พบผลลัพธ์ทั้งหมด 337 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6546/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ขู่เข็ญเอาทรัพย์สินด้วยอาวุธ (ไม้เสียบลูกชิ้น) เข้าข่ายความผิดฐานขู่เข็ญเอาทรัพย์สิน (ป.อ.มาตรา 339)
ขณะเกิดเหตุเป็นเวลากลางคืน ผู้เสียหายกำลังขับรถแท็กซี่โดยมีจำเลยซึ่งเป็นผู้โดยสารและไม่เคยรู้จักกันมาก่อนนั่งอยู่ด้านหลัง ใช้วัตถุจี้ที่เอวผู้เสียหายพร้อมกับพูดว่ามีสตางค์เท่าไหร่เอามาให้หมด ในขณะนั้นผู้เสียหายไม่อาจทราบได้ว่าวัตถุที่จำเลยใช้จี้เอวเป็นไม้เสียบลูกชิ้น แต่การที่ผู้เสียหายรู้สึกเจ็บ ทำให้ผู้เสียหายเข้าใจว่าวัตถุที่จำเลยใช้จี้เป็นอาวุธที่มีลักษณะปลายแหลมสามารถใช้ประทุษร้ายร่างกายผู้เสียหายได้ ในสถานการณ์เช่นนี้ผู้เสียหายย่อมจะต้องเกิดความกลัวและไม่กล้าขัดขืน ยอมมอบเงินให้แก่จำเลยไป การกระทำดังกล่าวของจำเลยถือได้ว่าเป็นการขู่เข็ญว่าในทันใดนั้นจะใช้กำลังประทุษร้ายผู้เสียหายตาม ป.อ. มาตรา 339 วรรคแรก แล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6316/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความผิดฐานชิงทรัพย์โดยใช้ยานพาหนะ และการสมคบร่วมกันกระทำความผิด
ขณะผู้เสียหายที่ 2 ขับรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 1 ไปตามถนน จำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางโดยมี ศ. นั่งซ้อนท้ายตามหลังรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 แสดงว่าจำเลยกับ ศ. ขับรถจักรยานยนต์ของกลางตามรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 มาด้วยกันตั้งแต่ต้น เมื่อมาถึงที่เกิดเหตุรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 เครื่องดับ ศ. ได้เล็งอาวุธปืนมาที่ผู้เสียหายที่ 2 แล้วใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายที่ 2 รถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 ได้ล้มลง ศ. เข้ามาขับรถจักรยานยนต์ผู้เสียหายที่ 2 หลบหนีพร้อมกับจำเลย แม้จำเลยจะมิได้ทำร้ายผู้เสียหายที่ 2 และมิได้พารถจักรยานยนต์ ผู้เสียหายที่ 2 ไป แต่จำเลยก็อยู่ในบริเวณที่เกิดเหตุตลอดเวลา หลังจากเกิดเหตุจำเลยก็ขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไปพร้อมกับ ศ. พฤติการณ์ของจำเลยกับ ศ. เป็นการวางแผนกันมาก่อนและเป็นการแบ่งหน้าที่กันทำ จำเลยจึงเป็นตัวการสมคบร่วมกระทำความผิดกับ ศ. เพื่อชิงทรัพย์มาตั้งแต่ต้น มิใช่เจตนาเพียงเป็นผู้สนับสนุนการกระทำความผิด
จำเลยกับ ศ. สมคบกันมาตั้งแต่ต้นเพื่อชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยเห็น ศ. พกอาวุธปืนมาด้วย ซึ่งการสมคบกันมาชิงทรัพย์นี้จำเลยย่อมคาดหมายได้ว่า ศ. ย่อมจะใช้อาวุธปืนในการชิงทรัพย์ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยไม่ทราบและไม่เกี่ยวข้องด้วยหาได้ไม่ ประกอบกับในการชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางพา ศ. มาชิงทรัพย์ ซึ่ง ศ. ได้เล็งอาวุธปืนไปที่ผู้เสียหายที่ 2 แล้วใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย แล้วจำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไป การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายโดยใช้ยานพาหนะ
จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางโดยมี ศ. นั่งซ้อนท้ายติดตามรถจักรยานยนต์คันที่ผู้เสียหายที่ 2 ขับมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งติดตามมาทันเนื่องจากรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 เกิดเหตุเครื่องดับกะทันหัน แล้วจำเลยกับ ศ. ร่วมกันชิงเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 จากนั้นจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไป แสดงให้เห็นว่า หากจำเลยกับ ศ. ไม่ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขับติดตามรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 ก็จะไม่สามารถติดตามผู้เสียหายที่ 2 ได้ทัน และทำการชิงเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 สำเร็จ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ อันพึงต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
จำเลยกับ ศ. สมคบกันมาตั้งแต่ต้นเพื่อชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 ในชั้นสอบสวนจำเลยก็ให้การว่าก่อนเกิดเหตุจำเลยเห็น ศ. พกอาวุธปืนมาด้วย ซึ่งการสมคบกันมาชิงทรัพย์นี้จำเลยย่อมคาดหมายได้ว่า ศ. ย่อมจะใช้อาวุธปืนในการชิงทรัพย์ จำเลยจะอ้างว่าจำเลยไม่ทราบและไม่เกี่ยวข้องด้วยหาได้ไม่ ประกอบกับในการชิงทรัพย์ผู้เสียหายที่ 2 จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางพา ศ. มาชิงทรัพย์ ซึ่ง ศ. ได้เล็งอาวุธปืนไปที่ผู้เสียหายที่ 2 แล้วใช้อาวุธปืนตีศีรษะผู้เสียหายที่ 2 เป็นเหตุให้ได้รับอันตรายแก่กาย แล้วจำเลยขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไป การกระทำของจำเลยย่อมเป็นการชิงทรัพย์เป็นเหตุให้ผู้อื่นรับอันตรายแก่กายโดยใช้ยานพาหนะ
จำเลยเป็นผู้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางโดยมี ศ. นั่งซ้อนท้ายติดตามรถจักรยานยนต์คันที่ผู้เสียหายที่ 2 ขับมาตั้งแต่ต้นจนกระทั่งติดตามมาทันเนื่องจากรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 เกิดเหตุเครื่องดับกะทันหัน แล้วจำเลยกับ ศ. ร่วมกันชิงเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 จากนั้นจำเลยได้ขับรถจักรยานยนต์ของกลางหลบหนีไป แสดงให้เห็นว่า หากจำเลยกับ ศ. ไม่ใช้รถจักรยานยนต์ของกลางเป็นยานพาหนะขับติดตามรถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 ก็จะไม่สามารถติดตามผู้เสียหายที่ 2 ได้ทัน และทำการชิงเอารถจักรยานยนต์ของผู้เสียหายที่ 2 สำเร็จ รถจักรยานยนต์ของกลางจึงเป็นยานพาหนะที่ใช้ในการกระทำความผิดฐานชิงทรัพย์ อันพึงต้องริบตาม ป.อ. มาตรา 33 (1)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5257/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดูหมิ่นด้วยถ้อยคำหยาบคายและการเปรียบเทียบเป็นสัตว์ต่อหน้าบุคคลที่สาม
จำเลยด่าว่าผู้เสียหายว่า "อีเหี้ย อีสัตว์ อีควาย มึงคิดว่าเมียกูกินเงินไปหรือไง" และชี้มือไปที่ผู้เสียหาย ถ้อยคำดังกล่าวนอกจากจะเป็นคำหยาบคายแล้ว ยังมีลักษณะเป็นการเปรียบเทียบผู้เสียหายเป็นสัตว์เลื้อยคลาน สัตว์สี่เท้า และกล่าวหาผู้เสียหายว่า ผู้เสียหายว่าภริยาจำเลยของจำเลยเอาเงินของกลุ่มแม่บ้านไปใช้เป็นการส่วนตัว ถ้อยคำดังกล่าวมีลักษณะเป็นการดูหมิ่นผู้เสียหาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1620/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเลิกจ้างเนื่องจากความผิดทางอาญาและอายุความค่าชดเชย แรงงานต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในอายุความ
ลูกหนี้เลิกจ้างเจ้าหนี้เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2536 เจ้าหนี้จึงอาจบังคับเรียกร้องให้ลูกหนี้ชำระหนี้ได้ตั้งแต่วันดังกล่าว และหนี้ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้มีขึ้นเนื่องจากการบอกเลิกสัญญาจ้างของลูกหนี้มิใช่เงินที่กำหนดจ่ายเป็นค่าตอบแทนการทำงานหรือต้องจ่ายเพื่อเป็นค่าตอบแทนแก่ลูกจ้างตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน หนี้ค่าชดเชยและสินค้าจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าจึงมิใช่ค่าจ้างและไม่มีกฎหมายบัญญัติกำหนดอายุความไว้เป็นการเฉพาะจึงมีกำหนดอายุความ 10 ปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/30 ส่วนหนี้ค่าจ้างวันหยุดพักผ่อนประจำปี เป็นเงินที่ลูกหนี้จะต้องจ่ายเป็นค่าตอบแทนแก่เจ้าหนี้ซึ่งเป็นลูกจ้างตามสัญญาจ้างแรงงาน จึงเป็นสินจ้างตามมาตรา 575 ซึ่งมีอายุความ 2 ปี ตามมาตรา 193/34 (9) เมื่อนับแต่วันที่ 30 มีนาคม 2536 ถึงวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2545 ซึ่งเป็นวันที่เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ค่าจ้างสำหรับวันหยุดพักผ่อนประจำปีตามคำขอรับชำระหนี้ของเจ้าหนี้จึงขาดอายุความแล้ว ไม่อาจขอรับชำระหนี้เฉพาะหนี้ค่าชดเชยและสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
มีคนร้ายลักทรัพย์เงินสดจำนวน 93,013 บาท ของลูกหนี้ไป ลูกหนี้ได้มอบอำนาจให้พนักงานการเงินและบัญชีไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ผลจากการสืบสวนได้ตรวจพบรอยนิ้วมือและฝ่ามือแฝงของเจ้าหนี้ในที่เกิดเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจจึงดำเนินคดีแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้จึงได้เลิกจ้างเจ้าหนี้ และต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องเจ้าหนี้ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในความผิดข้อหาลักทรัพย์การที่เจ้าหนี้ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาล้วนมีขึ้นจากดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการ การที่ลูกหนี้ร้องขอจนศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ลูกหนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการล้วนเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายไม่เป็นการละเมิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนสอบสวนแล้วดำเนินคดีแก่เจ้าหนี้ย่อมบ่งชี้และทำให้ลูกหนี้เข้าใจได้ว่าเจ้าหนี้เป็นผู้ลักทรัพย์ของลูกหนี้ไป ซึ่งเป็นเหตุอันสมควรที่ลูกหนี้จะเลิกจ้างเจ้าหนี้ได้ แม้ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้และศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง ก็ไม่มีผลทำให้การเลิกจ้างของลูกหนี้กลับเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นบทกฎหมายที่กำหนดให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในขณะมีการเลิกสัญญาจ้างแรงงาน มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้ดังเช่น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ไว้โดยชัดแจ้ง ศาลล้มละลายกลางกำหนดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 จึงชอบแล้ว
เมื่อลูกหนี้เลิกจ้างเจ้าหนี้ ลูกหนี้จะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่เจ้าหนี้ทันที เมื่อไม่จ่ายให้ ลูกหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป แต่สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องที่พ้นกำหนดอายุความดังกล่าวเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้มีการทวงถามก่อน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดดอกเบี้ยให้นับถัดจากวันยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นต้นไป
