พบผลลัพธ์ทั้งหมด 17 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 384/2529
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขอบเขตภาษีการค้าคลังสินค้า vs. ค่าขนส่ง และหน้าที่หักภาษีเงินได้ของลูกจ้าง
ตามประมวลรัษฎากรไม่ได้บัญญัติว่ารายรับจากการค้าประเภทคลังสินค้าหมายถึงอะไรจึงต้องถือตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา770และตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา770,771นายคลังสินค้าคือผู้รับทำการเก็บรักษาสินค้าเท่านั้นกฎหมายหาได้กำหนดให้นายคลังสินค้าต้องมีหน้าที่ขนสินค้ามาเข้าหรือออกจากคลังสินค้าของตนด้วยไม่ฉะนั้นรายรับจากการประกอบการคลังสินค้าก็คือค่าบำเหน็จในการเก็บรักษาสินค้าหรือค่ารับฝากสินค้าเท่านั้นหารวมถึงค่าขนส่งไม่การที่โจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าได้ออกทดรองจ่ายค่าจ้างขนสินค้าให้แก่ผู้รับขนแทนผู้ฝากสินค้าไปนั้นเงินทดรองจ่ายค่าขนสินค้าของผู้ฝากนี้เป็นรายรับของผู้รับขนซึ่งผู้ฝากสินค้ามีหน้าที่ต้องจ่ายตามสัญญาหาใช่รายรับของโจทก์ซึ่งเป็นนายคลังสินค้าโจทก์จึงไม่มีหน้าที่เสียภาษีการค้าในเงินค่ารับขนที่ได้ทดรองจ่ายแทนผู้ฝากไป. โจทก์ซึ่งเป็นนายจ้างต้องหักภาษีเงินได้ของลูกจ้างไว้จากเงินได้ของลูกจ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา50เมื่อโจทก์ไม่หักภาษีไว้โจทก์มีหน้าที่ต้องรับผิดร่วมกับลูกจ้างตามประมวลรัษฎากรมาตรา54.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2521 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสียอากรแสตมป์สำหรับใบรับฝากของในห้องเย็น ไม่ถือเป็นคลังสินค้าตามประมวลรัษฎากร หากไม่ได้ปฏิบัติตามลักษณะการเก็บของในคลังสินค้า
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากร ไม่มีรายการระบุว่าใบรับฝากของในการให้บริการเกี่ยวกับการเก็บสิ่งของในห้องเย็นจะต้องเสียอากร คงมีระบุไว้ในข้อ 19 ของบัญชีดังกล่าวว่า ใบรับรองคลังสินค้าจะต้องปิดอากรแสตมป์โดยให้นายคลังสินค้าเป็นผู้เสียอากรและขีดฆ่าแสตมป์นั้น ดังนั้นการให้บริการเกี่ยวกับการเก็บสิ่งของในห้องเย็นดั่งกรณีของโจทก์ซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์ผู้รับฝากและผู้ฝากของให้เก็บรักษาในห้องเย็นได้ประพฤติปฏิบัติกันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 14 ว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้าบังคับไว้ เช่นมีการออกใบรับของคลังสินค้าฉบับหนึ่งและประมวลสินค้าอีกฉบับหนึ่งให้แก่ผู้ฝากเมื่อผู้ฝากต้องการเป็นต้น โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องปิดอากรแสตมป์บนใบรับฝากตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ ข้อ 19
