พบผลลัพธ์ทั้งหมด 194 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7265/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน-ไม่มีอำนาจฟ้อง: คดีขับไล่และเรียกค่าเสียหายซ้ำกับคดีเดิมที่อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกา
ฟ้องโจทก์ได้บรรยายโดยแจ้งชัดว่าจำเลยตกลงเช่าตึกแถวพิพาทจากโจทก์มีการทำสัญญาเช่าและต่อสัญญาเช่าหลายครั้งต่อมาเมื่อสัญญาเช่าสิ้นสุดลง โจทก์ไม่ประสงค์จะให้จำเลยเช่าต่อไป จึงให้ทนายความมีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าและให้ส่งคืนตึกแถวที่เช่ากับมีคำขอให้จำเลยออกไปจากตึกแถวที่เช่าและใช้ค่าเสียหายคำฟ้องโจทก์จึงได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาและคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาพอที่จะให้จำเลยเข้าใจและสามารถต่อสู้คดีได้ โจทก์ไม่จำเป็นต้องบรรยายว่าโจทก์เป็นผู้มีกรรมสิทธิ์หรือเป็นผู้ทรงสิทธิใดในตึกแถวที่ให้เช่าและสิทธิดังกล่าวสิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ประการใด เพราะเป็นเพียงรายละเอียดที่โจทก์สามารถนำสืบในชั้นพิจารณาได้ ทั้งผู้ให้เช่าก็ไม่จำเป็นต้องเป็นเจ้าของกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่ให้เช่า ประกอบกับจำเลยได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีในลักษณะเข้าใจข้อหาได้ดีและยอมรับว่าได้ทำสัญญาเช่าตึกแถวตามฟ้องจากโจทก์ คำฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีแพ่งคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โดยคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทและเรียกค่าเสียหายเช่นเดียวกับคดีแพ่งคดีก่อน แต่อาศัยสัญญาเช่าตามบันทึกการต่ออายุสัญญาเช่าของปี 2533 มูลฟ้องของโจทก์คดีนี้ แม้จะอาศัยสัญญาเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน หาใช่เกิดขึ้นหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีดังกล่าวไม่โจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องในคดีนี้เป็นมูลฟ้องในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำ เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเช่นเดียวกัน คำฟ้องที่โจทก์ยื่นฟ้องขึ้นมาใหม่ในคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกับคดีแพ่งคดีก่อนซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง เมื่อคดีแพ่งคดีก่อนซึ่งโจทก์ขอถอนฟ้องแล้วแต่จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่มี อำนาจฟ้องจำเลยก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้งจำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง
โจทก์ฟ้องคดีนี้ในขณะที่คดีแพ่งคดีก่อนอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา โดยคดีนี้เป็นเรื่องโจทก์ฟ้องขับไล่จำเลยออกจากตึกแถวพิพาทและเรียกค่าเสียหายเช่นเดียวกับคดีแพ่งคดีก่อน แต่อาศัยสัญญาเช่าตามบันทึกการต่ออายุสัญญาเช่าของปี 2533 มูลฟ้องของโจทก์คดีนี้ แม้จะอาศัยสัญญาเช่าต่างฉบับกับสัญญาเช่าที่โจทก์ฟ้องในคดีก่อน แต่สัญญาเช่าที่โจทก์อาศัยเป็นมูลฟ้องคดีนี้ได้มีอยู่แล้วในขณะที่โจทก์ฟ้องคดีก่อน หาใช่เกิดขึ้นหลังจากที่โจทก์ฟ้องคดีดังกล่าวไม่โจทก์สามารถอ้างเหตุที่เป็นมูลฟ้องในคดีนี้เป็นมูลฟ้องในคดีก่อนแต่โจทก์ก็มิได้กระทำ เมื่อคดีนี้เป็นเรื่องฟ้องขับไล่และเรียกค่าเสียหายเช่นเดียวกัน คำฟ้องที่โจทก์ยื่นฟ้องขึ้นมาใหม่ในคดีนี้จึงเป็นเรื่องเดียวกับคดีแพ่งคดีก่อนซึ่งอยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลฎีกาส่วนการถอนคำฟ้องที่มีผลลบล้างผลแห่งการยื่นคำฟ้องและทำให้คู่ความกลับคืนเข้าสู่ฐานะเดิมเสมือนหนึ่งมิได้มีการยื่นฟ้องเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 