คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีเด็กและเยาวชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 22 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2778/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชนและการขออนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการหากพ้นกำหนด
การฟ้องคดีเด็กและเยาวชนจะต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิ แห่งพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 ทั้งสิ้น กล่าวคือจะต้องยื่นฟ้องต่อศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันที่เด็กหรือเยาวชนถูกจับกุม หรือได้รับอนุญาตจากศาลให้ผัดฟ้องได้เป็นคราวๆไป หากพ้นกำหนดนี้แล้วจะฟ้องได้ต่อเมื่อได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการแม้จะเป็นการฟ้องคดีตามคำชี้ขาดให้ฟ้องคดีของอธิบดีกรมอัยการก็ตาม (อ้างฎีกาที่ 10/2522)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน หากเกินกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด 30 วัน นับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องไว้ 3 คราว แต่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องและขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหาไปก่อน ครบกำหนดผัดฟ้องครั้งที่ 3 และศาลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปแล้ว โดยมิได้ขอผัดฟ้องต่อไปอีก กรณีเช่นนี้ต้องถือว่าคดีนี้พ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิแล้ว และไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีได้จักต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ กำหนดระยะเวลาฟ้องคดีเด็กและเยาวชน หากพ้นกำหนดต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการ
พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องคดีอาญาต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนไม่ทันภายในกำหนด 30 วันนับแต่วันที่ผู้ต้องหาถูกจับกุม พนักงานสอบสวนได้ยื่นคำร้องขอผัดฟ้องไว้ 3 คราว แต่พนักงานสอบสวนมีความเห็นสั่งไม่ฟ้องและขอให้ศาลปล่อยตัวผู้ต้องหาไปก่อนครบกำหนดผัดฟ้องครั้งที่ 3 และศาลได้ปล่อยตัวผู้ต้องหาไปแล้ว โดยมิได้ขอผัดฟ้องต่อไปอีกกรณีเช่นนี้ต้องถือว่าคดีนี้พ้นกำหนดระยะเวลาการยื่นฟ้องดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 24 ทวิ แล้ว และไม่ว่ากรณีพนักงานสอบสวนมีความเห็นควรสั่งฟ้องหรือสั่งไม่ฟ้องผู้ต้องหา ก็ต้องอยู่ในบังคับของมาตรา 24 ทวิ ทั้งสิ้น จะนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 141 มาใช้บังคับไม่ได้ ซึ่งโจทก์จะฟ้องคดีได้จักต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมอัยการตามมาตรา 24 จัตวา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 306/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเด็กและเยาวชน: การเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ไม่ตัดสิทธิอุทธรณ์ข้อเท็จจริง
คดีที่ศาลคดีเด็กและเยาวชนได้พิพากษาหรือมีคำสั่งแล้วนั้นจะต้องห้ามอุทธรณ์ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชนพ.ศ.2494 มาตรา 27 ตามที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 7 แห่งพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 ก็แต่เฉพาะกรณีที่ศาลใช้ดุลพินิจ เปลี่ยนโทษจำคุกหรือวิธีการเพื่อความปลอดภัยเป็นให้ใช้วิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนบางประการเท่านั้น มิได้ห้ามคู่ความที่จะอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริงว่าจำเลยมิได้กระทำการอันกฎหมายบัญญัติว่าเป็นความผิด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 149/2521

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเด็กและเยาวชน เมื่อศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นและโทษไม่เกิน 5 ปี
ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นให้เปลี่ยนโทษจำคุก เป็นส่งตัวจำเลยอายุ 15 ปี ไปสถานฝึกอบรมของสถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางจนกว่าอายุ 18 ปี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 75 ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประทับฟ้องคดีเด็กและเยาวชน ต้องมีตัวจำเลยอยู่ในการควบคุมของศาล
ขณะที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวอยู่ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เพราะหลบหนีไปจากสถานพินิจฯ เมื่อไม่มีตัวจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาลในขณะฟ้อง ก็ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งประทับฟ้องไว้ ทั้งการควบคุมดังกล่าวก็เป็นการควบคุมในชั้นสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24แก้ไขโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 มาตรา 7 ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาล
"ขัง" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(22) หมายถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล แต่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่คดีธรรมดา การควบคุมตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวน เป็นการควบคุมโดยผู้อำนวยการสถานพินิจ ตัวจำเลยยังมิได้ผ่านเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลเลยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 33ยังมีความชี้ให้เห็นด้วยว่า จำเลยจะเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1615/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การประทับฟ้องคดีเด็กและเยาวชนต้องมีตัวจำเลยในความควบคุมของศาล การควบคุมตัวก่อนฟ้องเป็นอำนาจผู้อำนวยการสถานพินิจ
ขณะที่พนักงานอัยการโจทก์ยื่นฟ้องจำเลยต่อศาลคดีเด็กและเยาวชนกลางจำเลยมิได้ถูกควบคุมตัวอยู่ดังที่โจทก์กล่าวในฟ้อง เพราะหลบหนีไปจากสถานพินิจฯ เมื่อไม่มีตัวจำเลยอยู่ในความควบคุมของศาลในขณะฟ้อง ก็ไม่ชอบที่ศาลจะสั่งประทับฟ้องไว้ ทั้งการควบคุมดังกล่าวก็เป็นการควบคุมในชั้นสอบสวนตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 24แก้ไขโดย (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2506 มาตรา 7 ซึ่งอยู่ในอำนาจของผู้อำนวยการสถานพินิจ ไม่เกี่ยวกับศาล
"ขัง" ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(22)หมายถึงการกักขังจำเลยหรือผู้ต้องหาโดยศาล แต่คดีซึ่งอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชนนั้นไม่ใช่คดีธรรมดา การควบคุมตัวจำเลยในระหว่างการสอบสวน เป็นการควบคุมโดยผู้อำนวยการสถานพินิจ ตัวจำเลยยังมิได้ผ่านเข้ามาอยู่ ในความควบคุมของศาลเลยพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 มาตรา 33 ยังมีความชี้ให้เห็นด้วยว่า จำเลยจะเข้ามาอยู่ในความควบคุมของศาลก็ต่อเมื่อโจทก์ได้ฟ้องจำเลยต่อศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3141/2516

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในคดีฟ้องหย่าและการขออำนาจปกครองบุตร: คดีต้องอยู่ในอำนาจศาลคดีเด็กและเยาวชน
สามีฟ้องภรรยาเป็นจำเลยขอหย่าต่อศาลแพ่ง จำเลยฟ้องแย้งขอให้ศาลเพิกถอนอำนาจปกครองบุตรของโจทก์ให้เป็นของจำเลยแต่ผู้เดียว ดังนี้ แม้ศาลแพ่งซึ่งพิพากษาคดีฟ้องหย่าจะมีอำนาจชี้ขาดว่าใครเป็นผู้สมควรปกครองบุตรตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1502 วรรค 2 ด้วยก็จริง แต่ฟ้องแย้งที่ขอให้ศาลสั่งให้อำนาจปกครองบุตรอยู่แก่จำเลยซึ่งเป็นมารดาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา1538(6) นั้น พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ.2494 แก้ไขโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 163 ลงวันที่ 15 มิถุนายน 2515 ข้อ 1 บัญญัติให้คดีแพ่งที่ฟ้องศาลเกี่ยวกับผู้เยาว์ ซึ่งจะต้องบังคับใช้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1538(6) อยู่ในอำนาจของศาลคดีเด็กและเยาวชน ศาลแพ่งไม่มีอำนาจรับฟ้องแย้งไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 378/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน: ศาลไม่ต้องสืบพยานซ้ำหากจำเลยรับสารภาพและไม่ติดใจสืบพยานโต้แย้งรายงานสถานพินิจ
ตามพระราชบัญญัติวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 5 นั้นในการพิจารณาคดีศาลย่อมดำเนินการไปตามวิธีพิจารณาการที่ศาลได้แจ้งให้จำเลยทราบเกี่ยวกับรายงานของสถานพินิจฯจำเลยได้ทราบแล้ว มิได้แถลงต่อสู้หรือจะขอนำพยานมาสืบหักล้าง เมื่อศาลสอบถามคำให้การ จำเลยก็รับสารภาพแถลงว่า ไม่ติดใจสืบพยาน ศาลชั้นต้นจึงพิพากษาในวันเดียวกันนั้น ดังนี้ ถูกต้องด้วยกระบวนพิจารณาแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1236/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเด็กและเยาวชนเมื่อศาลเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นฝึกอบรม ไม่เกิน 5 ปี
คดีอาญาของศาลคดีเด็กและเยาวชนซึ่งศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลล่างโดยให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กกลางนั้นถือว่าศาลมิได้ลงโทษจำเลยโดยจำคุกเกิน 5 ปี จึงต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลคดีเด็กและเยาวชน พ.ศ. 2494 มาตรา 29 ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218
of 3