คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีครอบครัว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 21 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 564/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมาย และขอบเขตการสืบพยานในคดีครอบครัว
ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1524 เป็นบทบัญญัติวิธีการพิสูจน์ความเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายอันสืบเนื่องมาจากมาตรา 1519 อันเป็นบทบัญญัติสำหรับเด็กที่เกิดในสมรสซึ่งกฎหมายสันนิษฐานไว้ก่อนว่าเป็นบุตรของชายผู้เป็นสามี เหตุนี้ ถ้ามีข้ออ้างว่าผู้ใดเป็นบุตรของหญิงชายซึ่งสมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายแล้ว ก็พิสูจน์ได้โดยวิธีการตามมาตรา 1524 ส่วนบุตรนอกกฎหมายที่บิดามารดามิได้สมรสกันโดยชอบด้วยกฎหมายนั้น จะเป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายก็โดยบทบัญญัติมาตรา 1526 ต่อไป หาใช่ว่าพฤติการณ์ตามมาตรา 1524 เป็นวิธีการรับรองบุตรนอกสมรสให้เป็นบุตรชอบด้วยกฎหมายขึ้นมานอกเหนือไปจากมาตรา 1526 อีกไม่
เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้สืบพยานเฉพาะข้อโต้เถียงในเรื่องทรัพย์สินข้อเดียวจำเลยหาได้โต้แย้งว่ามีประเด็นอื่นที่ต้องสืบพยานอีกไม่ ในที่สุดก็แถลงไม่สืบพยาน จำเลยจะมาเถียงว่าศาลมีคำสั่งตัดประเด็นข้อที่จะนำสืบว่าไม่ถูกต้องในชั้นฎีกาย่อมไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226 เพราะคำสั่งศาลชั้นต้นเช่นนี้ไม่ใช่คำสั่งตามมาตรา 227, 228

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อพิพาทเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินและการเป็นตัวแทน ไม่เป็นคดีครอบครัว
โจทก์ซึ่งเป็นบิดาของจำเลยฟ้องว่า โจทก์ซื้อที่ดินพิพาทมาแล้วให้จำเลยมีชื่อถือกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทแทนโจทก์ ต่อมาโจทก์ให้จำเลยแบ่งแยกที่ดินพิพาท และนำที่ดินที่แบ่งแยกขายให้แก่นางสาว ก. แต่จำเลยได้รับเงินค่าที่ดินแล้วจำเลยไม่นำเงินมาให้แก่โจทก์ และเมื่อโจทก์บอกกล่าวให้จำเลยจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทคืนโจทก์ จำเลยเพิกเฉย ส่วนจำเลยให้การว่า จำเลยเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาท มิได้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินแทนโจทก์ คดีมีประเด็นต้องวินิจฉัยว่า จำเลยถือกรรมสิทธิ์และขายที่ดินพิพาทแทนโจทก์หรือไม่ และจำเลยต้องคืนเงินที่ได้จากการขายที่ดินให้แก่โจทก์หรือไม่ อันเป็นปัญหาที่ต้องบังคับตาม ป.พ.พ. ว่าด้วยตัวแทน บรรพ 3 ลักษณะ 15 ไม่ได้เป็นเรื่องบังคับตาม ป.พ.พ. บรรพ 5 แต่อย่างใด คดีนี้จึงไม่เป็นคดีครอบครัวตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 10 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว: คดีพิพาทสิทธิทรัพย์สินระหว่างบุคคล ไม่ใช่คดีครอบครัว
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ระหว่างสมรสโจทก์กับผู้ตายร่วมกันครอบครองที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าและปลูกต้นยูคาลิปตัสในที่ดิน จำเลยที่ 1 ปลอมสัญญาขายที่ดินและส่งมอบการครอบครองและปลอมลายมือชื่อผู้ตาย หรือหลอกลวงผู้ตาย ให้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายที่ดินตามฟ้อง จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขายให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 กับทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 4 รบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์โดยนำรถแทรกเตอร์เข้ามาไถต้นยูคาลิปตัสให้ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้พิพากษาว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตกเป็นโมฆะ ห้ามจำเลยที่ 3 และที่ 4 เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทดังกล่าวและให้ชดใช้ค่าเสียหาย กับขอให้มีคำสั่งว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทตามคำขอท้ายฟ้อง ส่วนจำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า โจทก์ไม่ได้ร่วมกับผู้ตาย จำเลยที่ 1 และที่ 2 ครอบครองที่ดินมือเปล่าตามฟ้องและที่ดินตามฟ้องเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย สัญญาซื้อขายที่ดินและส่งมอบการครอบครองถูกต้องและสมบูรณ์ด้วยการส่งมอบการครอบครอง จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิขายที่ดินพิพาทตามฟ้องให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์ขาดอายุความและเป็นฟ้องซ้อน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซื้อที่ดินมือเปล่ามาจากจำเลยที่ 1 และเข้าครอบครองทำประโยชน์เกินกว่า 1 ปี โดยโจทก์ไม่เคยคัดค้าน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เคยนำรถแทรกเตอร์ไปไถต้นยูคาลิปตัสของโจทก์ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของและไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินดังกล่าวและไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้น ประเด็นแห่งคดีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับความสมบรูณ์ของนิติกรรม ละเมิด และการครอบครอง ซึ่งจะต้องพิจารณาตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. บรรพ 1 ว่าด้วยนิติกรรม บรรพ 2 ว่าด้วยละเมิด และบรรพ 4 ว่าด้วยการครอบครอง แม้ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมีประเด็นให้วินิจฉัยด้วยว่า ทรัพย์พิพาทเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสแต่ก็เพียงเพื่อวินิจฉัยในเรื่องอำนาจฟ้องเท่านั้น ข้อพิพาทหลักในคดียังเป็นการโต้แย้งในสิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กันในทางครอบครัวแต่อย่างใด กรณีไม่มีประเด็นพิพาทระหว่างโจทก์กับผู้ตายซึ่งเป็นสามีภริยากันอันจะถือเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในทางทรัพย์สินโดยตรง จึงไม่ใช่คดีครอบครัวตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 10 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 68/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลเยาวชนและครอบครัว: คดีพิพาทสิทธิทรัพย์สินระหว่างบุคคล ไม่ใช่คดีครอบครัว
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า โจทก์เป็นภริยาโดยชอบด้วยกฎหมายของผู้ตาย ที่ดินพิพาทซึ่งเป็นที่ดินมือเปล่าที่โจทก์กับผู้ตายร่วมกันครอบครองทำประโยชน์โดยปลูกต้นยูคาลิปตัสจึงเป็นสินสมรสของโจทก์กับผู้ตายก่อนผู้ตายถึงแก่ความตาย จำเลยที่ 1 ปลอมสัญญาขายที่ดินพิพาทและส่งมอบการครอบครองโดยปลอมลายมือชื่อผู้ตาย หรือหลอกลวงผู้ตาย ให้ลงลายมือชื่อในสัญญาขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีสิทธินำที่ดินพิพาทไปขายให้จำเลยที่ 3 และที่ 4 ทั้งจำเลยที่ 3 และที่ 4 รบกวนการครอบครองที่ดินพิพาทของโจทก์โดยนำรถแทรกเตอร์เข้ามาไถต้นยูคาลิปตัสให้ได้รับความเสียหาย เป็นการกระทำละเมิดต่อโจทก์ ขอให้พิพากษาว่านิติกรรมการซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 2 กับจำเลยที่ 3 และที่ 4 ตกเป็นโมฆะ ห้ามจำเลยที่ 3 และที่ 4 เกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทดังกล่าวและให้ชดใช้ค่าเสียหาย กับขอให้มีคำสั่งว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยที่ 1 และที่ 2 ให้การว่า โจทก์ไม่ได้ร่วมกับผู้ตาย ครอบครองและทำประโยชน์ ที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวของผู้ตาย สัญญาซื้อขายที่ดินและส่งมอบการครอบครองถูกต้องและสมบูรณ์ด้วยการส่งมอบการครอบครอง จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิขายที่ดินพิพาทให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 ได้ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง ฟ้องโจทก์ขาดอายุความและเป็นฟ้องซ้อน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ให้การว่า จำเลยที่ 3 และที่ 4 ซื้อที่ดินพิพาทมาจากจำเลยที่ 1 และเข้าครอบครองทำประโยชน์เกินกว่า 1 ปี โดยโจทก์ไม่เคยคัดค้าน จำเลยที่ 3 และที่ 4 ไม่เคยนำรถแทรกเตอร์ไปไถต้นยูคาลิปตัสของโจทก์ โจทก์ไม่ใช่เจ้าของและไม่มีสิทธิใด ๆ ในที่ดินดังกล่าวและไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายนั้น ประเด็นแห่งคดีจึงเป็นเรื่องพิพาทเกี่ยวกับความสมบรูณ์ของนิติกรรม ละเมิด และการครอบครอง ซึ่งจะต้องพิจารณาตามบทบัญญัติใน ป.พ.พ. บรรพ 1 ว่าด้วยนิติกรรม บรรพ 2 ว่าด้วยละเมิด และบรรพ 4 ว่าด้วยการครอบครอง แม้ตามคำฟ้องและคำให้การของจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะมีประเด็นให้วินิจฉัยด้วยว่า ที่ดินพิพาทเป็นสินส่วนตัวหรือสินสมรสแต่ก็เพียงเพื่อวินิจฉัยในเรื่องอำนาจฟ้องเท่านั้น ข้อพิพาทหลักในคดีเป็นการโต้แย้งสิทธิและหน้าที่ระหว่างโจทก์กับจำเลยทั้งสี่ซึ่งไม่มีความสัมพันธ์กันในทางครอบครัวแต่อย่างใด ไม่มีประเด็นพิพาทระหว่างโจทก์กับผู้ตายซึ่งเป็นสามีภริยากันอันจะถือเป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างสามีภริยาในทางทรัพย์สินโดยตรง จึงไม่ใช่คดีครอบครัวตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 10 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 50/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีซื้อขายที่ดินไม่อยู่ในอำนาจศาลครอบครัว แม้เกี่ยวข้องกับสินสมรส
ตามคำฟ้องและคำให้การเป็นกรณีพิพาทกันระหว่างโจทก์ซึ่งเป็นผู้จะซื้อกับจำเลยซึ่งเป็นผู้จะขายเกี่ยวกับเรื่องการผิดสัญญาซึ่งมีคำขอให้ชำระเงินค่าที่ดินคืนและเรียกค่าปรับอันเป็นกรณีที่ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 370 ถึง 372 และมาตรา 380 ถึง 382 แห่ง ป.พ.พ. ซึ่งเป็นบทบัญญัติใน ป.พ.พ. บรรพ 2 จึงเป็นกรณีพิพาทกันในมูลผิดสัญญาจะซื้อจะขายซึ่งอยู่ในอำนาจพิจารณาของศาลจังหวัดเชียงใหม่ แม้ต่อมาจำเลยจะขอให้เรียกจำเลยร่วมเข้ามาในคดีอ้างว่าเป็นผู้ขออายัดห้ามการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ทำให้จำเลยไม่สามารถปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อจะขายได้ ก็เป็นแต่การขอให้เข้ามาเป็นคู่ความร่วมกับจำเลยในมูลคดีเดิมว่าจำเลยจะต้องรับผิดตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ เพียงใดนั่นเอง และแม้จำเลยร่วมจะอ้างว่า ต. นำที่ดินพิพาทซึ่งเป็นสินสมรสระหว่าง ต. กับมารดาจำเลยร่วมซึ่งเป็นภริยาชอบด้วยกฎหมายของ ต. และถึงแก่ความตายแล้วไปทำสัญญาจะซื้อจะขายโดยไม่ได้รับความยินยอมจากมารดาจำเลยร่วมก่อน ทำให้สัญญาจะซื้อจะขายเป็นโมฆะ ตนจึงต้องมาขออายัดการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท ก็เป็นแต่การกล่าวอ้างถึงสาเหตุที่ตนไม่จำต้องชำระค่าปรับให้แก่โจทก์หรือชำระค่าทดแทนให้แก่จำเลยเท่านั้น จึงไม่ใช่ประเด็นโดยตรงในคดี เมื่อประเด็นข้อพิพาทในคดีนี้มีว่า จำเลยจะต้องรับผิดต่อโจทก์ตามสัญญาจะซื้อจะขายหรือไม่ เพียงใด ซึ่งเป็นเรื่องที่มีผลเฉพาะตัวของจำเลยเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับจำเลยร่วมในฐานะส่วนตัวซึ่งเป็นบุคคลภายนอกสัญญา กรณีจึงไม่มีประเด็นเรื่องทรัพย์สินระหว่างสามีภริยาโดยตรง คดีนี้จึงไม่ใช่คดีครอบครัวตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 10 (3) จึงไม่เป็นคดีครอบครัว ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 10 (3)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13965/2558 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนพยานที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบ และองค์คณะพิจารณาคดีไม่ครบถ้วนในคดีครอบครัว
โจทก์กล่าวอ้างข้อเท็จจริงในเรื่องของเหตุหย่า จำเลยให้การปฏิเสธ โจทก์ผู้มีภาระการพิสูจน์จึงมีหน้าที่จะต้องนำพยานหลักฐานเข้าสืบสนับสนุนข้ออ้างของตนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 84/1 แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้มีการไต่สวนพยานโจทก์จำเลยโดยศาลชั้นต้นเป็นผู้สอบถามโจทก์จำเลยเองทั้งหมด ไม่ได้ให้ทนายโจทก์หรือทนายจำเลยซักถามหรือถามค้านพยาน แล้วก็มีคำสั่งว่า คดีพอวินิจฉัยได้ จึงให้งดสืบพยานโจทก์จำเลย จากนั้นก็วินิจฉัยคดีตามประเด็นข้อพิพาท สำหรับประเด็นเรื่องฟ้องหย่าก็วินิจฉัยชั่งน้ำหนักพยานเหมือนคดีที่มีการสืบพยานทั่วไป เพียงแต่เป็นพยานหลักฐานที่เกิดจากศาลเป็นผู้ไต่สวนเองและฟังเป็นข้อเท็จจริงว่าจำเลยไม่อุปการะเลี้ยงดูโจทก์เท่าที่ควร แต่เมื่อคดีนี้เป็นคดีมีข้อพิพาท ซึ่งใน ป.วิ.พ. ไม่ได้ให้อำนาจศาลเรียกพยานมาไต่สวนเอง แม้ศาลจะมีอำนาจซักถามพยาน แต่ก็ต้องเป็นพยานที่คู่ความอ้างเข้ามาและศาลต้องให้คู่ความซักถามต่อจากศาล ทั้งข้อเท็จจริงที่ศาลชั้นต้นไต่สวนก็มิได้สอดคล้องและครบถ้วนตามข้อเท็จจริงที่โจทก์กล่าวอ้างมาในคำฟ้องและประเด็นข้อพิพาท การที่ศาลชั้นต้นไต่สวนพยานโจทก์และพยานจำเลยเองทั้งหมดจึงเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6
คดีที่ผู้เยาว์มีผลประโยชน์หรือส่วนได้เสียอยู่ด้วยในการพิจารณาพิพากษาคดีครอบครัวต้องมีผู้พิพากษาสมทบอีกสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 23 ประกอบมาตรา 147 การที่ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาพิพากษาคดีโดยมีเพียงผู้พิพากษาสองคนเป็นองค์คณะ ไม่มีผู้พิพากษาสมทบอีกสองคนซึ่งอย่างน้อยคนหนึ่งต้องเป็นสตรีเป็นองค์คณะร่วมอยู่ด้วยจึงเป็นการพิจารณาคดีที่ผิดระเบียบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 วรรคสอง ประกอบ พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 11212/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีครอบครัวต้องวินิจฉัยโดยประธานศาลฎีกาเท่านั้น ศาลชั้นต้นไม่มีอำนาจ
