและศาลพิพากษาบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาได้ โจทก์ก็ไม่มีเหตุที่จะบอกเลิกสัญญาและมาฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ได้ประเด็นแห่งคดีที่ต้องวินิจฉัยในคดีก่อนกับคดีนี้จึงต่างกัน เพราะในคดีก่อนมีประเด็นที่ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์ขอบังคับให้จำเลยรื้ออาคารชั้นที่ 28 ถึงชั้นที่ 30 ได้หรือไม่ แต่ในคดีนี้ต้องวินิจฉัยว่าโจทก์บอกเลิกสัญญาเรียกเงินคืนและเรียกค่าเสียหายได้หรือไม่ เพียงใด ฟ้องของโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นการฟ้องซ้ำ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1969/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ vs. ความเสียหายใหม่: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าฟ้องคดีใหม่ไม่เป็นฟ้องซ้ำ เนื่องจากความเสียหายเกิดขึ้นหลังคำพิพากษาคดีก่อน
คดีมีปัญหาข้อกฎหมายที่ต้องวินิจฉัยว่า ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งหมายเลขแดงที่ 17716/2539 ของศาลชั้นต้นหรือไม่ เห็นได้ว่า ความเสียหายของโจทก์ตามฟ้องคดีนี้ เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว คำขอให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายตามฟ้องคดีนี้ จึงต่างจากคำขอของโจทก์ให้บังคับจำเลยทั้งสองชดใช้ค่าเสียหายในคดีก่อน และมิใช่เป็นประเด็นที่ศาลในคดีก่อนไว้วินิจฉัยแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน ทั้งมิใช่กรณีที่จะไปว่ากล่าวชั้นบังคับคดีในคดีก่อนได้ฉะนั้น ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน แต่เนื่องจากคดีนี้มีทุนทรัพย์ที่ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 ศาลฎีกาจึงเห็นสมควรให้มีการวินิจฉัยคดีตามลำดับชั้นศาล จึงพิพากษายกคำพิพากษาของศาลล่างทั้งสองให้ศาลชั้นต้นพิจารณาและพิพากษาใหม่ตามรูปคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8878/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟื้นฟูกิจการ: ศาลต้องพิจารณาช่องทางฟื้นฟูที่แตกต่างจากคดีก่อน หากมีเหตุใหม่สนับสนุน
แม้ว่าในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการทุกคดีจะต้องระบุถึงช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯมาตรา 90/6(3) แต่การที่จะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำในประเด็นดังกล่าวนั้นจะต้องเป็นกรณีที่ศาลได้พิจารณาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับวิธีการ ตลอดจนแนวทางการฟื้นฟูกิจการอย่างเดียวกันด้วยในคดีล้มละลายคดีก่อนซึ่งลูกหนี้เป็นผู้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ได้อ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการว่าลูกหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินเกือบทุกรายมีการประชุมเพื่อปรับโครงสร้างหนี้ของลูกหนี้ ภายใต้กรอบของคณะกรรมการเพื่อส่งเสริมการปรับโครงสร้างหนี้ศาลล้มละลายกลางมีคำวินิจฉัยว่านอกจากสัญญาเช่าที่ลูกหนี้ทำกับผู้เช่าอาคารซึ่งมีกำหนดเวลา 1 ปี ถึง 3 ปี ประกอบกับภาวะเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ลูกหนี้ไม่สามารถปรับอัตราค่าเช่าให้สูงขึ้นหรือจัดหาผู้เช่าให้เช่าให้เต็มพื้นที่ได้แล้ว