คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีมรดก

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 42 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4811/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีครอบครองที่ดิน: ไม่เป็นคดีมรดกหรือเจ้าหนี้บังคับตามสิทธิ
โจทก์ฟ้องว่า โจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทโดยโจทก์ได้ครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินพิพาทตลอดมาตั้งแต่ปี 2503 สามีจำเลยไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานที่ดินให้ออกหนังสือรับรองการทำประโยชน์ (น.ส.3) สำหรับที่ดินพิพาทในชื่อของสามีจำเลยในปี 2515ขอให้พิพากษาว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท ห้ามจำเลยและบริวารเกี่ยวข้องกับที่ดินพิพาทต่อไป และขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาท ดังนี้ แม้โจทก์ฟ้องจำเลยหลังจากสามีจำเลยตายเกิน 1 ปี ฟ้องของโจทก์ก็ไม่ขาดอายุความ เพราะไม่เป็นคดีมรดกหรือคดีที่เจ้าหนี้ขอบังคับตามสิทธิเรียกร้องอันมีต่อเจ้ามรดก จะนำอายุความตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 มาใช้ไม่ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2981/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่อนุญาตซักค้านพยานในคดีผู้จัดการมรดก ศาลมีดุลพินิจในการวินิจฉัยคดีและตั้งผู้จัดการมรดก
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นมีเพียงว่า สมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายหรือไม่ การที่จะซักค้านพยานผู้ร้องในเรื่องเกี่ยวกับการจัดการมรดกเดิมและการจะจัดการมรดกต่อไปอย่างไรนั้น จึงไม่เป็นประโยชน์แก่การวินิจฉัยคดี ประกอบกับการที่ศาลจะตั้งผู้ใดเป็นผู้จัดการมรดกเป็นดุลพินิจของศาลโดยเฉพาะ ดังนั้น ที่ศาลไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านซักค้านพยานผู้ร้องในเรื่องดังกล่าวนั้นชอบแล้ว
คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านซักค้านพยานผู้ร้องเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา เมื่อผู้คัดค้านไม่ได้โต้แย้งคำสั่งไว้ จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบมาตรา 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดกและการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกที่เกินกำหนดเวลา
โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกฟ้องเรียกทรัพย์มรดกที่ทายาทของเจ้ามรดกยึดถือไว้เพื่อนำมาจัดการตามอำนาจหน้าที่ เป็นการฟ้องคดีมรดก เมื่อฟ้องพ้นกำหนด 10 ปีนับแต่เจ้ามรดกตายคดีโจทก์จึงขาดอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1754 วรรคสี่ โจทก์ฎีกาว่าจำเลยเข้าครอบครองทำกินในที่ดินโดยยังไม่ได้แบ่งกัน ถือได้ว่าครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่นผู้มีสิทธิรับมรดก โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทของเจ้ามรดกจึงเป็นตัวแทนของทายาทมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเพื่อจัดการแบ่งปันต่อไปได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 โดยโจทก์มิได้บรรยายฟ้องเช่นนั้น ฎีกาของโจทก์จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล่าง ต้องห้ามมิให้ฎีกา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2376/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดกและการฟ้องเรียกทรัพย์มรดกหลังพ้นกำหนดเวลาตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องคดีในฐานะเป็นผู้จัดการมรดกของ ง. เรียกเอาทรัพย์มรดกที่ทายาทของ ง. ยึดถือได้ว่าเพื่อนำมาจัดการตามอำนาจหน้าที่เป็นการฟ้องคดีมรดก ง. ถึงแก่กรรมเมื่อวันที่ 8 มีนาคม2515 โจทก์ฟ้องคดีนี้วันที่ 3 กันยายน 2530 พ้นกำหนด 10 ปีนับแต่ ง. เจ้ามรดกถึงแก่กรรม จึงขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 วรรค 4 โจทก์ฎีกาว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 7 เข้าครอบครองทำกินในที่ดินมรดกโดยยังไม่ได้แบ่งกัน เป็นการครอบครองแทนทายาทอื่น โจทก์ในฐานะผู้จัดการมรดกและทายาทจึงเป็นตัวแทนของทายาทมีสิทธิฟ้องเรียกทรัพย์มรดกเพื่อจัดการแบ่งปันต่อไปได้แม้จะล่วงพ้นกำหนดเวลาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1754 แล้ว แต่โจทก์มิได้บรรยายฟ้องไว้เช่นนี้ ฎีกาของโจทก์จึงเป็นข้อที่ไม่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 189/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความคดีมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกแทนทายาทอื่น ศาลตัดสินว่าฟ้องเกินอายุความ
การครอบครองทรัพย์มรดกจะเป็นการครอบครองแทนทายาทคนอื่นด้วยหรือไม่ ย่อมแล้วแต่ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในแต่ละคดีว่า พฤติการณ์ใดบ้างที่แสดงให้เห็นว่าจำเลยครอบครองทรัพย์มรดก แทนทายาทอื่นหรือครอบครองเพื่อตนเอง เพราะไม่มีกฎหมาย สนับสนุนว่าใครครอบครองทรัพย์มรดกแล้วถือว่าครอบครองแทนทายาท อื่น เมื่อเจ้ามรดกตายตั้งแต่ปี 2525 โจทก์มาฟ้องเมื่อปี 2530 เกิน 1 ปี คดีโจทก์ขาดอายุความ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3824/2534 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การถอนผู้จัดการมรดก: ผู้มีส่วนได้เสียร้องขอได้ แม้ไม่มีคดีแบ่งมรดก และอายุความคดีไม่ขาด
การร้องขอให้ถอนผู้จัดการมรดกนั้นกฎหมายมิได้บัญญัติบังคับว่า ผู้มีส่วนได้เสียจะต้องร้องขอเข้ามาในคดีเดิม คือในคดีที่ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการมรดกแต่อย่างใดไม่ ดังนั้น แม้จะไม่มีการฟ้องขอแบ่งทรัพย์มรดกด้วย ผู้ร้องก็ชอบที่จะร้องขอต่อศาลให้สั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกเป็นคดีใหม่ต่างหากจากคดีเดิมได้
ข้อคัดค้านที่ว่าผู้ร้องไม่มีส่วนได้เสีย ที่ดินพิพาทไม่ใช่ทรัพย์มรดก เป็นของผู้คัดค้านซื้อมา ผู้คัดค้านมิได้ยกขึ้นต่อสู้ไว้ในคำคัดค้าน ไม่เป็นประเด็นต้องวินิจฉัย แม้ศาลล่างทั้งสองจะวินิจฉัยมาก็เป็นการวินิจฉัยที่ไม่ชอบด้วยกระบวนพิจารณา ส่วนปัญหาที่ว่าผู้คัดค้านจดทะเบียนโอนทรัพย์พิพาทเป็นของตนเองหมดแล้ว การจัดการมรดกเสร็จแล้ว แม้ผู้คัดค้านจะยกขึ้นต่อสู้ไว้ แต่ศาลชั้นต้นไม่ได้วินิจฉัยและผู้คัดค้านมิได้กล่าวอ้างในคำแก้อุทธรณ์ ปัญหาเรื่องนี้จึงไม่มีประเด็นสู่การพิจารณาของศาลอุทธรณ์ปัญหาข้างต้นจึงถือมิได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วแต่ศาลชั้นต้นและศาลอุทธรน์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249
คดีร้องขอให้ศาลสั่งถอนผู้จัดการมรดกนั้น ป.พ.พ. มาตรา 1727 บัญญัติให้ผู้มีส่วนได้เสียต้องร้องขอเสียก่อนที่การปันมรดกเสร็จสิ้นลงเท่านั้น มิใช่คดีฟ้องเรียกทรัพย์มรดกหรือคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดก จึงจะนำอายุความฟ้องคดีมรดกและคดีเกี่ยวกับการจัดการมรดกตาม ป.พ.พ. มาตรา 1754 และ 1733 มาใช้บังคับหาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีมรดก: โจทก์ไม่นำสืบหลักฐานตามภาระการพิสูจน์ ศาลไม่จำเป็นต้องวินิจฉัยพยานจำเลย
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์นำพยานเข้าสืบก่อนตามภาระการพิสูจน์เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ปรากฏตามข้อ อ้างของตน โจทก์ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีโดยไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5320/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ภาระการพิสูจน์ในคดีมรดก: หากโจทก์ไม่มีพยานสนับสนุนข้ออ้าง ศาลไม่จำต้องวินิจฉัยพยานจำเลย
ศาลชั้นต้นกำหนดให้โจทก์นำพยานเข้าสืบก่อนตามภาระการพิสูจน์เมื่อโจทก์ไม่มีพยานมาสืบให้ปรากฏตามข้ออ้างของตน โจทก์ก็ต้องเป็นฝ่ายแพ้คดีโดยไม่จำต้องวินิจฉัยพยานหลักฐานของจำเลย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2284/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกของทายาท
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ตกทอดแก่ทายาทคือโจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสอง เมื่อ อ. ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 2 ได้ ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาโดยโจทก์ทั้งสามไม่ได้ครอบครองร่วมด้วย อ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2521 โจทก์ทั้งสามทราบแล้ว แต่เพิ่มมาฟ้องคดีมรดกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 พ้น 1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องคดีมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748, 1754เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความฟ้องคดีมรดกเสียแล้ว ปัญหาที่โจทก์ทั้งสามอ้างว่าเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2526 จำเลยทั้งสองไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานให้ใส่ชื่อ จำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทเพียงสองคน เป็นการปิดบังทรัพย์มรดก ต้องถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยให้ต่อไป

