พบผลลัพธ์ทั้งหมด 154 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7871/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า 'Panabishi' และ 'Panasonic' อาจทำให้สาธารณชนสับสนถึงความเป็นเจ้าของสินค้า
เครื่องหมายการค้าของโจทก์คือเครื่องหมายการค้าเป็นรูปสามเหลี่ยมประดิษฐ์ และคำว่า "Panabishi" กับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่จดทะเบียนคำว่า "Panasonic" มีคำ 2 พยางค์แรกเป็นคำว่า Pana คำเดียวกัน แม้คำพยางค์อื่นที่นำมาประกอบในเครื่องหมายการค้าของทั้งสองฝ่ายจะแตกต่างกัน แต่ปรากฏว่ามีตัวอักษรที่เหลือจำนวน 5 ตัวเท่ากัน ทำให้เข้าใจว่าสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Panabishi" อยู่ในเครือเดียวกันกับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Panasonic" นอกจากนี้จำเลยจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า "Panasonic" ในสินค้าจำพวกที่ 8 (เดิม) สำหรับสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าซึ่งรวมถึงเครื่องปรับอากาศและยื่นคำขอต่ออายุการจดทะเบียนสำหรับสินค้าจำพวกที่ 11 (ใหม่) รายการสินค้า เครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องปรับอากาศ ก่อนที่โจทก์จะใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า "Panabishi" เกือบ 10 ปี แม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีรูปสามเหลี่ยมอยู่ด้วย แต่คำว่า "Panabishi" และ "Panasonic" มีตัวอักษร 9 ตัวเท่ากัน มีลักษณะเด่นที่คำว่า "Pana" การเรียกขานก็คล้ายกัน และจำเลยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยไว้สำหรับสินค้าจำพวกเครื่องใช้ไฟฟ้าต่าง ๆ รวมทั้งเครื่องปรับอากาศ ซึ่งโจทก์ก็ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกัน ดังนี้ เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของจำเลยคำว่า "PANA" และ "Panasonic" จึงนับได้ว่าคล้ายกัน จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้า เมื่อเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนเป็นเครื่องหมายการค้าที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยได้จดทะเบียนไว้แล้ว นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าจึงมีอำนาจสั่งระงับการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้ ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 6 (3) และมาตรา 13 จำเลยจึงมีสิทธิยื่นคำร้องคัดค้านมิให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ารับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7870/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายบริการและการเพิกถอนการจดทะเบียน แม้เป็นคำสามัญและใช้กับบริการต่างประเภท
เครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลยมีคำว่า ORIENTAL เหมือนกัน แม้คำดังกล่าวจะเป็นคำสามัญ และเครื่องหมายบริการของโจทก์มีคำว่า PLACE กับรูปประดิษฐ์เสาโรมันประกอบอยู่ด้วยก็ตาม แต่ก็ได้ความว่า อาคารและเครื่องหมายบริการของโจทก์ คำว่า ORIENTAL ตรงกับชื่อย่านที่ตั้งอาคารนั้นที่เรียกกันว่าโอเรียนเต็ล คำว่า ORIENTAL นี้จึงเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลย จึงเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายบริการทั้งสองและอาจเรียกขานเครื่องหมายบริการทั้งสองว่าโอเรียนเต็ลเหมือนกัน เครื่องหมายบริการทั้งสองต่างใช้คำดังกล่าวเป็นอักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่ แม้ตัวอักษร O ตัวแรกในเครื่องหมายบริการของโจทก์มีลักษณะเป็นตัวอักษรขนาดใหญ่กว่าตัวอักษรตัวอื่น และลายเส้นตัวอักษรแต่ละตัวมีความหนาบางประสมกันแตกต่างจากเครื่องหมายบริการของจำเลยที่มีขนาดตัวอักษรและความหนาของลายเส้นเสมอกันทุกตัว ก็เป็นข้อแตกต่างในรายละเอียดเพียงเล็กน้อย แต่ยังเป็นคำ คำเดียวกันเรียกขานเหมือนกันเป็นจุดสำคัญอยู่ เครื่องหมายบริการของโจทก์จึงนับว่าคล้ายกับเครื่องหมายบริการของจำเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสถานประกอบการของโจทก์อยู่ใกล้ชิดกับโรงแรมที่ใช้เครื่องหมายบริการของจำเลย ย่อมเป็นพฤติการณ์ที่อาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของและแหล่งกำเนิดของบริการได้ จึงนับได้ว่า เครื่องหมายบริการของโจทก์ดังกล่าวคล้ายกับเครื่องหมายบริการ ORIENTAL ที่มีชื่อเสียงแพร่หลายของจำเลยจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของบริการได้ จึงชอบที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจะสั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายบริการของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7870/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเพิกถอนเครื่องหมายบริการ: ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายและโอกาสสับสนในเชิงธุรกิจ
เครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลยมีคำว่า ORIENTAL เหมือนกันโดยแม้จะเป็นคำสามัญ และเครื่องหมายบริการ ของโจทก์มีคำว่า PLACEกับรูปประดิษฐ์เสาโรมันประกอบอยู่ด้วย แต่ก็ได้ความว่าอาคารและเครื่องหมายบริการของโจทก์ใช้คำว่า ORIENTAL ตรงกับชื่อย่านที่ตั้งอาคารที่เรียกว่าโอเรียนเต็ล คำว่า ORIENTAL นี้จึงเป็นจุดเด่นในเครื่องหมายบริการของโจทก์และจำเลยจึงเป็นสาระสำคัญของเครื่องหมายบริการทั้งสองที่ต่างใช้อักษรโรมันตัวพิมพ์ใหญ่แม้ขนาดและลายเส้นตัวอักษรจะแตกต่างกันก็เป็นเพียงในรายละเอียดเล็กน้อยที่มีเสียงเรียกขานเหมือนกัน จึงนับว่าเครื่องหมายทั้งสองคล้ายกัน
แม้ปรากฏว่าเครื่องหมายบริการของจำเลยมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในการประกอบกิจการโรงแรมดิโอเรียนเต็ล ส่วนของโจทก์ใช้กับกิจการห้างสรรพสินค้าแต่การจัดให้มีร้านค้าภายในโรงแรมเพื่อบริการลูกค้าที่มาพักในโรงแรมก็มีลักษณะเป็นบริการเสริมความสะดวกแก่ลูกค้า จึงมีลักษณะเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกัน โรงแรมของจำเลยยังมีบริการร้านค้าต่าง ๆ ภายในโรงแรมด้วย เช่น ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าร้านขายอัญมณี และร้านขายของที่ระลึก การที่โจทก์ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าแบ่งพื้นที่อาคารให้บุคคลมาเช่าเปิดร้านขายสินค้าเช่น เครื่องเพชร งานศิลปะ เครื่องแต่งกาย ทำนองเดียวกับกิจการของจำเลย ประกอบกับกิจการของโจทก์และจำเลยตั้งอยู่ข้างเคียงกันมีเพียงอาคารจอดรถของโรงแรมและถนนซอยคั่นกลางเท่านั้น นับว่าอยู่ในทำเลละแวกเดียวกัน เช่นนี้ย่อมเป็นเหตุให้ประชาชนที่ใช้บริการร้านค้าในอาคารของโจทก์เข้าใจผิดได้ว่ากิจการของโจทก์เป็นกิจการของจำเลยหรือเกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมของจำเลยหรือมีความเกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมของจำเลย และแม้มีการประชาสัมพันธ์กิจการห้างสรรพสินค้าของโจทก์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ แต่ก็ไม่ถึงขนาดทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ชัดว่ากิจการของโจทก์กับกิจการของจำเลยแยกต่างหากจากกันจนไม่อาจสับสนหรือหลงผิดได้
แม้ปรากฏว่าเครื่องหมายบริการของจำเลยมีชื่อเสียงแพร่หลายทั่วไปในการประกอบกิจการโรงแรมดิโอเรียนเต็ล ส่วนของโจทก์ใช้กับกิจการห้างสรรพสินค้าแต่การจัดให้มีร้านค้าภายในโรงแรมเพื่อบริการลูกค้าที่มาพักในโรงแรมก็มีลักษณะเป็นบริการเสริมความสะดวกแก่ลูกค้า จึงมีลักษณะเป็นบริการที่เกี่ยวเนื่องใกล้ชิดกัน โรงแรมของจำเลยยังมีบริการร้านค้าต่าง ๆ ภายในโรงแรมด้วย เช่น ร้านตัดเย็บเสื้อผ้าร้านขายอัญมณี และร้านขายของที่ระลึก การที่โจทก์ประกอบกิจการห้างสรรพสินค้าแบ่งพื้นที่อาคารให้บุคคลมาเช่าเปิดร้านขายสินค้าเช่น เครื่องเพชร งานศิลปะ เครื่องแต่งกาย ทำนองเดียวกับกิจการของจำเลย ประกอบกับกิจการของโจทก์และจำเลยตั้งอยู่ข้างเคียงกันมีเพียงอาคารจอดรถของโรงแรมและถนนซอยคั่นกลางเท่านั้น นับว่าอยู่ในทำเลละแวกเดียวกัน เช่นนี้ย่อมเป็นเหตุให้ประชาชนที่ใช้บริการร้านค้าในอาคารของโจทก์เข้าใจผิดได้ว่ากิจการของโจทก์เป็นกิจการของจำเลยหรือเกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมของจำเลยหรือมีความเกี่ยวข้องกับกิจการโรงแรมของจำเลย และแม้มีการประชาสัมพันธ์กิจการห้างสรรพสินค้าของโจทก์ในหนังสือพิมพ์และนิตยสารต่าง ๆ แต่ก็ไม่ถึงขนาดทำให้สาธารณชนเข้าใจได้ชัดว่ากิจการของโจทก์กับกิจการของจำเลยแยกต่างหากจากกันจนไม่อาจสับสนหรือหลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5083/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้ากับสินค้าต่างประเภท และการใช้สิทธิในเครื่องหมายการค้าเดิม
++ เรื่อง ทรัพย์สินทางปัญญา เครื่องหมายการค้า ++
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นตามที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี 2520 ถึง ปี 2524 คือ เครื่องหมายการค้า+++++++++++++ และ ++++++++++ ใช้กับสินค้าตามรายการจำพวกสินค้าเดิมตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จำพวกที่ 42วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหาร จำพวกที่ 44 น้ำแร่และน้ำอัดลมซึ่งเป็นเองและทำขึ้น จำพวกที่ 45 ยาสูบที่แต่งแล้วและยังมิได้แต่ง และจำพวกที่ 48 เครื่องหอม (รวมทั้งเครื่องเบ็ดเตล็ดสำหรับแต่งกายตบแต่งผิว สิ่งที่ทำขึ้นใช้สำหรับฟัน สำหรับผม และสบู่หอม) ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.6 จ.8 จ.10 และ จ.11 ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2535 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า +++++++ เป็นรูปวัวกระทิงคู่หันหน้าเข้าหากันเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 12 (ใหม่) ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 รายการสินค้า แหนบรถยนต์ ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 เอกสารหมาย จ.40 โจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียน จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้ยกคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยที่ 1 ต่อไป
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยทั้งสิบว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงคู่ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 ดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด
++
++ โจทก์นำสืบว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กันกับรูปกระทิงสีแดงคู่กำลังต่อสู้กัน ตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยสีแดงคำว่า "กระทิงแดง" อยู่ด้านล่าง ซึ่งโจทก์จดทะเบียนเมื่อวันที่11 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 22 มิถุนายน 2524 ตามสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.6 จ.8 จ.10 และ จ.11 โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าต่าง ๆ ของโจทก์คือเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ กาแฟบรรจุขวดและกระป๋องและสินค้าอื่น ๆ ได้แก่ หมวก เสื้อยืด ปิ่นโต แก้วน้ำ และกระเป๋าคาดเอว สินค้าของโจทก์ผลิตและจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีการโฆษณาสินค้าของโจทก์ตามสื่อต่าง ๆ เมื่อประชาชนเห็นเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงแดงคู่ก็เข้าใจได้ทันทีว่าเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่สีแดงมาแล้วเป็นเวลา 15 ปีจำเลยที่ 1 จึงขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่สีแดงต่อสู้กันสำหรับใช้กับสินค้าแหนบรถยนต์ แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์
++ ส่วนจำเลยที่ 1นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง2 ตัว หันหน้าชนกัน ด้านล่างมีคำว่า "ตราวัวชนกัน" เมื่อวันที่ 3พฤษภาคม 2505 ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 และจำเลยที่ 1 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าแหนบรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ตลอดมา เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีการต่ออายุการจดทะเบียน 2 ครั้ง ในปี 2515 และ 2525 แล้วขาดต่ออายุในปี 2535 จึงมายื่นคำขอจดทะเบียนอีกตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051โดยตัดคำว่า "ตราวัวชนกัน" ออก
++
