คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความชอบธรรม

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 54 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7210/2537 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิในเครื่องหมายการค้า: การแย่งสิทธิและความชอบธรรมในการใช้เครื่องหมายการค้าที่คล้ายคลึงกัน
เครื่องหมายการค้ารูปกรงนกประกอบอักษรโรมันคำว่าMACYS ที่โจทก์ได้จดทะเบียนไว้ และเครื่องหมายการค้ารูปนกบินประกอบอักษรโรมันคำว่า MACY'S ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน ต่างออกเสียงว่า เมซี่ส์ เหมือนกับเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1 สาระสำคัญของการเรียกขานเครื่องหมายการค้าดังกล่าวจึงอยู่ที่คำว่า MACYS หรือ MACY'S ฉะนั้นลูกค้าที่ซื้อสินค้าจะเรียกสินค้าของโจทก์ว่า เมซี่ส์ เหมือนกับสินค้าภายใต้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่ 1จึงอาจทำให้ประชาชนผู้ซื้อสินค้าสับสนหรือหลงผิดในแหล่งกำเนิดและคุณภาพของสินค้าได้ จำเลยที่ 1 เป็นเจ้าของผู้คิดประดิษฐ์เครื่องหมายการค้าคำว่า MACY'Sและจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวไว้ยังต่างประเทศก่อนโจทก์ สินค้าของจำเลยที่ 1 เป็นที่แพร่หลายมาประมาณ 100 ปีแล้ว จำเลยที่ 1 จึงมีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MACY'S ดีกว่าโจทก์ แม้จำเลยที่ 1 จะยังมิได้จดทะเบียนเครื่องหมายการค้าดังกล่าวในประเทศไทย และจำหน่ายสินค้าของจำเลยที่ 1 ในประเทศไทยก็ตาม
แม้คำฟ้องของโจทก์จะขอบังคับให้จำเลยที่ 1 ถอนคำคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ารูปนกบินและคำว่า MACY'S ของโจทก์เท่านั้นแต่เมื่อโจทก์ได้กล่าวอ้างถึงเครื่องหมายการค้ารูปกรงนกและคำว่า MACYSที่ได้รับการจดทะเบียนมาในคำฟ้องด้วย จำเลยที่ 1 ก็ย่อมมีสิทธิที่จะให้การต่อสู้ว่าจำเลยที่ 1 มีสิทธิในเครื่องหมายการค้าคำว่า MACY'S ของจำเลยที่ 1ดีกว่าสิทธิในเครื่องหมายการค้าของโจทก์คำว่า MACYS ที่ได้รับการจดทะเบียนแล้วและคำว่า MACY'S ที่โจทก์ยื่นขอจดทะเบียน และจำเลยที่ 1 ย่อมอาศัยสิทธิที่ตนได้รับความคุ้มครองตามบทบัญญัติมาตรา 41 (1) แห่ง พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้าพ.ศ.2474 ฟ้องแย้งขอให้เพิกถอนทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ได้เนื่องจากจำเลยที่ 1 เป็นผู้มีส่วนได้เสียในเครื่องหมายการค้านั้น ฟ้องแย้งของจำเลยที่ 1 จึงเกี่ยวกับคำฟ้องเดิม จำเลยที่ 1 ชอบที่จะฟ้องแย้งมาในคำให้การได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 177 วรรคสาม
พ.ร.บ.เครื่องหมายการค้า พ.ศ.2474 มาตรา 44 ห้ามมิให้ศาลสั่งให้นายทะเบียนเสียค่าฤชาธรรมเนียมแทนฝ่ายอื่น แต่บทบัญญัตินี้มิได้ห้ามคู่ความฝ่ายอื่นเสียค่าฤชาธรรมเนียมแทนนายทะเบียน ฉะนั้น ศาลจึงสั่งให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสองได้
ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมแทนจำเลยทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความสำหรับจำเลยที่ 1 เป็นเงิน 4,000 บาท และศาลอุทธรณ์พิพากษายืนนั้น เมื่อคดีนี้เป็นคดีไม่มีทุนทรัพย์ การกำหนดค่าทนายความดังกล่าวของศาลชั้นต้นจึงเกินอัตราขั้นสูงในศาลชั้นต้นจำนวน 3,000 บาท ตามตาราง 6 ท้าย ป.วิ.พ. ศาลฎีกากำหนดเสียใหม่ให้ถูกต้องได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 912/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการวินิจฉัยความชอบธรรมของประกาศ รสช. และการคุ้มครองสิทธิจากกฎหมายย้อนหลัง
ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 26เป็นวิธีพิจารณาพิเศษซึ่งกำหนดให้นำ ป.วิ.พ. มาใช้บังคับโดยอนุโลม ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องขอให้ศาลฎีกาวินิจฉัยชี้ขาดเบื้องต้นในปัญหาข้อกฎหมาย และศาล-ฎีกามีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 24 (เทียบนัยฎีกาที่ 146/2530)
ตามหลักกฎหมายทั่วไป ศาลมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดี จึงมีอำนาจหน้าที่พิจารณาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดจะใช้บังคับแก่คดีได้หรือไม่เพียงใดและย่อมมีอำนาจวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายนั้น ๆ ขัดหรือแย้งต่อกฎหมายรัฐธรรมนูญหรือไม่ด้วย เว้นแต่จะมีบทกฎหมายใดโดยเฉพาะบัญญัติให้อำนาจนี้ไปตกอยู่แก่องค์กรอื่น
ระหว่างที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 มีผลใช้บังคับ ได้มีการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26ซึ่งมีฐานะเทียบเท่าพระราชบัญญัติจึงต้องอยู่ภายใต้บังคับของธรรมนูญการปกครอง-ราชอาณาจักร พ.ศ.2534 ซึ่งตามมาตรา 30 วรรคสอง บัญญัติให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติในขณะนั้นเป็นผู้มีอำนาจวินิจฉัยชี้ขาดว่าการกระทำหรือการปฏิบัติใดขัดต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 หรือไม่ ถ้อยคำที่ว่า "การกระทำหรือการปฏิบัติ"ไม่หมายความรวมถึงบทบัญญัติของกฎหมายด้วย ทั้งขณะผู้ร้องยื่นคำร้อง สภานิติบัญญัติแห่งชาติได้สิ้นสภาพไปแล้ว และแม้ในขณะที่ศาลฎีกาวินิจฉัยปัญหานี้ได้มีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 แล้ว แต่ตามมาตรา206 วรรคแรก และมาตรา 5 ก็แสดงว่าคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีอำนาจพิจารณาวินิจฉัยเฉพาะในปัญหาว่า บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีข้อความขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2534 หรือไม่ เท่านั้น ดังนั้น อำนาจในการพิจารณาวินิจฉัยชี้ขาดว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญ-การปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 หรือไม่ จึงตกอยู่แก่ศาลตามหลักกฎหมายทั่วไป (ตามนัยฎีกาที่ 766/2505, 222/2506 และ 225/2506)
