พบผลลัพธ์ทั้งหมด 28 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากร: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการบริษัทที่ทำให้บริษัทเสียหาย ไม่ใช่คดีภาษี
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทจำเลยที่ 1 ทำให้เกิดความเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1169 วรรคสองโจทก์ผู้เป็นเจ้าหนี้ของจำเลยที่ 1 มีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ได้ แต่ก็เป็นสิทธิเรียกร้องที่จะเอาค่าสินไหมทดแทน มิใช่ปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องร้องเรียกค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 จึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์ กรณีมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร จึงไม่อยู่ในอำนาจพิจารณาพิพากษาของศาลภาษีอากร ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลภาษีอากรฯมาตรา 7(2).
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2619/2534
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลภาษีอากร: การฟ้องเรียกค่าเสียหายจากกรรมการบริษัท ไม่ใช่คดีภาษี
แม้ว่าตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1169 วรรคสองโจทก์ซึ่งเป็นเจ้าหนี้ภาษีอากรของบริษัทจำเลยที่ 1 จะมีสิทธิฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการที่ทำให้เกิดเสียหายแก่จำเลยที่ 1 ก็ตาม แต่ก็เป็นเพียงสิทธิเรียกร้องที่จะเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 เท่านั้น มิใช่เป็นปัญหาเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากรที่มีต่อจำเลยที่ 2แต่ประการใด การที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องของจำเลยที่ 1 ฟ้องเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากจำเลยที่ 2 เช่นนี้ จึงมิใช่เป็นการฟ้องขอให้บังคับจำเลยที่ 2 ชำระค่าภาษีอากรให้แก่โจทก์โดยตรงคดีระหว่างโจทก์กับจำเลยที่ 2 จึงมิใช่คดีพิพาทเกี่ยวกับสิทธิเรียกร้องของของรัฐในหนี้ค่าภาษีอากร ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ. 2528 มาตรา 7(2)โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ต่อศาลภาษีอากรกลาง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนฯ ต้องชำระภาษีให้เสร็จสิ้นก่อนหรือระหว่างดำเนินคดี
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ.2475 มาตรา 39วรรคแรก โจทก์ผู้รับประเมินจะมีอำนาจฟ้องต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนแล้วไม่ว่ากำหนดระยะเวลาการชำระค่าภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ได้สิ้นสุดลงแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี หรือจะสิ้นสุดลงในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลก็ตาม
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4774/2533
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ต้องชำระภาษีให้ครบก่อนยื่นฟ้อง แม้กำหนดชำระยังไม่ถึง
ตามพระราชบัญญัติภาษีโรงเรือนและที่ดิน พ.ศ. 2475มาตรา 39 วรรคแรก โจทก์ผู้รับประเมินจะมีอำนาจฟ้องต่อเมื่อโจทก์ได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้นก่อนแล้ว ไม่ว่ากำหนดระยะเวลาการชำระค่าภาษีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 38 ได้สิ้นสุดลงแล้วก่อนโจทก์ฟ้องคดี หรือจะสิ้นสุดลงในระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลก็ตาม แม้ขณะโจทก์ยื่นฟ้อง กำหนดระยะเวลาชำระค่าภาษีตามมาตรา 38 ยังไม่สิ้นสุดลงก็ตาม แต่ก็เป็นกรณีที่ถึงกำหนดชำระระหว่างที่คดียังอยู่ในศาลซึ่งมาตรา 39 บัญญัติให้โจทก์ต้องชำระเสียก่อนยื่นฟ้องคดี เมื่อปรากฏว่าโจทก์เพิ่งชำระค่าภาษีหลังจากยื่นฟ้อง โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5061/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องของกรมสรรพากร: กรณีผู้เสียภาษีอุทธรณ์คำวินิจฉัยและคดีอยู่ระหว่างพิจารณา