++ เห็นว่า จำเลยมีนายนิพนธ์ แช่มสาครซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และนายวิรัตน์ ธนาบริบูรณ์ เป็นพยานเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า จำเลยที่ 1 ได้ผลิตแหนบรถยนต์จำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันกับสินค้าแหนบรถยนต์เป็นเวลานานกว่า 30 ปี มาแล้ว และได้ให้นายวิรัตน์ไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตั้งแต่ปี 2505 ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 แม้ตามทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะมีชื่อนายวิรัตน์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า แต่นายวิรัตน์ก็เบิกความยืนยันว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้นายวิรัตน์ซึ่งขณะนั้นเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1ไปยื่นคำขอจดทะเบียนโดยใช้ชื่อนายวิรัตน์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังมีนายอภิชัย คีลาวัฒน์ อายุ 36 ปี ประกอบอาชีพค้าขายอะไหล่รถยนต์ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยรับช่วงกิจการในครอบครัวมาดำเนินการเบิกความสนับสนุนว่า จำเลยที่ 1 ขายแหนบรถยนต์ซึ่งมีเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงคู่สีแดงให้ร้านของครอบครัวพยานมาตั้งแต่พยานยังเป็นเด็ก โดยโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบโต้แย้งข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เคยโต้แย้งการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1 มาก่อนแต่อย่างใด
++
++ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน และได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าแหนบรถยนต์ของจำเลยที่ 1เป็นเวลานานกว่า 30 ปี มาแล้วโดยสุจริตตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เมื่อปี 2520
++
++ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 134051ไม่มีคำว่า "ตราวัวชนกัน" จึงแตกต่างและเป็นคนละเครื่องหมายกับเครื่องหมายการค้าที่เคยจดทะเบียนไว้ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 นั้น
++ เห็นว่า สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวอยู่ที่รูปวัวกระทิง2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน คำว่า "ตราวัวชนกัน" เป็นเพียงส่วนประกอบเมื่อจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายรูปวัวกระทิง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันอันเป็นส่วนสาระสำคัญนั้นมายื่นขอจดทะเบียนใหม่ ย่อมถือได้ว่าเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเครื่องหมายเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ใช้มาก่อนโดยสุจริตดังกล่าวแล้วนั่นเอง จำเลยที่ 1จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าชอบที่จะรับจดทะเบียนให้ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 27วรรคหนึ่ง
++ ส่วนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้วางเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ว่า เครื่องหมายรูปกระทิงให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงนั้น
++ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน ซึ่งเป็นวัวกระทิงสีแดง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายดังกล่าวมาก่อนโดยสุจริต ดังวินิจฉัยมาแล้วข้างต้นประกอบกับสินค้าของโจทก์เป็นเครื่องบริโภคอุปโภค ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นเครื่องอะไหล่แหนบรถยนต์อันเป็นเครื่องกล จึงเป็นสินค้าต่างจำพวกกันมีลักษณะและวัตถุประสงค์ในการใช้สินค้าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้าแหนบรถยนต์นำออกจำหน่ายมาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลากว่า 10 ปี และต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าที่แตกต่างกันนั้นมาอีกกว่า 10 ปีโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยโต้แย้งว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหายเพราะประชาชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าและเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์มาก่อนแต่อย่างใดจึงไม่มีเหตุสมควรกำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวางเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ว่า รูปกระทิงให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่เห็นพ้องด้วย
++ ทดสอบทำงานในระบบ CW เพื่อค้นหาข้อมูลทาง online ++
++
++
++
++ ข้อเท็จจริงเบื้องต้นตามที่คู่ความไม่ได้โต้เถียงกันในชั้นนี้ฟังได้ว่า โจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี 2520 ถึง ปี 2524 คือ เครื่องหมายการค้า+++++++++++++ และ ++++++++++ ใช้กับสินค้าตามรายการจำพวกสินค้าเดิมตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 จำพวกที่ 42วัตถุที่ใช้เป็นอาหาร หรือเป็นเครื่องปรุงอาหาร จำพวกที่ 44 น้ำแร่และน้ำอัดลมซึ่งเป็นเองและทำขึ้น จำพวกที่ 45 ยาสูบที่แต่งแล้วและยังมิได้แต่ง และจำพวกที่ 48 เครื่องหอม (รวมทั้งเครื่องเบ็ดเตล็ดสำหรับแต่งกายตบแต่งผิว สิ่งที่ทำขึ้นใช้สำหรับฟัน สำหรับผม และสบู่หอม) ตามทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.6 จ.8 จ.10 และ จ.11 ต่อมาเมื่อวันที่ 17 กันยายน 2535 จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า +++++++ เป็นรูปวัวกระทิงคู่หันหน้าเข้าหากันเพื่อใช้กับสินค้าจำพวกที่ 12 (ใหม่) ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 รายการสินค้า แหนบรถยนต์ ตามสำเนาคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 เอกสารหมาย จ.40 โจทก์ยื่นคำคัดค้าน นายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียน จำเลยที่ 1 อุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า คณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยให้ยกคำวินิจฉัยของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า และให้นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอของจำเลยที่ 1 ต่อไป
++