ภาษีการค้าและอากรแสตมป์มีบัญญัติไว้ในลักษณะ 2 ภาษีฝ่ายสรรพากรแต่แยกเป็นหมวด 4 กับหมวด 6 ต่างหากจากกัน โดยมิได้มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "คลังสินค้า" ไว้ให้ใช้ได้ทั่วไป จึงเอาความหมายของคลังสินค้าในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้ามาใช้ในหมวดอื่นหาได้ไม่ และภาษีประเภทคลังสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าก็ยังจำแนกออกเป็น 3 รายการคือ การทำคลังสินค้า รับฝากทรัพย์ และการให้บริการเกี่ยวกับการเก็บสิ่งของต่าง ๆ ในห้องเย็น ซึ่งแต่ละรายการมีการดำเนินกิจการไม่เหมือนกัน เห็นได้ว่าการที่ประมวลรัษฎากรนำมารวมไว้เป็นภาษีประเภทคลังสินค้า ก็เพียงเพื่อกำหนดอัตราภาษีเป็นอย่างเดียวกันเท่านั้น มิได้หมายความว่า กิจการทั้ง 3 รายการที่จำแนกไว้นั้นเป็นการทำคลังสินค้าไปเสียทั้งหมด
ภาษีการค้าและอากรแสตมป์มีบัญญัติไว้ในลักษณะ 2 ภาษีฝ่ายสรรพากรแต่แยกเป็นหมวด 4 กับหมวด 6 ต่างหากจากกัน โดยมิได้มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "คลังสินค้า" ไว้ให้ใช้ได้ทั่วไป จึงเอาความหมายของคลังสินค้าในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้ามาใช้ในหมวดอื่นหาได้ไม่ และภาษีประเภทคลังสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าก็ยังจำแนกออกเป็น 3 รายการคือ การทำคลังสินค้า รับฝากทรัพย์ และการให้บริการเกี่ยวกับการเก็บสิ่งของต่าง ๆ ในห้องเย็น ซึ่งแต่ละรายการมีการดำเนินกิจการไม่เหมือนกัน เห็นได้ว่าการที่ประมวลรัษฎากรนำมารวมไว้เป็นภาษีประเภทคลังสินค้า ก็เพียงเพื่อกำหนดอัตราภาษีเป็นอย่างเดียวกันเท่านั้น มิได้หมายความว่า กิจการทั้ง 3 รายการที่จำแนกไว้นั้นเป็นการทำคลังสินค้าไปเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 695/2521
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเก็บของในห้องเย็นไม่ถือเป็นคลังสินค้าตามกฎหมาย จึงไม่ต้องเสียอากรแสตมป์
ตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ท้ายหมวด 6 ในลักษณะ 2 แห่งประมวลรัษฎากรไม่มีรายการระบุว่าใบรับฝากของในการให้บริการเกี่ยวกับการเก็บสิ่งของในห้องเย็นจะต้องเสียอากร คงมีระบุไว้ในข้อ 19 ของบัญชีดังกล่าวว่า ใบรับของคลังสินค้าจะต้องปิดอากรแสตมป์โดยให้นายคลังสินค้าเป็นผู้เสียอากรและขีดฆ่าแสตมป์นั้น ดังนั้นการให้บริการเกี่ยวกับการเก็บสิ่งของในห้องเย็นดั่งกรณีของโจทก์ซึ่งไม่ปรากฏว่าโจทก์ผู้รับฝากและผู้ฝากของให้เก็บรักษาในห้องเย็นได้ประพฤติปฏิบัติกันตามที่ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ลักษณะ 14 ว่าด้วยการเก็บของในคลังสินค้าบังคับไว้ เช่นมีการออกใบรับของคลังสินค้าฉบับหนึ่งและประทวนสินค้าอีกฉบับหนึ่งให้แก่ผู้ฝากเมื่อผู้ฝากต้องการเป็นต้น โจทก์จึงไม่มีหน้าที่ต้องปิดอากรแสตมป์บนใบรับฝากตามบัญชีอัตราอากรแสตมป์ข้อ 19
ภาษีการค้าและอากรแสตมป์มีบัญญัติไว้ในลักษณะ 2 ภาษีฝ่ายสรรพากร แต่แยกเป็นหมวด 4 กับหมวด 6 ต่างหากจากกันโดยมิได้มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "คลังสินค้า" ไว้ให้ใช้ได้ทั่วไป จึงเอาความหมายของคลังสินค้าในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้ามาใช้ในหมวดอื่นหาได้ไม่ และภาษีประเภทคลังสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าก็ยังจำแนกออกเป็น 3 รายการคือ การทำคลังสินค้า รับฝากทรัพย์และการให้บริการเกี่ยวกับการเก็บสิ่งของต่าง ๆ ในห้องเย็น ซึ่งแต่ละรายการมีการดำเนินกิจการไม่เหมือนกัน เห็นได้ว่าการที่ประมวลรัษฎากรนำมารวมไว้เป็นภาษีประเภทคลังสินค้า ก็เพียงเพื่อกำหนดอัตราภาษีเป็นอย่างเดียวกันเท่านั้นมิได้หมายความว่า กิจการ ทั้ง 3 รายการที่จำแนกไว้นั้นเป็นการทำคลังสินค้าไปเสียทั้งหมด
