คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความผิดฐาน

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2510 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาดูหมิ่นพระภิกษุ: ศาลลงโทษฐานความผิดที่ถูกต้อง แม้ฟ้องผิดฐาน
คดีที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิดศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องว่า คำโฆษณาของจำเลยหยาบคายผิดวิสัยปัญญาชนของชาวหนังสือพิมพ์พึงกระทำ โดยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ ซึ่งโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 การที่โจทก์อ้างความผิดฐานหมิ่นประมาทและขอให้ลงโทษตามมาตรา 326, 328 อันเป็นบทมาตราที่ผิด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังโจทก์ฟ้องศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้นและตามฐานความผิดที่ถูกต้อง คือ ความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 142 วรรค 4

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 834/2510

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การโฆษณาดูหมิ่นพระภิกษุ: ศาลลงโทษฐานความผิดตามข้อเท็จจริง แม้ฟ้องผิดฐาน
คดีที่โจทก์อ้างฐานความผิดหรือบทมาตราผิด ศาลมีอำนาจลงโทษจำเลยตามฐานความผิดที่ถูกต้องได้
โจทก์ฟ้องว่า คำโฆษณาของจำเลยหยาบคายผิดวิสัยปัญญาชนของชาวหนังสือพิมพ์พึงกระทำ โดยกล่าวถ้อยคำดูหมิ่นเหยียดหยามโจทก์ ซึ่งโจทก์ประสงค์จะให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 การที่โจทก์อ้างความผิดฐานหมิ่นประมาทและขอให้ลงโทษตามมาตรา 326, 328 อันเป็นบทมาตราที่ผิด เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ดังโจทก์ฟ้องศาลมีอำนาจที่จะลงโทษจำเลยในข้อเท็จจริงนั้นและตามฐานความผิดที่ถูกต้อง คือ ความผิดฐานโฆษณาดูหมิ่น ตามมาตรา 393 ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 192 วรรคสี่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 764/2505 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องซ้ำในคดีอาญา: ศาลยกฟ้องจำเลยที่ศาลทหารยกฟ้องแล้ว แม้เปลี่ยนความผิดฐาน
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันพยายามฆ่าคนตายประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 288, 80, 83 ต่อศาลทหาร ศาลทหารพิจารณาแล้วฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 และที่ 3 มิได้ร่วมกระทำผิดกับจำเลยที่ 2 แต่อย่างใด ส่วนจำเลยที่ 2 ฟังว่า ได้ทำร้ายร่างกายผู้เสียหายบาดเจ็บตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ซึ่งไม่อยู่ในอำนาจศาลทหารพิจารณาพิพากษาได้ จึงพิพากษายกฟ้องโจทก์ปล่อยจำเลยทั้งสามพ้นข้อหาไป ดังนี้ คดีสำหรับตัวจำเลยที่ 1 และ 3 ถือว่าได้มีคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดซึ่งได้ฟ้องไปแล้ว เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องจำเลยทั้งสามฐานร่วมกันทำร้ายร่างกายมีบาดเจ็บตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 295 ต่อศาลพลเรือนอีก คดีสำหรับตัวจำเลยที่ 1 และที่ 3 ่ย่อมต้องห้าม ตาม ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 39 (4) (ประชุมใหญ่ครั้งที่ 22/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1936/2497 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องฉ้อโกงและการยักยอกทรัพย์: การแยกความผิดฐานและความสมบูรณ์ของฟ้อง
บรรยายฟ้องว่าจำเลยฉ้อโกงและว่าจำเลยเอาทรัพย์ที่ฉ้อโกงไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียนั้น ไม่เป็นฟ้องในความผิดฐานยักยอก
คดีความผิดฐานฉ้อโกงศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริง คดีต้องห้ามมิให้ฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง ฉะนั้นศาลฎีกาย่อมจะไม่วินิจฉัยข้อกฎหมายที่ว่าฟ้องโจทก์สมบูรณ์ในฐานฉ้อโกงหรือไม่ เพราะย่อมไม่มีผลให้มีต้องยกฟ้องโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1339/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การกระทำที่เข้าข่ายยักยอกทรัพย์ ไม่ใช่ลักทรัพย์ แม้จะมีการขนย้ายทรัพย์สินของผู้เสียหายไป
จำเลยได้สมคบกับพวกไปหลอกลวงผู้เสียหายว่า จำเลยเป็นเจ้าของเรือ ผู้เสียหายหลงเชื่อจึงได้ตกลงจ้างจำเลยขนข้าวไปกรุงเทพ ฯ จำเลยบรรทุกข้าวของผู้เสียหายไปแล้ว กลับพาข้าวหนี ดังนี้ ไม่ใช่ลักทรัพย์ ฉะนั้นถ้าโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยฐานลักทรัพย์ ศาลก็ต้องพิพากษายกฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 475/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานรับของโจร: ผู้กระทำความผิดเอง ไม่อยู่ในข่ายความผิดฐานรับของโจร
ถ้าได้กระทำความผิดอันแรกแล้วย่อมไม่มีความผิดฐานรับของโจร.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 12789/2556