++ มีปัญหาต้องวินิจฉัยตามอุทธรณ์ของโจทก์และจำเลยทั้งสิบว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงคู่ตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 ดังกล่าวหรือไม่ เพียงใด
++
++ โจทก์นำสืบว่าโจทก์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่กำลังต่อสู้กันกับรูปกระทิงสีแดงคู่กำลังต่อสู้กัน ตรงกลางมีเส้นวงกลมสีแดง และมีอักษรไทยสีแดงคำว่า "กระทิงแดง" อยู่ด้านล่าง ซึ่งโจทก์จดทะเบียนเมื่อวันที่11 พฤษภาคม 2520 และวันที่ 22 มิถุนายน 2524 ตามสำเนาทะเบียนเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย จ.6 จ.8 จ.10 และ จ.11 โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าต่าง ๆ ของโจทก์คือเครื่องดื่มบำรุงกำลัง เครื่องดื่มเกลือแร่ กาแฟบรรจุขวดและกระป๋องและสินค้าอื่น ๆ ได้แก่ หมวก เสื้อยืด ปิ่นโต แก้วน้ำ และกระเป๋าคาดเอว สินค้าของโจทก์ผลิตและจำหน่ายอย่างแพร่หลายทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ มีการโฆษณาสินค้าของโจทก์ตามสื่อต่าง ๆ เมื่อประชาชนเห็นเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงแดงคู่ก็เข้าใจได้ทันทีว่าเป็นสินค้าของโจทก์โจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่สีแดงมาแล้วเป็นเวลา 15 ปีจำเลยที่ 1 จึงขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปกระทิงคู่สีแดงต่อสู้กันสำหรับใช้กับสินค้าแหนบรถยนต์ แต่เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1คล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าและสินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์
++ ส่วนจำเลยที่ 1นำสืบว่า จำเลยที่ 1 ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง2 ตัว หันหน้าชนกัน ด้านล่างมีคำว่า "ตราวัวชนกัน" เมื่อวันที่ 3พฤษภาคม 2505 ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 และจำเลยที่ 1 ได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าแหนบรถยนต์ของจำเลยที่ 1 ตลอดมา เครื่องหมายการค้าดังกล่าวมีการต่ออายุการจดทะเบียน 2 ครั้ง ในปี 2515 และ 2525 แล้วขาดต่ออายุในปี 2535 จึงมายื่นคำขอจดทะเบียนอีกตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051โดยตัดคำว่า "ตราวัวชนกัน" ออก
++
++ เห็นว่า จำเลยมีนายนิพนธ์ แช่มสาครซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 1 และนายวิรัตน์ ธนาบริบูรณ์ เป็นพยานเบิกความสอดคล้องต้องกันว่า จำเลยที่ 1 ได้ผลิตแหนบรถยนต์จำหน่ายโดยใช้เครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันกับสินค้าแหนบรถยนต์เป็นเวลานานกว่า 30 ปี มาแล้ว และได้ให้นายวิรัตน์ไปยื่นขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตั้งแต่ปี 2505 ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 แม้ตามทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจะมีชื่อนายวิรัตน์เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้า แต่นายวิรัตน์ก็เบิกความยืนยันว่า เครื่องหมายการค้าดังกล่าวเป็นของจำเลยที่ 1โดยจำเลยที่ 1 เป็นผู้ให้นายวิรัตน์ซึ่งขณะนั้นเป็นพนักงานของจำเลยที่ 1ไปยื่นคำขอจดทะเบียนโดยใช้ชื่อนายวิรัตน์ นอกจากนี้จำเลยที่ 1 ยังมีนายอภิชัย คีลาวัฒน์ อายุ 36 ปี ประกอบอาชีพค้าขายอะไหล่รถยนต์ที่อำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย โดยรับช่วงกิจการในครอบครัวมาดำเนินการเบิกความสนับสนุนว่า จำเลยที่ 1 ขายแหนบรถยนต์ซึ่งมีเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงคู่สีแดงให้ร้านของครอบครัวพยานมาตั้งแต่พยานยังเป็นเด็ก โดยโจทก์ไม่มีพยานหลักฐานมาสืบโต้แย้งข้อนำสืบของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว ทั้งไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้เคยโต้แย้งการใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวของจำเลยที่ 1 มาก่อนแต่อย่างใด
++
++ ข้อเท็จจริงจึงฟังได้ตามที่จำเลยที่ 1 นำสืบว่า จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงสีแดง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน และได้ใช้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวกับสินค้าแหนบรถยนต์ของจำเลยที่ 1เป็นเวลานานกว่า 30 ปี มาแล้วโดยสุจริตตั้งแต่ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เมื่อปี 2520
++
++ ส่วนที่โจทก์อ้างว่าเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 134051ไม่มีคำว่า "ตราวัวชนกัน" จึงแตกต่างและเป็นคนละเครื่องหมายกับเครื่องหมายการค้าที่เคยจดทะเบียนไว้ตามสำเนาทะเบียนแบบเครื่องหมายการค้าเอกสารหมาย ล.5 นั้น
++ เห็นว่า สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดังกล่าวอยู่ที่รูปวัวกระทิง2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน คำว่า "ตราวัวชนกัน" เป็นเพียงส่วนประกอบเมื่อจำเลยที่ 1 นำเครื่องหมายรูปวัวกระทิง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากันอันเป็นส่วนสาระสำคัญนั้นมายื่นขอจดทะเบียนใหม่ ย่อมถือได้ว่าเป็นการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าในเครื่องหมายเดียวกับที่จำเลยที่ 1 ใช้มาก่อนโดยสุจริตดังกล่าวแล้วนั่นเอง จำเลยที่ 1จึงมีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิงตามคำขอจดทะเบียนเลขที่ 234051 และนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าชอบที่จะรับจดทะเบียนให้ได้ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 27วรรคหนึ่ง
++ ส่วนที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้วางเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ว่า เครื่องหมายรูปกระทิงให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงนั้น