คำวินิจฉัยของ คตส. ตามประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 2และข้อ 6 มีผลให้ทรัพย์สินที่ คตส.วินิจฉัยว่าได้มาโดยมิชอบหรือมีเพิ่มขึ้นผิดปกติตกเป็นของแผ่นดิน เป็นการลงโทษริบทรัพย์สินในทางอาญา โดยที่มิได้ให้สิทธิผู้ถูกกล่าวหาหรือบุคคลอื่นซึ่งเป็นเจ้าของทรัพย์สินที่แท้จริงนำคดีไปฟ้องร้องให้เป็นอย่างอื่นได้ อำนาจของ คตส. เป็นอำนาจเด็ดขาด และเป็นอำนาจในการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีซึ่งตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยเป็นอำนาจของศาล จึงมีผลเป็นการตั้งคณะบุคคลที่มิใช่ศาลให้มีอำนาจทำการ-พิจารณาพิพากษาอรรถคดีเช่นเดียวกับศาล ย่อมขัดต่อประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย นอกจากนี้ทรัพย์สินของผู้ร้องที่ถูกยึดและตกเป็นของแผ่นดินตามคำวินิจฉัยของ คตส. เป็นทรัพย์สินที่ผู้ร้องได้มาหรือมีเพิ่มขึ้นก่อนที่ประกาศ รสช. ฉบับที่ 26 ข้อ 6 ใช้บังคับ จึงเป็นการออกและใช้กฎหมายที่มีโทษในทางอาญาย้อนหลังไปลงโทษแก่ผู้ร้อง ซึ่งรัฐธรรมนูญทุกฉบับมีบทบัญญัติห้ามเพื่อคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน อันถือได้ว่าเป็นประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตยอีกประการหนึ่งด้วย ประกาศ รสช.ฉบับที่ 26 ข้อ 2 และข้อ 6 จึงใช้บังคับมิได้ (ตามนัยฎีกาที่ 222/2506) และเป็นเหตุให้คำวินิจฉัยของ คตส. ไม่มีผลบังคับไปด้วย
ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พ.ศ.2534 มาตรา 32เป็นเพียงการบัญญัติรับรองโดยทั่วไปว่า ประกาศหรือคำสั่ง รสช. มีผลให้ใช้บังคับได้เช่นกฎหมายเท่านั้น มิได้บัญญัติรับรองไปถึงว่าให้ใช้บังคับได้แม้เนื้อหาตามประกาศหรือคำสั่ง รสช. ดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรพ.ศ.2534 แต่อย่างไร

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3534/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การบอกกล่าวเลิกจ้าง, ฟ้องเคลือบคลุม, ค่าเดินทางกลับ: ประเด็นความชอบธรรมและการเรียกร้องสิทธิในคดีแรงงาน
จำเลยจ่ายเงินเดือนแก่โจทก์ทุกวันสิ้นเดือน การที่จำเลยแจ้งโจทก์เมื่อวันที่ 23 ตุลาคม 2534 ให้โจทก์ออกจากงานในวันที่30 พฤศจิกายน 2534 จึงเป็นการบอกกล่าวล่วงหน้าก่อนจะถึงกำหนดจ่ายสินจ้างประจำเดือนตุลาคม 2534 เพื่อให้มีผลเป็นการเลิกจ้างเมื่อถึงกำหนดการจ่ายสินจ้างครั้งถัดไปคือวันที่ 30 พฤศจิกายน 2534เป็นการบอกกล่าวเลิกจ้างล่วงหน้าที่ชอบด้วยบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 582 แล้ว เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ระบุเพียงว่า สัญญาจ้างระหว่างโจทก์จำเลยให้โจทก์มีวันหยุดพักผ่อนประจำปีปีละ 3 สัปดาห์ และขอให้จำเลยรับผิดชอบเงินเดือนในส่วนที่ชดเชยการไม่ได้ใช้วันหยุดพักผ่อนประจำปี จำนวน 16,650 บาท โดยมิได้บรรยายเลยว่าโจทก์มิได้หยุดพักผ่อนประจำปีในปีใดบ้าง ปีละกี่วัน ฟ้องของโจทก์ดังกล่าวจึงเป็นฟ้องที่ไม่แจ้งชัด ไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 172 ประกอบด้วยพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 31,35เป็นฟ้องที่เคลือบคลุมไม่ก่อให้เกิดประเด็นเรื่องค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปี การที่ศาลแรงงานกลางวินิจฉัยในเรื่องดังกล่าวและพิพากษาให้จำเลยจ่ายค่าทำงานในวันหยุดพักผ่อนประจำปีแก่โจทก์ จึงไม่ชอบ จำเลยจ้างโจทก์มาจากประเทศอิตาลีโดยออกค่าเดินทางจากประเทศอิตาลีมายังกรุงเทพมหานคร จำเลยมีหนังสือเลิกจ้างถึงโจทก์โดยเสนอจะให้เงินค่าตั๋วเครื่องบินกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกหรือประเทศยุโรป โจทก์ไม่ตกลงตามเงื่อนไขในข้อเสนอดังกล่าว ดังนี้ การที่โจทก์ฟ้องเรียกเงินค่าตั๋วเดินทางกลับไปยังประเทศสหรัฐอเมริกาฝั่งตะวันตกหรือประเทศยุโรปจึงมิใช่เป็นการเรียกร้องค่าเดินทางกลับถิ่นที่จำเลยจ้างโจทก์มาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 586

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 290/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดการบริษัทโดยผู้ถือหุ้นและกรรมการ: ความชอบธรรมในการดำเนินการ
เดิมบริษัท ต.มี บ.เป็นกรรมการผู้จัดการได้ดำเนินกิจการขาดทุน และมีเจ้าหนี้จำนวนมาก ป.เข้าช่วยเหลือโดยตั้งบริษัท ย.ผู้เสียหายขึ้นมาเพื่อดำเนินการแทน โดยฝ่าย บ.ถือหุ้นในบริษัทผู้เสียหายร้อยละ 45 ของหุ้นทั้งหมด และบริษัท ต.ทำสัญญาให้บริษัทผู้เสียหายเช่าโรงงานและเครื่องจักรด้วย เมื่อปรากฏว่า ป.ถือสิทธิเข้าดำเนินการบริหารบริษัทผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียวทำให้บริษัทผู้เสียหายเป็นหนี้ธนาคารถึงหนึ่งล้านห้าแสนบาท ท่วมทุนจดทะเบียนของบริษัทผู้เสียหายซึ่งมีอยู่เพียงหนึ่งล้านบาท และกีดกันจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นกรรมการบริษัทผู้เสียหาย ตลอดจนผู้ถือหุ้นฝ่ายบ.ถึงขนาดที่บริษัท ต.มีหนังสือบอกเลิกสัญญาเช่าโรงงานไปแล้ว เช่นนี้ จำเลยที่ 1 ในฐานะกรรมการบริษัท ต.และจำเลยที่ 2 ในฐานะกรรมการบริษัทผู้เสียหายกับพวกย่อมเข้าใจว่ามีความชอบธรรมที่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1071/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างย้อนหลังตามสัญญาประนีประนอมยอมความ: สิทธิค่าจ้างและความชอบธรรมในการเลิกจ้าง
จำเลยยื่นคำร้องขออนุญาตเลิกจ้างโจทก์ซึ่งเป็นกรรมการลูกจ้างโดยให้มีผลตั้งแต่วันยื่นคำร้องคือวันที่ 20มกราคม 2530 ก่อนโจทก์ยื่นคำคัดค้านจำเลยยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาเป็นกรณีฉุกเฉิน ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตโดยให้จำเลยนำเงินค่าจ้างไปวางศาลเมื่อคดีถึงที่สุดโดยศาลแรงงานกลางอนุญาตให้เลิกจ้างโจทก์ได้ก็ให้จำเลยขอรับเงินค่าจ้างคืนไป แต่ถ้าไม่อนุญาตให้เลิกจ้างก็ให้โจทก์รับเงินค่าจ้างไปได้ แสดงว่าจำเลยประสงค์เลิกจ้างโจทก์ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530 การที่ต่อมาโจทก์จำเลยทำสัญญาประนีประนอมยอมความโดยจำเลยยอมจ่ายเงินช่วยเหลือให้แก่โจทก์จำนวนหนึ่งโดยให้โจทก์ไปขอรับจากศาลแรงงานกลางตามที่จำเลยได้วางไว้ ส่วนที่เหลือให้จำเลยรับคืนไป และโจทก์ไม่ติดใจในเรื่องเลิกจ้างไม่เป็นธรรมค่าเสียหายและค่าชดเชยเกี่ยวกับการเลิกจ้าง ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งอนุญาตให้จำเลยเลิกจ้างโจทก์ได้ตามที่ตกลงกันแต่ข้อตกลงไม่แจ้งชัดว่าจะให้เลิกจ้างเมื่อใด เช่นนี้คำสั่งอนุญาตให้เลิกจ้างดังกล่าวย่อมเป็นไปตามคำขอของจำเลยโดยจำเลยมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้ตั้งแต่วันที่ 20 มกราคม 2530.