พบผลลัพธ์ทั้งหมด 97 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 817/2532 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บัญชีเดินสะพัดเป็นหลักฐานทางบัญชีได้ แม้ไม่มีลายมือชื่อรับรอง หากคำนวณโดยสุจริตและตรงกับความจริง
จำเลยทำสัญญากู้เบิกเงินเกินบัญชีกับโจทก์ แม้บัญชีเดินสะพัดและบัญชีหนี้ค้างนาน โจทก์เป็นฝ่ายทำขึ้นเองโดย จำเลยมิได้ลงลายมือชื่อรับรองความถูกต้อง แต่ โจทก์เป็นธนาคารมีหน้าที่จะต้องจัดทำบัญชีและหลักฐานต่าง ๆ ขึ้นสำหรับลูกค้าของโจทก์ทุกรายเพื่อแสดงยอด เงินฝากและเงินถอน ระหว่างโจทก์กับลูกค้าแต่ละรายว่าเป็นหนี้ต่อกันหรือไม่เพียงใด เมื่อมีเหตุผลทำให้เชื่อ ว่ายอดหนี้ตาม บัญชีเดินสะพัดและบัญชีหนี้ค้างนาน โจทก์คิดคำนวณโดยสุจริตในการดำเนิน ธุรกิจของตน ถูกต้อง ตรง กับความจริง ศาลก็รับฟังบัญชีดังกล่าวนั้นได้ แม้โจทก์มิได้อ้างเช็ค ที่จำเลยสั่งจ่ายเบิกเงินไปจากบัญชีรวมทั้งใบแจ้งยอดหนี้ประจำเดือน มาเป็นพยานก็ไม่ถึงกับทำให้รับฟังบัญชีดังกล่าวไม่ได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งถอนใบอนุญาตหนังสือพิมพ์: การพาดหัวข่าวที่เป็นความจริง ไม่สร้างความตื่นตระหนก ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ เคยมีหนังสือเตือนไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของบรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ให้ยุติการโฆษณาเสนอข้อความที่มีลักษณะเป็นการเสนอข่าวและวิจารณ์ข้อที่ไม่เป็นความจริงมาครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งหลังนี้ผู้ร้องได้ลงข่าวโฆษณาพาดหัวว่า "ห่วงหลุด เสียเงินหมื่น เลือดไหลไม่หยุด เจ็บปวดทรมาน" แต่ข้อความตามข่าวนั้นเป็นความจริงและมิใช่ข้อความในลักษณะที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตกใจหรือวิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัว การลงข่าวโฆษณาครั้งหลังนี้ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42 ข้อ 2(6) และด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับดังกล่าว ข้อ 4 ซ้ำอีกเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ ไม่มีอำนาจสั่งถอนใบอนุญาตผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องตามข้อ 7 วรรคสอง ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัดอุตรดิตถ์ ที่สั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์ดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสั่งถอนใบอนุญาตหนังสือพิมพ์: เจ้าพนักงานไม่มีอำนาจหากข้อความที่โฆษณาเป็นความจริงและไม่สร้างความตื่นตระหนก
เจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัด อุตรดิตถ์ เคยมีหนังสือเตือนไปยังผู้ร้องซึ่งเป็นเจ้าของ บรรณาธิการ ผู้พิมพ์ ผู้โฆษณาหนังสือพิมพ์ให้ยุติการโฆษณาเสนอข้อความที่มีลักษณะเป็นการเสนอข่าวและวิจารณ์ข้อที่ไม่เป็นความจริงมาครั้งหนึ่งแล้ว ครั้งหลังนี้ผู้ร้องได้ลงข่าวโฆษณาพาด หัวว่า "ห่วงหลุด เสียเงินหมื่น เลือดไหลไม่หยุด เจ็บปวดทรมาน" แต่ข้อความตามข่าวนั้นเป็นความจริงและมิใช่ข้อความในลักษณะที่อาจทำให้ประชาชนเกิดความตื่นตกใจหรือวิตกกังวลหรือเกิดความหวาดกลัว การลงข่าวโฆษณาครั้งหลังนี้ไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน ฉบับที่ 42ข้อ 2(6) และด้วยเหตุนี้จึงไม่เป็นการฝ่าฝืนคำสั่งของคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินฉบับดังกล่าว ข้อ 4 ซ้ำอีกเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัด อุตรดิตถ์ ไม่มีอำนาจสั่งถอนใบอนุญาตผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา บรรณาธิการหรือเจ้าของหนังสือพิมพ์ของผู้ร้องตามข้อ 7 วรรคสอง ได้ คำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์สำหรับจังหวัด อุตรดิตถ์ ที่สั่งดังกล่าวจึงไม่ชอบ ศาลฎีกาจึงมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งของเจ้าพนักงานการพิมพ์ดังกล่าว.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3606/2532 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องรับฟังพยานจำเลยเพื่อให้ได้ความจริงตามกฎหมาย การไม่อนุญาตสืบพยานเพิ่มเติมเป็นอุปสรรคต่อการพิจารณา