++ เห็นว่า เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้ารูปวัวกระทิง 2 ตัว หันหน้าเข้าหากัน ซึ่งเป็นวัวกระทิงสีแดง เนื่องจากจำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายดังกล่าวมาก่อนโดยสุจริต ดังวินิจฉัยมาแล้วข้างต้นประกอบกับสินค้าของโจทก์เป็นเครื่องบริโภคอุปโภค ส่วนสินค้าของจำเลยที่ 1เป็นเครื่องอะไหล่แหนบรถยนต์อันเป็นเครื่องกล จึงเป็นสินค้าต่างจำพวกกันมีลักษณะและวัตถุประสงค์ในการใช้สินค้าแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง นอกจากนี้ยังปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 กับสินค้าแหนบรถยนต์นำออกจำหน่ายมาก่อนโจทก์จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลากว่า 10 ปี และต่อมาโจทก์กับจำเลยที่ 1 ก็ต่างใช้เครื่องหมายการค้าของตนกับสินค้าที่แตกต่างกันนั้นมาอีกกว่า 10 ปีโดยไม่ปรากฏว่าโจทก์เคยโต้แย้งว่าการใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์เสียหายเพราะประชาชนสับสนหลงผิดว่าสินค้าและเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นของโจทก์มาก่อนแต่อย่างใดจึงไม่มีเหตุสมควรกำหนดเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางวางเงื่อนไขและข้อจำกัดสิทธิในการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ว่า รูปกระทิงให้ใช้สีอื่นนอกจากสีแดงย่อมเป็นการไม่ชอบด้วยพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 27 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศไม่เห็นพ้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3824/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การพิจารณาความเก่าแก่ การใช้จริง และความคล้ายคลึงจนอาจทำให้สับสน
โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MITSUBA สำหรับสินค้าจำพวกที่ 9 ในรายการสินค้าที่รวมถึงสวิตช์สัญญาณเตือนภัยด้วย แต่นายทะเบียนไม่รับจดทะเบียนเนื่องจากเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าคำว่า MITSURA ของจำเลยที่ได้จดทะเบียนไว้สำหรับสินค้าจำพวกที่ 12 รายการสินค้าสัญญาณกันขโมยสำหรับยานพาหนะตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 13 เมื่อข้อเท็จจริงปรากฏว่าโจทก์ได้ใช้เครื่องหมายการค้าคำว่า MITSUBA กับสินค้าของโจทก์มาก่อนที่จำเลยจะใช้เครื่องหมาย การค้าคำว่า MITSURA กับสินค้าของจำเลย โจทก์จึงมีสิทธิดีกว่าจำเลย แม้เครื่องหมายการค้าทั้งสองคำจะใช้กับสินค้าต่างจำพวกกัน แต่มีลักษณะอย่างเดียวกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้ โจทก์จึงชอบที่จะฟ้องต่อศาลให้สั่งเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า MITSURA ของจำเลยได้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 67 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8655/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปฏิเสธการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าเนื่องจากความเหมือน/คล้ายคลึงกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว และการฟ้องเพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้า
++ เรื่อง เครื่องหมายการค้า ++
++ (ประชุมใหญ่)
++ มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. โอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า พ.ศ. 2534 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.25374 อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวทั้งหมด ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องกรมจำเลยซึ่งมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาตามคำสั่งแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แล้ว ประกอบกับอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผู้แทนกรมจำเลยเป็นประธานกรรมการคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าด้วยตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 95 ย่อมถือได้ว่า การฟ้องกรมจำเลยก็เท่ากับเป็นการฟ้องอธิบดีซึ่งเป็นกรรมการผู้หนึ่งในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว ไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคน
การที่นายทะเบียนพิจารณาออกคำสั่งว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว หาได้ตัดรูปแผนที่ออกเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายแล้วจึงพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวไม่ การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งหมด ส่วนการที่นายทะเบียนสั่งให้โจทก์ยื่นคำร้องขอสละสิทธิในรูปแผนที่มีผลเพียงให้โจทก์ไม่อาจขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้รูปแผนที่นั้นเท่านั้น หาได้เป็นการให้โจทก์ต้องตัดรูปแผนที่ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ออกไม่ ซึ่งนายทะเบียนยังระบุแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิของโจทก์ไว้ชัดเจนว่า หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง อันเป็นสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ต่อมาบริษัท ส. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนอีกสองเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ภาพรวมถึงเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. เหมือนหรือคล้ายกับภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ที่จะโต้แย้งและพิสูจน์กันว่าผู้ใดมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่ากัน หาใช่เรื่องที่แสดงว่านายทะเบียนมีคำสั่งไปโดยไม่ชอบหรือมีเจตนาไม่สุจริตไม่ โจทก์ไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวได้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 96 (1) ประกอบมาตรา 16 และ 18 เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเสียงเรียกขานเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว โดยมิได้พิจารณาว่ารูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ ยังถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เพราะเหตุผลในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่มีได้หลายประการ และเหตุผลที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยดังกล่าวก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบและพยานหลักฐานของโจทก์ว่าความเห็นของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกิดจากการใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาโดยไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือมีเจตนาจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสามคำขอของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หากโจทก์เห็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวดีกว่าบริษัท ส. โจทก์ก็ต้องฟ้องบริษัทดังกล่าวขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ เพราะผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือบริษัท ส. หาใช่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ได้ ++
