คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ควบคุมตัว

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 103 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5980/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงาน: การดิ้นรนเพื่อหลีกเลี่ยงการควบคุมตัวไม่ถึงขั้นเป็นความผิด
เจ้าพนักงานตำรวจจับจำเลยที่ 1 ในข้อหาลักทรัพย์และควบคุมตัวจำเลยที่ 1 ไปที่รถโดยสิบตำรวจโท ศ. กับนายดาบตำรวจ อ. เดินขนาบข้างคล้องแขนจำเลยที่ 1 ไว้คนละข้าง ระหว่างทางจำเลยที่ 2 กับพวกประมาณ 10 ถึง 15 คน เข้ามาแย่งตัวจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 2 เข้ามาดึงตัวจำเลยที่ 1 ออกไป และถีบสิบตำรวจโท ศ. กับนายดาบตำรวจอ. ส่วนจำเลยที่ 1 ได้พยายามดิ้นรนเพื่อให้พ้นจากการถูกควบคุมตัว ซึ่งแม้ว่าในการดิ้นรนของจำเลยที่ 1 จะเป็นเหตุให้เท้าของจำเลยที่ 1 ไปโดนสิบตำรวจโท ศ. กับนายดาบตำรวจ อ. ก็ตาม แต่การกระทำของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ก็ยังไม่ถึงขั้นที่จะเป็นการต่อสู้ขัดขวางเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 140

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1750/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีทำร้ายร่างกาย: ผู้ตายไม่ได้เป็นผู้ต้องหาและไม่ได้อยู่ในการควบคุมของเจ้าพนักงานขณะถูกทำร้าย
จำเลยได้ทำร้ายผู้ตายหลังจากนั้นจำเลยจึงไปแจ้งความว่าผู้ตายบุกรุกเจ้าพนักงานตำรวจนำตัวผู้ตายส่งโรงพยาบาลและต่อมาถึงแก่ความตายพนักงานสอบสวนจึงร่วมกับแพทย์ชันสูตรพลิกศพผู้ตายไว้โดยที่ขณะผู้ตายถูกจำเลยทำร้ายนั้นผู้ตายมิได้เป็นผู้ต้องหาในข้อหาบุกรุกและมิได้อยู่ในความควบคุมตัวของเจ้าพนักงานแต่อย่างใดแม้ผู้ตายจะถึงแก่ความตายในระหว่างที่เจ้าพนักงานตำรวจนำตัวส่งโรงพยาบาลก็ไม่ใช่กรณีที่มีความตายเกิดขึ้นโดยการกระทำของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่หรือตายในระหว่างอยู่ในความควบคุมของเจ้าพนักงานซึ่งอ้างว่าปฏิบัติราชการตามหน้าที่จึงไม่ใช่กรณีที่ต้องดำเนินการตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา150วรรคสามเมื่อพนักงานสอบสวนและแพทย์ทำการชันสูตรพลิกศพเสร็จแล้วพนักงานอัยการโจทก์จึงมี อำนาจฟ้องจำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4915/2537 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลบหนีระหว่างถูกควบคุมตัวในสถานีตำรวจ ถือเป็นความผิดสำเร็จ แม้จะยังไม่ออกจากอาคาร
จำเลยเป็นผู้ต้องหาถูกคุมขังอยู่ที่ห้องขังของสถานีตำรวจเวลา 8 นาฬิกา นายดาบตำรวจส. เสมียนคดี แจ้งความประสงค์ต่อนายดาบตำรวจก. ซึ่งปฏิบัติหน้าที่สิบเวรว่าได้รับคำสั่งจากพนักงานสอบสวนให้มาพิมพ์ลายนิ้วมือของจำเลย นายดาบตำรวจก. ไขกุญแจห้องขังเปิดประตูเพื่อใส่กุญแจมือจำเลยก่อนนำจำเลย ออกจากห้องขัง แต่จำเลยวิ่งสวนทางออกมาวิ่งหลบหนีลงไป ทางบันได สิบตำรวจตรีฉ. ซึ่งยืนอยู่ตรงที่พักบันไดประสบเหตุดังกล่าวจึงเข้าสกัดจับจำเลยไว้ได้ การที่จำเลยซึ่งถูกควบคุมตัวไว้ ในห้องขังสถานีตำรวจอันเป็นการควบคุมที่เจ้าพนักงานตำรวจ จัดกำหนดขอบเขตเอาไว้ ออกจากขอบเขตดังกล่าวโดยผู้มีอำนาจ ควบคุมจำเลยยังมิได้อนุญาตในลักษณะของการวิ่งหลบหนี ออกมาพ้นเขตควบคุมแล้วไม่ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะติดตามจับกุม จำเลยได้หรือไม่ก็ตาม การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการหลบหนี ไปในระหว่างที่ถูกคุมขังของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญา เป็นความผิดสำเร็จแล้ว ไม่จำเป็นต้องหลบหนีให้พ้นออกไปจากตัวอาคารของสถานีตำรวจจึงจะถือว่าการหลบหนีสำเร็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4915/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลบหนีระหว่างถูกควบคุมตัว: การกระทำความผิดสำเร็จแม้ยังไม่พ้นอาคาร
