พบผลลัพธ์ทั้งหมด 13 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8486/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลยุติธรรมรับฟ้องคดีปกครองก่อนมีศาลปกครอง และความชอบด้วยกฎหมายของระเบียบพนันชนไก่
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตยื่นอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกา จำเลยคัดค้านว่าอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงปนข้อกฎหมาย ไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์ของมาตรา 223 ทวิ แห่ง ป.วิ.พ. ขอให้ยกคำร้อง ซึ่งตามคำคัดค้านของจำเลยแปลความหมายได้ว่า หากอุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมายโดยไม่มีปัญหาข้อเท็จจริงปนอยู่ด้วยก็ไม่คัดค้าน เมื่ออุทธรณ์ของโจทก์เป็นอุทธรณ์เฉพาะปัญหาข้อกฎหมาย กรณีจึงถือได้ว่าจำเลยไม่คัดค้าน ที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาจึงชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ
โจทก์ฟ้องขอให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกใช้บังคับ โดยอ้างว่ามิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นคดีปกครอง เมื่อยังไม่มีการจัดตั้งศาลปกครอง ศาลยุติธรรมย่อมเป็นสถาบันที่มีอำนาจหน้าที่รับฟ้องคดีปกครองเพื่อเยียวยาตรวจสอบกฎหมายหรือระเบียบที่ฝ่ายบริหารตราออกใช้บังคับโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้
การที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่ของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการตามคำขอให้โจทก์ได้เพราะขัดต่อระเบียบของจำเลย เป็นการปฏิบัติภายในขอบอำนาจหน้าที่ตามกฎระเบียบของจำเลย ถือได้ว่าระเบียบดังกล่าวของจำเลยก่อให้เกิดผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้ยกเลิกระเบียบดังกล่าวต่อศาลยุติธรรมได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 โดยมีพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ และการออกระเบียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดแหล่งอบายมุข มิให้ประชาชนลุ่มหลงมัวเมาในการพนันอันจะเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมและความยากจนของประชาชน โดยลดจำนวนบ่อนและลดวันอนุญาตเล่นการพนันชนไก่และกัดปลา และกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตว่าต้องมีฐานะมั่นคงพอเชื่อถือได้และมีความประพฤติเรียบร้อย สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเดิมให้อนุมัติได้เดือนละหนึ่งครั้ง และห้ามอนุมัติการอนุญาตเพิ่มขึ้นใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเหตุผลของพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 ที่ต้องการควบคุมแหล่งอบายมุขโดยมิได้วางระเบียบห้ามเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาเสียเลย ระเบียบกระทรวง-มหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 จึงชอบด้วยกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 ที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกใช้บังคับ โดยอ้างว่ามิชอบด้วยกฎหมายอันเป็นคดีปกครอง เมื่อยังไม่มีการจัดตั้งศาลปกครอง ศาลยุติธรรมย่อมเป็นสถาบันที่มีอำนาจหน้าที่รับฟ้องคดีปกครองเพื่อเยียวยาตรวจสอบกฎหมายหรือระเบียบที่ฝ่ายบริหารตราออกใช้บังคับโดยมิชอบด้วยกฎหมายได้
การที่เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอเพื่อจัดให้มีการเล่นการพนันชนไก่ของโจทก์ไม่สามารถดำเนินการตามคำขอให้โจทก์ได้เพราะขัดต่อระเบียบของจำเลย เป็นการปฏิบัติภายในขอบอำนาจหน้าที่ตามกฎระเบียบของจำเลย ถือได้ว่าระเบียบดังกล่าวของจำเลยก่อให้เกิดผลกระทบหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์โดยตรงโจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยขอให้ยกเลิกระเบียบดังกล่าวต่อศาลยุติธรรมได้
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยออกระเบียบกระทรวงมหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 โดยมีพระราชบัญญัติการพนันพ.ศ.2478 มาตรา 17 ให้อำนาจไว้ และการออกระเบียบนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อลดแหล่งอบายมุข มิให้ประชาชนลุ่มหลงมัวเมาในการพนันอันจะเป็นบ่อเกิดแห่งอาชญากรรมและความยากจนของประชาชน โดยลดจำนวนบ่อนและลดวันอนุญาตเล่นการพนันชนไก่และกัดปลา และกำหนดคุณสมบัติของผู้ขออนุญาตว่าต้องมีฐานะมั่นคงพอเชื่อถือได้และมีความประพฤติเรียบร้อย สำหรับผู้ได้รับใบอนุญาตเดิมให้อนุมัติได้เดือนละหนึ่งครั้ง และห้ามอนุมัติการอนุญาตเพิ่มขึ้นใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับหลักการเหตุผลของพระราชบัญญัติการพนัน พ.ศ.2478 ที่ต้องการควบคุมแหล่งอบายมุขโดยมิได้วางระเบียบห้ามเล่นการพนันชนไก่และกัดปลาเสียเลย ระเบียบกระทรวง-มหาดไทยว่าด้วยการพนันชนไก่และกัดปลา พ.ศ.2525 จึงชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9157/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาล: การไม่สอบถามก่อนสั่งไม่รับฟ้องคดีปกครอง และผลกระทบต่อกระบวนการพิจารณา
ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์เนื่องจากโจทก์มิได้เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์ การที่โจทก์ฎีกาขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยว่า คดีของโจทก์อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรมหรือไม่ โดยมิได้โต้แย้งคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 1 ว่าไม่ถูกต้องอย่างไร ฎีกาของโจทก์จึงไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้เป็นคดีปกครองไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้องศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 12 วรรคสอง กล่าวคือ ศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อนและศาลชั้นต้นต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่า เคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 12 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องหรือไม่ หากโจทก์ยังไม่เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวด้วยว่า ให้โจทก์แจ้งต่อศาลปกครองว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันที โดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว ครั้นเมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ อันมีผลทำให้กระบวนพิจาณาต่างๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นเห็นว่าคดีที่โจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้เป็นคดีปกครองไม่อยู่ในอำนาจศาลยุติธรรม ก่อนมีคำสั่งไม่รับฟ้องศาลชั้นต้นจะต้องสอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้อง เนื่องจากเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลปกครองมาก่อนหรือไม่ หากมีกรณีดังกล่าว ศาลชั้นต้นจะต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 12 วรรคสอง กล่าวคือ ศาลชั้นต้นต้องส่งเรื่องไปให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาลเพื่อพิจารณาวินิจฉัย หรือหากปรากฏว่าโจทก์ฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นเป็นศาลแรก และศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นคดีที่อยู่ในอำนาจศาลปกครองศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองซึ่งเป็นศาลต่างระบบที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องเสียก่อนและศาลชั้นต้นต้องแนะนำโจทก์ให้แจ้งต่อศาลปกครองด้วยว่า เคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง
ในกรณีที่ศาลชั้นต้นไม่รับฟ้องเนื่องจากเห็นว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลปกครอง หากโจทก์อุทธรณ์คำสั่งไม่รับฟ้องของศาลชั้นต้น ศาลชั้นต้นต้องมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์เนื่องจากโจทก์จะต้องฟ้องคดีต่อศาลระบบอื่นที่มีอำนาจ หากศาลในคดีหลังเห็นว่าคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลนั้นก็ต้องดำเนินการตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการวินิจฉัยชี้ขาดอำนาจหน้าที่ระหว่างศาล พ.ศ.2542 มาตรา 12 วรรคสอง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันทีโดยมิได้สอบถามโจทก์เสียก่อนว่า โจทก์เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองแล้วและศาลปกครองไม่รับฟ้องหรือไม่ หากโจทก์ยังไม่เคยฟ้องคดีต่อศาลปกครองศาลชั้นต้นต้องแจ้งให้โจทก์ไปฟ้องคดีต่อศาลปกครองโดยระบุไว้ในคำสั่งไม่รับฟ้องดังกล่าวด้วยว่า ให้โจทก์แจ้งต่อศาลปกครองว่าเคยยื่นฟ้องคดีนี้ต่อศาลชั้นต้นแล้วและศาลชั้นต้นไม่รับฟ้อง การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับฟ้องทันที โดยมิได้ดำเนินการดังกล่าว ครั้นเมื่อโจทก์อุทธรณ์ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์จึงเป็นการไม่ชอบ อันมีผลทำให้กระบวนพิจาณาต่างๆ ที่กระทำภายหลังจากนั้นไม่ชอบไปด้วย ปัญหานี้เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน เมื่อความปรากฏแก่ศาลฎีกา ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจหยิบยกปัญหาดังกล่าวขึ้นวินิจฉัยและเห็นสมควรให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาใหม่ให้ถูกต้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243 (1) ประกอบมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8660/2551
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเบิกความเท็จต้องเป็นการกระทำในฐานะพยาน ไม่ใช่คู่ความในกระบวนการพิจารณาคดีปกครอง
องค์ประกอบความผิดฐานเบิกความเท็จ ต้องเป็นการเบิกความเท็จในกระบวนพิจารณาที่กระทำโดยศาลในคดีที่ต้องฟังคำพยานเพื่อวินิจฉัยประเด็นตามอำนาจหน้าที่ และการเบิกความหมายความถึงการกระทำของพยานบุคคล มิได้หมายความถึงคำแถลงหรือคำให้การในฐานะคู่ความหรือของผู้อื่น ที่ไม่ได้กระทำในฐานะพยาน ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลปกครองและวิธีพิจารณาคดีปกครอง พ.ศ.2542 มาตรา 59 การนั่งพิจารณาคดีครั้งแรกเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาเพื่อให้คู่กรณีตรวจสอบความถูกต้องของข้อเท็จจริงที่ตุลาการเจ้าของสำนวนได้สรุปและส่งสรุปข้อเท็จจริงนั้นให้คู่กรณีทราบล่วงหน้าก่อนการนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก การกระทำของจำเลยที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยได้เบิกความแถลงในวันนั่งพิจารณาคดีครั้งแรก ก็เป็นการยืนยันหรือหักล้างเพื่อตรวจสอบความถูกต้องของข้อเท็จจริงที่ตุลาการเจ้าของสำนวนได้สรุปและส่งให้คู่กรณีทราบล่วงหน้า เป็นการกระทำในฐานะที่เป็นโจทก์ซึ่งเป็นคู่กรณีฝ่ายหนึ่ง มิได้กระทำในฐานะพยานบุคคล การกระทำของจำเลยตามฟ้องจึงไม่เป็นความผิดฐานเบิกความเท็จ