คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความคุ้มครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5639/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า: ความคุ้มครอง, การลอกเลียนแบบ, และอำนาจในการดำเนินคดี
จำเลยที่ 1 ขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า SEIKOในประเทศไทย ตั้งแต่ปี 2503 สำหรับสินค้าจำพวก 10 สินค้าเครื่องบอกเวลาและได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเมื่อปี 2505 ได้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แพร่หลายในประเทศไทยมาก่อนที่โจทก์ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2534 โดยในปี 2508 บริษัทม. ซึ่งเป็นตัวแทนจำหน่ายสินค้านาฬิกาของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้า คำว่า SEIKO รวม 2 คำขอ โดยคำขอแรกใช้กับสินค้าจำพวก50 สินค้าเบ็ดเตล็ด ได้แก่ ยาขัดทาเครื่องแต่งเรือน ส่วนคำขอที่สองใช้กับสินค้าจำพวก 37 ได้แก่ หนังของสัตว์ และต่อมาได้มีการโอนเครื่องหมายการค้าทั้งสองเครื่องหมายการค้าให้แก่จำเลยที่ 1 แล้ว เมื่อจำเลยที่ 1 เป็นผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า SEIKO และได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยก่อนที่โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์เป็นเวลานานหลายปี ประกอบกับได้มีการโฆษณาสินค้าเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่แพร่หลายทั่วไป และโจทก์ได้เลียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 แม้โจทก์จะยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทในสินค้าต่างจำพวกกับสินค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งใช้เครื่องหมายการค้านั้นอยู่ก่อนแล้วก็ตาม ก็อาจทำให้ผู้ซื้อสินค้าเกิดความสับสนหรือหลงผิดว่าเครื่องหมายการค้าของโจทก์คือเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ซึ่งนับว่าเป็นการลวงสาธารณชนตามมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 โจทก์จึงไม่มีสิทธิจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า จำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 ดีกว่าโจทก์
การที่จำเลยที่ 2 นายทะเบียนเครื่องหมายการค้าไม่ยอมรับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ เพราะเห็นว่าคล้ายกับเครื่องหมายการค้าซึ่งผู้อื่นได้จดทะเบียนไว้ เป็นการปฏิบัติตามอำนาจของนายทะเบียนตาม พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 16 และตามมาตรา 16 วรรคสองบัญญัติว่า ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งเหตุที่ไม่รับจดทะเบียนผู้ขอจดทะเบียนมีสิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามมาตรา 19ทวิ โดยยื่นต่อนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า ดังนั้น ถ้าโจทก์ไม่พอใจคำสั่งของนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าก็ชอบที่จะใช้สิทธิอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ได้แต่เพียงวิธีเดียว โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 2 ให้รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารายพิพาทได้
