พบผลลัพธ์ทั้งหมด 502 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1722/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อของคนขับรถบรรทุกทั้งสองฝ่ายในการแซงรถคันหน้า ทำให้เกิดอุบัติเหตุ ศาลไม่อนุญาตให้รับช่วงสิทธิเรียกร้องค่าเสียหาย
การที่ ว. ผู้ขับรถยนต์บรรทุกหกล้อที่เอาประกันภัยไว้กับโจทก์และ ย. ผู้ขับรถยนต์บรรทุกสิบล้อต่างขับแซงรถยนต์กระบะที่แล่นอยู่ด้านหน้าและรถยนต์บรรทุกทั้งสองคันชนกันที่บริเวณกลางถนน ต้องถือว่าเหตุที่รถยนต์บรรทุกทั้งสองคันชนกันเกิดจากความประมาทเลินเล่อของ ว. และ ย. ไม่ยิ่งหย่อนกว่ากันโจทก์จึงไม่อาจรับช่วงสิทธิของผู้เอาประกันภัยเรียกร้องค่าเสียหายจากจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายจ้างของ ย. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดทางละเมิด: การประเมินความประมาทและสิทธิเรียกร้องค่าเสียหายเมื่อทั้งสองฝ่ายประมาท
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีส่วนประมาท การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาทมากกว่าจำเลยที่ 1 โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดมากกว่าก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายผิดน้อยกว่าให้รับผิดในความเสียหายของโจทก์ได้ จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8794/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทเลินเล่อและการแบ่งความรับผิดในอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อฝ่ายโจทก์ประมาทมากกว่าจำเลย สิทธิเรียกร้องค่าเสียหายย่อมตกไป
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 442 ประกอบมาตรา 223 วรรคหนึ่ง เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ต่างมีส่วนประมาท การที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจะมีสิทธิได้รับชดใช้ค่าสินไหมทดแทนมากน้อยเพียงใดต้องอาศัยพฤติการณ์เป็นประมาณ เมื่อข้อเท็จจริงรับฟังเป็นยุติว่า โจทก์เป็นฝ่ายประมาทมากกว่าจำเลยที่ 1 โจทก์ซึ่งเป็นฝ่ายผิดมากกว่าก็ไม่มีสิทธิที่จะฟ้องให้จำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นฝ่ายผิดน้อยกว่าให้รับผิดในความเสียหายของโจทก์ได้ จำเลยร่วมซึ่งเป็นผู้รับประกันภัยรถยนต์คันที่จำเลยที่ 1 เป็นผู้ขับจึงไม่ต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7653/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการขับรถ – การพิสูจน์ความรับผิด – การลงโทษเหมาะสม
ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (6) ที่บัญญัติให้อ้างมาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเช่นนั้นเป็นความผิด หมายถึง มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าการกระทำเป็นความผิดฐานหรือบทใด ส่วนมาตรา 90 แห่ง ป.อ. มิใช่มาตราในกฎหมายซึ่งบัญญัติว่า การกระทำเป็นความผิดฐานหรือบทใด แต่บัญญัติว่าความผิดนั้นเป็นความผิดกรรมเดียวผิดต่อกฎหมายหลายบทและต้องลงโทษตามความผิดฐานหรือบทใด แม้โจทก์จะมิได้อ้างมาตรา 90 แห่ง ป.