จำเลยถูกคุมขังระหว่างสอบสวนในฐานะผู้ต้องหาฐานชิงทรัพย์ขณะเจ้าพนักงานตำรวจนำจำเลยออกจากห้องขัง จำเลยวิ่งหลบหนีออกมาไม่ว่าเจ้าพนักงานตำรวจจะติดตามจับกุมจำเลยได้หรือไม่ก็ตามการกระทำของจำเลยย่อมเป็นการหลบหนีไปในระหว่างที่ถูกคุมขังของเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาเป็นความผิดสำเร็จแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 772/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การหลบหนีการควบคุมตัวจากพนักงานสอบสวน และความผิดฐานพาอาวุธปืนโดยไม่ได้รับอนุญาต
หลังจากจำเลยใช้อาวุธปืนยิงผู้ตายถึงแก่ความตายแล้ว จำเลยได้เข้ามอบตัวต่อพันตำรวจโท บ. พันตำรวจโท บ. สอบปากคำจำเลยจำเลยขออนุญาตกลับไปเปลี่ยนเสื้อผ้าที่บ้าน เพราะเสื้อผ้าเปื้อนเลือด พันตำรวจโท บ. ขับรถยนต์ไปส่งจำเลยที่บ้าน เมื่อไปถึงบ้านของจำเลย จำเลยเดินเข้าไปในบ้าน พันตำรวจโท บ. นั่งคอยจำเลยอยู่ที่ห้องรับแขก กับมีเจ้าพนักงานตำรวจอีก 2 คน คอยอยู่นอกบ้านแม้ไม่ปรากฏว่าพันตำรวจโท บ. ทำบันทึกการมอบตัวหรือแจ้งข้อหาแก่จำเลย แต่ก็ถือได้ว่าพันตำรวจโท บ. ได้คุมขังจำเลยไว้เพื่อทำการสืบสวนสอบสวนต่อไปตามอำนาจหน้าที่แล้ว การที่จำเลยไม่กลับมาพบพันตำรวจโท บ. แล้วหลบหนีออกทางประตูหลังบ้านไป ถือได้ว่าจำเลยได้หลบหนีไปจากความควบคุมของพันตำรวจโท บ. เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 190 แล้ว แม้ก่อนเกิดเหตุจำเลยเคยไปเก็บเงินค่าสินค้าที่ต่างอำเภอและถูกคนร้ายชิงทรัพย์ก็ตาม การที่จำเลยพาอาวุธปืนไปเก็บเงินที่อำเภอดังกล่าวในวันเกิดเหตุก็ถือไม่ได้ว่าเป็นกรณีมีเหตุจำเป็นและเร่งด่วนตามสมควรแก่พฤติการณ์ เพราะไม่แน่ว่าจะมีเหตุร้ายเกิดขึ้น จำเลยจึงมีความผิดฐานพาอาวุธปืนติดตัวโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่พฤติการณ์ดังกล่าวเป็นกรณีที่สมควรลงโทษจำเลยสถานเบา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจปล่อยชั่วคราวและการควบคุมตัวผู้ต้องหาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือน นับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราวเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จก็คงดำเนินการต่อไปได้ เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ส่วนการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113 วรรคสองนั้น แม้ทำให้ผู้ต้องหาพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาเสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใด นอกจากนี้การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 113 วรรคสองดังกล่าว ก็หาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยชั่วคราวเกิน 6 เดือน ไม่ต้องยื่นขอหมายขังใหม่ การสอบสวนยังดำเนินต่อไปได้ ฟ้องคดีได้
ในระหว่างสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือนนับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราว เมื่อพ้นเวลาดังกล่าวพนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จ ก็คงดำเนินการต่อไปได้เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ แม้การไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 113 วรรคสอง ทำให้ผู้ต้องหาหลุดพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาไว้เสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใดไม่ ทั้งการไม่ปฏิบัติตามขั้นตอนดังบัญญัติไว้ตามมาตรา 113 วรรคสอง ก็มิได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีศาล

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 539/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปล่อยชั่วคราวเกิน 6 เดือน และผลกระทบต่อการดำเนินคดีอาญา: อำนาจควบคุมและฟ้องคดี
บทบัญญัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113วรรคหนึ่ง มีความหมายว่า ในระหว่างการสอบสวน พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณีมีอำนาจปล่อยผู้ต้องหาชั่วคราวมีระยะเวลาอย่างสูงไม่เกินหกเดือน นับแต่วันแรกที่มีการปล่อยชั่วคราวเมื่อพ้นระยะเวลาดังกล่าว พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการแล้วแต่กรณี ไม่มีอำนาจควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีกเท่านั้น สำหรับการสอบสวนหากมีความจำเป็นต้องทำให้เสร็จก็คงดำเนินการต่อไปได้เพราะไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามไว้ ส่วนการไม่ปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 113 วรรคสอง นั้นแม้ทำให้ผู้ต้องหาพ้นจากการควบคุม แต่ก็มิใช่บทบังคับให้พนักงานสอบสวนหรือพนักงานอัยการจำต้องส่งผู้ต้องหามาศาล และยื่นคำร้องขอหมายขังผู้ต้องหาเสมอไป เว้นแต่มีความจำเป็นต้องควบคุมผู้ต้องหาต่อไปอีก กรณีหาได้เกี่ยวข้องกับปัญหาว่าการสอบสวนชอบหรือมิชอบแต่ประการใด นอกจากนี้การไม่ปฏิบัติตามมาตรา 113 วรรคสองดังกล่าวก็หาได้มีบทบัญญัติของกฎหมายห้ามพนักงานอัยการยื่นฟ้องคดีต่อศาลไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6424/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจับกุมและการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงาน: การจับกุมต้องเป็นไปตามกฎหมายและไม่มีการควบคุมตัวโดยมิชอบ
ในวันเกิดเหตุ จำเลยกับพวกพาผู้เสียหายกับพวกไปสถานีตำรวจเพื่อเจรจากับตัวแทนของ จ.ในคดีที่ จ. ร้องทุกข์ว่าผู้เสียหายฉ้อโกง และทำบันทึกการจับกุมไว้ แต่จำเลยยังมิได้จับกุมผู้เสียหายส่งต่อพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีเพราะตัวแทนของ จ. มิได้ขอให้จับกุมเพียงแต่ขอให้จำเลยช่วยทวงเงินคืนจากผู้เสียหายเท่านั้นหลังจากนั้นได้พากันไปเจรจากันต่อที่ห้องพักของจำเลยที่แฟลตเจ้าพนักงานตำรวจ และผู้เสียหายได้ค้างคืนที่ห้องพักของจำเลยโดยสมัครใจ มิได้ถูกควบคุมตัว จึงถือไม่ได้ว่ามีการจับกุมผู้เสียหายในวันดังกล่าว แม้จะมีการทำบันทึกการจับกุมไว้แล้ว แต่เมื่อยังมิได้มีการจับกุมผู้เสียหายตามบันทึกการจับกุมนั้น การที่จำเลยมิได้ส่งตัวผู้เสียหายต่อพนักงานสอบสวนเจ้าของคดีในวันดังกล่าว แต่เพิ่งจะจับกุมผู้เสียหายในภายหลังเมื่อคดีตกลงกันไม่ได้จึงได้มีการแก้ไขวันที่จับกุมผู้เสียหายให้ถูกต้องตามความเป็นจริง จึงไม่เป็นความผิดฐานเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ค่าจ้างลูกจ้างรายวันเมื่อถูกจับกุม: ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างช่วงถูกควบคุมตัว
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างรายวันของจำเลยถูกตำรวจจับกุมตัวและควบคุมตัวไว้จนกระทั่งถึงวันที่จำเลยเลิกจ้างโจทก์ แม้ว่าจำเลยจะเป็นผู้แจ้งความให้ตำรวจดำเนินคดีกับโจทก์ก็ตาม จำเลยก็ไม่ต้องจ่ายค่าจ้างระหว่างนั้นให้โจทก์ เพราะโจทก์จะได้รับค่าจ้างเฉพาะในวันที่โจทก์มาทำงานให้แก่จำเลยเท่านั้น
of 11