โจทก์ให้การแก้ฟ้องแย้งจำเลยที่ 1 ไว้แล้วว่า จำเลยที่ 1ไม่มีอำนาจยื่นคำให้การและฟ้องแย้ง หนังสือมอบอำนาจของจำเลยที่ 1 ที่มอบให้ ว.เป็นตัวแทนของจำเลยที่ 1 ไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะผู้มีอำนาจของจำเลยที่ 1มิได้ลงนาม การรับรองลายมือชื่อกรรมการฝ่ายบริหารอาวุโสของจำเลยที่ 1ไม่ถูกต้อง จำเลยที่ 1 จึงมีหน้าที่นำสืบให้ฟังได้ว่า จำเลยที่ 1 ได้มอบอำนาจให้ ร.เป็นผู้ดำเนินคดีนี้แทน แต่จำเลยที่ 1 ไม่ได้สืบพยานเพราะขาดนัดพิจารณาและเมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ตามฟ้องของโจทก์ว่า ร.เป็นเพียงตัวแทนของจำเลยที่ 1มีอำนาจเกี่ยวกับการขอจดทะเบียนการค้าของจำเลยที่ 1 เท่านั้น ดังนั้น ร.ย่อมไม่มีสิทธิยื่นคำให้การต่อสู้คดีและฟ้องแย้งแทนจำเลยที่ 1 ในคดีนี้ แต่แม้จะถือว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำให้การต่อสู้คดีเพราะคำให้การที่ ร.ยื่นไว้แทนจำเลยที่ 1 ไม่มีผลใช้บังคับได้ก็ตาม แต่ข้อวินิจฉัยในปัญหาเกี่ยวกับที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ดังที่กล่าวมาข้างต้นก็ไม่มีผลเปลี่ยนแปลงเป็นอย่างอื่น คงมีผลเฉพาะปัญหาที่ ร.ฟ้องแย้งโจทก์แทนจำเลยที่ 1 จึงต้องยกฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5350/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดต้องเป็นไปโดยชอบ หากไม่ชอบ ศาลมีอำนาจเพิกถอนได้ แม้ผู้ซื้อจะสุจริตก็ไม่ได้รับความคุ้มครอง
การซื้อทรัพย์จากการขายทอดตลาดตามคำสั่งศาลจะได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายก็ต่อเมื่อการขายทอดตลาดอันเป็นทางได้มานั้นเป็นไปโดยชอบด้วยกฎหมาย
การขายทอดตลาดในคดีนี้เป็นไปโดยมิชอบ เพราะมิได้มีการส่งคำสั่งศาลและวันขายทอดตลาดให้โจทก์ทราบโดยชอบ เป็นการฝ่าฝืนบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ.มาตรา 306 ซึ่งศาลมีอำนาจสั่งให้เพิกถอนได้ตามมาตรา296 วรรคสาม และต่อมาศาลก็ได้มีคำสั่งให้เพิกถอนการขายทอดตลาดดังกล่าวแล้ว ผลของคำสั่งเท่ากับว่าไม่มีการขายทอดตลาดมาแต่แรก ดังนั้น แม้จำเลยที่ 1จะเป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทได้และได้โอนขายต่อไปให้แก่จำเลยที่ 2 จนถึงจำเลยที่ 3และที่ 4 ไม่ว่าจำเลยทั้งสี่จะซื้อมาโดยสุจริตหรือไม่ก็ตาม จำเลยทั้งสี่ก็ไม่ได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายและไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนชื่อจำเลยทั้งสี่ออกจากโฉนดที่ดินได้
จำเลยที่ 1 เป็นผู้ซื้อที่ดินพิพาทจากการขายทอดตลาดของศาลคำสั่งของศาลที่ให้เพิกถอนการขายทอดตลาดจึงมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ย่อมไม่ได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาท เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทจำเลยที่ 1 ก็ไม่มีอำนาจนำที่ดินพิพาทไปขายให้แก่จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 2ก็ไม่มีอำนาจขายให้แก่จำเลยที่ 3 และที่ 4 กรณีมิใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งมีผลผูกพันหรือไม่ผูกพันบุคคลภายนอก

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4359/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความคุ้มครองค่ารักษาพยาบาลในต่างประเทศภายใต้ พ.ร.บ.ประกันสังคม: การตีความ 'สถานพยาบาล' และขอบเขตความคุ้มครอง
พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 มาตรา 56, 85 และมาตรา 87 บัญญัติให้ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดที่เห็นว่าตนมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนประสงค์จะขอรับประโยชน์ดังกล่าวต้องปฏิบัติให้ถูกต้องตามขั้นตอนที่กฎหมายกำหนดไว้เสียก่อนจึงจะมีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงาน ขั้นตอนดังกล่าวคือผู้ประกันตนหรือบุคคลนั้นต้องยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนต่อสำนักงานที่เลขาธิการกำหนดภายใน1 