เมื่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้จำเลยชำระค่าภาษีจำเลยได้อุทธรณ์คำวินิจฉัยต่อศาลตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2)แล้ว คำวินิจฉัยดังกล่าวอาจถูกเปลี่ยนแปลงหรือเพิกถอนโดยคำสั่งหรือคำพิพากษาของศาลได้ กรมสรรพากรมีสิทธิจะได้รับชำระค่าภาษีหรือไม่จึงต้องรอคำวินิจฉัยของศาลเสียก่อน ดังนั้น ขณะที่คดียังอยู่ระหว่างการพิจารณาของศาล กรมสรรพากรไม่มีอำนาจฟ้องบังคับให้จำเลยชำระค่าภาษีดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1136/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีภาษีโรงเรือนและที่ดิน: ต้องชำระภาษีค้างชำระก่อนฟ้อง
การฟ้องคดีต่อศาลภาษีอากรให้ยกเลิกการเรียกเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดินเป็นการฟ้องคดีตามมาตรา 7(1) แห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลภาษีอากรและวิธีพิจารณาคดีภาษีอากร พ.ศ.2528 ซึ่งมาตรา 8บัญญัติว่าจะฟ้องได้ก็ต่อเมื่อได้มีการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และระยะเวลาเกี่ยวกับการคัดค้านหรืออุทธรณ์คำสั่ง คำวินิจฉัย ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมายเกี่ยวกับภาษีอากรนั้นแล้ว คดีของโจทก์เป็นการฟ้องโดยใช้สิทธิในฐานะผู้รับประเมินตามมาตรา 31 แห่ง พ.ร.บ. ภาษีโรงเรือนและที่ดินพุทธศักราช 2475 ซึ่งมีมาตรา 39 บัญญัติว่า 'ห้ามมิให้ศาลประทับฟ้อง...เว้นแต่จะเป็นที่พอใจศาลว่าผู้รับประเมินได้ชำระค่าภาษีทั้งสิ้น...' ดังนั้นเมื่อโจทก์ยังมิได้ชำระค่าภาษีโรงเรือนและที่ดินตามที่จำเลยชี้ขาดเสียก่อน โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีได้ แม้โจทก์จะตั้งรูปคดีเป็นเรื่องละเมิดมาด้วย ก็หาเป็นเหตุให้โจทก์มีสิทธิฟ้องคดีโดยไม่ปฏิบัติตามมาตรา 39 ดังกล่าวเสียก่อนไม่.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2543/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อจำกัดการอุทธรณ์คดีภาษีโรงเรือน: คดีที่คำขอปลดเปลื้องทุกข์คำนวณเป็นราคาเงินได้และการพิจารณาข้อเท็จจริง
คำฟ้องที่ขอให้ศาลพิพากษาว่า การประเมินภาษีโรงเรือนและคำชี้ขาดของจำเลยให้โจทก์ชำระค่าภาษีโรงเรือนเป็นเงิน 5,400 บาท ไม่ถูกต้องก็คือให้ศาลวินิจฉัยว่าโจทก์ไม่มีหนี้ที่จะต้องชำระตามจำนวนที่จำเลยประเมินและมีคำชี้ขาด โจทก์จึงมีคำขอให้จำเลยคืนเงินภาษีโรงเรือนที่โจทก์อ้างว่า จำเลยคิดให้โจทก์เสียเกินไปให้แก่โจทก์ด้วย หากศาลพิพากษาให้โจทก์ชนะคดี ทุกข์ของโจทก์ย่อมปลดเปลื้องไปตามจำนวนเงินที่โจทก์ไม่ต้องชำระหนี้และได้รับเงินที่เสียเกินไปนั้นคืน ฟ้องของโจทก์จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ตามตาราง 1 ข้อ 1 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 224
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1466/2516 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำคดีภาษีหลังถอนฟ้องเดิม สิทธิฟ้องเป็นไปตามกรอบเวลาที่กฎหมายกำหนด
โจทก์เคยใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อศาลขอให้ศาลชี้ขาดเกี่ยวกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ที่ให้โจทก์ชำระภาษีเงินได้ แต่แล้วขอถอนฟ้องไป ต่อมาโจทก์ยื่นฟ้องขอให้ศาลชี้ขาดเกี่ยวกับคำวินิจฉัยอุทธรณ์ดังกล่าวอีก แต่เกินกำหนดเวลาสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยอุทธรณ์แล้วคดีของโจทก์จึงต้องห้ามตามมาตรา 30(2) แห่งประมวลรัษฎากรโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง แม้จะปรากฏว่าในคดีก่อนโจทก์ได้ยื่นฟ้องไว้ภายใน 30 วัน ตามประมวลรัษฎากร มาตรา 30(2) ก็ตาม ก็ไม่ทำให้โจทก์มีอำนาจมาฟ้องใหม่ได้อีก เพราะการถอนคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนเป็นการลบล้างผลแห่งการยื่นฟ้อง กระทำให้โจทก์จำเลยกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลย ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1326/2512
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องและผลของการแก้ไขคำให้การเพิ่มเติมประเด็นขาดอายุอุทธรณ์ในคดีภาษี
การขอแก้ไขเพิ่มเติมคำให้การว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องนั้น. เกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน. แม้จำเลยจะยื่นคำร้องภายหลังจากวันชี้สองสถาน ก็ไม่ต้องห้าม.