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 การพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้ ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง การที่จำเลยยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว แต่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด โดยไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยเพื่อให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบ จึงไม่เพียงพอต่อการพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 ดังกล่าว กรณีมีเหตุสมควรให้ศาลชั้นต้นรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและดำเนินการสืบพยานจำเลยต่อไปก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3606/2532 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องแสวงหาความจริงตามกฎหมาย การไม่อนุญาตให้จำเลยสืบพยานเพิ่มเติมไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 การพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้ ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง การที่จำเลยยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว แต่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ว่าจำเลยมีหนี้ล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด โดยไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยเพื่อให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบ จึงไม่เพียงพอต่อการพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 ดังกล่าว กรณีมีเหตุสมควรให้ศาลชั้นต้นรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและดำเนินการสืบพยานจำเลยต่อไปก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3606/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องแสวงหาความจริงรอบด้าน ก่อนมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 14 การพิจารณาคดีล้มละลายตามคำฟ้องของเจ้าหนี้ ศาลต้องพิจารณาเอาความจริงตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 9 หรือมาตรา 10 ถ้าศาลพิจารณาได้ความจริงให้ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาด แต่ถ้าไม่ได้ความจริงหรือลูกหนี้นำสืบได้ว่าอาจชำระหนี้ได้ทั้งหมด หรือมีเหตุอื่นที่ไม่ควรให้ลูกหนี้ล้มละลาย ให้ศาลยกฟ้อง การที่จำเลยยื่นคำแถลงขอระบุพยานเพิ่มเติมเมื่อสืบพยานโจทก์เสร็จแล้ว แต่ศาลชั้นต้นรวบรัดฟังคำพยานโจทก์ว่าจำเลยมีหนี้สินล้นพ้นตัวแล้วมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยเด็ดขาด โดยไม่รับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมของจำเลยเพื่อให้โอกาสจำเลยนำพยานเข้าสืบ จึงไม่เพียงพอต่อการพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 ดังกล่าว กรณีมีเหตุสมควรให้ศาลชั้นต้นรับบัญชีระบุพยานเพิ่มเติมและดำเนินการสืบพยานจำเลยต่อไปก่อน.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2301/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนังสือมอบอำนาจปลอมมีผลให้สัญญาประกันเป็นโมฆะ ศาลต้องไต่สวนเพื่อพิสูจน์ความจริง