++ (ประชุมใหญ่)
++ มาตรา 3 แห่ง พ.ร.บ. โอนอำนาจหน้าที่และกิจการบริหารบางส่วนของกรมทะเบียนการค้า พ.ศ. 2534 บัญญัติให้โอนบรรดาอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับราชการกรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์เฉพาะในส่วนที่เกี่ยวกับการปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและกฎหมายว่าด้วยสิทธิบัตรไปเป็นของกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ การดำเนินการเกี่ยวกับการจดทะเบียนและการเปลี่ยนแปลงรายการทะเบียนเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ.25374 อยู่ในกรอบอำนาจหน้าที่และการควบคุมของกรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยเพื่อให้เป็นไปตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวทั้งหมด ดังนั้น การที่โจทก์ฟ้องกรมจำเลยซึ่งมีอำนาจหน้าที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการรับจดทะเบียนหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าซึ่งเป็นข้าราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญาตามคำสั่งแต่งตั้งของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์แล้ว ประกอบกับอธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญาซึ่งเป็นผู้แทนกรมจำเลยเป็นประธานกรรมการคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าด้วยตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 95 ย่อมถือได้ว่า การฟ้องกรมจำเลยก็เท่ากับเป็นการฟ้องอธิบดีซึ่งเป็นกรรมการผู้หนึ่งในคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า จึงถือได้ว่าเป็นการฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าแล้ว ไม่จำต้องฟ้องกรรมการทุกคน
การที่นายทะเบียนพิจารณาออกคำสั่งว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว หาได้ตัดรูปแผนที่ออกเพราะเห็นว่าเป็นสิ่งที่ใช้กันสามัญในการค้าขายแล้วจึงพิจารณาเปรียบเทียบเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับเครื่องหมายการค้าจดทะเบียนของบริษัทดังกล่าวไม่ การปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงเป็นการปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ทั้งหมด ส่วนการที่นายทะเบียนสั่งให้โจทก์ยื่นคำร้องขอสละสิทธิในรูปแผนที่มีผลเพียงให้โจทก์ไม่อาจขอถือสิทธิแต่ผู้เดียวที่จะใช้รูปแผนที่นั้นเท่านั้น หาได้เป็นการให้โจทก์ต้องตัดรูปแผนที่ในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ออกไม่ ซึ่งนายทะเบียนยังระบุแจ้งให้โจทก์ทราบถึงสิทธิของโจทก์ไว้ชัดเจนว่า หากโจทก์ไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าว โจทก์มีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันได้รับคำสั่ง อันเป็นสิทธิที่โจทก์มีอยู่ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง ดังนั้น การที่โจทก์อุทธรณ์ว่า ต่อมาบริษัท ส. ได้ยื่นคำขอจดทะเบียนอีกสองเครื่องหมายการค้าเพื่อให้ภาพรวมถึงเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. เหมือนหรือคล้ายกับภาพรวมเครื่องหมายการค้าของโจทก์นั้น ก็เป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับบริษัท ส. ที่จะโต้แย้งและพิสูจน์กันว่าผู้ใดมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าดังกล่าวดีกว่ากัน หาใช่เรื่องที่แสดงว่านายทะเบียนมีคำสั่งไปโดยไม่ชอบหรือมีเจตนาไม่สุจริตไม่ โจทก์ไม่อาจขอให้เพิกถอนคำสั่งของนายทะเบียนดังกล่าวได้
การวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าเป็นการพิจารณาและวินิจฉัยอุทธรณ์ของโจทก์ตามอำนาจหน้าที่ที่มีอยู่ตาม พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 96 (1) ประกอบมาตรา 16 และ 18 เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าวินิจฉัยยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ โดยเห็นว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์มีเสียงเรียกขานเหมือนกับเครื่องหมายการค้าที่จดทะเบียนแล้ว โดยมิได้พิจารณาว่ารูปลักษณะของเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่ ยังถือไม่ได้ว่าคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้ใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย เพราะเหตุผลในการพิจารณาว่าเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันหรือไม่มีได้หลายประการ และเหตุผลที่คณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยดังกล่าวก็เป็นเหตุผลหนึ่งในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว เมื่อไม่ปรากฏจากทางนำสืบและพยานหลักฐานของโจทก์ว่าความเห็นของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าในคำวินิจฉัยอุทธรณ์เกิดจากการใช้ดุลพินิจโดยมีเจตนาโดยไม่สุจริตหรือโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมาย หรือมีเจตนาจงใจให้โจทก์ได้รับความเสียหาย คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว โจทก์ไม่อาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าดังกล่าวได้
เครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนทั้งสามคำขอของโจทก์ยังไม่ได้รับการจดทะเบียน โจทก์จึงอยู่ในฐานะเจ้าของเครื่องหมายการค้าที่ยังไม่ได้จดทะเบียน หากโจทก์เห็นว่าโจทก์มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์ดังกล่าวดีกว่าบริษัท ส. โจทก์ก็ต้องฟ้องบริษัทดังกล่าวขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้านั้นตามมาตรา 67 แห่ง พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้าฯ เพราะผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์คือบริษัท ส. หาใช่กรมทรัพย์สินทางปัญญาจำเลยไม่ โจทก์จึงไม่อาจฟ้องจำเลยเพื่อขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของบริษัท ส. ได้ ++
