คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คดีเยาวชน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 72 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์โดยไม่ชอบ และการไม่รับฎีกาเนื่องจากขาดอำนาจ
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 จำคุก คนละ 4 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 104(2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี มีกำหนดขั้นต่ำคนละ 3 ปี ขั้นสูงคนละ 4 ปี กรณีเป็นเรื่องกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชนซึ่งตามมาตรา 121 ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ เว้นแต่เป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปกักหรืออบรมตามมาตรา 105 มีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกิน3 ปี จึงจะอุทธรณ์ได้ แต่กรณีดังกล่าวมิใช่การส่งไปกักและอบรมจึงอุทธรณ์ไม่ได้
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไว้โดยไม่ชอบคำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2546

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คดีเยาวชนที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เนื่องจากศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ไว้โดยไม่ชอบ และผลกระทบต่อการฎีกา
ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาให้ลงโทษจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ภายหลังลดโทษแล้วคงจำคุกคนละ 4 ปี อาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 104(2) ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดราชบุรี มีกำหนดขั้นต่ำคนละ 3 ปี ขั้นสูงคนละ 4 ปี กรณีเป็นเรื่องกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าว มาตรา 121 ต้องห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์ เว้นแต่ถ้าเป็นกรณีที่ศาลมีคำพิพากษาหรือคำสั่งให้ส่งเด็กหรือเยาวชนไปกักหรืออบรมตามมาตรา 105 มีกำหนดระยะเวลาขั้นสูงเกิน 3 ปี จึงจะอุทธรณ์ได้กรณีนี้จึงมิใช่การส่งไปกักและอบรมตามข้อยกเว้นดังกล่าว เมื่ออุทธรณ์ของจำเลยที่ 2ถึงที่ 4 เป็นเรื่องเฉพาะเกี่ยวกับกำหนดวิธีการสำหรับเด็กและเยาวชน ทั้งไม่ปรากฏว่ามีการอนุญาตให้อุทธรณ์ตามมาตรา 122 ดังนั้น คดีจึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์
ที่จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 ฎีกาว่า คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว มิได้ระบุข้อเท็จจริงไม่ให้เหตุผลในการตัดสินและมิได้ระบุมาตราที่ยกขึ้นเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมายนั้น เมื่อศาลชั้นต้นรับอุทธรณ์ของจำเลยที่ 2 ถึงที่ 4ไว้โดยไม่ชอบ คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ภาค 7 แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวจึงไม่ชอบด้วยเช่นกัน ดังนั้น ฎีกาดังกล่าวแม้เป็นข้อกฎหมายแต่ไม่เป็นสาระอันควรได้รับการวินิจฉัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 249 วรรคหนึ่งประกอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขบทลงโทษและระยะเวลาฝึกอบรมในคดีเยาวชน ศาลอุทธรณ์แก้โทษเบาลง โจทก์ฎีกาแต่ถูกจำกัดสิทธิเนื่องจากเป็นปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 340 วรรคหนึ่ง, 83 ลงโทษจำคุกคนละ 3 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกและอบรมแทนมีกำหนดคนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาแก้เป็นว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก และมาตรา 391 เป็นการกระทำกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ให้ลงโทษตามมาตรา 309 วรรคแรก ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดต่อ ป.อ. มาตรา 309 วรรคแรก ให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนมีกำหนดคนละ 1 เดือน กรณีเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตามกฎหมาย เนื่องจากการที่ศาลชั้นต้นเปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมคนละ 1 ปี และศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนกลางมีกำหนดคนละ 1 เดือน มิใช่การลงโทษจำเลยทั้งสองตาม ป.อ. มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อยและต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินคนละห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วย พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 124 การที่โจทก์ฎีกาว่าพยานหลักฐานที่โจทก์นำสืบฟังได้ว่า การกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นความผิดฐานปล้นทรัพย์ เป็นการโต้เถียงดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัว อันเป็นการฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามฎีกาตามบทกฎหมายดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4593/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแก้ไขโทษจากจำคุกเป็นฝึกอบรมในคดีเยาวชน และข้อจำกัดในการฎีกาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นพิพากษาว่า จำเลยทั้งสองมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 83,340 วรรคหนึ่ง จำคุกคนละ 3 ปี ให้เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นส่งตัวจำเลยทั้งสองไปฝึกและอบรมที่สถานพินิจฯ คนละ 1 ปี ศาลอุทธรณ์แผนกคดีเยาวชนและครอบครัวพิพากษาว่า จำเลยที่ 1 มีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 309 วรรคแรกและมาตรา 391 โดยเป็นความผิดกรรมเดียว ผิดกฎหมายหลายบทให้ลงโทษตามมาตรา 309 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทหนักที่สุด ส่วนจำเลยที่ 2 มีความผิดตามมาตรา 309วรรคแรก ให้ส่งตัวจำเลยทั้งสองไปรับการฝึกและอบรมยังสถานพินิจฯ คนละ 1 เดือน กรณีจึงเป็นการแก้เฉพาะบทลงโทษและแก้ไขระยะเวลาการฝึกและอบรมซึ่งไม่ใช่โทษตามกฎหมายตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 18 จึงเป็นการแก้ไขเล็กน้อย ต้องถือว่าศาลล่างทั้งสองพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยทั้งสองไม่เกินคนละห้าปี ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 218 วรรคหนึ่ง ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาฯ มาตรา 124