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2284/2533

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีมรดกและการครอบครองทรัพย์มรดกโดยทายาทอื่น
ที่ดินพิพาทเป็นทรัพย์มรดกของ อ. ตกทอดแก่ทายาทคือโจทก์ทั้งสามและจำเลยทั้งสอง เมื่อ อ. ถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยที่ 2ได้ ครอบครองที่ดินพิพาทต่อมาโดยโจทก์ทั้งสามไม่ได้ครอบครองร่วมด้วย อ. เจ้ามรดกถึงแก่ความตายเมื่อวันที่ 3 เมษายน 2521 โจทก์ทั้งสามทราบแล้ว แต่เพิ่มมาฟ้องคดีมรดกเมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม 2527 พ้น1 ปี นับแต่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย คดีโจทก์จึงขาดอายุความฟ้องคดีมรดกตาม ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1748,1754เมื่อคดีของโจทก์ขาดอายุความฟ้องคดีมรดกเสียแล้ว ปัญหาที่โจทก์ทั้งสามอ้างว่าเมื่อวันที่ 2 มิถุนายน 2526 จำเลยทั้งสองไปแจ้งความเท็จต่อเจ้าพนักงานให้ใส่ชื่อ จำเลยทั้งสองในหนังสือรับรองการทำประโยชน์ที่ดินพิพาทเพียงสองคน เป็นการปิดบังทรัพย์มรดกต้อง ถูกกำจัดไม่ให้รับมรดกนั้น จึงไม่จำต้องวินิจฉัยให้ต่อไป.
of 5