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8585/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาความเหมือนหรือความคล้ายของเครื่องหมายการค้า ต้องพิจารณาจากความรู้สึกของสาธารณชนทั่วไป ว่าจะสับสนหรือไม่
ความเหมือนหรือคล้ายกันของเครื่องหมายการค้าต้องถือเอาความรู้สึกของสาธารณชนที่ซื้อสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้านั้น ๆ เป็นหลักว่ารู้สึกสับสนหรือก่อให้เกิดความหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าหรือไม่
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะเป็นคำประกอบด้วยตัวอักษรโรมันมีขนาดเดียวกันจำนวน 9 ตัว อ่านออกเสียงว่า "เพรสซิเด็นท์" ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 17 ตัว แม้จะมีคำว่า "PRESIDENT" อยู่ด้วยแต่ก็มีคำว่า "UNI" นำหน้า เป็น "UNI PRESIDENT" ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากของโจทก์ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าอักษรตัว P ประดิษฐ์และอักษรคำว่า "UNIF" หลายเท่า สำหรับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนอีกอันหนึ่ง มีอักษรโรมันตัวเดียวเป็นรูปตัว P ประดิษฐ์ นอกนั้นเป็นอักษรไทยว่า "ยูนิ - เพรสซิเดนท์" ซึ่งตัวเล็กมากแต่เน้นคำว่า "ยูนิฟ" ให้มีขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาถึงรูปลักษณะโดยรวมตลอดจนสำเนียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก จนไม่อาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดไปได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดทั้งสองเครื่องหมาย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีลักษณะเป็นคำประกอบด้วยตัวอักษรโรมันมีขนาดเดียวกันจำนวน 9 ตัว อ่านออกเสียงว่า "เพรสซิเด็นท์" ส่วนเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนประกอบด้วยตัวอักษรโรมัน 17 ตัว แม้จะมีคำว่า "PRESIDENT" อยู่ด้วยแต่ก็มีคำว่า "UNI" นำหน้า เป็น "UNI PRESIDENT" ซึ่งมีส่วนที่แตกต่างจากของโจทก์ ทั้งยังมีขนาดเล็กกว่าอักษรตัว P ประดิษฐ์และอักษรคำว่า "UNIF" หลายเท่า สำหรับเครื่องหมายการค้าที่จำเลยขอจดทะเบียนอีกอันหนึ่ง มีอักษรโรมันตัวเดียวเป็นรูปตัว P ประดิษฐ์ นอกนั้นเป็นอักษรไทยว่า "ยูนิ - เพรสซิเดนท์" ซึ่งตัวเล็กมากแต่เน้นคำว่า "ยูนิฟ" ให้มีขนาดใหญ่ เมื่อพิจารณาถึงรูปลักษณะโดยรวมตลอดจนสำเนียงเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งของโจทก์และของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแล้วจะเห็นได้ว่าเครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดแตกต่างกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาก จนไม่อาจทำให้สาธารณชนเข้าใจผิดไปได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยหรือผู้ร้องสอดทั้งสองเครื่องหมาย จึงไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8081/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจฟ้องคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการพิจารณาความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน
พระราชกฤษฎีกาแบ่งส่วนราชการกรมทรัพย์สินทางปัญญากระทรวงพาณิชย์ พ.ศ. 2535 มาตรา 3 ให้กรมทรัพย์สินทางปัญญา(จำเลยที่ 1) มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ (1) ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้า มาตรา 4 กำหนดให้กองตรวจสอบ 2ซึ่งมีหน้าที่ดำเนินการเกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 5(3)(ก) เป็นส่วนราชการของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 จึงมีอำนาจหน้าที่ปฏิบัติงานตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องหมายการค้าและควบคุมดูแลการดำเนินการของกองตรวจสอบ 2เกี่ยวกับการตรวจสอบเพื่อการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ส่วนจำเลยที่ 10เป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้ามีอำนาจหน้าที่รับหรือไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าพ.ศ. 2534 เมื่อจำเลยที่ 10 มีคำวินิจฉัยให้ดำเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ยื่นคัดค้านไว้และคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีมติยืนตามคำวินิจฉัยของจำเลยที่ 10 โดยให้ยกอุทธรณ์ของโจทก์ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ารวมทั้งจำเลยที่ 1 และที่ 10เป็นจำเลยต่อศาลได้
เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดภาษาไทย คำว่า คอฟ-ทีกับเครื่องหมายการค้าคำว่าค๊อฟ-ซี่ ของโจทก์คู่หนึ่ง และเครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดอักษรโรมัน คำว่า KOF-T กับเครื่องหมายการค้าคำว่า COFCY ของโจทก์อีกคู่หนึ่งนั้นต่างมีสำเนียงเสียงอ่านที่ใกล้เคียงกันมาก และมี 2 พยางค์เหมือนกัน การออกเสียงเรียกขานชื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำดังกล่าวอาจทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดได้เนื่องจากคนไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และผู้ซื้อสินค้าอาจจะไม่ได้ดูชื่อที่เขียนอยู่บนห่อสินค้านั้นเพราะเป็นสินค้าที่มีราคาไม่มากตัวอักษรที่นำมาประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งอักษรไทยและอักษรโรมันต่างก็มีจำนวนตัวอักษรที่เกือบจะเท่ากันแม้ตัวอักษรบางตัวและลีลาการเขียนตัวอักษรจะแตกต่างกันบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัด เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่างใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันความสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้โดยง่ายโดยเฉพาะในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกตหรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ค๊อฟ-ซี่ และ COFCY รวมทั้งผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแก่คนทั่วไปมาหลายปีแล้ว บริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า