ปี นับแต่วันที่มีสิทธิขอรับประโยชน์ทดแทน กฎหมายบังคับให้เลขาธิการหรือผู้ซึ่งเลขาธิการมอบหมายพิจารณาสั่งการโดยเร็ว เมื่อทำคำสั่งแล้วผู้ยื่นคำขอไม่พอใจคำสั่งดังกล่าวย่อมมีสิทธิอุทธรณ์เป็นหนังสือต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำสั่ง เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยแล้ว หากผู้อุทธรณ์ไม่พอใจจึงให้มีสิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัย มิฉะนั้นให้คำวินิจฉัยดังกล่าวเป็นที่สุด การที่ พ.ร.บ.ประกันสังคมพ.ศ.2533 บังคับให้ผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดต้องปฏิบัติตามขั้นตอนของกฎหมายในการขอรับประโยชน์ทดแทนก็เพื่อให้เจ้าหน้าที่ของรัฐตรวจสอบพยานหลักฐานที่ผู้ยื่นคำขอนำไปแสดงว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนตามคำขอหรือไม่ดังนั้นผู้ประกันตนหรือบุคคลอื่นใดยื่นคำขอก็ต้องระบุรายละเอียดต่าง ๆ ในคำขอให้ชัดแจ้งว่ามีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนอย่างไร จำนวนเงินเท่าไร ทั้งมีสิทธินำบุคคล เอกสาร และวัตถุอ้างเป็นพยานหลักฐานได้ เมื่อสอบพยานหลักฐานของผู้ยื่นคำขอแล้วเจ้าหน้าที่ต้องพิจารณาสั่งคำขอนั้นโดยทำเป็นคำสั่งชี้ขาดว่าผู้ยื่นคำขอมีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนอะไรบ้างหรือไม่ จำนวนเท่าไร คำสั่งดังกล่าวจึงต้องชี้ชัดและต้องอ้างเหตุผลประกอบไว้ด้วย เพื่อผู้ยื่นคำขอจะได้ทราบและหากไม่พอใจจะได้ใช้สิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งนั้นต่อคณะกรรมการอุทธรณ์ต่อไป การอุทธรณ์นั้นผู้อุทธรณ์คงคัดค้านคำสั่งเฉพาะข้อความหรือส่วนที่ไม่เห็นด้วยเท่านั้นข้อความตอนใดหรือส่วนใดที่คำสั่งระบุไว้เป็นประโยชน์ต่อผู้ยื่นคำขอแล้วผู้ยื่นคำขอย่อมพอใจและคงไม่อุทธรณ์คัดค้านเป็นแน่ ในทำนองเดียวกันคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยก็ต้องอ้างเหตุผลประกอบให้ชัดแจ้งว่าผู้อุทธรณ์มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนหรือไม่ อย่างไร เพราะผู้อุทธรณ์อาจไม่เห็นด้วยและไม่พอใจคำวินิจฉัยจักได้ใช้สิทธินำคดีไปสู่ศาลแรงงานขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยดังกล่าวทั้งหมดหรือเพียงบางส่วนเฉพาะที่ผู้อุทธรณ์ไม่พอใจต่อไป ดังนั้น เมื่อคณะกรรมการอุทธรณ์ทำคำวินิจฉัยโดยระบุเหตุที่ผู้อุทธรณ์ไม่มีสิทธิได้รับประโยชน์ทดแทนไว้ชัดแจ้งแสดงว่าคณะกรรมการอุทธรณ์ประสงค์จะถือเอาเฉพาะเหตุนั้นเป็นข้ออ้างในการตัดสิทธิของผู้อุทธรณ์เท่านั้นหาได้ถือเอาเหตุอื่นมาเป็นข้ออ้างด้วยไม่
กองประโยชน์ทดแทนที่ 1 ของจำเลยยกคำขอของโจทก์โดยอ้างเหตุว่าการให้บริการทางการแพทย์ตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533ครอบคลุมเฉพาะการที่ผู้ประกันตนเข้ารับบริการสถานพยาบาลในราชอาณาจักรเท่านั้นโรงพยาบาล ซ.เป็นสถานพยาบาลที่มิได้อยู่ในราชอาณาจักร ส่วนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ยกอุทธรณ์ของโจทก์โดยอ้างเหตุว่าโรงพยาบาลดังกล่าวมิได้เป็นสถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 อีกทั้งไม่ได้เป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายในโครงการประกันสังคม ดังนี้ คำสั่งและคำวินิจฉัยถือเอาเฉพาะเหตุว่าโรงพยาบาลดังกล่าวมิได้เป็นสถานพยาบาลในราชอาณาจักรมิได้เป็นสถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 และมิได้เป็นสถานพยาบาลในเครือข่ายในโครงการประกันสังคมเท่านั้น มิได้อ้างเหตุว่าอาการเจ็บป่วยของโจทก์มิใช่กรณีเจ็บป่วยจนถึงขนาดจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินแต่อย่างใด เมื่อจำเลยถูกโจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งและคำวินิจฉัยดังกล่าว จำเลยจะยกเหตุอื่นนอกเหนือจากที่อ้างในคำสั่งและคำวินิจฉัยขึ้นเป็นข้อต่อสู้ในชั้นศาลหาได้ไม่ แม้จำเลยให้การต่อสู้เรื่องอาการเจ็บป่วยของโจทก์ไว้ในคำให้การศาลก็ไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลแรงงานมีคำสั่งให้งดสืบพยานโจทก์และจำเลยจึงชอบด้วยกฎหมายแล้ว
สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504มาตรา 4 มิได้จำกัดเฉพาะว่าต้องเป็นสถานพยาบาลซึ่งจัดไว้เพื่อการประกอบโรคศิลปะตามกฎหมายว่าด้วยการควบคุมการประกอบโรคศิลปะของประเทศไทยหรือต้องเป็นสถานพยาบาลที่มีอยู่ในราชอาณาจักรเท่านั้น เมื่อโรงพยาบาล ซ.เป็นโรงพยาบาลประกอบโรคศิลปะที่ชอบด้วยกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกาดังนั้นโรงพยาบาลดังกล่าวจึงเป็นสถานพยาบาลตามความหมายของ พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 ด้วย
สถานพยาบาลตามประกาศสำนักงานประกันสังคม เรื่องกำหนดจำนวนเงินทดแทนค่าบริการทางการแพทย์ หมายถึง สถานพยาบาลตามกฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาล จากคำจำกัดความตามประกาศดังกล่าวเห็นได้ว่าสถานพยาบาล ได้แก่สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 นั่นเองเมื่อจำเลยมิได้กำหนดไว้ให้ชัดแจ้งว่าสถานพยาบาลต้องเป็นสถานพยาบาลเฉพาะในราชอาณาจักรเท่านั้น และปรากฏว่าขณะโจทก์อยู่ที่ประเทศสหรัฐอเมริกาโจทก์เจ็บป่วยและจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินจึงถูกนำส่งโรงพยาบาล ซ.ซึ่งเป็นสถานพยาบาลที่อยู่ใกล้ โจทก์ย่อมได้รับความคุ้มครองตามพ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 ด้วย
โจทก์ฟ้องบังคับให้จำเลยจ่ายเงินค่าบริการทางการแพทย์เป็นค่ายาและค่าตรวจรักษาจำนวน 20,947 บาท เนื่องจากโจทก์ป่วยต้องเข้ารับการรักษาอย่างฉุกเฉิน การที่จำเลยให้การว่าโจทก์ไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.ประกันสังคม พ.ศ.2533 เนื่องจากโรงพยาบาลที่โจทก์เข้ารับการรักษามิใช่สถานพยาบาลตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาล พ.ศ.2504 และอาการป่วยของโจทก์มิใช่กรณีจำเป็นต้องได้รับบริการทางการแพทย์อย่างฉุกเฉินนั้น คำให้การดังกล่าวจำเลยนำเรื่องสถานพยาบาลและอาการป่วยเจ็บของโจทก์เป็นข้อต่อสู้เท่านั้นจำเลยมิได้ให้การเกี่ยวกับค่ายาและค่าตรวจรักษาจำนวน 20,947 บาท แต่อย่างใดแม้จำเลยต่อสู้มาในคำให้การว่าคำสั่งกองประโยชน์ทดแทนที่ 1 และคำวินิจฉัยของคณะกรรมการอุทธรณ์ชอบแล้ว ขอให้ยกฟ้อง ก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยได้โต้แย้งเกี่ยวกับจำนวนเงินดังกล่าวแต่อย่างใด

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินปลูกกล้วยไม้ไม่เข้าข่ายพืชไร่หรือทำนา จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม
จำเลยเช่าที่ดินปลูกต้นกล้วยไม้พันธุ์หวาย ต้นกล้วยไม้ดังกล่าวไม่ใช่พืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้นหรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน12 เดือน จึงมิใช่พืชไร่ และมิใช่การทำนาตามความหมายของมาตรา 21 พ.ร.บ.การเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม พ.ศ.2524 จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5764/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเช่าที่ดินเพื่อปลูกกล้วยไม้ไม่เข้าข่าย 'พืชไร่' ตามพรบ.เช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรม จึงไม่ได้รับความคุ้มครอง