176 นั้น หมายถึงการถอนคำฟ้องนั้นได้ถึงที่สุดแล้ว ไม่มีคดีค้างพิจารณาอยู่ในศาลใดศาลหนึ่ง เมื่อคดีแพ่งคดีก่อนซึ่งโจทก์ขอถอนฟ้องแล้วแต่จำเลยยังอุทธรณ์และฎีกาต่อมา คดีจึงอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลอุทธรณ์หรือศาลฎีกา ดังนี้ ฟ้องโจทก์คดีนี้เป็นฟ้องซ้อนกับคดีแพ่งคดีก่อน ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง (1) โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง เมื่อโจทก์ไม่มี อำนาจฟ้องจำเลยก็ไม่มีฟ้องของโจทก์และตัวโจทก์ที่จำเลยจะฟ้องแย้งจำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้าม: โจทก์ไม่ยกเหตุไม่ได้รับเงินในคดีเดิม แล้วกลับมาฟ้องใหม่
คดีเดิมเมื่อจำเลยในคดีนี้ฟ้องเรียกให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนอง โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การเลยว่า โจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญาเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาทในคดีนั้นอันเป็นความบกพร่องไม่รอบคอบของโจทก์เอง เมื่อศาลพิพากษาว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงและคดีถึงที่สุดไปแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องคดีใหม่อ้างเหตุว่า ความจริงแล้วโจทก์ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนองจากจำเลย ขอให้ห้ามมิให้คำพิพากษาในคดีเดิมมีผลใช้บังคับแก่โจทก์ ดังนี้ เท่ากับเป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้ง ๆ ที่เป็นคู่ความรายเดียวกัน ซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวนั้นให้ต้องกลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงหรือไม่ จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5654/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้ามตามกฎหมาย เมื่อโจทก์มิได้ยกข้อต่อสู้เรื่องไม่ได้รับเงินในคดีเดิม
คดีก่อน จำเลยในคดีนี้ฟ้องเรียกให้โจทก์ชำระเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนอง โจทก์มิได้ยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในคำให้การว่าโจทก์ไม่ได้ รับเงินตามสัญญาเพื่อให้เกิดประเด็นข้อพิพาท อันเป็นความบกพร่อง ไม่รอบคอบของโจทก์ ดังนี้เมื่อศาลพิพากษาว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงและคดีถึงที่สุดแล้ว โจทก์จะกลับมาฟ้องขอให้ห้ามมิให้คำพิพากษาในคดีเดิมมีผลใช้บังคับแก่โจทก์ โดยอ้างเหตุว่าความจริงแล้วโจทก์ ไม่ได้รับเงินตามสัญญากู้ยืมและบังคับจำนองจากจำเลย เท่ากับ เป็นการรื้อร้องฟ้องคดีที่ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุด ทั้ง ๆ ที่เป็นคู่ความ รายเดียวกันซึ่งต้องผูกพันตามคำพิพากษาในคดีดังกล่าวนั้นให้ต้อง กลับมาวินิจฉัยซ้ำในเหตุเดียวกันอีกว่าได้มีการกู้เงินไปตามฟ้องจริงหรือไม่จึงเป็นฟ้องซ้ำ ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5370/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอตั้งผู้จัดการทรัพย์สินที่ถูกยึดในชั้นบังคับคดี ต้องยื่นในคดีเดิม ไม่ใช่คดีใหม่
การร้องขอให้ศาลมีคำสั่งตั้งผู้จัดการอสังหาริมทรัพย์ที่ถูกยึดบังคับคดีเพื่อนำรายได้ประจำปีจากอสังหาริมทรัพย์ซึ่งอาจเพียงพอที่จะชำระหนี้ตามคำพิพากษาพร้อมด้วยค่าฤชาธรรมเนียมในการฟ้องร้องและการบังคับคดีไปมอบต่อเจ้าพนักงานบังคับคดีทั้งหมดหรือแต่บางส่วน ภายในเวลาและกำหนดตามที่ศาลเห็นสมควร แทนการสั่งขายทอดตลาดทรัพย์สินของลูกหนี้ตามคำพิพากษาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 307 นั้นจะต้องดำเนินกระบวนการในชั้นบังคับคดี โดยผู้ร้องชอบที่จะไปยื่นคำร้องต่อศาลในคดีซึ่งอยู่ในระหว่างดำเนินการบังคับคดีตามคำพิพากษา ไม่ใช่มา ยื่นคำร้องขอเพื่อดำเนินคดีเป็นคดีใหม่อีกต่างหาก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2624/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีใหม่เพื่อแก้ไขผลจากหมายห้ามชั่วคราว ศาลไม่อนุญาต ต้องใช้สิทธิในคดีเดิม