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2516/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การสลักหลังตั๋วแลกเงิน ความชอบธรรมในการฟ้อง และการระบุรายละเอียดในตั๋วแลกเงิน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า บริษัท ค. ได้ออกตั๋วแลกเงินสั่งให้จำเลยจ่ายเงินแก่ธนาคาร ฮ.ซึ่งเป็นธนาคารตัวแทนของบริษัทค.และเป็นผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงิน ธนาคาร ฮ. สลักหลังตั๋วแลกเงินให้ธนาคาร ก. ดำเนินการแทนโดยธนาคาร ก. ได้จัดการให้จำเลยรับรองตั๋วแลกเงินแล้ว เมื่อตั๋วแลกเงินถึงกำหนดจำเลยผิดนัดไม่ยอมชำระเงินแก่ธนาคาร ก. บริษัท ค. มอบหมายให้โจทก์เป็นผู้ติดตามเรียกให้จำเลยชำระเงินตามตั๋วแลกเงินธนาคาร ก. จึงสลักหลังตั๋วแลกเงินให้แก่โจทก์ในฐานะจัดการแทน การสลักหลังของธนาคาร ก. เป็นการสลักหลังตาม ป.พ.พ. มาตรา 925 โจทก์ผู้รับสลักหลังจึงเป็นตัวแทนของบริษัท ค. ซึ่งเป็นตัวการ ดังนี้ ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม แม้เดิม โจทก์บรรยายฟ้องว่า "ธนาคาร ฮ. ได้สลักหลังให้ธนาคาร ก. ดำเนินการแทน" ต่อมาโจทก์แก้ฟ้องเป็นว่า"บริษัท ค. ได้มอบหมายให้โจทก์ดำเนินการแทน" คำฟ้องโจทก์ก็ไม่เคลือบคลุม รายการในตั๋วแลกเงินตาม ป.พ.พ. มาตรา 909(3) ระบุเพียงว่า"ชื่อ หรือยี่ห้อผู้จ่าย" จะถือว่าต้องมีข้อความระบุว่า "ผู้จ่าย"ด้วยไม่ได้และมาตรา 909(8) ระบุเพียงว่า "ลายมือชื่อผู้สั่งจ่าย"ไม่จำต้องมีข้อความเขียนว่า "ผู้สั่งจ่าย" ด้วย เมื่อธนาคาร ฮ. ผู้รับเงินตามตั๋วแลกเงิน ซึ่งเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินได้สลักหลังตั๋วแลกเงินให้ธนาคาร ก. จัดการแทน และธนาคาร ก. สลักหลังต่อไปยังโจทก์ โจทก์ย่อมเป็นผู้ทรงตั๋วแลกเงินและจะใช้สิทธิทั้งปวงอันเกิดแต่ตั๋ว นั้นย่อมได้ทั้งสิ้นตาม ป.พ.พ.มาตรา 925 โจทก์จึงมีสิทธิติดตามทวงถามเงินตามตั๋วแลกเงิน และฟ้องคดีได้ด้วยตนเอง จำเลยมีชื่อ ในตั๋วแลกเงิน และยังมีตรา บริษัท และลายมือชื่อของผู้มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัทจำเลยอีกแห่งหนึ่งด้วย อันหมายความถึงการรับรองตั๋วแลกเงิน จึงถือได้ว่าจำเลยเป็นผู้จ่าย.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 238/2530 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเบิกความเท็จในคดีแรงงานส่งผลต่อการวินิจฉัยความชอบธรรมของการเลิกจ้าง
โจทก์ฟ้องว่า เดิม จำเลยเป็นลูกจ้างโจทก์ในตำแหน่งผู้จัดการฝ่ายบุคคลธุรการ ต่อมาโจทก์เลิกจ้างเพราะจำเลยใช้พนักงานรักษาความปลอดภัยละทิ้งหน้าที่ไปทำงานส่วนตัวให้จำเลยจำเลยจึงฟ้องโจทก์ต่อศาลแรงงานว่าโจทก์เลิกจ้างจำเลยโดยไม่เป็นธรรมในการพิจารณาคดีดังกล่าว จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จว่า ส. ได้รับแต่ง ตั้งเป็นหัวหน้ารักษาความปลอดภัย อยากได้รายได้พิเศษ จำเลยจึงฝาก ส. ทำงานที่ร้านอาหารโดยให้ไปทำในช่วงที่มิใช่เวลาทำงานของโจทก์ ฝากงานให้แล้ว ส. มาทำงานสายจำเลยได้ว่ากล่าวตักเตือนและเบิกความอันเป็นเท็จว่าจำเลยไม่เคยใช้ พ. ไปทำธุระส่วนตัวร้านอาหารที่จำเลยฝากงานให้ไปทำอยู่ที่ห้าง อ. เอกสาร ล.6 จำเลยเขียนฝากงานให้ ส. ทำที่โรงแรมจำเลยก็เบิกความเท็จว่าจำเลยเขียนฝากงานให้ทำที่ห้าง อ. เอกสาร ล.9 เป็นหนังสือที่จำเลยขอบใจ พ. เกี่ยวกับเรื่องงานที่จำเลยได้มอบหมายให้ไปทำและให้เก็บเป็นความลับ จำเลยก็เบิกความเท็จว่าเป็นหนังสือที่จำเลยขอบใจ พ.