จำเลยเช่าที่ดินปลูกต้นกล้วยไม้พันธุ์หวายต้นกล้วยไม้ดังกล่าวไม่ใช่พืชซึ่งต้องการน้ำน้อยและอายุสั้นหรือสามารถเก็บเกี่ยวครั้งแรกได้ภายใน12เดือนจึงไม่ใช่พืชไร่และมิใช่การทำนาตามความหมายของมาตรา21พระราชบัญญัติการเช่าที่ดินเพื่อเกษตรกรรมพ.ศ.2524จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติ ดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5586/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ลูกจ้างทดลองงานได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ สิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์
แม้จำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นลูกจ้างทดลองงานก็มีฐานะเป็นลูกจ้างที่ได้รับความคุ้มครองตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 จำเลยที่ 1และที่ 2 จึงมีสิทธิยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ กล่าวหาว่านายจ้างกระทำการอันไม่เป็นธรรมตามมาตรา 123 และจำเลยที่ 3 ถึงที่ 14 ในฐานะคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีอำนาจวินิจฉัยคำร้องดังกล่าวของจำเลยที่ 1และที่ 2 ได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4486/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การปรับปรุงแผนที่ทางหลวงไม่ถือเป็นการสร้างสรรค์ใหม่ จึงไม่ได้รับความคุ้มครองลิขสิทธิ์
แผนที่ทางหลวงเป็นเอกสารราชการของกรมทางหลวง โจทก์ได้ขออนุมัติกรมทางหลวงเพื่อจัดพิมพ์ โดยโจทก์ได้นำแผนที่ของกรมทางหลวงมาปรับปรุงเพิ่มเติมให้สวยงามเพื่อความเหมาะสมในการใช้ แต่โจทก์มิได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมอันเป็นสาระสำคัญจากแผนที่เดิมแต่อย่างใด สำหรับสัญลักษณ์ต่าง ๆ รวมทั้งรูปแบบเข็มทิศและเส้นมาตราส่วน ตลอดจนแผนภูมิระยะทางระหว่างจังหวัดในแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยก็เป็นสัญลักษณ์สากลและใช้กันทั่วไปในแผนที่ต่าง ๆ ซึ่งบุคคลทั่วไปก็ย่อมมีสิทธิใช้ได้ งานที่โจทก์ทำจึงเป็นการปรับปรุงเล็กน้อยโดยลอกเลียนมาจากของเดิมที่มีอยู่แล้วและใช้กันทั่วไป โจทก์ไม่ใช่ผู้คิดค้นหรือสร้างสรรค์ขึ้นโดยความคิดริเริ่มของโจทก์เอง จึงไม่มีลิขสิทธิ์ในสัญลักษณ์ แผนภูมิระยะทาง รูปเข็มทิศและมาตราส่วนในแผนที่ทางหลวงในประเทศไทย การที่โจทก์เพียงแต่ได้นำแผนที่ของกรมทางหลวงมาแบ่งส่วนใหม่รวมเป็นรูปเล่มและให้สีเท่านั้น ถือไม่ได้ว่าโจทก์ได้ปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมแผนที่ทางหลวงของกรมทางหลวงในสาระสำคัญถึงขนาดสร้างสรรค์ขึ้นใหม่อันจะพอถือได้ว่าเป็นการดัดแปลง โจทก์จึงไม่ได้ลิขสิทธิ์ในรูปแผนที่ทางหลวงในประเทศไทยตาม พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2521 มาตรา 9ประกอบมาตรา 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 309/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ข้อยกเว้นความรับผิดประกันภัย: การลากจูงรถที่ไม่ได้ประกันภัย ทำให้ไม่อยู่ในขอบเขตความคุ้มครอง