คอฟ-ที และ KOF-Tใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์อีกไม่ได้เพราะเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดภาษาไทย คำว่า คอฟ-ทีกับเครื่องหมายการค้าคำว่าค๊อฟ-ซี่ ของโจทก์คู่หนึ่ง และเครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัดอักษรโรมัน คำว่า KOF-T กับเครื่องหมายการค้าคำว่า COFCY ของโจทก์อีกคู่หนึ่งนั้นต่างมีสำเนียงเสียงอ่านที่ใกล้เคียงกันมาก และมี 2 พยางค์เหมือนกัน การออกเสียงเรียกขานชื่อเครื่องหมายการค้าทั้งสองคำดังกล่าวอาจทำให้คนทั่วไปเข้าใจผิดได้เนื่องจากคนไทยไม่ได้ใช้ภาษาอังกฤษเป็นภาษาราชการ และผู้ซื้อสินค้าอาจจะไม่ได้ดูชื่อที่เขียนอยู่บนห่อสินค้านั้นเพราะเป็นสินค้าที่มีราคาไม่มากตัวอักษรที่นำมาประกอบเป็นเครื่องหมายการค้าทั้งอักษรไทยและอักษรโรมันต่างก็มีจำนวนตัวอักษรที่เกือบจะเท่ากันแม้ตัวอักษรบางตัวและลีลาการเขียนตัวอักษรจะแตกต่างกันบ้าง แต่ก็ไม่ใช่ข้อแตกต่างที่เห็นเด่นชัด เครื่องหมายการค้าของบริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด และเครื่องหมายการค้าของโจทก์ต่างใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันและมีรายการสินค้าเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันความสับสนหลงผิดย่อมเกิดขึ้นได้โดยง่ายโดยเฉพาะในหมู่ผู้ซื้อที่ไม่ทันสังเกตหรือเป็นผู้ที่ไม่รู้ภาษาอังกฤษหรือรู้เพียงเล็กน้อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ เมื่อโจทก์ได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าคำว่า ค๊อฟ-ซี่ และ COFCY รวมทั้งผลิตสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าดังกล่าวออกจำหน่ายแก่คนทั่วไปมาหลายปีแล้ว บริษัทสันติภาพ(ฮั่วเพ้ง1958) จำกัด จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า คอฟ-ที และ KOF-Tใช้กับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของโจทก์อีกไม่ได้เพราะเครื่องหมายการค้าทั้งสองเหมือนหรือคล้ายกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดในความเป็นเจ้าของหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้าและการสับสนในแหล่งกำเนิดสินค้า แม้มีอักษรที่แตกต่างกันเล็กน้อย
การที่เครื่องหมายการค้าตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านต่างใช้ตัวอักษร 2 ตัวแรก จากตัวอักษรทั้งหมด 3 ตัว เป็นตัวอักษรเดียวกัน ทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และของจำเลยดูคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้คำเรียกขานเครื่องหมายการค้าตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์ซึ่งออกเสียงว่า "เอสเคพี" ก็ใกล้เคียงกับคำเรียกขานเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ออกเสียงว่า "เอสเคเอฟ" จนอาจทำให้เกิดความสับสนในการเรียกขานสินค้าตามเครื่องหมายการค้าทั้งสอง แม้การออกเสียงเรียกขานตัวอักษรตัวสุดท้ายจะแตกต่างกันไปบ้าง ก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญที่ทำให้คำเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งสองแตกต่างกันชัดเจน และเมื่อพิจารณาประกอบกับข้อที่ว่าเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านซึ่งได้จดทะเบียนไว้ตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2474 สำหรับสินค้าในจำพวกที่ 13 ทั้งจำพวก และได้มีการต่ออายุเรื่อยมาจนกระทั่งถึงวันที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า จึงยังคงถือได้ว่าเป็นเครื่องหมายการค้าตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 มาตรา 117 เมื่อโจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าสำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับของผู้คัดค้าน จึงถือได้ว่า เครื่องหมายการค้าตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์มีลักษณะคล้ายกันกับเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว จนอาจทำให้สาธารณชนสับสนหรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของสินค้าหรือแหล่งกำเนิดของสินค้าได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 800/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความคล้ายคลึงของเครื่องหมายการค้า และความสับสนในความเป็นเจ้าของสินค้า
เครื่องหมายการค้า "S.K.P." ตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์และเครื่องหมายการค้า "SKF" ของผู้คัดค้าน แม้จะมีอักษรตัวสุดท้ายคือ อักษร P กับอักษร F ต่างกันและเครื่องหมายการค้าของโจทก์จะมีเครื่องหมายมหัพ ภาพคั่นกลางตัวอักษรแต่ละตัว อีกทั้งลักษณะการเขียนตัวอักษรของ เครื่องหมายการค้าทั้งสองดังกล่าวจะแตกต่างกันไปบ้างแต่เมื่อพิจารณาโดยรวมแล้ว การที่เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านต่างใช้ตัวอักษร 2 ตัวแรกจากตัวอักษรทั้งหมด 3 ตัว เป็นอักษรตัวเดียวกันทำให้เครื่องหมายการค้าของโจทก์และเครื่องหมายการค้า ของจำเลยดูคล้ายคลึงกัน นอกจากนี้คำเรียกขานเครื่องหมายการค้าของโจทก์ซึ่งออกเสียงว่า "เอสเคพี" ก็ใกล้เคียงกับคำเรียกขาน เครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ออกเสียงว่า "เอสเคเอฟ" จนอาจทำให้เกิดความสับสนในการเรียกขานสินค้าได้ แม้การออกเสียงเรียกขานตัวอักษรตัวสุดท้ายในเครื่องหมายการค้าแต่ละตัวจะออกเสียงแตกต่างกันไปบ้างก็ไม่ใช่ส่วนสำคัญที่ทำให้คำเรียกขานของเครื่องหมายการค้าทั้งสองแตกต่างกันชัดเจน เมื่อพิจารณาประกอบกับข้อที่ว่าเครื่องหมายการค้าที่โจทก์ขอจดทะเบียนจะใช้สำหรับสินค้าจำพวกเดียวกันกับสินค้าที่ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ไว้แล้วทั้งจำพวก จึงถือได้ว่า เครื่องหมายการค้า ตามคำร้องขอจดทะเบียนของโจทก์มีลักษณะคล้ายกันกับ เครื่องหมายการค้าของผู้คัดค้านที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว ในสินค้าจำพวกเดียวกันจนอาจทำให้สาธารณชนสับสน หรือหลงผิดในความเป็นเจ้าของของสินค้าหรือแหล่งกำเนิด ของสินค้าได้ คำวินิจฉัยของจำเลยทั้งสิบที่ให้ระงับการ จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าตามคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์จึงชอบแล้ว