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งปรับผู้ร้องตามสัญญาประกัน ผู้ร้องยื่นคำร้องว่าผู้ร้องไม่เคยประกันหรือมอบให้ผู้ใดประกันจำเลย ผู้ร้องได้นำหนังสือมอบอำนาจให้ทำนิติกรรมขายที่ดินตามแบบพิมพ์ของกรมที่ดินซึ่งผู้ร้องลงชื่อในช่องผู้มอบอำนาจ มอบให้ จ.ผู้ซื้อที่ดินไปโอนที่ดินตามหนังสือสัญญาจะซื้อจะขาย แต่ จ.ได้ลงข้อความปลอมเป็นว่ามอบอำนาจให้ค้ำประกันจำเลย ดังนี้ ประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยคือหนังสือมอบอำนาจของผู้ร้องปลอมหรือไม่หากฟังว่า หนังสือมอบอำนาจปลอม สัญญาประกันที่ จ. ทำไว้ก็เป็นโมฆะไม่ผูกพันผู้ร้อง คำร้อง ของ ผู้ร้องจึงมีเหตุสมควรที่จะต้องทำการไต่สวนให้ได้ความชัดในประเด็นดังกล่าวก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1359-1360/2532
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ: การวินิจฉัยศาลเป็นเพียงความเห็น ไม่ถือเป็นเท็จโดยตัวมันเอง
จำเลยฟ้องกล่าวหาโจทก์ว่าออกเช็ค โดย เจตนามิให้มีการใช้ เงินตามเช็ค และเบิกความว่าโจทก์นำเช็ค มาขายลดกับจำเลยโดย เป็นผู้ลงวันที่สั่งจ่ายต่อหน้าจำเลย แม้ศาลชั้นต้นจะพิพากษายกฟ้องในคดีที่จำเลยฟ้องโจทก์ โดย วินิจฉัยว่าโจทก์ออกเช็คพิพาทให้จำเลยเพื่อประกันการกู้เงิน และมิได้ลงวันที่สั่งจ่ายก็ยังฟังไม่ได้ว่าจำเลยฟ้องเท็จและเบิกความเท็จ เพราะข้อวินิจฉัยของศาลเป็นเพียงการแสดงความเห็นในการชี้ขาดตัดสินคดีอย่างหนึ่งเท่านั้น จะเป็นเท็จหรือไม่เป็นปัญหาที่ต้อง มีการวินิจฉัยในเนื้อแท้ของความจริงให้เป็นที่ประจักษ์ต่อไป.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 341/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคดีล้มละลายต้องพิจารณาความจริงตามกฎหมาย เพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของลูกหนี้
การพิจารณาคดีล้มละลายผิดแผกแตกต่างกับการพิจารณาคดีแพ่งสามัญเพราะพระราชบัญญัติล้มละลายฯ เป็นกฎหมายที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน มีผลในทางตัดสิทธิและเสรีภาพของผู้ที่ถูกพิพากษาให้เป็นบุคคลล้มละลาย ศาลจึงต้องพิจารณาเอาความจริงตามมาตรา 14 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2463 ว่าคดีมีเหตุควรให้ลูกหนี้ล้มละลายหรือไม่ ฉะนั้น แม้ในชั้นอุทธรณ์ฎีกาคดีจะไม่มีประเด็นโต้เถียงโดยตรงว่า จำเลยเป็นหนี้โจทก์ 90,000บาท จริงหรือไม่ ศาลก็มีอำนาจพิจารณาไปถึงประเด็นดังกล่าวได้เมื่อทางพิจารณาได้ความว่าจำเลยทั้งสองเป็นหนี้เงินกู้โจทก์เพียง8,000 บาท จึงไม่เข้าองค์ประกอบที่โจทก์จะฟ้องให้จำเลยล้มละลายได้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483 มาตรา 9(2) ที่แก้ไขแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 340/2531
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หนี้จากการซื้อขายหลักทรัพย์โดยตัวแทน จำเลยไม่ต้องรับผิดชอบหนี้พี่ชาย ศาลต้องพิจารณาความจริง
มูลหนี้ตามที่โจทก์นำมาฟ้องเพื่อขอให้จำเลยตกเป็นบุคคลล้มละลายนั้นเป็นกรณีซื้อขายหลักทรัพย์ซึ่งพี่ชายจำเลยได้อาศัยใช้ชื่อจำเลยเล่นหุ้น การที่จำเลยเข้ามาเกี่ยวข้องกับโจทก์ก็โดยในฐานะเป็นตัวแทนให้กับพี่ชาย บรรดาหนี้สินที่โจทก์อ้างมาเป็นเหตุเพื่อขอให้จำเลยตกเป็นบุคคลล้มละลายจึงหาเป็นหนี้สินค้างชำระของจำเลยโดยตรงไม่ ดังนั้นการที่จะอ้างว่าคำให้การของจำเลยไม่มีประเด็นนำสืบก็ดีหรือการนำสืบความจริงดังกล่าวฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94 ที่ห้ามนำพยานบุคคลมาสืบเพื่อให้มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารก็ดี อันเป็นการตัดรอนมิให้ศาลรับฟังพยานหลักฐานดังกล่าว ย่อมขัดต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัติล้มละลาย ฯ อันเป็นกฎหมายพิเศษที่เกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน ซึ่งกำหนดให้เป็นหน้าที่ของศาลที่จะต้องพิจารณาเอาความจริงให้ได้ว่าจำเลยเป็นบุคคลที่มีหนี้สินล้นพ้นตัวจริงหรือไม่ จำเลยชอบที่จะเสนอพยานหลักฐานดังกล่าวได้.