บุคคลภายนอกซึ่งอ้างว่าจะต้องเสียหายเพราะหมายห้ามชั่วคราวในคดีเดิมหากประสงค์จะขอให้ศาลถอนหมายห้ามชั่วคราวก็ชอบที่จะยื่นคำขอในคดีเดิมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 261 วรรคหนึ่ง ไม่อาจฟ้องขอให้หมายห้ามชั่วคราวดังกล่าวไม่มีผลบังคับเป็นคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2178/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บุคคลภายนอกเสียหายจากหมายห้ามชั่วคราว ต้องยื่นคำร้องในคดีเดิม ห้ามฟ้องเป็นคดีใหม่
การที่ศาลชั้นต้นมีหมายห้ามชั่วคราวตามคำร้องขอของโจทก์ในคดีเดิมมิให้จำเลยในคดีดังกล่าวเก็บค่าเช่าอาคารสิ่งปลูกสร้าง หาบเร่ แพงลอยบนที่ดินตลาดพิพาท และห้ามเกี่ยวข้องกับที่พิพาท ในคดีดังกล่าว โจทก์ทั้งหกซึ่งเป็นบุคคลภายนอกซึ่งอ้างว่าจะต้องเสียหายเพราะหมายห้ามชั่วคราวของศาลชั้นต้นประสงค์จะขอให้ศาลถอนหมายห้ามชั่วคราวก็ต้องยื่นคำร้องขอในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง โจทก์ทั้งหกไม่อาจฟ้องขอให้หมายห้ามชั่วคราวดังกล่าวไม่มีผลบังคับเป็นคดีใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2177/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนคำสั่งคุ้มครองชั่วคราว: สิทธิในการยื่นคำขอในคดีเดิมตาม ป.วิ.พ. มาตรา 261
ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า "จำเลยหรือบุคคลภายนอกซึ่งได้รับหมายยึด หมายอายัดหรือคำสั่งตามมาตรา 254 (1) (2) หรือ (3) หรือจะต้องเสียหายเพราะหมายยึด หมายอายัด หรือคำสั่งดังกล่าว อาจมีคำขอต่อศาลให้ถอนหมาย เพิกถอนคำสั่งหรือแก้ไขเปลี่ยนแปลงคำสั่ง หมายยึด หรือหมายอายัด ซึ่งออกตามคำสั่งดังกล่าวได้?" การที่ศาลชั้นต้นมีหมายห้ามชั่วคราวถึง ภ. จำเลยที่ 2 ในคดีแพ่งเดิม หากโจทก์ทั้งยี่สิบสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอก เห็นว่าจะต้องเสียหายเพราะหมายห้ามชั่วคราวของศาลชั้นต้น และประสงค์จะขอให้ศาลเพิกถอนหมายห้ามชั่วคราวดังกล่าวก็ชอบที่จะใช้สิทธิยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำสั่งฯได้ในคดีแพ่งเดิม ตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 261 วรรคหนึ่ง จะมาฟ้องให้เพิกถอนคำสั่ง ฯ เป็นคดีใหม่หาได้ไม่.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8995/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คำร้องสอดเป็นฟ้องใหม่เมื่อมีคดีเดิมอยู่แล้ว
การไต่สวนคำร้องขอฟ้องหรือต่อสู้คดีอย่างคนอนาถาเป็นกระบวนพิจารณาในศาล เมื่อผู้ร้องยื่นฟ้อง โจทก์ทั้งสี่และคดีอยู่ในระหว่างไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา ถือว่าเป็นคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 1 (8) และ 173 วรรคสองแล้ว โดยไม่จำต้องรอให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก่อนแต่อย่างใด
