คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความผิดร้ายแรง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 45 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การช่วยเหลือลูกค้าช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง แม้ฝ่าฝืนระเบียบ หากมีเจตนาเพื่อประโยชน์ของธนาคาร
โจทก์มิได้ทุจริตหรือประมาทเลินเล่อในการฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยแต่เป็นการช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจโดยจำเลยก็ได้รับผลประโยชน์จากการเบิกเงินเกินบัญชีและรับซื้อลดตั๋วเงินที่ผิดระเบียบดังกล่าวด้วยและสาขาอื่นของจำเลยก็ปฏิบัติทำนองเดียวกันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยจึงไม่อาจถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4692/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม: การผ่อนผันช่วยเหลือลูกค้าช่วงวิกฤตเศรษฐกิจ ไม่ถือเป็นความผิดร้ายแรง
โจทก์เป็นผู้จัดการสาขาธนาคารจำเลยมิได้ทุจริตหรือประมาทเลินเล่อในการฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งเกี่ยวกับการปฏิบัติงานของจำเลยแต่เป็นการผ่อนสั้นผ่อนยาวช่วยเหลือลูกค้าที่ประสบปัญหาจากภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจโดยจำเลยก็ได้รับผลประโยชน์จากการที่โจทก์อนุมัติให้ลูกค้าเบิกเงินเกินบัญชีและรับซื้อลดตั๋วเงินที่ผิดระเบียบด้วยและสาขาอื่นของจำเลยก็ปฏิบัติทำนองเดียวกันเป็นการกระทำเพื่อประโยชน์ของจำเลยไม่อาจถือว่าเป็นความผิดร้ายแรง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 541/2536

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างแรงงาน: การตอกบัตรแทนไม่ใช่ความผิดร้ายแรง แต่จงใจขัดคำสั่งนายจ้างเป็นเหตุเลิกจ้างได้
การที่โจทก์ได้ใช้ผู้อื่นตอกบัตรลงเวลาทำงานแทนให้แก่โจทก์แต่โจทก์ก็ได้เข้าทำงานก่อนเวลาทำงานปกตินั้น มิใช่เป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานเป็นกรณีร้ายแรงตามที่กำหนดไว้ ในข้อ 47(3) ของประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน จำเลยเลิกจ้างโจทก์จึงต้องจ่ายค่าชดเชยให้โจทก์ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงานข้อ 46 แต่เมื่อศาลแรงงานกลางฟังข้อเท็จจริงว่าโจทก์จงใจขัดคำสั่งดังกล่าวจำเลยจึงมีสิทธิเลิกจ้างโจทก์ได้โดยมิ พักต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่จำต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์ตามป.พ.พ. มาตรา 583.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5806/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คดีอาญาอุกฉกรรจ์: การกระทำความผิดร้ายแรงต่อเจ้าพนักงานและผู้บริสุทธิ์ ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ
จำเลยกระทำความผิดอย่างอุกอาจโดยยิงเจ้าพนักงานตำรวจขณะเข้าจับกุมจำเลยในย่านชุมชน ทั้งยังยิงผู้บริสุทธิ์ตายอีก 2 คน เป็นการโหดเหี้ยมอำมหิตผิดมนุษย์ ไม่มีเหตุจะให้ลงโทษสถานเบา จำเลยถูกจับกุมได้ในที่เกิดเหตุและมีประจักษ์พยานรู้เห็นเหตุการณ์มาแต่ต้น แสดงว่ามีพยานหลักฐานมัดตัวจำเลยอย่างมั่นคง การให้การรับสารภาพของจำเลยทั้งหมดเป็นการจำนนต่อหลักฐานไม่เป็นประโยชน์แก่การพิจารณา ไม่มีเหตุบรรเทาโทษ.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5596/2534

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่ดื่มสุราขณะทำงาน แม้ดื่มนอกสถานที่ ถือเป็นความผิดร้ายแรง
จำเลยที่ 15 เป็นลูกจ้างโจทก์ ทำหน้าที่ขับรถเครนยกของหนักต้องใช้ความระมัดระวัง เมื่อจำเลยที่ 15 ดื่มสุราในเวลาทำงานแม้เป็นการดื่มนอกที่ทำงาน แต่ได้กลับเข้าทำงานในลักษณะมึนเมาสุราถ้าจำเลยที่ 15 เข้าปฏิบัติหน้าที่ขับรถเครนก็อาจจะเกิดอุบัติเหตุหรือก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ได้การกระทำของจำเลยที่ 15จึงเป็นความผิดกรณีร้ายแรงโดยไม่จำเป็นต้องรอให้เกิดความเสียหายขึ้นก่อน ดังนี้ โจทก์มีสิทธิเลิกจ้างจำเลยที่ 15 ได้ตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 123(3).