ภาษีการค้าและอากรแสตมป์มีบัญญัติไว้ในลักษณะ 2 ภาษีฝ่ายสรรพากร แต่แยกเป็นหมวด 4 กับหมวด 6 ต่างหากจากกันโดยมิได้มีวิเคราะห์ศัพท์คำว่า "คลังสินค้า" ไว้ให้ใช้ได้ทั่วไป จึงเอาความหมายของคลังสินค้าในหมวด 4 ว่าด้วยภาษีการค้ามาใช้ในหมวดอื่นหาได้ไม่ และภาษีประเภทคลังสินค้าที่ระบุไว้ในบัญชีอัตราภาษีการค้าก็ยังจำแนกออกเป็น 3 รายการคือ การทำคลังสินค้า รับฝากทรัพย์และการให้บริการเกี่ยวกับการเก็บสิ่งของต่าง ๆ ในห้องเย็น ซึ่งแต่ละรายการมีการดำเนินกิจการไม่เหมือนกัน เห็นได้ว่าการที่ประมวลรัษฎากรนำมารวมไว้เป็นภาษีประเภทคลังสินค้า ก็เพียงเพื่อกำหนดอัตราภาษีเป็นอย่างเดียวกันเท่านั้นมิได้หมายความว่า กิจการ ทั้ง 3 รายการที่จำแนกไว้นั้นเป็นการทำคลังสินค้าไปเสียทั้งหมด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2450/2516
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ลักษณะเก็บของในคลังสินค้า: ความรับผิดของคลังสินค้าต่อการส่งมอบสินค้าขัดต่อคำสั่งผู้ฝาก
จำเลยที่ 1 ทำการค้าส่งสินค้าไปต่างประเทศ หากต้องการเงินก่อนส่งสินค้าลงเรือไปให้ลูกค้าต่างประเทศ จำเลยที่ 1 จะเอาสินค้านั้นมาขายให้แก่โจทก์โดยวิธีเอาใบรับฝากสินค้าที่จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นคลังสินค้าออกให้มาสลักหลังโอนกรรมสิทธิ์ให้แก่โจทก์และขอรับเงินค่าสินค้าไป แล้วโจทก์จะแจ้งการโอนกรรมสิทธิ์ในสินค้านั้นให้จำเลยที่ 2 ทราบ เมื่อถึงกำหนดจะส่งสินค้าไปให้ลูกค้าต่างประเทศ จำเลยที่ 1 ก็จะชำระราคาสินค้าให้โจทก์ โจทก์จะสลักหลังใบรับฝากสินค้าคืนให้จำเลยที่ 1 ไป โจทก์และจำเลยทั้งสองปฏิบัติกันเช่นนี้มา 5 ปีแล้ว และจำเลยที่ 2 ยังเคยออกใบรับฝากสินค้าเช่นนี้ให้ลูกค้าคนอื่นอีก ใบรับฝากสินค้าที่จำเลยที่ 2 ออกให้นั้นก็เป็นแบบฟอร์มพิมพ์ไว้ใช้ในกรณีลูกค้าเอาสินค้ามาฝากไว้ ทั้งมีคำเตือนหรือเงื่อนไขว่าบริษัทจะจ่ายสินค้าให้แก่ผู้ฝากก็ต่อเมื่อได้รับคืนใบรับฝากแล้ว การโอนหรือจำนำสินค้าจะต้องแจ้งให้บริษัททราบทุกครั้ง ใบรับฝากสินค้าก็ออกให้ในนามของจำเลยที่ 2 โดยมีวงเล็บ 'แผนกคลังสินค้า' ที่โกดังเก็บสินค้าก็มีป้ายบอกว่า คลังสินค้าจำเลยที่ 2 พฤติการณ์ที่จำเลยที่ 2 ปฏิบัติต่อจำเลยที่ 1 และโจทก์เป็นการติดต่อในฐานะนายคลังสินค้าผู้ทำการเก็บรักษาสินค้าเพื่อบำเหน็จเป็นทางค้าปกติ ไม่ใช่เป็นการให้เช่าสถานที่เก็บสินค้า แม้จะไม่ได้ความว่า จำเลยที่ 2 ได้จดทะเบียนขออนุญาตประกอบกิจการคลังสินค้าตามกฎหมาย ก็เป็นเรื่องความไม่สมบูรณ์ในการประกอบกิจการของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 1 และโจทก์ไม่ได้ร่วมรู้เห็นด้วย จึงไม่มีผลกระทบกระเทือนถึงจำเลยที่ 1 และโจทก์ เมื่อจำเลยทั้งสองและโจทก์ปฏิบัติต่อกันและเข้าใจกันอย่างเช่นจำเลยที่ 2 เป็นนายคลังสินค้าก็ต้องถือว่าโจทก์และจำเลยทั้งสองได้ตกลงกันนำลักษณะเก็บของในคลังสินค้ามาใช้ต่อกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13006/2558