ลูกหนี้ยังไม่มีแนวทางหรือมาตรการอื่นใดที่จะดำเนินการให้มีกำไรหรือรายได้เพิ่มขึ้นจากปัจจุบันจึงเป็นปัญหาสำคัญเกี่ยวกับศักยภาพในการชำระหนี้ของลูกหนี้ส่วนที่ลูกหนี้คาดว่าจะสามารถปรับปรุงโครงสร้างหนี้โดยให้เจ้าหนี้ลดยอดหนี้และเพิ่มวงเงินหมุนเวียนก็เป็นเรื่องที่ไม่มีความชัดเจนแน่นอนจึงไม่มีช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ จึงให้ยกคำร้องขอ ส่วนคดีนี้ผู้ร้องขอซึ่งเป็นเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการโดยอ้างช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการว่าได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างลูกหนี้กับเจ้าหนี้สถาบันการเงินและสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ที่มีทรัพย์สินส่วนใหญ่ของลูกหนี้จดทะเบียนจำนองไว้เป็นประกันและมีหนี้รวมกันคิดเป็นร้อยละ 93.40 ของจำนวนหนี้ของลูกหนี้ทั้งหมด ลูกหนี้และเจ้าหนี้ทั้งสามรายมีมติร่วมกันในการยื่นคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ และมีการปรับโครงสร้างหนี้เพื่อให้ลดจำนวนหนี้ลงให้เหมาะสมไม่เกินกำลังความสามารถของลูกหนี้จึงเห็นได้ว่าสาระสำคัญในเหตุที่อ้างอันเป็นช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการในคดีนี้แตกต่างจากคดีก่อนอย่างเห็นได้ชัด ทั้งมีเหตุซึ่งเกิดใหม่อันจะเป็นผลดีในการที่จะฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้อีกหลายประการ รวมทั้งยังมีหนังสือของสำนักงานจัดการทรัพย์สินส่วนพระองค์ได้ระบุอย่างชัดแจ้งว่าขอให้การสนับสนุนในการยื่นคำขอฟื้นฟูกิจการ และยินยอมที่จะลดยอดหนี้ให้ลูกหนี้ถึงร้อยละ 80 ของจำนวนหนี้ที่ค้างอยู่ เช่นนี้ ข้อเท็จจริงอันเป็นข้ออ้างในช่องทางที่จะฟื้นฟูกิจการของคดีนี้จึงแตกต่างจากคดีก่อน การรับคำร้องขอฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ซึ่งผู้ร้องขอได้ยื่นไว้พิจารณาจึงไม่เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 144 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8074/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบวกโทษจำคุกที่รอการลงโทษในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58
ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 58 วรรคแรก เมื่อกรณีที่ความปรากฏแก่ศาลเองจากรายงานการสืบเสาะและพินิจของพนักงานคุมประพฤติ ซึ่งศาลชั้นต้นแจ้งข้อความที่เป็นผลร้ายให้แก่จำเลยทราบแล้ว จำเลยไม่คัดค้าน โดยรายงานการสืบเสาะและพินิจดังกล่าวปรากฏว่า จำเลยเคยต้องคำพิพากษาของศาลชั้นต้นในครั้งที่สองให้ลงโทษจำคุก 1 เดือนและปรับ 1,000 บาท โทษจำคุกให้รอการลงโทษไว้มีกำหนด 1 ปี และในระหว่างที่ยังไม่ครบ 1 ปีจำเลยมากระทำความผิดคดีนี้อีก แม้โจทก์จะมิได้บรรยายฟ้องและขอให้บวกโทษในคดีดังกล่าวเข้ากับโทษในคดีนี้ก็ตาม ศาลอุทธรณ์ภาค 4 ก็มีอำนาจนำโทษจำคุกที่รอการลงโทษไว้ในคดีดังกล่าวมาบวกเข้ากับโทษจำคุกในคดีนี้ได้ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 58 วรรคแรก กรณีนี้มิใช่เป็นการเพิ่มเติมโทษจำเลยเพราะกฎหมายบังคับให้ศาลที่พิพากษาคดีหลังบวกโทษที่รอการลงโทษไว้ในคดีก่อนเข้ากับโทษในคดีหลังด้วย และกรณีมิใช่เป็นการพิพากษาเกินคำขอ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำคุกในคดีหลัง แม้คดีก่อนได้รับโทษจำคุกแล้ว