ที่ไปช่วยงานร้านอาหารโดยส. ขอร้องและจำเลยไม่รู้เรื่องข้อความที่โจทก์อ้างว่าจำเลยเบิกความนี้เป็นข้อสำคัญในคดี จะอ้างว่าแม้จำเลยจะเบิกความเป็นเท็จก็ไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปย่อมไม่ถูกต้อง ที่ศาลสั่งงดไต่สวนมูลฟ้องแล้วพิพากษายกฟ้องจึงเป็นการไม่ชอบ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องแย้งไม่เกี่ยวเนื่องกับฟ้องเดิม ขาดความชอบธรรมตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 177 วรรค 3
โจทก์ฟ้องขอให้จำเลยชำระหนี้ค่าซื้อสร้อยเพชรและแหวนเพชรเป็นเงิน86,181บาทจำเลยให้การว่าการรับซื้อแหวนเพชรเป็นเรื่องระหว่างโจทก์กับว.และหนี้ตามฟ้องสามีโจทก์และโจทก์เรียกเก็บไปจากจำเลยแล้วโดยจำเลยชำระเป็นเช็คของผู้อื่นรวม3ฉบับเป็นเงิน126,000บาทจึงฟ้องแย้งให้โจทก์คืนเงินที่จำเลยชำระเกินไป102,443บาทฟ้องแย้งดังกล่าวจึงเป็นเรื่องอื่นไม่เกี่ยวกับฟ้องเดิมจำเลยไม่มีสิทธิฟ้องแย้งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา177วรรค3.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2522/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิการนัดหยุดงานของลูกจ้าง: การใช้สิทธิหลายครั้งไม่ผิดกฎหมาย ตราบเท่าที่ไม่เกินความจำเป็นและเป็นธรรม
ฟ้องโจทก์กล่าวหาว่าจำเลยที่1นัดหยุดงานโดยไม่มีข้อเรียกร้องไม่มีข้อพิพาทแรงงานเป็นการนัดหยุดงานที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายโจทก์มิได้ตั้งข้อหาและมิได้อาศัยข้ออ้างที่เป็นหลักแห่งข้อหาว่าจำเลยที่1กระทำการฝ่าฝืนพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา99แต่ประการใดซึ่งมาตรานี้เป็นบทยกเว้นความรับผิดมิใช่บทบังคับการกระทำจึงไม่ใช่หน้าที่ของโจทก์ที่จะต้องบรรยายฟ้องกล่าวแก้จำเลยเป็นการล่วงหน้าไว้ก่อนหากแต่เป็นหน้าที่ของจำเลยที่จะยกบทมาตราดังกล่าวขึ้นต่อสู้ว่าตนไม่ต้องรับผิดเพราะต้องด้วยข้อยกเว้นข้อใดข้อหนึ่งในสี่ประการนั้นจำเลยจะยกมาตรา99ขึ้นปรับคดีว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องไม่ได้โจทก์มีอำนาจฟ้อง. จำเลยที่1ได้ยื่นข้อเรียกร้องต่อโจทก์รวม10ข้อตกลงกันได้3ข้อคงเหลือข้อเรียกร้องที่ตกลงกันไม่ได้อีก7ข้อต้องถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ระหว่างโจทก์กับจำเลยที่1ยังมีอยู่ตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518มาตรา22วรรคสามการที่จำเลยที่1ใช้สิทธินัดหยุดงานในวันที่8แล้วกลับเข้าทำงานในวันที่9เดือนเดียวกันโดยลำพังตนมิได้ขอกลับเข้าทำงานต่อฝ่ายบริหารของโจทก์ไม่ถือว่าเป็นการสละข้อเรียกร้องและจะถือว่าข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เป็นอันระงับหรือสิ้นสุดลงด้วยการนัดหยุดงานและกลับเข้าทำงานใหม่ไม่ได้เพราะไม่มีบทมาตราใดในพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์บัญญัติไว้เช่นนั้นสิทธินัดหยุดงานของจำเลยที่1จึงไม่สิ้นไป. พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์พ.