มีคนร้ายลักทรัพย์เงินสดจำนวน 93,013 บาท ของลูกหนี้ไป ลูกหนี้ได้มอบอำนาจให้พนักงานการเงินและบัญชีไปแจ้งความต่อเจ้าพนักงานตำรวจ ผลจากการสืบสวนได้ตรวจพบรอยนิ้วมือและฝ่ามือแฝงของเจ้าหนี้ในที่เกิดเหตุ เจ้าพนักงานตำรวจจึงดำเนินคดีแก่เจ้าหนี้ ลูกหนี้จึงได้เลิกจ้างเจ้าหนี้ และต่อมาพนักงานอัยการได้ยื่นฟ้องเจ้าหนี้ต่อศาลอาญากรุงเทพใต้ ในความผิดข้อหาลักทรัพย์การที่เจ้าหนี้ถูกฟ้องเป็นคดีอาญาล้วนมีขึ้นจากดุลพินิจในการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของเจ้าพนักงานตำรวจและพนักงานอัยการ การที่ลูกหนี้ร้องขอจนศาลใช้ดุลพินิจอนุญาตให้ลูกหนี้เข้าเป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการล้วนเป็นการใช้สิทธิตามกฎหมายไม่เป็นการละเมิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ที่เจ้าพนักงานตำรวจสืบสวนสอบสวนแล้วดำเนินคดีแก่เจ้าหนี้ย่อมบ่งชี้และทำให้ลูกหนี้เข้าใจได้ว่าเจ้าหนี้เป็นผู้ลักทรัพย์ของลูกหนี้ไป ซึ่งเป็นเหตุอันสมควรที่ลูกหนี้จะเลิกจ้างเจ้าหนี้ได้ แม้ต่อมาศาลอาญากรุงเทพใต้และศาลอุทธรณ์จะมีคำพิพากษาถึงที่สุดให้ยกฟ้อง ก็ไม่มีผลทำให้การเลิกจ้างของลูกหนี้กลับเป็นการเลิกจ้างไม่เป็นธรรม
ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงานซึ่งเป็นบทกฎหมายที่กำหนดให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในขณะมีการเลิกสัญญาจ้างแรงงาน มิได้กำหนดอัตราดอกเบี้ยที่ลูกหนี้จะต้องรับผิดชดใช้ให้แก่เจ้าหนี้ดังเช่น พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 9 วรรคหนึ่ง ที่กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 15 ไว้โดยชัดแจ้ง ศาลล้มละลายกลางกำหนดดอกเบี้ยให้ในอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี ตาม ป.พ.พ. มาตรา 224 จึงชอบแล้ว
เมื่อลูกหนี้เลิกจ้างเจ้าหนี้ ลูกหนี้จะต้องจ่ายค่าชดเชยแก่เจ้าหนี้ทันที เมื่อไม่จ่ายให้ ลูกหนี้จึงตกเป็นผู้ผิดนัดต้องชำระดอกเบี้ยนับแต่วันเลิกจ้างเป็นต้นไป แต่สิทธิเรียกร้องดอกเบี้ยค้างชำระดังกล่าวมีกำหนดอายุความ 5 ปี นับย้อนหลังแต่วันยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายตาม ป.พ.พ. มาตรา 193/33 สิทธิเรียกร้องที่พ้นกำหนดอายุความดังกล่าวเจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิได้รับชำระหนี้ ส่วนสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าไม่ปรากฏว่าเจ้าหนี้มีการทวงถามก่อน ศาลฎีกาเห็นควรกำหนดดอกเบี้ยให้นับถัดจากวันยื่นคำขอรับชำระหนี้เป็นต้นไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2227/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การปลอมเอกสารสิทธิ vs. เอกสารปลอม: แบบคำขอใช้บริการ ATM ไม่ใช่เอกสารสิทธิโดยตรง
"เอกสารสิทธิ" ตาม ป.อ. มาตรา 1 (9) หมายความว่า เอกสารที่เป็นหลักฐานการก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน หรือระงับซึ่งสิทธิ แต่แบบคำขอใช้บริการบัวหลวง เอ.ที.เอ็ม ที่จำเลยปลอมขึ้นนั้นเป็นเอกสารที่จำเลยใช้ยื่นต่อธนาคารผู้เสียหายเพื่อขอให้ ส. ซึ่งเป็นลูกค้าเงินฝากประเภทสะสมทรัพย์ของธนาคารผู้เสียหายได้ใช้บัตรฝากถอนเงินอัตโนมัติ แต่ยังไม่แน่ว่าธนาคารผู้เสียหายจะอนุมัติตามแบบคำขอใช้บริการดังกล่าวหรือไม่ แบบคำขอใช้บริการดังกล่าวมิใช่เอกสารที่เป็นหลักฐานแห่งการก่อสิทธิในการฝาก - ถอนเงินกับธนาคารผู้เสียหายโดยตรง จึงมิใช่เอกสารสิทธิตามความใน ป.อ. มาตรา 1 (9) การกระทำของจำเลยซึ่งปลอมแบบคำขอใช้บริการดังกล่าวและใช้เอกสารดังกล่าว จึงไม่เป็นการปลอมเอกสารสิทธิและใช้เอกสารสิทธิปลอม คงเป็นความผิดฐานปลอมและใช้เอกสารปลอมตาม ป.อ. มาตรา 264 วรรคแรก, 268 วรรคแรก ประกอบมาตรา 264 วรรคแรก เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1308/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรวมกระทงความผิดทางอาญา และข้อจำกัดในการฎีกาปัญหาข้อเท็จจริง