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเป็นการตั้งสิทธิในฐานะคู่ความฝ่ายที่สามและเป็นปฏิปักษ์แก่โจทก์ทั้งสี่ และจำเลย คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ เมื่อสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์ทั้งสี่ กับจำเลยโต้แย้งนี้ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่เป็นคดีต่อศาลไว้แล้วและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้อง จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีเป็นการตั้งสิทธิในฐานะคู่ความฝ่ายที่สามและเป็นปฏิปักษ์แก่โจทก์ทั้งสี่ และจำเลย คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์ เมื่อสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์ทั้งสี่ กับจำเลยโต้แย้งนี้ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่เป็นคดีต่อศาลไว้แล้วและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณา คำร้องสอดของผู้ร้อง จึงเป็นฟ้องซ้อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8995/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้อน: คำร้องสอดเป็นคำฟ้องใหม่ หากมีคดีเดิมที่สิทธิโต้แย้งกันแล้ว
กรณีผู้ร้องยื่นคำฟ้องต่อศาลก็เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาและเป็นการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1(8)เมื่อคดีอยู่ในระหว่างไต่สวนคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก็ถือว่าคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 173 วรรคสอง แล้วโดยไม่ต้องรอให้ศาลมีคำสั่งในเรื่องการขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาก่อน การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องสอดเข้ามาในคดีโดยอ้างสิทธิว่า ที่ดินพร้อมบ้านพิพาทที่จำเลยนำไปขายฝากโจทก์ทั้งสี่เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องกับจำเลยได้ร่วมกันซื้อมาผู้ร้องจึงมีส่วนเป็นเจ้าของอยู่กึ่งหนึ่ง จำเลยไม่มีสิทธินำที่ดินและบ้านพิพาทไปขายฝากโจทก์ทั้งสี่นั้นเป็นการตั้งสิทธิของผู้ร้องเข้ามาในคดีในฐานะคู่ความฝ่ายที่สามและเป็นปฏิปักษ์แก่โจทก์ทั้งสี่และจำเลย หาใช่เข้ามาเพียงเป็นจำเลยต่อสู้คดีกับโจทก์ทั้งสี่โดยเฉพาะไม่ ซึ่งถ้าศาลรับคำร้องสอดของผู้ร้องไว้ โจทก์ทั้งสี่และจำเลยก็ต้องให้การแก้คำร้องสอดของผู้ร้อง คำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นคำฟ้อง และผู้ร้องอยู่ในฐานะเป็นโจทก์หาใช่เป็นจำเลยไม่ เมื่อสิทธิที่ผู้ร้องอ้างว่าถูกโจทก์ทั้งสี่กับจำเลยโต้แย้งนี้ผู้ร้องได้ฟ้องโจทก์ทั้งสี่เป็นคดีต่อศาลไว้แล้วและคดีอยู่ในระหว่างพิจารณาคำร้องสอดของผู้ร้องจึงเป็นฟ้องซ้อนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 173 วรรคสอง (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7605/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ-สิทธิครอบครอง: ทายาทสืบสิทธิจากคดีเดิมห้ามฟ้องอีก, ผู้ครอบครองเดิมมีสิทธิเหนือผู้รับมรดก
ช. ฝ่ายหนึ่ง และ ท. บิดาของจำเลยที่ 3 กับพวกอีกฝ่ายหนึ่งพิพาทกันในสิทธิครอบครองที่ดิน ศาลมีคำพิพากษาถึงที่สุดแล้วว่าที่ดินพิพาทเฉพาะพื้นที่นอกแนวเขตของพื้นที่ที่ ช. ครอบครองปลูกบ้านเป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. บิดาของจำเลยที่ 3 ส่วนคดีนี้โจทก์ที่ 2ฟ้องจำเลยทั้งสี่ว่าตนเป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินเฉพาะส่วนโดย ช. ยกให้ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของที่ดินพิพาทในคดีก่อน เพียงแต่อ้างจำนวนเนื้อที่มากกว่าเดิมเท่านั้น จึงเป็นประเด็นเดียวกันกับที่ศาลวินิจฉัยถึงที่สุดแล้วว่าที่ดินพิพาทดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1 ที่ 2 และ ท. บิดาของจำเลยที่ 3 เมื่อโจทก์ที่ 2 เป็นทายาทโดยธรรมของ ช. และได้เป็นผู้เข้ารับมรดกความแทน จึงเป็นผู้สืบสิทธิมาจาก ช. ถือได้ว่าโจทก์ที่ 2 เป็นคู่ความเดียวกันกับคดีก่อน โจทก์ที่ 2 ไม่มีสิทธิรื้อร้องฟ้องเป็นคดีนี้อีกต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 148 วรรคแรก