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดต่างกรรม: ครอบครองวิทยุเถื่อน vs. หลีกเลี่ยงข้อห้ามนำเข้า การระงับคดีหนึ่งไม่กระทบอีกคดี
การกระทำของจำเลยในความผิดฐานมีวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตและฐานรับไว้ด้วยประการใด ๆ อันของซึ่งตนรู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัดนั้นแยกออกจากกันได้ชัดเจน ทั้งเจตนาในการกระทำ สภาพและลักษณะของการกระทำ ตลอดจนกฎหมายที่บัญญัติเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ก็เป็นคนละฉบับกัน จึงเป็นการกระทำความผิดต่างกรรม แม้อธิบดีกรมศุลกากรอนุมัติให้ระงับการดำเนินคดีจำเลยในความผิดฐานรับไว้ด้วยประการใด ๆ อันของซึ่งตนรู้ว่านำเข้ามาในราชอาณาจักรโดยหลีกเลี่ยงข้อห้ามข้อจำกัด ก็ไม่ทำให้สิทธิในการนำคดีอาญามาฟ้องในความผิดฐานมีเครื่องวิทยุคมนาคมไว้ในครอบครองโดยไม่ได้รับใบอนุญาตระงับไปด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5694/2554

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเปลี่ยนแปลงความผิดฐานในชั้นอุทธรณ์และฎีกาต้องดำเนินการโดยยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น
โจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์หรือรับของโจร เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอก หากโจทก์เห็นว่าคำพิพากษาศาลชั้นต้นไม่ถูกต้องเพราะการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานลักทรัพย์และโจทก์ประสงค์จะให้ศาลอุทธรณ์ภาค 7 ลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานลักทรัพย์อันเป็นการขอให้เปลี่ยนแปลงผลคำพิพากษาศาลชั้นต้น โจทก์จะต้องกระทำโดยยื่นเป็นคำฟ้องอุทธรณ์คัดค้านคำพิพากษาศาลชั้นต้น เมื่อโจทก์ไม่ได้ยื่นคำฟ้องอุทธรณ์ จึงไม่มีประเด็นที่ศาลอุทธรณ์ภาค 7 จะต้องวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 เป็นความผิดฐานลักทรัพย์หรือไม่ ที่โจทก์ฎีกาขอให้ลงโทษจำเลยในความผิดฐานลักทรัพย์จึงเป็นข้อที่มิได้ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ภาค 7 ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ประกอบ ป.วิ.อ. มาตรา 15 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2550

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฟ้องร่วมฐานความผิดได้ หากเป็นการกระทำต่างกัน แม้ข้อเท็จจริงบางส่วนจะเชื่อมโยงกัน
ความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับอนุญาตและความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ เป็นความผิดต่างฐานกันสามารถแยกการกระทำต่างหากจากกันได้ แม้โจทก์บรรยายฟ้องตอนหลังว่าจำเลยทั้งสองร่วมกันหลอกลวงผู้เสียหายทั้งยี่สิบเอ็ดว่าสามารถหางานและจัดส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศอันเป็นความเท็จ ความจริงแล้วจำเลยทั้งสองไม่สามารถส่งผู้เสียหายไปทำงานต่างประเทศได้ อันเป็นการยืนยันข้อเท็จจริงอยู่ในตัวว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีเจตนาจัดหางานให้ผู้เสียหายทั้งยี่สิบเอ็ด คงมีแต่เจตนาหลอกลวงเพื่อจะได้เงินเท่านั้น การกระทำของจำเลยที่ 1 จึงไม่เป็นความผิดฐานจัดหางานโดยไม่ได้รับใบอนุญาต ซึ่งมีผลเพียงทำให้ไม่อาจลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานดังกล่าวได้ แต่ฟ้องโจทก์ก็ไม่ได้ขัดแย้งกันจนไม่อาจรับฟังลงโทษจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานหลอกลวงผู้อื่นว่าสามารถหางานในต่างประเทศได้ ซึ่งเป็นความผิดอีกฐานหนึ่งต่างหากแต่อย่างใด ฟ้องโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1151-1153/2564

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานลักทรัพย์โดยการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์, ยักยอกทรัพย์, และการใช้บัตรโดยมิชอบ, ความผิดหลายกรรมต่างกัน
การใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ 26 ครั้ง แม้มีความมุ่งหมายเดียวคือเพื่อลักเอาเงินของโจทก์ร่วมไปจากบัญชี แต่เนื่องจากเงินในบัญชีมีจำนวนมาก ไม่อาจลักเอาไปเสียทีเดียวในครั้งเดียวได้ และการใช้บัตรอิเล็กทรอนิกส์ 26 ครั้ง ได้กระทำต่างวันต่างเวลาและต่างสถานที่กัน มิได้กระทำต่อเนื่องกัน ทั้งยังมีโอกาสที่จะยับยั้งในแต่ละครั้งได้ จึงเป็นความผิดหลายกรรมต่างกัน
of 2