พบผลลัพธ์ทั้งหมด 29 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3822/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากเช็คชำระหนี้รายเดียวกัน: ไม่มีอำนาจฟ้องซ้ำหากคดีเดิมยังอยู่ระหว่างพิจารณา
จำเลยที่ 1 เคยออกเช็คให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าซื้อบ้านแต่ธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ศาลมีคำสั่งให้ออกหมายจับและจำหน่ายคดี ต่อมาจำเลยที่ 1 และจำเลยที่ 2ได้ออกเช็คพิพาทให้โจทก์เพื่อชำระหนี้ค่าซื้อบ้านแทนเช็คฉบับเดิม แต่เช็คพิพาทถูกธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน ความเสียหายของโจทก์อันสืบเนื่องมาจากมูลหนี้ค่าซื้อบ้านรายเดียวกันย่อมเกิดขึ้นเพียงครั้งเดียวการที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1ผู้ออกเช็คฉบับเดิมต่อศาลและคดีอยู่ระหว่างพิจารณา ถือได้ว่าความเสียหายของโจทก์ในมูลหนี้รายนี้ไม่อาจเกิดขึ้นอีกได้ โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายและไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองตามเช็คพิพาทอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2021/2520
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของกฎหมายยกเว้นโทษต่อคดีระหว่างพิจารณา
ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกามีกฎหมายยกเว้นโทษโดย พระราชบัญญัติอาวุธปืนฯ ฉบับที่ 6 จำเลยได้รับผลตามกฎหมายนี้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2039/2519
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้กฎหมายใหม่กับคดีที่อยู่ระหว่างพิจารณา: วัตถุระเบิดและข้อยกเว้นโทษ
มีวัตถุระเบิดไว้และถูกจับตั้งแต่ก่อนใช้ พระราชบัญญัติอาวุธปืน (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2518 ซึ่งออกใช้เมื่อคดีอยู่ระหว่างอุทธรณ์ ศาลอุทธรณ์พิพากษายกเว้นโทษให้ตามกฎหมายใหม่นั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1068/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คดีเดิมอยู่ระหว่างพิจารณา แม้ถอนฟ้องแล้วแต่จำเลยอุทธรณ์ โจทก์ฟ้องใหม่ไม่ได้
เดิมโจทก์ฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดกาฬสินธุ์เรียกค่าซื้อสิ่งของแล้วโจทก์ถอนฟ้องศาลจังหวัดกาฬสินธุ์อนุญาตแล้ว จำเลยอุทธรณ์คำสั่งที่ศาลอนุญาตให้ถอนฟ้อง ขณะคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ โจทก์จึงมาฟ้องจำเลยต่อศาลจังหวัดขอนแก่นเป็นคดีนี้ในมูลหนี้อันเดียวกัน ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 โจทก์จะนำคดีเรื่องเดียวกันนั้นมาฟ้องจำเลยอีกมิได้ไม่ว่าจะฟ้องต่อศาลเดิมนั้นเองหรือศาลอื่น และคดีเดิมจะอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลเดียวกันหรือของศาลอื่นหรืออยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ศาลฎีกาก็ตาม แม้คดีเดิมนั้นโจทก์จะถอนฟ้องไปและศาลชั้นต้นอนุญาตแล้วแต่จำเลยยังอุทธรณ์ฎีกาต่อมา ซึ่งถ้าหากศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกากลับคำสั่งของศาลจังหวัดกาฬสินธุ์ไม่ยอมให้ถอนฟ้อง โจทก์ก็ต้องดำเนินคดีเรื่องเดียวกันนั้นไปทั้งสองเรื่อง ซึ่งไม่ใช่ความประสงค์ของกฎหมาย บทบัญญัติมาตรา 176 ที่ว่าเมื่อถอนฟ้องแล้วย่อมลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยและอาจยื่นฟ้องใหม่ได้ภายใต้บังคับบทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยอายุความนั้น หมายความว่าการถอนฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดไปแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ (อ้างคำพิพากษาฎีกาที่ 466/2503 และ 455/2511)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 516/2513 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลของกฎหมายที่สิ้นผลบังคับกับคดีระหว่างพิจารณา: ศาลฎีกาไม่สามารถใช้เหตุสิ้นสุดกฎหมายระหว่างพิจารณาเพื่อพิพากษาขับไล่ได้
ขณะฟ้องจำเลยได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ในระหว่างศาลฎีกาทำการพิจารณาคดีนี้ปรากฏว่า พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินพ.ศ. 2504 มาตรา 21 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2511 มาตรา 3กำหนดให้พระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 เฉพาะมาตรา 11 และ 17 ใช้บังคับได้เพียง 8 ปี นับแต่พระราชบัญญัติ ควบคุมการเช่าเคหะและที่ดิน พ.ศ. 2504 ใช้บังคับ (ใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 12 ตุลาคม 2504) มาตรา 11 และ17 ดังกล่าวจึงไม่มีผลบังคับหรือเลิกใช้บังคับแล้ว จำเลยไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายดังกล่าวต่อไปดังนี้ ศาลฎีกาจะยกเอาความสิ้นสุดของพระราชบัญญัติควบคุมการเช่าเคหะและที่ดินฯ ดังกล่าว ในระหว่างพิจารณามาเป็นเหตุพิพากษาขับไล่จำเลยไม่ได้ เพราะเหตุที่ศาลจะยกขึ้นพิพากษาขับไล่จำเลยได้ จะต้องเป็นเหตุที่มีอยู่ตามกฎหมายที่ใช้บังคับในขณะฟ้อง
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2513)
(ประชุมใหญ่ครั้งที่ 9/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1040/2513
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลอุทธรณ์วินิจฉัยยกเว้นโทษจากกฎหมายใหม่ แม้คดีอยู่ระหว่างพิจารณา และหลักการใช้กฎหมายที่เอื้อประโยชน์แก่จำเลย