ศ.2518หามีบทมาตราใดบังคับว่าเมื่อข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้เกิดขึ้นแล้วลูกจ้างพึงใช้สิทธินัดหยุดงานได้แต่เพียงครั้งเดียวไม่การแปลกฎหมายว่าลูกจ้างมีสิทธินัดหยุดงานได้ครั้งเดียวทั้งที่ไม่มีบทมาตราใดบัญญัติห้ามไว้โดยชัดแจ้งเป็นการแปลที่จำกัดสิทธิโดยชอบธรรมของลูกจ้างการนัดหยุดงานเป็นมาตรการขั้นสุดท้ายของลูกจ้างที่จะให้ได้มาซึ่งข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามข้อเรียกร้องของตนมิใช่ฝ่ายนายจ้างเท่านั้นที่ได้รับความเสียหายที่กิจการต้องหยุดชะงักงันฝ่ายลูกจ้างเองก็ต้องได้รับความเสียหายดุจกันที่ไม่ได้รับค่าจ้างดังนั้นถ้าลูกจ้างสามารถใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งเดียวเป็นเวลายาวนานทำให้ทั้งสองฝ่ายได้รับความเดือดร้อนเป็นอันมากได้โดยชอบการนัดหยุดงานเป็นช่วงๆเป็นระยะเวลาสั้นๆเป็นการกระตุ้นเตือนให้นายจ้างรู้สำนึกถึงความเดือดร้อนทีละน้อยแล้วจะทวีความรุนแรงขึ้นโดยลำดับเพื่อให้มีการหันหน้าเข้าเจรจาให้ได้มาซึ่งข้อตกลงร่วมกันจึงกระทำได้การใช้สิทธินัดหยุดงานครั้งหลังๆจึงเป็นการใช้สิทธิโดยชอบไม่เป็นละเมิดต่อโจทก์.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1915/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชอบธรรมในการดำเนินคดีเช็คและการกำหนดผู้เสียหาย: ผู้เสียหายคือผู้รับเช็คโดยตรง แม้มีการนำเงินเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วน
วัสดุก่อสร้างที่จำเลยซื้อและออกเช็คพิพาทให้โจทก์ร่วมเพื่อชำระราคานั้น เป็นของส่วนตัวของโจทก์ร่วม มิได้เกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ที่โจทก์ร่วมเป็นผู้จัดการ ดังนั้นเมื่อเช็คพิพาทถึงกำหนดและถูกปฏิเสธการจ่ายเงิน โจทก์ร่วมย่อมเป็นผู้เสียหายและชอบที่จะร้องทุกข์ต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีได้ ส่วนการที่โจทก์บรรยายฟ้องว่าโจทก์ร่วมเรียกเก็บเงินเองและนำสืบในชั้นพิจารณาว่าเรียกเก็บเงินเพื่อฝากเข้าบัญชีห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.นั้น ก็มิได้แตกต่างกันแต่อย่างใด เพราะการที่โจทก์ร่วมจะนำเงินตามเช็คที่เรียกเก็บเข้าฝากในบัญชีของห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.ก็เป็นสิทธิของโจทก์ร่วมที่จะทำได้ หาทำให้ห้างหุ้นส่วนจำกัด พ.กลายเป็นผู้เสียหายไปไม่
การบันทึกคำร้องทุกข์ของผู้เสียหาย เจ้าหน้าที่ผู้รับแจ้งจะจดลงไว้อย่างไรและที่ใด ก็เป็นเรื่องระเบียบภายในของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่มีผลกระทบต่ออำนาจในการสอบสวนและดำเนินคดี และในปัญหาที่ว่าเขตรับผิดชอบของเจ้าหน้าที่ตำรวจแต่ละแห่งจะมีอาณาเขตครอบคลุมพื้นที่เพียงใดนั้น เป็นปัญหาข้อเท็จจริง
of 6