ศาลชั้นต้นลงโทษเมื่อลดโทษหนึ่งในสี่แล้วจำคุกจำเลยฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารมีกำหนด 9 เดือน ฐานข่มขืนกระทำชำเรามีกำหนด 4 ปี 6 เดือน และฐานหน่วงเหนี่ยวกักขังมีกำหนด 9 เดือน ซึ่งกำหนดโทษจำคุกในแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี ศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้เป็นว่าความผิดฐานพาหญิงไปเพื่อการอนาจารและหน่วงเหนี่ยวกักขังเป็นกรรมเดียวเป็นความผิดต่อกฎหมายหลายบท ปรับบทลงโทษตาม ป.อ. มาตรา 284 วรรคแรก ซึ่งเป็นบทที่หนักที่สุดตาม ป.อ. มาตรา 90 จำคุกจำเลย 1 ปี รวมกับโทษจำคุก 6 ปี ฐานข่มขืนกระทำชำเราตามคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้ว จำคุกจำเลย 7 ปี ลดโทษให้ตาม ป.อ. มาตรา 78 หนึ่งในสี่ คงจำคุก 5 ปี 3 เดือน ถือว่าศาลอุทธรณ์ภาค 9 พิพากษาแก้ไขเล็กน้อยและให้ลงโทษจำคุกจำเลยแต่ละกระทงไม่เกิน 5 ปี จึงห้ามมิให้คู่ความฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.อ. มาตรา 218 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6770/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำทางอาญา: ศาลชั้นต้นวินิจฉัยขาดองค์ประกอบความผิดแล้ว โจทก์ฟ้องใหม่ไม่ได้ แม้ในระยะเวลาอุทธรณ์
จำเลยทั้งสองฎีกาโต้แย้งคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ ที่ยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นและให้ศาลชั้นต้นดำเนินกระบวนพิจารณาและพิพากษาใหม่ซึ่งหาได้มีบทบัญญัติแห่งกฎหมายห้ามมิให้จำเลยทั้งสองฎีกาไม่ จำเลยทั้งสองจึงมีสิทธิยื่นฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 216
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนแล้วมีคำวินิจฉัยว่า คำฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอย่างใดอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดนั้น เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องคดีก่อนแล้วว่าไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลจะลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้ซึ่งถือได้ว่าศาลชั้นต้นคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยโจทก์ชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 วรรคท้าย และมาตรา 198 แต่โจทก์กลับมายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ใหม่โดยบรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยเช่นเดียวกับที่ได้บรรยายฟ้องไว้ในคดีก่อนยืนยันว่า การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) แม้โจทก์จะยื่นฟ้องใหม่ภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีนั้น ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะฟ้อง
การที่ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์ในคดีก่อนแล้วมีคำวินิจฉัยว่า คำฟ้องโจทก์ไม่ปรากฏว่าจำเลยได้ปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริตอย่างใดอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 เป็นฟ้องที่ขาดองค์ประกอบความผิดนั้น เท่ากับว่าศาลชั้นต้นได้มีคำวินิจฉัยชี้ขาดในเนื้อหาการกระทำของจำเลยตามที่โจทก์บรรยายมาในคำฟ้องคดีก่อนแล้วว่าไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157 ศาลจะลงโทษจำเลยตามฟ้องไม่ได้ซึ่งถือได้ว่าศาลชั้นต้นคำพิพากษาเสร็จเด็ดขาดในความผิดที่ได้ฟ้องแล้ว หากโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยโจทก์ชอบที่จะยื่นอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 161 วรรคท้าย และมาตรา 198 