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3551/2532

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างเนื่องจากกระทำผิดร้ายแรงกระทบต่อการทำงาน แม้ไม่มีระเบียบข้อบังคับ ก็สามารถอ้างเหตุได้
เมื่อจำเลยเลิกจ้างโจทก์แล้วจะต้องรับผิดจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าให้แก่โจทก์หรือไม่ แม้ไม่มีระเบียบข้อบังคับของจำเลยกำหนดไว้ก็สามารถพิจารณาได้จากการกระทำของโจทก์ว่า เป็นการกระทำความผิดตามที่ระบุไว้ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 583 หรือไม่ โจทก์ซึ่งมีอาการมึนเมาสุราได้ขอให้ ป.ผู้ร่วมงานช่วยตามหาภรรยาซึ่งหนีไป เมื่อ ป. ไปกับโจทก์ โจทก์ถือโอกาสพา ป. เข้าโรงแรมแล้วปลุกปล้ำแต่ ป. หนีมาได้ การกระทำของโจทก์นอกจากจะเป็นความผิดอาญา เป็นการประพฤติผิดศีลธรรมอันดี เป็นการประพฤติชั่วแล้ว ยังก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างเพื่อนร่วมงาน อันเป็นผลเสียกระทบกระเทือนถึงการงานของจำเลยด้วย ถือได้ว่าเป็นการกระทำผิดอย่างร้ายแรงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 โจทก์ไม่มีสิทธิได้รับสินจ้าง แทนการบอกกล่าวล่วงหน้า.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 776/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างฐานกระทำผิดร้ายแรง การพิจารณาความร้ายแรงต้องดูที่การกระทำของลูกจ้างเอง ไม่ใช่การเลิกจ้างลูกจ้างอื่น
การกระทำใดเป็นความผิดร้ายแรงตามข้อบังคับหรือระเบียบเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องการคุ้มครองแรงงาน ข้อ 47(3) หรือไม่ ต้องพิจารณาจากการกระทำนั้น ๆ เอง มิใช่ถือเอาการกระทำใด ๆ ของนายจ้างอันเกิดขึ้นต่อภายหลังมาเป็นข้อประกอบการพิจารณา การที่โจทก์เป็นเจ้ามือสลากกินรวบในสถานที่ทำงานของนายจ้างเป็นที่ประจักษ์อยู่ในตัวโดยไม่จำต้องอธิบายใด ๆ ว่าเป็นความผิดเป็นกรณีที่ร้ายแรง แม้นายจ้างจะมิได้เลิกจ้างลูกจ้างอื่นที่ร่วมเล่นการพนันกับโจทก์ด้วย นายจ้างก็เลิกจ้างโจทก์ได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าและค่าชดเชย.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4519/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างกรณีทำร้ายผู้บังคับบัญชา ถือเป็นความผิดร้ายแรง นายจ้างมีสิทธิเลิกจ้างได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดความผิดและมาตราการลงโทษไว้ ซึ่งประกอบด้วยโทษสถานเบา สถานปานกลาง สถานหนัก และโทษทางวินัย ส่วนกรณีความผิดอื่นที่ไม่ระบุในข้อบังคับ ให้ทำการพิจารณาโดยหัวหน้างานหรือฝ่ายจัดการเพื่อเปรียบเทียบการลงโทษ ลูกจ้างชกต่อยผู้บังคับบัญชาในขณะกำลังเปลี่ยนกะพนักงาน ต่อหน้าพนักงานอื่นจำนวนมาก ด้วยสาเหตุเนื่องมาจากการทำงาน ถือว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรงเปรียบเทียบได้กับโทษทางวินัย คือ เจตนากระทำผิดอาญาต่อนายจ้าง ซึ่งมีโทษให้ออกโดยไม่จ่ายเงินชดเชย และถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นเป็นกรณีร้ายแรง นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4519/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างลูกจ้างที่กระทำผิดร้ายแรง การพิจารณาความผิดตามระเบียบข้อบังคับ และสิทธิในการได้รับค่าชดเชย
ระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้างกำหนดความผิดและมาตรการการลงโทษไว้ ซึ่งประกอบด้วยโทษสถานเบาสถานปานกลาง สถานหนักและโทษทางวินัย ส่วนกรณีความผิดอื่นที่ไม่ระบุในข้อบังคับให้ทำการพิจารณาโดยหัวหน้างานหรือฝ่ายจัดการเพื่อเปรียบเทียบการลงโทษ ลูกจ้างชกต่อยผู้บังคับบัญชาในขณะกำลังเปลี่ยนกะพนักงานต่อหน้าพนักงานอื่นจำนวนมาก ด้วยสาเหตุเนื่องมาจากการทำงาน ถือว่าเป็นความผิดกรณีร้ายแรงเปรียบเทียบได้กับโทษทางวินัย คือ เจตนากระทำผิดอาญาต่อนายจ้าง ซึ่งมีโทษให้ออกโดยไม่จ่ายเงินชดเชย และถือว่าเป็นการฝ่าฝืนข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานอันเป็นกรณีร้ายแรงนายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างได้โดยไม่ต้องบอกกล่าวล่วงหน้าและไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5860/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย กรณีลูกจ้างละทิ้งหน้าที่ดื่มสุรานอกเวลางาน แม้ไม่ใช่ความผิดร้ายแรง
แม้การที่ลูกจ้างออกไปดื่มสุรานอกบริเวณโรงงานตั้งแต่เวลา22 ถึง 24 นาฬิกา จะเป็นการละทิ้งหน้าที่อันเป็นเหตุให้นายจ้างได้รับความเสียหายแต่เมื่อข้อบังคับของนายจ้างมิได้กำหนดว่าเป็นความผิดอันมีโทษถึงปลดออก ไล่ออกแสดงว่านายจ้าง มิได้ถือ ว่าเป็นความผิดกรณีที่ร้ายแรง การที่นายจ้างเลิกจ้างลูกจ้างเพราะเหตุนี้จึงต้องจ่ายค่าชดเชยแก่ลูกจ้าง อย่างไรก็ดีการกระทำดังกล่าว เป็นการ "ละทิ้งการงานไปเสีย" ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 583 นายจ้างจึงไม่ต้องจ่าย สินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้า
of 5