อ. มาในฟ้อง ก็ไม่ทำให้ฟ้องไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ที่เกิดเหตุเป็นถนนเปียกและลื่น จำเลยขับรถยนต์ซึ่งมีสภาพเก่าบรรทุกสัมภาระและคนมาเต็มคันรถยนต์ ควรจะขับรถยนต์ให้ช้าไม่ควรขับด้วยความเร็ว เพราะหากขับรถยนต์ด้วยความเร็วในสภาพของรถยนต์และถนนดังกล่าวรถยนต์อาจเสียหลักและพลิกคว่ำได้โดยง่าย แต่เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยกลับขับรถยนต์ด้วยความเร็ว จึงเป็นความประมาทในเบื้องต้นของจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยเห็นรถยนต์อยู่ข้างหน้าซึ่งจำเลยจะต้องแซงรถจักรยานยนต์นั้น จำเลยจะต้องให้สัญญาณเสียงเพื่อให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์รู้ตัว หรือมิฉะนั้นก็ควรจะชะลอความเร็วรถยนต์ลงเพื่อให้ห่างจากรถจักรยานยนต์ในระยะที่ปลอดภัย แต่จำเลยก็หาได้กระทำดังกล่าวไม่ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ เมื่อรถจักรยานยนต์เลี้ยวไปทางขวาโดยกะทันหันจำเลยจึงไม่อาจห้ามล้อเพื่อชะลอความเร็วของรถยนต์ได้ทัน และจำต้องบังคับรถยนต์หลบไปทางขวาแล้วหลบกลับมาทางซ้ายอีก จนเป็นเหตุให้รถยนต์เสียหลักพลิกคว่ำ อุบัติเหตุดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย
ที่เกิดเหตุเป็นถนนเปียกและลื่น จำเลยขับรถยนต์ซึ่งมีสภาพเก่าบรรทุกสัมภาระและคนมาเต็มคันรถยนต์ ควรจะขับรถยนต์ให้ช้าไม่ควรขับด้วยความเร็ว เพราะหากขับรถยนต์ด้วยความเร็วในสภาพของรถยนต์และถนนดังกล่าวรถยนต์อาจเสียหลักและพลิกคว่ำได้โดยง่าย แต่เมื่อถึงที่เกิดเหตุจำเลยกลับขับรถยนต์ด้วยความเร็ว จึงเป็นความประมาทในเบื้องต้นของจำเลยแล้ว เมื่อจำเลยเห็นรถยนต์อยู่ข้างหน้าซึ่งจำเลยจะต้องแซงรถจักรยานยนต์นั้น จำเลยจะต้องให้สัญญาณเสียงเพื่อให้ผู้ขับรถจักรยานยนต์รู้ตัว หรือมิฉะนั้นก็ควรจะชะลอความเร็วรถยนต์ลงเพื่อให้ห่างจากรถจักรยานยนต์ในระยะที่ปลอดภัย แต่จำเลยก็หาได้กระทำดังกล่าวไม่ทั้งที่อยู่ในวิสัยที่ทำได้ เมื่อรถจักรยานยนต์เลี้ยวไปทางขวาโดยกะทันหันจำเลยจึงไม่อาจห้ามล้อเพื่อชะลอความเร็วของรถยนต์ได้ทัน และจำต้องบังคับรถยนต์หลบไปทางขวาแล้วหลบกลับมาทางซ้ายอีก จนเป็นเหตุให้รถยนต์เสียหลักพลิกคว่ำ อุบัติเหตุดังกล่าวจึงเกิดจากการกระทำโดยประมาทของจำเลย ไม่เป็นเหตุสุดวิสัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 983/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดในคดีชนแล้วหนี: การพิสูจน์ความประมาทและเหตุสุดวิสัยของผู้ขับขี่
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลาพบค่ำ รถที่วิ่งบนถนนทุกคันเปิดไฟแล้ว แสดงว่าถนนมืดรถจักรยานยนต์ที่ ส. ขับไม่มีไฟหน้า ไฟเลี้ยวก็ใช้การไม่ได้ ทั้งก่อนขับรถมีการดื่มสุรามาบ้างแล้ว จุดที่รถจักรยานยนต์เลี้ยวกลับเป็นทางลงเนินอยู่ในช่องเดินรถของจำเลย เชื่อได้ว่าเมื่อจำเลยขับรถยนต์กระบะลงเนินแล้ว จำเลยเห็นรถจักรยานยนต์เลี้ยวกลับในช่องเดินรถของตนในระยะกระชั้นชิด ทำให้ไม่สามารถบังคับรถยนต์ให้หยุดได้ทันท่วงทีการที่รถยนต์ของจำเลยเฉี่ยวชนกับรถจักรยานยนต์เป็นเหตุให้ ส. และโจทก์ร่วม ที่นั่งซ้อนท้ายมาได้รับอันตรายสาหัส จึงมิได้เกิดจากความประมาทของจำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: กรณีผู้ตายมีส่วนผิดทางอาญา ภริยาไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยและ ส. (ผู้ตาย) ต่างขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทส. จึงมีส่วนในการกระทำผิดทางอาญาด้วย ดังนั้น ตามคำฟ้องของโจทก์ถือว่า ส. มิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ป. โจทก์ร่วมซึ่งเป็นภริยาของ ส. จึงไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทน ส. ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 5(2) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการซึ่งเป็นโจทก์เดิมได้ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งอนุญาตให้ ป. เข้ามาเป็นโจทก์ร่วมจึงไม่ชอบ ป. ไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4495/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานในการวินิจฉัยคดีเงินทดแทนและการคุ้มครองลูกจ้างที่ประสบอันตรายจากความประมาทของตนเอง
พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 51 วรรคหนึ่ง ไม่ได้บังคับให้ศาลแรงงานจะต้องวินิจฉัยปัญหาข้อใดข้อหนึ่งก่อนจึงเป็นอำนาจของศาลแรงงานกลางที่จะใช้ดุลพินิจยกปัญหาข้อใดขึ้นวินิจฉัยก่อนหรือหลังก็ได้ตามที่เห็นสมควรแก่รูปคดี ทั้งเมื่อได้วินิจฉัยปัญหาข้อหนึ่งข้อใดแล้วเห็นว่าสามารถชี้ขาดตัดสินคดีได้ จะไม่วินิจฉัยปัญหาข้ออื่น ๆ ต่อไปอีกเพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไปก็ได้
ผู้ตายปีนขึ้นไปบนโครงจอภาพยนตร์แล้วเอาเสาธงเหล็กฟาดสายไฟฟ้าแรงสูงจนถูกไฟฟ้าดูดและตกลงมาเสียชีวิต เพราะผู้ตายต้องการแสดงโอ้อวดตนเองว่าเป็นผู้วิเศษ มิได้เกิดเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
ผู้ตายปีนขึ้นไปบนโครงจอภาพยนตร์แล้วเอาเสาธงเหล็กฟาดสายไฟฟ้าแรงสูงจนถูกไฟฟ้าดูดและตกลงมาเสียชีวิต เพราะผู้ตายต้องการแสดงโอ้อวดตนเองว่าเป็นผู้วิเศษ มิได้เกิดเนื่องจากการทำงานหรือป้องกันรักษาประโยชน์ให้แก่นายจ้างหรือตามคำสั่งของนายจ้าง จึงไม่ได้รับความคุ้มครองตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 มาตรา 5
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 399/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้รับเหมาและผู้ตายจากความประมาท กรณีถนนก่อสร้างและไม่มีเครื่องหมายเตือน
ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจำต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 46กรณีไม่มีทางที่จะขยายไปถึงความเห็นของพนักงานสอบสวนให้เป็นการผูกมัดศาลที่พิพากษาคดีส่วนแพ่งในภายหลัง ความเห็นของพนักงานสอบสวนไม่ใช่คำพิพากษาคดีส่วนอาญา ฉะนั้น ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่งจึงไม่จำต้องถือตาม
ห้างฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสะพาน มีหน้าที่ต้องติดตั้งเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนตลอดเวลา แต่กลับละเลยไม่ติดตั้งเครื่องหมายดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แม้ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่หากมีเครื่องหมายเตือนเชื่อว่าผู้ตายสามารถเห็นและชะลอความเร็วของรถได้ทันและจะไม่ชนท่อระบายน้ำคอนกรีต เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มากกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของผู้ตาย ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ควรจะได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 265,000 บาท แต่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วย และจำเลยทั้งสองประมาทมากกว่าการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 68,333.33 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
ห้างฯ จำเลยที่ 1 เป็นผู้รับเหมาก่อสร้างสะพาน มีหน้าที่ต้องติดตั้งเครื่องหมายแสดงให้เห็นชัดเจนเพื่อความปลอดภัยของผู้ใช้ถนนตลอดเวลา แต่กลับละเลยไม่ติดตั้งเครื่องหมายดังกล่าว ถือว่าจำเลยที่ 1 ประมาทเลินเล่ออย่างร้ายแรง แม้ผู้ตายจะขับรถจักรยานยนต์ด้วยความเร็วสูง แต่หากมีเครื่องหมายเตือนเชื่อว่าผู้ตายสามารถเห็นและชะลอความเร็วของรถได้ทันและจะไม่ชนท่อระบายน้ำคอนกรีต เหตุที่เกิดขึ้นจึงเป็นเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 มากกว่าจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิดและชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ผู้เป็นทายาทของผู้ตาย