ป.อ.มาตรา 56 มิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ด้วยว่า หากการกระทำความผิดในคดีก่อนและคดีหลังมิใช่ความผิดต่อกฎหมายฉบับเดียวกัน แม้ผู้นั้นได้รับโทษจำคุกในคดีก่อน ศาลยังอาจพิพากษารอการลงโทษจำคุกคดีหลังได้ เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนจำเลยได้รับโทษจำคุก การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยโดยให้เหตุผลว่า กรณีของจำเลยไม่อาจรอการลงโทษได้ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 268/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรอการลงโทษจำคุก แม้เคยมีโทษคดีก่อนที่ไม่ใช่ความผิดตามกฎหมายฉบับเดียวกัน ศาลอุทธรณ์ชอบที่จะไม่รอการลงโทษ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 56 มิได้บัญญัติเป็นข้อยกเว้นไว้ด้วยว่าหากการกระทำความผิดในคดีก่อนและคดีหลังมิใช่ความผิดต่อกฎหมายฉบับเดียวกัน แม้ผู้นั้นได้รับโทษจำคุกในคดีก่อน ศาลยังอาจพิพากษารอการลงโทษจำคุกคดีหลังได้ เมื่อปรากฏว่าคดีก่อนจำเลยได้รับโทษจำคุก การที่ศาลอุทธรณ์ไม่รอการลงโทษจำคุกให้แก่จำเลยโดยให้เหตุผลว่า กรณีของจำเลยไม่อาจรอการลงโทษได้ จึงชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8573/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำ: คดีบังคับจดทะเบียนภาระจำยอมซ้ำกับคดีก่อน ศาลยกฟ้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148
ศาลในคดีก่อนพิจารณาว่าจำเลย (โจทก์คดีนี้) ไม่ได้ระบุอ้างบันทึกข้อตกลงในโฉนดที่ดินเป็นพยาน ทั้งบันทึกข้อตกลงดังกล่าวเป็นเพียงสำเนาเอกสาร แม้ภายหลังจำเลย (โจทก์คดีนี้) จะส่งต้นฉบับต่อศาล แต่ก็เป็นเวลาหลังจากสืบพยานโจทก์จำเลยเสร็จแล้ว โดยไม่มีพยานมาสืบประกอบ จึงรับฟังไม่ได้ พยานหลักฐานโจทก์ (จำเลยคดีนี้) มีน้ำหนักให้รับฟังยิ่งกว่าพยานจำเลย (โจทก์คดีนี้) ข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าโจทก์ (จำเลยคดีนี้) ตกลงจะจดทะเบียนภาระจำยอมให้แก่จำเลย (โจทก์คดีนี้) ก่อนให้ชำระหนี้ค่าที่ดิน พิพากษายกฟ้องแย้ง ถือได้ว่าศาลได้วินิจฉัยเนื้อหาของประเด็นข้อพิพาทในคดีก่อนแล้ว เมื่อคดีนี้โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยนำที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันไปจดทะเบียนภาระจำยอม อ้างเหตุตามบันทึกข้อตกลงเดียวกัน มีประเด็นข้อพิพาทที่ต้องวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อน ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามมิให้โจทก์นำมาว่ากล่าวฟ้องร้องเอาแก่จำเลยซึ่งเป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อนอีก ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 148

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7114/2542

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การนับโทษต่อจากคดีก่อน จำเป็นต้องมีการสืบพยานยืนยันตัวบุคคลจำเลยว่าเป็นคนเดียวกัน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1894/2540 ของศาลชั้นต้น และอยู่ในระหว่างรับโทษจำคุกในคดีดังกล่าว ขอให้นับโทษจำเลยคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวซึ่งถึงที่สุดแล้ว ข้อเท็จจริงที่ว่าจำเลยคดีนี้เป็นจำเลยคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาหมายเลขแดงที่ 1894/2540 ของศาลชั้นต้นนั้น เป็นข้อเท็จจริงต่างหากจากข้อเท็จจริงที่โจทก์บรรยายว่าจำเลยกระทำความผิดในคดีนี้ และเป็นข้อเท็จจริงที่โจทก์มีหน้าที่ต้องนำสืบให้ปรากฏแก่ศาล