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2545 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชน: กฎหมายเฉพาะเหนือกว่ากฎหมายทั่วไป
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯ พ.ศ. 2534 มาตรา 6 บัญญัติให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับแก่คดีเยาวชนและครอบครัวเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ได้มีบทบัญญัติในมาตรา 83 ว่า ในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวจำเลยจะมีทนายความแก้คดีแทนไม่ได้ แต่ให้จำเลยมีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกันกับทนายความได้ ในกรณีที่จำเลยไม่มีที่ปรึกษากฎหมาย ให้ศาลแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้ เว้นแต่จำเลยนั้นไม่ต้องการและศาลเห็นว่า ไม่จำเป็นแก่คดี จะไม่แต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายก็ได้ ดังนั้น การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายจึงต้องบังคับตามบทบัญญัติดังกล่าว มิอาจนำประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 มาใช้บังคับได้
(ประชุมใหญ่ ครั้งที่ 4/2545 เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2545)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชน: ศาลต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.เยาวชนฯ แม้คดีมีโทษประหาร
แม้โจทก์จะฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289อันเป็นคดีที่มีอัตราโทษประหารชีวิต ซึ่งศาลชั้นต้นต้องถามจำเลยก่อนเริ่มพิจารณาว่ามีทนายความหรือไม่ ถ้าไม่มีก็ให้ศาลตั้งให้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 วรรคแรก ก็ตามแต่ก็เป็นบทบัญญัติสำหรับดำเนินกระบวนพิจารณาในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดา ส่วนศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวนั้นพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 ให้นำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาใช้บังคับเท่าที่ไม่ขัดหรือแย้งกับบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัตินี้ เมื่อมาตรา 83แห่ง พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ ที่ระบุให้จำเลยมีที่ปรึกษากฎหมายเพื่อปฏิบัติหน้าที่ทำนองเดียวกับทนายความ หากจำเลยไม่มีที่ปรึกษากฎหมายก็ให้ศาลแต่งตั้งให้เว้นแต่จำเลยไม่ต้องการและศาลเห็นว่าไม่จำเป็นแก่คดีจะไม่ตั้งที่ปรึกษากฎหมายก็ได้นั้น ถือเป็นกฎหมายเฉพาะย่อมยกเว้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 ซึ่งเป็นบททั่วไปจึงไม่อาจนำมาใช้ในกรณีนี้ได้ ดังนั้น ที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลางจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยไม่ต้องการที่ปรึกษากฎหมาย และศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งที่ปรึกษากฎหมาย จึงให้นัดสืบพยาน... จึงเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 83 ครบถ้วนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3667/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายในคดีเยาวชน: บทเฉพาะย่อมยกเว้นบททั่วไป
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 83 ให้แต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้จำเลยในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว ไม่ว่าความผิดที่จำเลยถูกฟ้องนั้นมีอัตราโทษประหารชีวิตหรือไม่ก็ตาม เว้นแต่จำเลยไม่ต้องการที่ปรึกษากฎหมายและศาลเห็นว่าที่ปรึกษากฎหมายไม่จำเป็นแก่คดี บทกฎหมายดังกล่าวถือได้ว่าเป็นกฎหมายเฉพาะย่อมยกเว้นประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 173 อันเป็นกฎหมายทั่วไป และไม่อาจนำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา ดังกล่าวซึ่งขัดหรือแย้งต่อพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาใช้ได้
จำเลยอายุเกินสิบแปดปีบริบูรณ์แล้วขณะที่โจทก์ยื่นฟ้อง แต่ขณะกระทำความผิดต่อประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 289 จำเลยมีอายุไม่ถึงสิบแปดปีบริบูรณ์ จึงต้องดำเนินคดีในศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีเยาวชน ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 5 การแต่งตั้งที่ปรึกษากฎหมายให้จำเลยจึงต้องปฏิบัติตามมาตรา 83 การที่ศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง จดรายงานกระบวนพิจารณาว่า จำเลยให้การรับสารภาพ และไม่ต้องการที่ปรึกษากฎหมายจำเลย ศาลเห็นว่าไม่จำเป็นต้องตั้งที่ปรึกษากฎหมายจำเลย จึงให้นัดสืบพยานประกอบคำรับสารภาพ เป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาที่ชอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 83 แล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1982/2545

