พบผลลัพธ์ทั้งหมด 246 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1922/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้มีเงื่อนไขบังคับก่อนในคดีล้มละลาย: สิทธิเจ้าหนี้เมื่อเงื่อนไขยังไม่สำเร็จ
สัญญาจ้างว่าความระหว่างลูกหนี้ที่ 1 กับเจ้าหนี้ทั้งสองได้กำหนดข้อตกลงเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนพิเศษโดยให้เป็นผลต่อเมื่อมีการถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายที่ลูกหนี้ที่ 1 เป็นโจทก์ ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่ไม่แน่นอนว่าจะเกิดขึ้นหรือไม่ข้อตกลงดังกล่าวจึงเป็นนิติกรรมที่มีเงื่อนไขบังคับก่อนและย่อมเป็นผลต่อเมื่อเงื่อนไขนั้นสำเร็จแล้ว ทั้งในระหว่างที่เงื่อนไขยังไม่สำเร็จ คู่กรณีฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะต้องงดเว้นไม่กระทำการให้เป็นที่เสื่อมเสียประโยชน์แก่คู่กรณีอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งจะพึงได้จากความสำเร็จแห่งเงื่อนไขนั้นตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 182,183 และ 184ลูกหนี้ที่ 1 จึงต้องผูกพันตามข้อตกลงดังกล่าว ทั้งมูลหนี้ที่ลูกหนี้ที่ 1 ได้ก่อขึ้นแก่เจ้าหนี้ทั้งสองนั้นเกิดก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้ที่ 1 เด็ดขาดย่อมถือได้ว่าสิทธิของเจ้าหนี้ทั้งสองตามข้อตกลงย่อมมีอยู่แล้วก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เพียงแต่เจ้าหนี้ทั้งสองจะเรียกร้องให้ลูกหนี้ที่ 1 จ่ายค่าตอบแทนพิเศษสำหรับการว่าความดังกล่าวได้ต่อเมื่อลูกหนี้ที่ 1 ได้ถอนคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายแล้ว แต่เนื่องจากขณะที่เจ้าหนี้ทั้งสองขอรับชำระหนี้ในคดีนี้ ยังไม่มีการถอนคำขอรับชำระหนี้ของลูกหนี้ที่ 1 ในคดีดังกล่าว และไม่แน่ว่าจะมีการขอถอนคำขอรับชำระหนี้นั้นหรือไม่ เจ้าหนี้ทั้งสองจึงยังไม่มีสิทธิที่จะเรียกให้ลูกหนี้ที่ 1 จ่ายค่าตอบแทนพิเศษนั้นได้ทันที แต่ถือได้ว่าข้อตกลงดังกล่าวเป็นหนี้มีเงื่อนไขและเงื่อนไขยังไม่สำเร็จ เจ้าหนี้ทั้งสองจึงมีสิทธิขอรับชำระหนี้ค่าตอบแทนพิเศษสำหรับการว่าความเพียงจำนวน 2,500,000 บาท ซึ่งเป็นจำนวนที่ระบุในสัญญาจ้างว่าความจากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ที่ 1
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4027/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีล้มละลายของผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลต่างประเทศ ต้องได้รับอนุญาตจากศาลก่อน
อำนาจของผู้จัดการมรดกของผู้ตายซึ่งเป็นคนสัญชาติอังกฤษและเป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลแห่งประเทศอังกฤษจะเป็นไปตามกฎหมายของประเทศใดย่อมเป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ แต่ตามพระราชบัญญัติดังกล่าวมิได้บัญญัติถึงเรื่องอำนาจของผู้จัดการมรดกว่าต้องใช้กฎหมายใดบังคับ กรณีจึงต้องใช้กฎเกณฑ์ทั่วไปแห่งกฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลตามมาตรา 3 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวบังคับ ซึ่งตามกฎเกณฑ์ทั่วไปนั้น กฎหมายที่จะนำมาใช้บังคับอาจเป็นกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา เมื่อโจทก์มีสัญชาติอังกฤษและมีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศอังกฤษ ดังนั้น ไม่ว่าจะใช้หลักกฎหมายสัญชาติหรือกฎหมายภูมิลำเนา กฎหมายที่จะใช้บังคับแก่คดีย่อมได้แก่กฎหมายแห่งประเทศอังกฤษแต่การที่ต้องใช้กฎหมายต่างประเทศบังคับแก่กรณีเช่นนี้เป็นหน้าที่ของโจทก์ต้องนำสืบให้เห็นว่ากฎหมายต่างประเทศนั้นบัญญัติไว้อย่างไร เมื่อโจทก์มิได้นำสืบให้ศาลเห็นเป็นที่ชัดแจ้งว่ากฎหมายของประเทศอังกฤษบัญญัติไว้เช่นนั้นจริง กรณีนี้จึงต้องใช้กฎหมายภายในประเทศไทยบังคับตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการขัดกันแห่งกฎหมายฯ ซึ่งตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1715 บัญญัติถึงเรื่องการที่บุคคลหลายคนเป็นผู้จัดการมรดกตามพินัยกรรม ถ้าผู้จัดการมรดกบางคนไม่สามารถหรือไม่เต็มใจที่จะจัดการ และยังมีผู้จัดการมรดกเหลืออยู่แต่คนเดียวผู้นั้นมีสิทธิที่จะจัดการมรดกได้โดยลำพัง แต่โจทก์เป็นผู้จัดการมรดกตามคำสั่งศาลร่วมกับจ. จึงไม่อาจนำมาตรา 1715 มาใช้บังคับได้เมื่อ จ. ซึ่งเป็นผู้จัดการมรดกคนหนึ่งถึงแก่ความตาย โจทก์เพียงคนเดียวจะฟ้องคดีนี้ต่อไปตามลำพังโดยยังมิได้ขอให้ศาลมีคำสั่งอนุญาตให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกแต่ผู้เดียวย่อมเป็นการฝ่าฝืนคำสั่งศาลโจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลย เรื่องอำนาจฟ้องเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดฎีกา ศาลฎีกาก็หยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246 และมาตรา 247 และประกอบพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3392/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจัดกลุ่มเจ้าหนี้ในคดีล้มละลาย: กรอบเวลาการยื่นคำร้องต่อศาล และผลของการไม่ยื่นภายในกำหนด
ผู้ทำแผนจัดให้เจ้าหนี้อยู่ทั้งกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันในกลุ่มที่ 2 และกลุ่มเจ้าหนี้ไม่มีประกันในกลุ่มที่ 3 โดยแบ่งเป็นหนี้ที่มีประกัน 7,025,000 บาท และเป็นหนี้ที่ไม่มีประกัน 10,862,024.74 บาท แต่เจ้าหนี้เห็นว่าผู้ทำแผนควรจัดให้เจ้าหนี้อยู่ในกลุ่มเจ้าหนี้มีประกันเพียงกลุ่มเดียว จึงไม่ยอมรับแผนในที่ประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาแผนเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2544 และยื่นคำคัดค้านต่อศาลล้มละลายกลางเมื่อวันที่ 22 มกราคม 2544 โดยคัดค้านว่า เจ้าหนี้ไม่ยอมรับแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้เพราะเห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่เป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ทวิดังนี้ คำคัดค้านของเจ้าหนี้จึงเป็นการยื่นคำร้องขอต่อล้มละลายกลางเพื่อให้มีคำสั่งจัดกลุ่มเสียใหม่ให้ถูกต้องตามมาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายแจ้งวันนัดประชุมเจ้าหนี้พร้อมแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทางไปรษณีย์ตอบรับลงวันที่ 4 มกราคม 2544 เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไว้แล้ว การที่เจ้าหนี้ได้รับแผนฟื้นฟูกิจการย่อมแสดงว่าเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการจัดกลุ่มตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว หากเจ้าหนี้ประสงค์ที่จะคัดค้านเพราะเห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่ได้เป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ก็ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม ถ้ามีพฤติการณ์พิเศษที่เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ก็อาจขอขยายเวลาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 แต่เจ้าหนี้ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอต่อศาลในวันที่ 22 มกราคม 2544 จึงพ้นกำหนดเวลาที่อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง
ศาลล้มละลายกลางมิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการเป็นการไม่ชอบด้วยข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542ข้อ 24