โจทก์ฟ้องว่า สรรพากรจังหวัดประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าโดยไม่ชอบ. โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.คณะกรรมการวินิจฉัยว่าการประเมินถูกต้องแล้ว. โจทก์จึงฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีตามที่ประเมิน. จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกินกำหนด 30 วัน. นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 30. โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อไม่มีสิทธิอุทธรณ์.ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง. แม้จะได้ความว่า. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ว่าการประเมินของเจ้าหน้าที่ถูกต้องแล้ว. แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์ขาดอายุที่จะอุทธรณ์ได้แล้ว. การสั่งดังนี้ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นถูกต้องขึ้นไม่. เท่ากับยังไม่มีอุทธรณ์โดยชอบตามกฎหมาย. สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลย่อมไม่มี.
โจทก์ฟ้องว่า สรรพากรจังหวัดประเมินให้โจทก์เสียภาษีการค้าโดยไม่ชอบ. โจทก์อุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์.คณะกรรมการวินิจฉัยว่าการประเมินถูกต้องแล้ว. โจทก์จึงฟ้องขอให้พิพากษาว่าโจทก์ไม่มีหน้าที่เสียภาษีตามที่ประเมิน. จำเลยต่อสู้ว่าโจทก์ยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เกินกำหนด 30 วัน. นับแต่วันได้รับแจ้งการประเมินขัดต่อประมวลรัษฎากร มาตรา 30. โจทก์ไม่มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เมื่อไม่มีสิทธิอุทธรณ์.ก็ไม่มีอำนาจฟ้อง. แม้จะได้ความว่า. คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์สั่งในอุทธรณ์ของโจทก์ว่าการประเมินของเจ้าหน้าที่ถูกต้องแล้ว. แต่ถ้าข้อเท็จจริงปรากฏว่าอุทธรณ์ของโจทก์ขาดอายุที่จะอุทธรณ์ได้แล้ว. การสั่งดังนี้ก็หามีผลทำให้อุทธรณ์นั้นถูกต้องขึ้นไม่. เท่ากับยังไม่มีอุทธรณ์โดยชอบตามกฎหมาย. สิทธิของโจทก์ที่จะนำคดีมาสู่ศาลย่อมไม่มี.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1031/2498 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความคดีภาษี และความผิดฐานสมรู้ร่วมคิดในคดีบัญชี การยกฟ้องจำเลยที่ 2
จำเลยผู้ทำการโรงสีไม่ได้ทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร มาตรา 201 อันมีโทษตาม มาตรา 208แต่ขณะพิจารณาคดีได้ประกาศใช้ พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2496 บังคับแล้ว พระราชบัญญัตินี้ได้ยกเลิกและบัญญัติเรื่องการทำบัญชีข้าวและข้าวเปลือกใหม่ตาม มาตรา 40 โดยแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร มาตรา 87ทวิขึ้นใหม่และมีบทลงโทษตาม มาตรา 93 ซึ่งมีโทษเบากว่า การกระทำของจำเลยจึงต้องนำ มาตรา 87ทวิและ มาตรา 93 มาใช้บังคับและต้องนำอายุความสำหรับบทลงโทษ ตามกฎหมายที่ใช้อยู่ในขณะพิจารณาคดีซึ่งมีโทษเบากว่ามาใช้บังคับแก่คดีด้วย
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้
หน้าที่ทำบัญชีตาม พระราชบัญญัติบัญชีนั้นเป็นหน้าที่เฉพาะบุคคลตามที่ระบุไว้ใน พระราชบัญญัติการบัญชี มาตรา 7บุคคลอื่นที่ไม่มีหน้าที่ทำบัญชีจะเรียกว่าเป็นผู้ละเว้นกระทำไม่ได้ และจะช่วยสมรู้หรือสมคบในการไม่กระทำตามหน้าที่ของคนอื่นก็ไม่ได้
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ที่ 2 ศาลชั้นต้นลงโทษจำเลยที่ 1 ผู้เดียว โจทก์ฝ่ายเดียวอุทธรณ์ขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ด้วย ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนโจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ฐานสมรู้กระทำผิดกับจำเลยที่ 1 ดังนี้ แม้จำเลยที่ 1 มิได้อุทธรณ์ฎีกาถ้าเป็นเหตุในลักษณะคดีแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจแก้ไขคำพิพากษาให้เป็นผลดีแก่จำเลยที่ 1 ได้