ซึ่งค่าเสียหายที่โจทก์ควรจะได้มากน้อยเพียงใดนั้นต้องอาศัยพฤติการณ์แห่งกรณีดังกล่าวเป็นประมาณตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 442 ประกอบด้วยมาตรา 223 เมื่อโจทก์ฟ้องเรียกค่าเสียหายจากจำเลยทั้งสองเป็นเงิน 265,000 บาท แต่เหตุละเมิดเกิดจากความประมาทของผู้ตายด้วย และจำเลยทั้งสองประมาทมากกว่าการกำหนดค่าเสียหายให้แก่โจทก์จำนวน 68,333.33 บาท จึงเหมาะสมแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 872/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดของผู้ขับรถประมาทชนสิ่งกีดขวาง แม้จะมีสิ่งกีดขวางอยู่ก่อน และสิทธิของนายจ้างในการเรียกร้องค่าเสียหาย
แม้โครงเหล็กของบริษัท อ. ผู้รับจ้างเหมาก่อสร้างทางรถไฟฟ้าธนายงจะยื่นล้ำเข้ามาในช่องเดินรถบางส่วนแต่ก็วางมานานแล้ว โจทก์ขับรถยนต์โดยสารผ่านที่เกิดเหตุอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง ย่อมทราบดีว่าโครงเหล็กวางล้ำเข้ามาในช่องเดินรถ ขณะเกิดเหตุเป็นเวลา 17 นาฬิกายังมีแสงสว่างเพียงพอที่จะมองเห็นโครงเหล็กได้อย่างชัดเจน การที่โจทก์ขับรถยนต์โดยสารเข้าไปชนโครงเหล็กจนทำให้รถยนต์โดยสารของจำเลยได้รับความเสียหายนั้นเป็นความประมาทเลินเล่อของโจทก์อย่างร้ายแรงจำเลยย่อมมีสิทธิเรียกร้องให้โจทก์ผู้ทำละเมิดชดใช้ค่าเสียหายได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 420 ประกอบมาตรา 438
ศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่า บริษัท อ. เป็นผู้ทำละเมิดต่อจำเลยและไม่ปรากฏว่าจำเลยมีระเบียบบังคับให้จำเลยต้องฟ้องผู้ร่วมทำละเมิด อีกทั้งไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหายมีหน้าที่ต้องฟ้องผู้ร่วมทำละเมิดด้วย การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้เสียหายตัดค่าจ้างโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยนั้น จึงชอบแล้ว
ศาลแรงงานกลางมิได้ฟังข้อเท็จจริงว่า บริษัท อ. เป็นผู้ทำละเมิดต่อจำเลยและไม่ปรากฏว่าจำเลยมีระเบียบบังคับให้จำเลยต้องฟ้องผู้ร่วมทำละเมิด อีกทั้งไม่มีกฎหมายใดกำหนดให้ผู้เสียหายมีหน้าที่ต้องฟ้องผู้ร่วมทำละเมิดด้วย การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้เสียหายตัดค่าจ้างโจทก์และให้โจทก์ชดใช้ค่าเสียหายให้แก่จำเลยนั้น จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5491/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความประมาทในการจอดรถกีดขวางการจราจรและขาดความระมัดระวังยามค่ำคืน
ป. คนขับรถคันที่โจทก์รับประกันภัย จอดรถบรรทุกบนไหล่ทางตรงที่เกิดเหตุล้ำไหล่ทางขึ้นไปบนถนนถึง 80 เซนติเมตร ทั้งที่ถนนกว้างเพียง 7 เมตร และแบ่งทางเดินรถเป็นสองช่องเดินรถไปกลับ ทางเดินรถแต่ละช่องจึงกว้างเพียง 3.50 เมตร ป. ยังจอดรถล้ำขึ้นไปบนถนนมากขนาดนั้น อีกทั้งเป็นเวลากลางคืนแรม 8 ค่ำ ไม่มีแสงสว่าง ไม่มีไฟฟ้าบนไหล่ทาง ไม่มีบ้านเรือนผู้คนอยู่ใกล้เคียง ป. ไม่สมควรจะจอดรถนอนบริเวณนั้น ควรจะหาสถานที่ที่เหมาะสมกว่า แต่เมื่อ ป. จอดรถนอนตรงนั้นแทนที่จะกระทำการอย่างใดอย่างหนึ่งเพื่อให้รถอื่นที่ใช้ถนนมองเห็นรถที่จอดอยู่ เช่น เปิดโคมไฟ จุดตะเกียงหรือแม้แต่ก่อกองไฟด้านท้ายรถเพื่อแสดงสัญญาณให้ผู้อื่นรู้ ป. ก็ไม่ได้กระทำ แต่กลับดับเครื่องยนต์แล้วเข้าไปนอนอยู่ในรถโดยไม่ใยดีเลยว่าจะเกิดความเสียหายเป็นอันตรายต่อใคร การกระทำของ ป. เช่นนี้เป็นความประมาทอย่างร้ายแรงไม่น้อยกว่าคู่กรณีอีกฝ่าย การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้ค่าเสียหายของแต่ละฝ่ายเป็นพับกันไป จึงชอบแล้ว