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาเช่าคลังสินค้าที่มีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ ทำให้ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
ข้อตกลงจะเป็นสัญญาประเภทใดนั้น จะต้องดูจากเนื้อหาสาระของข้อตกลงเป็นสำคัญ หาใช่ดูแต่เพียงชื่อของสัญญา เมื่อตามสัญญาเช่ามีข้อตกลงกำหนดให้โจทก์มีหน้าที่จัดหาวัสดุปูพื้นคลังสินค้า จัดหาคนงานขนข้าวสารให้แก่ผู้เช่า จัดเตรียมคลังสินค้าตามสัญญาให้อยู่ในสภาพเรียบร้อยพร้อมที่จะเก็บข้าวสารของผู้เช่าได้ทันที อีกทั้งให้โจทก์เป็นผู้จัดหายามเพื่อรักษาความปลอดภัย ข้อสัญญาทั้งหลายเหล่านี้แสดงให้เห็นว่า โจทก์มิได้ส่งมอบให้ผู้เช่าครอบครองและมีอิสระในการใช้คลังสินค้าเองเยี่ยงสิทธิของผู้เช่าอสังหาริมทรัพย์ทั่วไป แต่โจทก์ยังคงเป็นผู้ควบคุมดูแลและดำเนินการต่างๆ ภายในคลังสินค้าที่ให้เช่าอยู่โดยตลอดในแต่ละขั้นตอน เพื่อที่โจทก์จะได้ใช้ความระมัดระวังและใช้ฝีมือเพื่อรักษาสินค้าของโจทก์ในฐานะเป็นผู้มีวิชาชีพในกิจการค้าขายของตนตาม ป.พ.พ. มาตรา 659 วรรคสาม ข้อตกลงตามสัญญาดังกล่าวจึงมีลักษณะเป็นสัญญาฝากทรัพย์ อันถือเป็นการให้บริการที่อยู่ในบังคับต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7164/2552
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขนส่งสินค้าทางอากาศ กรณีสินค้าสูญหายระหว่างอยู่ในคลังสินค้า และการจำกัดความรับผิด
ข้อเท็จจริงได้ความตามสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ (Air Waybill) ซึ่งเป็นหลักฐานแห่งสัญญารับขนส่งสินค้าทางอากาศระหว่างประเทศในคดีนี้ว่า สัญญาดังกล่าวฝ่ายผู้ขายได้จัดส่งสินค้ามาให้ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง โดยมีจำเลยทั้งสามเป็นผู้รับผิดชอบในการขนส่งสินค้าของผู้ขายเพื่อให้ถึงมือผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้รับขนส่งสินค้าทางอากาศจึงต้องร่วมกันรับผิดชอบกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ดูแลมิให้สินค้าที่ขนส่งสูญหายในระหว่างการขนส่งจนกว่าจะถึงมือผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง ตราบใดที่ผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งยังไม่ได้รับสินค้านั้นไว้ สินค้านั้นก็ยังไม่พ้นความดูแลหรือความรับผิดชอบของผู้ขนส่ง แม้ข้อเท็จจริงจะได้ความว่า เหตุแห่งการสูญหายของสินค้าพิพาทเกิดขึ้นในระหว่างที่สินค้านั้นอยู่ในคลังสินค้าของบริษัทการบินไทย จำกัด (มหาชน) กรณีก็ถือว่าเหตุแห่งการสูญหายของสินค้าที่ขนส่งเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งหรือระหว่างที่สินค้านั้นยังอยู่ในความรับผิดชอบดูแลของผู้ขนส่งเนื่องจากในระหว่างนั้นผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่งยังมิได้รับสินค้าที่ผู้รับขนส่งสินค้าขนส่งมา จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ร่วมรับขนส่งยังมิได้รับสินค้าที่ผู้รับขนส่งสินค้าขนส่งมา จำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นผู้ร่วมรับขนส่งสินค้าดังกล่าวจึงต้องร่วมรับผิดต่อความเสียหายอันเนื่องมาจากการสูญหายของสินค้าที่รับขนส่งต่อโจทก์ผู้รับประกันภัยสินค้านั้นซึ่งรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยซึ่งเป็นผู้ซื้อหรือผู้รับตราส่ง