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดฐานพยายามฆ่าผู้อื่นและฐานมีอาวุธปืน เครื่องกระสุนปืนไว้ในความครอบครองโดยไม่รับอนุญาต ให้ลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80 อันเป็นกระทงหนักตามมาตรา 91 จำเลยอุทธรณ์แต่เฉพาะในข้อหาพยายามฆ่าผู้อื่น เมื่อคดียังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ได้มีพระราชบัญญัติอาวุธปืนเครื่องกระสุนปืน วัตถุระเบิด ดอกไม้เพลิง และสิ่งเทียมอาวุธปืน (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2510 ประกาศใช้บังคับโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัตินี้ยกเว้นโทษให้จำเลยในความผิดฐานครอบครองอาวุธปืนและเครื่องกระสุนปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต เช่นนี้ศาลอุทธรณ์ย่อมมีอำนาจหยิบยกพระราชบัญญัตินี้ขึ้นวินิจฉัยยกเว้นโทษให้จำเลยในความผิดฐานนี้ได้ ทั้งนี้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 195 วรรคสอง และตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 3 (ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 17/2513)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 455/2511 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีซ้ำซ้อนที่คดีเดิมยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา ถือเป็นการฟ้องคดีที่ต้องห้ามตามกฎหมาย
คดีเรื่องก่อน โดยเฉพาะคดีแดงที่ 4475/2506 เป็นเรื่องที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้สินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุ ฯลฯ และได้ฟ้องจำเลยขอให้แสดงว่าโจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวนี้ เพราะจำเลยยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 คือ เครื่องรับวิทยุฯลฯ ศาลพิพากษายกฟ้อง โจทก์กลับยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 ซ้ำอีก ครั้นนายทะเบียนไม่รับจด โจทก์ก็มาฟ้องจำเลยเป็นคดีขึ้นอีกเห็นว่าคดีหลังนี้กับคดีแดงที่4475/2506 เป็นเรื่องเดียวกันโดยมีประเด็นข้อพิพาทเป็นอย่างเดียวกันว่า โจทก์มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HIPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวก 8 หรือไม่ ในเมื่อจำเลยได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า HYPEX สำหรับใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันไว้แล้ว ซึ่งต้องพิจารณาเรื่องที่กระทำ ไม่ใช่ครั้งของการกระทำแม้โจทก์จะประดิษฐ์รูปลักษณะของตัวอักษรให้ผิดเพี้ยนไปบ้างแต่ตัวอักษรก็ยังเป็นอย่างเดิม และเรียกขานเหมือนเดิม คือ HIPEX ส่วนลวดลายส่วนประกอบโดยรอบตัวอักษร แม้จะมีเพิ่มขึ้นก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญเพราะเป็นเพียงส่วนประกอบของลักษณะบ่งเฉพาะแห่งเครื่องหมายเท่านั้น ไม่ทำให้เครื่องหมาย HIPEX ที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนครั้งหลังอันเป็นมูลฟ้องคดีนี้กลายเป็นคนละเครื่องหมายคนละเรื่องกับเรื่องก่อนไปได้ เมื่อคดีหลังกับคดีก่อนคือคดีแดงที่ 4475/2506 ของศาลชั้นต้นเป็นเรื่องเดียวกัน และขณะโจทก์ฟ้องคดีหลังนี้ คดีแดงที่ 4475/2506 ยังอยู่ระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาโจทก์จึงฟ้องคดีหลังนี้ไม่ได้ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173(1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 299/2507
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีโกงเจ้าหนี้: สิทธิฟ้องไม่ระงับหากคดีเดิมยังไม่ถึงที่สุด
ผู้เสียหายคนหนึ่งฟ้องจำเลยฐานโกงเจ้าหนี้ต่อสาลชั้นต้นศาลหนึ่ง ผู้เสียหายอีกคนหนึ่งฟ้องจำเลยในความผิดเดียวกันต่อศาลชั้นต้นอีกศาลหนึ่งการที่ศาลในคดีแรกพิพากษายกฟ้อง แต่ผู้เสียหายอุทธรณ์และคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์นั้น ไม่ทำให้สิทธินำคดีอาญาของผู้เสียหายในคดีหลังมาฟ้องระงับไป ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39 (4) เพราะหาใช่เป็นกรณีที่มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องนั้นไม่ คดีก่อนยังอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1666/2506
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลเลื่อนการพิจารณาคดีระหว่างพิจารณา ไม่ทำให้คดีเสร็จสิ้น ห้ามอุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
การที่ศาลชั้นต้นสั่งให้เลื่อนการพิจารณา การไต่สวนมูลฟ้องไว้ก่อนจนกว่าอีกศาลหนึ่งจะได้ชี้ขาดในคดีที่โจทก์ถูกฟ้องถึงที่สุดนั้น เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาที่ไม่ทำให้คดีเสร็จสำนวน ต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 196(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 18/2506)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 71/2505
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลระหว่างพิจารณาคดีเรื่องอายุความ หากไม่โต้แย้ง สิทธิในการอุทธรณ์ฎีกาในประเด็นนั้นย่อมหมดไป
จำเลยขอให้ศาลชี้ขาดเบื้องต้นว่าคดีโจทก์ขาดอายุความศาลสั่งว่าฟ้องโจทก์ยังไม่ขาดอายุความ อันเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณานั้นเมื่อจำเลยมิได้โต้แย้งคำสั่งแต่ประการใดแล้วจำเลยย่อมไม่มีสิทธิจะอุทธรณ์ฎีกาในข้อนี้