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดการวางค่าธรรมเนียมในการอุทธรณ์คดีเยาวชนและครอบครัว ทำให้ศาลมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัวฯ มาตรา 6 ประกอบ ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 229 บังคับให้ผู้อุทธรณ์ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แก่คู่ความอีกฝ่ายหนึ่งตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ ซึ่งรวมถึงค่าทนายความที่ศาลสั่งด้วย เมื่อโจทก์ยื่นอุทธรณ์ โดยไม่ได้นำเงินค่าธรรมเนียมดังกล่าวมาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ จึงเป็นการไม่ชอบศาลชอบที่จะสั่งไม่รับอุทธรณ์โจทก์ได้ทันที กรณีไม่ใช่เรื่องของการมิได้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลโดยถูกต้องครบถ้วนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 18 ซึ่งศาลจะต้องสั่งให้ชำระหรือวางค่าธรรมเนียมศาลให้ถูกต้องครบถ้วนเสียก่อนจึงจะสั่งรับหรือไม่รับคำคู่ความ ดังนั้นอุทธรณ์จึงเป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายศาลอุทธรณ์ชอบที่จะพิพากษายกอุทธรณ์ของโจทก์ ซึ่งในกรณีนี้ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่โจทก์ด้วยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 151

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 826/2544

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจำกัดสิทธิฎีกาในคดีเยาวชนเมื่อศาลอุทธรณ์แก้ไขโทษโดยไม่เพิ่มโทษจำคุก
คดีนี้ศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำคุกจำเลยมีกำหนด 2 ปี 6 เดือนศาลอุทธรณ์เปลี่ยนโทษจำคุกเป็นการส่งตัวจำเลยไปฝึกอบรมยัง สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนจังหวัดนนทบุรี มิได้เป็นการลงโทษ จำเลยโดยจำคุกเกิน 5 ปี ทั้งเป็นการแก้ไขเล็กน้อย จำเลยจึงต้องห้ามมิให้ ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง
จำเลยฎีกาขอให้รอการลงโทษ เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการกำหนดโทษซึ่งเป็นปัญหาข้อเท็จจริง ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 218 วรรคหนึ่ง และตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวฯมาตรา 124 ประกอบมาตรา 6

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2261/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลพิจารณาคดีเยาวชนในพื้นที่ที่ยังไม่มีศาลเยาวชนฯ กรณีที่ศาลธรรมดาพิจารณาได้
จำเลยมีถิ่นที่อยู่และกระทำความผิดที่จังหวัดลพบุรี ซึ่งยังไม่มีศาลเยาวชนและครอบครัวหรือแผนกคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 58 (3) ได้กำหนดให้ศาลที่มีอำนาจพิจารณาคดีธรรมดาตาม ป.วิ.อ. มีอำนาจพิจารณาคดีนั้น ศาลจังหวัดลพบุรีจึงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีของจำเลย เมื่อคดีนี้ได้พิจารณาโดยศาลจังหวัดลพบุรีซึ่งมิใช่ศาลเยาวชนและครอบครัว การพิจารณาพิพากษาคดีในชั้นอุทธรณ์และฎีกาจึงไม่ต้องพิจารณาโดยแผนกคดีเยาวชนและครอบครัวของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลฎีกา เพราะกรณีดังกล่าวไม่ต้องตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 121, 123 และ 125
of 8