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ส่งหมายแจ้งวันนัดประชุมเจ้าหนี้พร้อมแผนฟื้นฟูกิจการลูกหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ทางไปรษณีย์ตอบรับลงวันที่ 4 มกราคม 2544 เมื่อแผนฟื้นฟูกิจการได้ระบุรายละเอียดเกี่ยวกับการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไว้แล้ว การที่เจ้าหนี้ได้รับแผนฟื้นฟูกิจการย่อมแสดงว่าเจ้าหนี้ได้รู้ถึงการจัดกลุ่มตั้งแต่วันดังกล่าวแล้ว หากเจ้าหนี้ประสงค์ที่จะคัดค้านเพราะเห็นว่าการจัดกลุ่มเจ้าหนี้ไม่ได้เป็นไปตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคหนึ่ง เจ้าหนี้ก็ต้องยื่นคำร้องขอต่อศาลภายในเจ็ดวันนับแต่วันที่ได้รู้ถึงการจัดกลุ่ม ถ้ามีพฤติการณ์พิเศษที่เจ้าหนี้ไม่อาจยื่นคำร้องขอได้ภายในกำหนดเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้ก็อาจขอขยายเวลาได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 แต่เจ้าหนี้ก็หาได้ทำเช่นนั้นไม่ เมื่อเจ้าหนี้ยื่นคำร้องขอต่อศาลในวันที่ 22 มกราคม 2544 จึงพ้นกำหนดเวลาที่อาจยื่นคำร้องขอต่อศาลได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 90/42 ทวิ วรรคสอง
ศาลล้มละลายกลางมิได้มีคำสั่งในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมในชั้นพิจารณาให้ความเห็นชอบแผนฟื้นฟูกิจการเป็นการไม่ชอบด้วยข้อกำหนดคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542ข้อ 24
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3285/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีล้มละลายเรื่องการยื่นสำเนาบันทึกถ้อยคำพยาน ทำให้ศาลไม่รับเป็นหลักฐาน และต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานต่อไป
การที่โจทก์มิได้ส่งสำเนาบันทึกถ้อยคำพยานให้จำเลยก่อนวันนัดพิจารณาคดีตามคำสั่งศาลล้มละลายกลาง ถือว่ามิได้ปฏิบัติตามข้อกำหนดคดีล้มละลาย ข้อ 14 วรรคสอง ย่อมทำให้โจทก์มิได้รับประโยชน์ในกระบวนพิจารณาส่วนนี้ ศาลล้มละลายกลางชอบที่จะไม่ยอมรับบันทึกถ้อยคำพยานโจทก์นั้นเป็นพยานหลักฐานในคดีแทนการซักถามพยานโจทก์ และต้องดำเนินกระบวนพิจารณาสืบพยานโจทก์และจำเลยตามที่นัดไว้ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 265/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายตามกฎหมายเดิม แม้มีการแก้ไขกฎหมายภายหลัง ศาลต้องพิจารณาจากข้อเท็จจริงและกฎหมายที่ใช้บังคับขณะยื่นฟ้อง
การจะพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองสมควรล้มละลายหรือไม่ ต้องพิจารณาตามกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ขณะที่มีการยื่นฟ้องและคดีนั้นยังคงค้างพิจารณาอยู่ในศาล ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2542 มาตรา 34 ที่บัญญัติว่า "บรรดาคดีล้มละลายที่ได้ยื่นฟ้องก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และยังค้างพิจารณาอยู่ในศาล? ให้บังคับตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายซึ่งใช้อยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ" เมื่อคดีนี้ยื่นฟ้องก่อนที่ พ.ร.บ. ดังกล่าวใช้บังคับและได้ความว่าจำเลยทั้งสองเป็นลูกหนี้โจทก์กำหนดจำนวนได้แน่นอนไม่น้อยกว่า 50,000 บาท จึงเข้าองค์ประกอบตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 9 (เดิม) ประกอบกับในการพิจารณาคดีล้มละลายต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 14 แห่ง พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ซึ่งศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 (เดิม) หรือมาตรา 10 (เดิม) ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริง ให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ยกฟ้อง ฉะนั้น เมื่อคดีนี้โจทก์นำสืบได้ว่าจำเลยทั้งสองไม่มีทรัพย์สินอย่างหนึ่งอย่างใดที่จะพึงยึดมาชำระหนี้แก่โจทก์ได้ และจำเลยทั้งสองนำสืบไม่ได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด ลำพังเหตุที่มีการแก้ไขบทบัญญัติแห่งกฎหมายดังกล่าวโดยเพิ่มจำนวนหนี้ที่จะฟ้องล้มละลายให้สูงขึ้น ยังไม่พอฟังว่ามีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้จำเลยล้มละลาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9528/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายและการทราบนัด การอุทธรณ์คำสั่งศาลและการยกคำร้องขอพิจารณาคดีใหม่
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 ให้นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาใช้ในคดีล้มละลายได้ ก็ต่อเมื่อ พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 และข้อกำหนดคดีล้มละลาย มิได้บัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะและนำมาใช้โดยอนุโลมตามสภาพลักษณะของคดีล้มละลายที่ให้พิจารณาเป็นการด่วน
การทราบนัดหรือกระบวนพิจารณาของแต่ละนัด พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่นำ ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) มาใช้บังคับ
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 90/11 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้ศาลล้มละลายดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดีให้ศาลล้มละลายรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว" ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลล้มละลายสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา แม้ฝ่ายจำเลยไม่มาศาลก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลล้มละลายดังกล่าวแล้ว ศาลล้มละลายกลางจึงอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาไปได้โดยไม่จำต้องแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบอีก
คำสั่งศาลล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลยจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายจึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
การทราบนัดหรือกระบวนพิจารณาของแต่ละนัด พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่นำ ป.วิ.พ. มาตรา 140 (3) มาใช้บังคับ
ตาม พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 15 บัญญัติว่า "ภายใต้บังคับมาตรา 90/11 แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พุทธศักราช 2483 ให้ศาลล้มละลายดำเนินการนั่งพิจารณาคดีติดต่อกันไปโดยไม่เลื่อนคดีจนกว่าจะเสร็จการพิจารณา เว้นแต่เหตุจำเป็นอันมิอาจก้าวล่วงเสียได้และเมื่อเสร็จการพิจารณาคดีให้ศาลล้มละลายรีบทำคำพิพากษาหรือคำสั่งโดยเร็ว ในกรณีที่คู่ความไม่มาศาลในนัดใดไม่ว่าจะได้รับอนุญาตจากศาลหรือไม่ให้ถือว่าคู่ความนั้นได้ทราบกระบวนพิจารณาของศาลในนัดนั้นแล้ว" ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์ซึ่งศาลล้มละลายสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษา แม้ฝ่ายจำเลยไม่มาศาลก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลล้มละลายดังกล่าวแล้ว ศาลล้มละลายกลางจึงอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาไปได้โดยไม่จำต้องแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบอีก
คำสั่งศาลล้มละลายที่ให้งดสืบพยานจำเลยเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (2) ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด 1 เดือน นับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด แต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลยจึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายจึงต้องห้ามมิให้จำเลยอุทธรณ์และฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และ 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พ.ร.บ. จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลาย พ.ศ. 2542 มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9528/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การแจ้งนัดพิจารณาคดีล้มละลาย และการอุทธรณ์คำสั่งศาล การไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนทำให้ไม่อุทธรณ์ได้
ตามบทบัญญัติมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ การที่จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้ในคดีล้มละลายได้ก็ต่อเมื่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ พระราชบัญญัติล้มละลายฯ และข้อกำหนดคดีล้มละลาย มิได้บัญญัติหรือกำหนดไว้โดยเฉพาะและนำมาใช้โดยอนุโลม ตามสภาพลักษณะของคดีล้มละลายที่ให้พิจารณาเป็นการด่วนเกี่ยวกับการทราบนัดหรือกระบวนพิจารณาของแต่ละนัด พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลาย และวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 15 บัญญัติไว้โดยเฉพาะแล้วจึงไม่นำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาใช้บังคับ ดังนั้น ในวันนัดสืบพยานโจทก์ วันที่ 2 พฤษภาคม ซึ่งศาลล้มละลายกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยและนัดฟังคำสั่งหรือคำพิพากษาในวันที่ 12 พฤษภาคมแม้ฝ่ายจำเลยไม่มา ศาลก็ต้องถือว่าจำเลยได้ทราบคำสั่งศาลล้มละลายกลางดังกล่าวแล้ว ดังนี้ ในวันนัดฟังคำสั่ง หรือคำพิพากษาศาลล้มละลายกลางจึงอ่านคำสั่งหรือคำพิพากษาไปได้โดยไม่จำต้องแจ้งวันนัดให้จำเลยทราบอีก
ส่วนที่จำเลยฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ให้งดสืบพยานโดยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้จึงขอให้สืบพยานจำเลยต่อไป คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯมาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด1 เดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
ส่วนที่จำเลยฎีกาเกี่ยวกับคำสั่งศาลล้มละลายกลางที่ให้งดสืบพยานโดยอ้างว่าจำเลยมีทรัพย์สินเพียงพอชำระหนี้จึงขอให้สืบพยานจำเลยต่อไป คำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 226(2) ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯมาตรา 14 จำเลยชอบที่จะอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวได้ภายในกำหนด1 เดือนนับแต่วันที่ศาลได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดคดี ในคดีนี้จำเลยมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวหรือคำสั่งให้พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแต่จำเลยมากล่าวอ้างเหตุดังกล่าวในคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่และให้สืบพยานจำเลย จึงเป็นการล่วงเลยขั้นตอนแล้ว กรณีจึงถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลล้มละลายกลางต้องห้ามมิให้อุทธรณ์และฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 225 วรรคหนึ่ง และมาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 14
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7352/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขาดนัดพิจารณาคดีล้มละลาย การไม่โต้แย้งคำสั่งศาลทำให้หมดสิทธิอุทธรณ์
คดีนี้จำเลยขาดนัดพิจารณา ศาลชั้นต้นจึงสืบพยานโจทก์ไปฝ่ายเดียวจนแล้วเสร็จและนัดฟังคำพิพากษา ก่อนถึงวันนัดฟังคำพิพากษาจำเลยมายื่นคำร้องว่ามิได้จงใจขาดนัด ขอให้ศาลไต่สวนคำร้องและมีคำสั่งพิจารณาคดีใหม่ เมื่อศาลชั้นต้นไต่สวนคำร้องแล้วมีคำสั่งให้ยกคำร้องโดยจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าว ต่อมาศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด คำสั่งของศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาคดีใหม่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 226 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติล้มละลายฯ มาตรา 153เมื่อจำเลยไม่ได้โต้แย้งคำสั่งศาลชั้นต้นไว้จึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6928/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความหนี้ตามคำพิพากษาและการฟ้องล้มละลาย การฟ้องคดีล้มละลายภายในอายุความทำให้อายุความสะดุดหยุดลง