จำเลยเพียงให้การรับสารภาพตามฟ้อง แต่จำเลยมิได้ให้การรับด้วยว่าจำเลยเป็นคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง และโจทก์ก็ไม่ได้นำสืบพยานให้ปรากฏเช่นนั้น ส่วนที่ศาลชั้นต้นเคยมีหนังสือเรียกตัวจำเลยซึ่งถูกขังในคดีอื่นมาศาลก็เพื่อการพิจารณาคดีที่ต้องกระทำต่อหน้าจำเลยเท่านั้น กรณีดังกล่าวมิใช่ข้อแสดงว่าจำเลยยอมรับว่าเป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีอาญาที่โจทก์ขอให้นับโทษต่อเมื่อโจทก์ไม่สืบพยาน ข้อเท็จจริงจึงไม่อาจรับฟังเป็นยุติว่าจำเลยในคดีนี้เป็นบุคคลคนเดียวกับจำเลยในคดีที่โจทก์อ้างมาในฟ้อง จึงนับโทษจำเลยในคดีนี้ต่อจากโทษของจำเลยในคดีดังกล่าวไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2116/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องซ้ำในคดีครอบครองที่ดิน: การผูกพันตามคำพิพากษาคดีก่อนและผลกระทบต่อการฟ้องคดีใหม่
ปัญหาว่า โจทก์ดำเนินกระบวนพิจารณาคดีนี้ซ้ำและฟ้องซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 และมาตรา 148 หรือไม่ เป็นปัญหาอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน จำเลยย่อมมีสิทธิที่จะยกขึ้นอ้างในชั้นฎีกาได้ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 249 วรรคสอง
เดิมจำเลยทั้งสามในคดีนี้เป็นโจทก์ฟ้อง ส.และ ต.เป็นจำเลยเป็นคดีแพ่งโดยยกข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาว่า จำเลยทั้งสามเป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่พิพาทตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ต่อมา ส.และ ต.ไปขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 โดยมิชอบทับที่ดินตาม น.ส.3 เลขที่ 15 ของจำเลยทั้งสาม ส.และ ต.ให้การว่า การขอออก น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ถูกต้องและได้เข้าครอบครองที่พิพาทอย่างเจ้าของ ศาลชั้นต้นกำหนดประเด็นข้อพิพาทว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่พิพาทของจำเลยทั้งสาม อันจะต้องเพิกถอนหรือไม่ การที่โจทก์ยื่นคำร้องสอดขอเข้าเป็นจำเลยร่วมตาม ป.วิ.พ.มาตรา 57 (2) ในคดีก่อน โจทก์จึงเป็นคู่ความในคดีก่อน ตาม ป.วิ.พ.มาตรา 1 (11) และต้องถูกผูกพันในกระบวนพิจารณาของศาลตาม ป.วิ.พ.มาตรา 145 เมื่อศาลชั้นต้นได้มีคำพิพากษาชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีในคดีก่อนแล้วว่า น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 ออกทับที่ของจำเลยทั้งสามตาม น.ส.3เลขที่ 15 ให้เพิกถอน โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยทั้งสามเป็นคดีนี้โดยอ้างว่าโจทก์เป็นเจ้าของผู้ครอบครองที่ดินตาม น.ส.3 ก.เลขที่ 4618 อีก เพราะเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 144 แม้โจทก์จะฟ้องคดีนี้ก่อนศาลได้วินิจฉัยในคดีก่อนก็ตาม แต่เมื่อศาลชั้นต้นได้พิพากษาชี้ขาดคดีในคดีก่อนแล้ว กรณีก็ต้องตกอยู่ภายใต้บังคับของมาตรา 144 เช่นกัน
of 16