แต่โจทก์กลับมายื่นฟ้องจำเลยเป็นคดีนี้ใหม่โดยบรรยายฟ้องถึงการกระทำของจำเลยเช่นเดียวกับที่ได้บรรยายฟ้องไว้ในคดีก่อนยืนยันว่า การกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157 อีก จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญามาตรา 39(4) แม้โจทก์จะยื่นฟ้องใหม่ภายในระยะเวลายื่นอุทธรณ์คดีนั้น ก็ไม่ทำให้เกิดสิทธิที่จะฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4526/2546 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิการเป็นโจทก์ร่วม: ผู้ตายมีส่วนผิดทางอาญา ภริยาไม่มีสิทธิฟ้องฎีกา
พนักงานอัยการโจทก์ฟ้องว่า จำเลยและ ส. ต่างขับขี่รถจักรยานยนต์ด้วยความประมาทเป็นเหตุให้ ส. ถึงแก่ความตาย ส. จึงมีส่วนในการกระทำผิดทางอาญาด้วย ส. จึงมิใช่ผู้เสียหายโดยนิตินัยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) ป. ภริยาของ ส. จึงไม่มีอำนาจเข้ามาจัดการแทน ส. ซึ่งถึงแก่ความตายตามมาตรา 5(2) และไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 274/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องเบิกความเท็จ: การบรรยายฟ้องไม่ครบถ้วนองค์ประกอบความผิด ทำให้ฟ้องไม่ชอบ
โจทก์ฟ้องว่า จำเลยเบิกความอันเป็นเท็จต่อศาลแขวงพระนครเหนือ โดยเพียงแต่กล่าวว่าจำเลยได้เบิกความในคดีหมายเลขใด ระหว่างผู้ใดโจทก์ ผู้ใดจำเลย และข้อความที่เบิกความกับว่าความจริงเป็นอย่างไร ซึ่งแม้จะเข้าใจได้ว่าคดีที่เบิกความเป็นการพิจารณาคดีอาญา และโจทก์ได้กล่าวมาในฟ้องว่าข้อความที่เบิกความเป็นข้อสำคัญในคดี แต่เมื่อโจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่าคดีอาญานั้นมีข้อหาความผิดตามบทกฎหมายใด ประเด็นอันเป็นข้อสำคัญในคดีมีว่าอย่างใด และคำเบิกความของจำเลยเป็นข้อสำคัญอย่างไร จึงถือว่าฟ้องโจทก์มิได้บรรยายถึงการกระทำที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดมาโดยครบถ้วนไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158(5) และยังเป็นฟ้องที่บรรยายไม่ครบองค์ประกอบของความผิดตามบทมาตราในกฎหมายที่ขอให้ลงโทษจำเลยด้วย ศาลจึงพิพากษายกฟ้องโจทก์เสียได้ กรณีมิใช่เรื่องฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมายซึ่งอยู่ในอำนาจของศาลที่จะสั่งให้โจทก์แก้ฟ้องตามมาตรา 161 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 131/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การข่มขืนใจเรียกเงินโดยอ้างเป็นเจ้าพนักงานตำรวจ ไม่เข้าข่ายความผิด ม.337 หากไม่มีการขู่เข็ญหรือใช้กำลัง
วันเกิดเหตุขณะผู้เสียหายกำลังจัดของอยู่กลางร้าน จำเลยทั้งสี่เข้ามาในร้านผู้เสียหายถามว่ามาซื้ออะไร จำเลยที่ 1 บอกว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจมาดูแลความเรียบร้อยในร้าน ต้องการเงิน 5,000 บาท เป็นค่าดูแล ผู้เสียหายรู้สึกไม่ปลอดภัยจึงเดินไปหลังร้านโทรศัพท์ไปที่สถานีตำรวจแต่ไม่ติด เมื่อเดินออกมาหน้าร้านก็เห็นจำเลยทั้งสี่เดินขึ้นรถยนต์กระบะไป จะเห็นได้ว่าจำเลยที่ 1 เพียงแต่อ้างว่าเป็นเจ้าพนักงานตำรวจและพูดขอเงินเป็นค่าดูแลร้านเท่านั้น ซึ่งผู้เสียหายจะให้หรือไม่ก็ได้ ทั้งไม่ปรากฏว่าจำเลยทั้งสี่ใช้กำลังประทุษร้ายหรือขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อชีวิต ร่างกาย เสรีภาพชื่อเสียง หรือทรัพย์สินของผู้เสียหายหรือบุคคลที่สามแต่อย่างใด และจำเลยทั้งสี่ไม่ได้รอเอาเงินจากผู้เสียหายตามที่พูด คำพูดของจำเลยที่ 1 ดังกล่าว จึงยังถือไม่ได้ว่าเป็นการขู่เข็ญว่าจะทำอันตรายต่อเสรีภาพและทรัพย์สินของผู้เสียหาย ไม่เป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 337