หนี้ตามคำพิพากษาที่โจทก์นำมาฟ้องเป็นสิทธิเรียกร้องที่เกิดขึ้นโดยคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดซึ่งมีอายุความ 10 ปีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/32 เมื่อโจทก์นำหนี้ดังกล่าวมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายภายในกำหนด 10 ปีนับแต่วันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาย่อมมีผลเป็นการฟ้องคดีเพื่อชำระหนี้อย่างหนึ่งตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ อันทำให้อายุความแห่งสิทธิเรียกร้องในหนี้ดังกล่าวสะดุดหยุดลงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/14(2) ระยะเวลาภายหลังจากนั้นจึงไม่นับเข้าเป็นอายุความด้วย กรณีไม่ใช่เรื่องการบังคับคดีจึงไม่อาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 271 มาใช้บังคับ หนี้ที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้จำเลยล้มละลายจึงไม่ขาดอายุความ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6287/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การชำระภาษีส่วนท้องถิ่นจากการขายที่ดินในคดีล้มละลาย ศาลฎีกาพิพากษาให้เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้
พ.ร.บ. ระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2528 มาตรา 112 (1) และเทศบัญญัติของเทศบาลนครกรุงเทพ เรื่อง การจัดเก็บภาษีอากรและค่าธรรมเนียมบางประเภท (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2497 ข้อ 3 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า การค้าซึ่งสถานการค้าอยู่ในเขตเทศบาล ให้ผู้ประกอบการค้ามีหน้าที่เสียภาษีเพิ่มเพื่อเทศบาลอีกในอัตราร้อยละ 10 ของอัตราภาษีการค้าตาม ป.รัษฎากร ความมุ่งหมายของบทบัญญัติกฎหมายดังกล่าวเพื่อให้สถานการค้าในเขตเทศบาลกรุงเทพหรือกรุงเทพมหานครมีหน้าที่ต้องชำระภาษีเพิ่มเพื่อเทศบาล
ลูกหนี้ขายที่ดินไป 1 แปลง โดยไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีสถานการค้า จึงต้องถือว่าบ้านซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของลูกหนี้เป็นสถานการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77 (เดิม) เมื่อสถานการค้าดังกล่าวอยู่ในเขตเทศบาลนครกรุงเทพหรือกรุงเทพมหานคร ลูกหนี้จึงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีส่วนท้องถิ่น
ภาษีส่วนท้องถิ่นที่คำนวณมาจากเงินเพิ่มภาษีอากรการค้าจำนวน 80,052.50 บาท ในอัตราร้อยละ 10 เมื่อเงินเพิ่มจำนวน 35,145 บาท ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ภาษีส่วนท้องถิ่นจำนวน 3,514.50 บาท จึงอยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130 (6) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนเงินเพิ่มที่เหลือจำนวน 44,907.50 บาท ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ภาษีส่วนท้องถิ่นจำนวน 4,490.75 บาท จึงอยู่ในลำดับที่จะต้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130 (8) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483
ลูกหนี้ขายที่ดินไป 1 แปลง โดยไม่ปรากฏว่าลูกหนี้มีสถานการค้า จึงต้องถือว่าบ้านซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยของลูกหนี้เป็นสถานการค้าตาม ป.รัษฎากร มาตรา 77 (เดิม) เมื่อสถานการค้าดังกล่าวอยู่ในเขตเทศบาลนครกรุงเทพหรือกรุงเทพมหานคร ลูกหนี้จึงมีหน้าที่ต้องชำระภาษีส่วนท้องถิ่น
ภาษีส่วนท้องถิ่นที่คำนวณมาจากเงินเพิ่มภาษีอากรการค้าจำนวน 80,052.50 บาท ในอัตราร้อยละ 10 เมื่อเงินเพิ่มจำนวน 35,145 บาท ถึงกำหนดชำระภายใน 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ภาษีส่วนท้องถิ่นจำนวน 3,514.50 บาท จึงอยู่ในลำดับที่จะได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130 (6) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483 ส่วนเงินเพิ่มที่เหลือจำนวน 44,907.50 บาท ถึงกำหนดชำระเกินกว่า 6 เดือน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ ภาษีส่วนท้องถิ่นจำนวน 4,490.75 บาท จึงอยู่ในลำดับที่จะต้องได้รับชำระหนี้ตามมาตรา 130 (8) แห่ง พ.ร.บ. ล้มละลาย พ.ศ. 2483