ข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยผู้รับประกันภัยตามกรมธรรม์ประกันภัยที่ระบุว่าการประกันภัยไม่คุ้มครองความรับผิดอันเกิดจากการใช้รถลากจูงหรือผลักดันเว้นแต่รถที่ถูกลากจูงหรือผลักดันได้ประกันภัยไว้กับจำเลยด้วยนั้นเมื่อโจทก์ผู้เอาประกันภัยได้กระทำผิดเงื่อนไขก็ไม่อยู่ในขอบเขตแห่งความคุ้มครองจำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ไม่ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นนั้นจะเป็นผลโดยตรงมาจากการกระทำผิดเงื่อนไขหรือไม่ โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยรับผิดตามกรมธรรม์ประกันภัยโดยไม่ได้กล่าวในฟ้องว่าจำเลยได้สละเงื่อนไขตามข้อยกเว้นความรับผิดจำเลยให้การว่าไม่ต้องรับผิดเพราะโจทก์กระทำผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยจึงมี ประเด็นข้อพิพาทว่าโจทก์กระทำผิดเงื่อนไขตามกรมธรรม์ประกันภัยหรือไม่เท่านั้นไม่มีประเด็นว่าจำเลยได้สละเงื่อนไขแล้วหรือไม่แม้ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยให้ก็มิชอบฎีกาของโจทก์ในข้อนี้จึงเป็นข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2835/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิจำเลยเยาวชน: การสอบถามความประสงค์เรื่องทนายก่อนพิจารณาคดี
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา173วรรคสองเป็นบทบัญญัติที่ให้ความคุ้มครองสิทธิของจำเลยในการต่อสู้คดีอย่างเต็มที่และเป็นข้อกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยเมื่อปรากฎว่าก่อนเริ่มพิจารณาคดีที่จำเลยมีอายุไม่เกินสิบเจ็ดปีในวันที่ถูกฟ้องต่อศาลศาลชั้นต้นมิได้สอบถามจำเลยเรื่องทนายจึงเป็นเรื่องที่ศาลชั้นต้นมิได้ปฎิบัติให้ถูกต้องตามกระบวนพิจารณาและเห็นว่าทำให้จำเลยเสียเปรียบในการดำเนินคดีศาลฎีกาจึงเห็นเป็นการจำเป็นที่จะให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2830/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความคุ้มครองประกันภัยบุคคลภายนอก: การตีความข้อยกเว้นความรับผิดต่อผู้โดยสารและผู้ขับขี่
กรมธรรม์ประกันภัยหมวด 2 การคุ้มครองความรับผิดต่อบุคคลภายนอก ข้อ 2.2 มีข้อความว่า "ความรับผิดต่อผู้โดยสาร บริษัทจะใช้ค่าสินไหม-ทดแทนในนามของผู้เอาประกันภัยซึ่งผู้เอาประกันภัยจะต้องรับผิดชอบตามกฎหมายเพื่อความบาดเจ็บหรือมรณะของบุคคลที่โดยสารอยู่ในรถยนต์หรือกำลังขึ้นหรือกำลังลงจากรถยนต์เนื่องจากอุบัติเหตุอันเกิดจากการใช้รถยนต์ในระหว่างระยะเวลาประกันภัย..." ข้อ 2.8 มีข้อความว่า "การคุ้มครองผู้ขับขี่ บริษัทจะถือว่าบุคคลใดซึ่งขับขี่รถยนต์โดยได้รับความยินยอมจากผู้เอาประกันภัยเสมือนหนึ่งเป็นผู้เอาประกันภัยเอง..." ข้อ 2.11 มีข้อความว่า "การยกเว้นผู้โดยสารการประกันภัยตามข้อ 2.2 ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของ 2.11.1ผู้เอาประกันภัยหรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัย..." ตามข้อความในข้อ 2.2 และ ข้อ 2.8 ข้างต้น เป็นข้อกำหนดความรับผิดโดยทั่วไปของจำเลย ส่วนข้อ 2.11 เป็นข้อยกเว้นความรับผิดของจำเลยจำต้องตีความโดยเคร่งครัด จะแปลความในทำนองเดียวกันกับกรณีความรับผิดของจำเลยตามข้อ 2.2 ประกอบข้อ 2.8 หาได้ไม่ ซึ่งเมื่อพิเคราะห์กรมธรรม์ประกันภัยเอกสารหมาย จ.3 ทั้งฉบับประกอบกับเจตนารมณ์ของคู่สัญญาแล้ว ข้อ 2.11 มีความหมายว่าการประกันภัยตามข้อ 2.2 ไม่คุ้มครองความบาดเจ็บหรือมรณะของผู้เอาประกันภัยโดยแท้จริงคือ ณ.หรือบุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับ ณ.เท่านั้น น.ผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุจึงมิใช่ผู้เอาประกันภัยและ ร.ก็ไม่ใช่บุคคลในครอบครัวซึ่งอยู่ด้วยกันกับผู้เอาประกันภัยตามข้อ 2.11 น.คงเป็นเพียงบุคคลซึ่งขับรถยนต์โดยได้รับความยินยอมจาก ณ.ผู้เอาประกันภัยตามข้อ 2.8 เมื่อ ณ.ยินยอมให้ น.ยืมรถยนต์ของตนไปขับ และ น.ขับโดยประมาทเป็นเหตุให้ ร.ซึ่งโดยสารมาในรถคันดังกล่าวถึงแก่ความตายด้วย จำเลยจึงต้องรับผิดตามข้อ 2.2 ประกอบข้อ 2.8 จำเลยหาได้รับการยกเว้นความรับผิดตามข้อ 2.11 ไม่
of 14