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำฟ้องว่า คำฟ้องของโจทก์เป็นคดีแพ่งที่ฟ้องเกี่ยวกับครอบครัวซึ่งต้องบังคับตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จึงเป็นคดีครอบครัวตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 ศาลชั้นต้นจึงไม่มีเขตอำนาจรับฟ้องของโจทก์คดีนี้ไว้พิจารณานั้น เป็นกรณีที่ศาลชั้นต้นวินิจฉัยในปัญหาว่าคดีนี้อยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวหรือศาลยุติธรรมอื่น ซึ่งตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 11 กำหนดให้ประธานศาลฎีกาแต่เพียงผู้เดียวเท่านั้นเป็นผู้วินิจฉัยชี้ขาด ศาลชั้นต้นและศาลฎีกาหามีอำนาจวินิจฉัยในปัญหาดังกล่าวไม่ คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงมิชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10773/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร: ศาลอุทธรณ์สั่งจ่ายค่าทนายความในคดีครอบครัวไม่ได้
ตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 155 บัญญัติว่า ในการยื่นคำฟ้องหรือคำร้องตลอดจนการดำเนินกระบวนพิจารณาใด ๆ ในคดีครอบครัวเพื่อเรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูหรือค่าเลี้ยงชีพ ให้ได้รับยกเว้นไม่ต้องชำระค่าขึ้นศาลและค่าฤชาธรรมเนียม คดีนี้จำเลยอุทธรณ์แต่เฉพาะค่าอุปการะเลี้ยงดูเพียงอย่างเดียว การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยใช้ค่าทนายความชั้นอุทธรณ์ 4,000 บาท แทนโจทก์ จึงไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 14762/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาล: คดีครอบครัวต้องพิจารณาโดยศาลเยาวชนและครอบครัว การโอนคดีเป็นไปตามกฎหมาย
เมื่อประธานศาลฎีกาได้มีคำวินิจฉัยแล้วว่า คดีนี้อยู่อำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลเยาวชนและครอบครัว ซึ่งมีศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรังเปิดดำเนินการแล้ว ชอบที่ศาลชั้นต้นจะมีคำสั่งโอนคดีไปยังศาลเยาวชนและครอบครัวจังหวัดตรังเพื่อพิจารณาพิพากษาต่อไปตามนัย มาตรา 13 และ 15 วรรคสอง แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ยกฟ้อง และให้โจทก์นำคดีไปฟ้องต่อศาลที่มีอำนาจจึงเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2653/2561

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การตกลงหย่าและแบ่งทรัพย์สินระหว่างการพิจารณาคดี: ผลผูกพันตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอหย่าและแบ่งสินสมรส ต่อมาระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โจทก์และจำเลยได้ตกลงกันในคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยเป็นความผิดฐานแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อเจ้าพนักงาน แจ้งให้เจ้าพนักงานจดข้อความอันเป็นเท็จ ปลอม และใช้เอกสารปลอมต่อศาลอาญาว่า โจทก์จำเลยตกลงหย่ากันและแบ่งทรัพย์สินตามที่เสนอต่อศาลในคดีอาญาโดยระบุว่าจะนำบันทึกข้อตกลงไปเสนอต่อศาลฎีกา แล้วโจทก์ถอนฟ้องคดีอาญา ศาลอาญาอนุญาตและจำหน่ายคดีออกจากสารบบความ จากนั้นโจทก์และจำเลยไปจดทะเบียนหย่าพร้อมนำบันทึกที่ทำต่อศาลอาญาไปแสดงว่ามีการตกลงแบ่งทรัพย์สินระหว่างกันแล้ว ต่อมาโจทก์และจำเลยต่างยื่นคำแถลงต่อศาลฎีกาว่าได้จดทะเบียนหย่าแล้ว พร้อมยื่นข้อตกลงที่ทำต่อกันที่ศาลอาญาแนบท้ายคำแถลง ดังนี้ถือได้ว่าคู่ความตกลงกันหรือประนีประนอมในประเด็นแห่งคดีโดยมิได้ถอนฟ้องในชั้นฎีกาตาม พ.ร.บ.ศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2553 มาตรา 6 ประกอบ ป.วิ.พ. มาตรา 138 วรรคหนึ่ง มาตรา 246 (เดิม) และ 247 (เดิม) ศาลฎีกาจึงพิพากษาให้แบ่งทรัพย์ตามบันทึกข้อตกลง
of 3