นอกจากนี้ในสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ไม่ปรากฏว่าผู้ส่งหรือตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเรื่องเงื่อนไขความรับผิด ที่ระบุไว้ที่ด้านหลังใบตราส่งเพียงจำนวน 20 ดอลลาร์สหัรัฐต่อสินค้าสูญหาย 1 กิโลกรัม คงมีเพียงตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ชื่อผู้ส่งสินค้าไว้เท่านั้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในช่อง "Other Charges" ของสำเนาใบตราส่งดังกล่าวมีตัวอักษรและตัวเลขไว้ว่า Secu/c 102, 22 อันมีความหมายว่า ผู้ส่งได้จ่ายเงินเพิ่มเป็นค่าประกันในการดูแลรักษาสินค้าไว้แล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงในเรื่องเงื่อนไขการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้วยโดยชัดแจ้ง ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
นอกจากนี้ในสำเนาใบตราส่งสินค้าทางอากาศ ไม่ปรากฏว่าผู้ส่งหรือตัวแทนของผู้ส่งสินค้าได้ลงลายมือชื่อแสดงความตกลงในการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งในเรื่องเงื่อนไขความรับผิด ที่ระบุไว้ที่ด้านหลังใบตราส่งเพียงจำนวน 20 ดอลลาร์สหัรัฐต่อสินค้าสูญหาย 1 กิโลกรัม คงมีเพียงตัวอักษรภาษาอังกฤษพิมพ์ชื่อผู้ส่งสินค้าไว้เท่านั้น นอกจากนี้ยังปรากฏว่าในช่อง "Other Charges" ของสำเนาใบตราส่งดังกล่าวมีตัวอักษรและตัวเลขไว้ว่า Secu/c 102, 22 อันมีความหมายว่า ผู้ส่งได้จ่ายเงินเพิ่มเป็นค่าประกันในการดูแลรักษาสินค้าไว้แล้ว กรณีจึงถือไม่ได้ว่าผู้ส่งได้แสดงความตกลงในเรื่องเงื่อนไขการจำกัดความรับผิดของผู้ขนส่งด้วยโดยชัดแจ้ง ข้อจำกัดความรับผิดดังกล่าวจึงเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 625 จำเลยที่ 3 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าสินไหมทดแทนให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7839-7840/2560
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มและอากรขาเข้ากรณีสินค้าขาดหายในคลังสินค้า, การคิดเงินเพิ่มภาษี, และข้อยกเว้นตามมาตรา 78/2
เมื่อโจทก์เป็นผู้นำเข้าสินค้าจากต่างประเทศ ความรับผิดในค่าภาษีย่อมเกิดขึ้นในเวลาที่นำของเข้า ตาม พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 10 ทวิ การที่โจทก์นำหัวน้ำเชื้อสุราที่นำเข้ามาฝากเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป เป็นเพียงการชะลอการชำระค่าภาษีซึ่งอยู่ภายใต้บังคับมาตรา 87 มาตรา 88 และ มาตรา 10 ทวิ วรรคสอง ที่ให้คำนวณตามพิกัดอัตราศุลกากรที่ใช้อยู่ในเวลาซึ่งได้ปล่อยของออกไป หากโจทก์นำสินค้าที่นำเข้าดังกล่าวออกจากคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปเพื่อส่งออกไปนอกราชอาณาจักรก็จะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าและอากรขาออกแก่ของที่ปล่อยออกไปจากคลังสินค้าทัณฑ์บน ตามมาตรา 88 วรรคสอง แต่หากโจทก์นำสินค้าออกเพื่อบริโภคภายในประเทศ โจทก์ยังคงต้องรับผิดชำระอากรขาเข้าตามมาตรา 10 ทวิ กรณีนี้โจทก์นำหัวน้ำเชื้อสุราวิสกี้จากต่างประเทศเข้ามาในราชอาณาจักรไทยและได้นำของเข้าเก็บในคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป ต่อมาโจทก์ขออนุมัติขนย้ายหัวน้ำเชื้อสุราดังกล่าวไปยังคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้าของโจทก์ และปรากฏว่าหัวน้ำเชื้อสุราขาดหาย ไปจากจำนวนที่เคยจดแจ้งไว้ในใบขนสินค้าเดิมที่นำเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไป โจทก์จึงไม่อาจนำปริมาณหัวน้ำเชื้อสุราที่ขาดหายไปก่อนนำเข้าคลังสินค้าทัณฑ์บนประเภทโรงผลิตสินค้าไปรวมกับปริมาณหัวน้ำเชื้อสุราที่คงเหลืออยู่แล้วถือว่าได้ใช้ในการผลิตเพื่อการส่งออกอันจะได้รับยกเว้นอากรขาเข้าตามมาตรา 88 แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 และแม้โจทก์จะอ้างว่าหัวน้ำเชื้อสุราที่ขาดหายไปเกิดจากการระเหยตามธรรมชาติที่เกิดจากขั้นตอนการจัดเก็บและหมักบ่มเป็นกระบวนการผลิตสุราวิสกี้ แต่เหตุดังกล่าวไม่ใช่การสูญหายหรือถูกทำลายโดยอุบัติเหตุอันมิอาจหลีกเลี่ยงได้ตามมาตรา 95 ที่จะได้รับยกเว้นภาษีอากรได้ โจทก์จึงไม่ได้รับยกเว้นอากรขาเข้าสำหรับหัวน้ำเชื้อสุราที่ขาดหายไปจากคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปดังกล่าว
กรณีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นจากการนำเข้า โจทก์จึงต้องรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ต้องชำระอากรขาเข้า โดยโจทก์มีหน้าที่ยื่นใบขนสินค้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานกรมศุลกากร พร้อมกับชำระอากรขาเข้าตามมาตรา 83/8 และมาตรา 83/9 แห่ง ป.รัษฎากร และถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อโจทก์ไม่ชำระหรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 การที่เจ้าพนักงานจำเลยที่ 1 เริ่มคิดเงินเพิ่มนับแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2544 วันที่ 9 สิงหาคม 2544 และวันที่ 21 สิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำเข้าและยื่นใบขนส่งสินค้าเพื่อนำของเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปอันเป็นวันที่ต้องชำระอากรขาเข้าจึงชอบแล้ว
กรณีความรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มเกิดขึ้นจากการนำเข้า โจทก์จึงต้องรับผิดในการเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในวันที่ต้องชำระอากรขาเข้า โดยโจทก์มีหน้าที่ยื่นใบขนสินค้าและชำระภาษีมูลค่าเพิ่มต่อเจ้าพนักงานกรมศุลกากร พร้อมกับชำระอากรขาเข้าตามมาตรา 83/8 และมาตรา 83/9 แห่ง ป.รัษฎากร และถือว่าวันดังกล่าวเป็นวันที่โจทก์ยื่นแบบแสดงรายการเพื่อเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม เมื่อโจทก์ไม่ชำระหรือนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่มที่ต้องชำระเมื่อพ้นกำหนดเวลายื่นแบบแสดงรายการ โจทก์จึงต้องรับผิดเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 การที่เจ้าพนักงานจำเลยที่ 1 เริ่มคิดเงินเพิ่มนับแต่วันที่ 26 กรกฎาคม 2544 วันที่ 9 สิงหาคม 2544 และวันที่ 21 สิงหาคม 2544 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำเข้าและยื่นใบขนส่งสินค้าเพื่อนำของเข้าเก็บไว้ในคลังสินค้าทัณฑ์บนทั่วไปอันเป็นวันที่ต้องชำระอากรขาเข้าจึงชอบแล้ว