คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความมั่นคง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 25 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4222/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การจัดประเภทพิกัดศุลกากรของหีบใส่เงิน: พิจารณาจากลักษณะการใช้งานและความมั่นคงเพื่อป้องกันทรัพย์สิน
สินค้าพิพาทที่จำเลยนำเข้าทำด้วยเหล็ก มีขนาดสูงประมาณ 14 - 15 เซนติเมตร กว้าง 22 - 25 เซนติเมตร ยาว 30 - 36 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 4 - 5 กิโลกรัม มีกุญแจและรหัสเป็นตัวเลข ตั้งแต่เลข 0 ถึงเลข 100 ใช้สำหรับปิดเปิด เมื่อเปิดฝาหรือเคลื่อนย้าย จะมีเสียกริ่งดัง เป็นสัญญาณใช้สำหรับกันขโมย ดังนี้ สินค้าดังกล่าวจึงเป็นหีบใส่เงิน ต้องเสียภาษีอากรตามบัญชีแนบท้ายพระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ. 2503 ที่ใช้บังคับในขณะพิพาทในพิกัดประเภทที่ 83.03 อัตราร้อยละ 15 หาใช่ของใช้ในบ้านเรือนในพิกัดประเภทที่ 73.38 ข. อัตราร้อยละ 50 ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2857/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีความมั่นคงของรัฐ: รัฐเป็นผู้เสียหายแต่เพียงผู้เดียว
พนักงานอัยการเป็นโจทก์ฟ้องขอให้ลงโทษจำเลยตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113,114 และ 116 อันเป็นความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร เป็นการกระทำความผิดต่อรัฐโดยตรง รัฐเท่านั้นเป็นผู้เสียหายที่มีอำนาจดำเนินคดีแก่ผู้กระทำความผิด แม้ผู้ร้องจะเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรก็มิใช่เป็นผู้เสียหายตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 2(4) จึงไม่มีอำนาจฟ้องคดีนี้ตามมาตรา 28.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1267/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนใบอนุญาตสมาคมและมูลนิธิกรณีขัดต่อความมั่นคงและวัฒนธรรมของชาติ และคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราว
เหตุที่ผู้ว่าราชการจังหวัดจำเลยที่ 1 ขีดชื่อสมาคมซึ่งโจทก์เป็นเจ้าหน้าที่ดูแลออกจากทะเบียนสมาคม และจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นนายอำเภอได้เข้าควบคุมกิจการและทรัพย์สินของสมาคมและมูลนิธิก็ เพราะสำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติวัฒนธรรมแห่งชาติ ฯ เพิกถอนใบอนุญาตให้จัดตั้งสมาคมและมูลนิธินี้เนื่องจากร่วมกันกระทำการเป็นไปในทางนำความเสื่อมเสียมาสู่วัฒนธรรมของชาติ และร่วมกันกระทำการอันอาจเป็นภัยกับความมั่นคงของชาติ ฯลฯ พระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน ดังนั้น เมื่อคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวของโจทก์มีวัตถุประสงค์ที่จะให้มูลนิธิและสมาคมได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ต่อไปจึงยังไม่มีเหตุเพียงพอที่จะนำวิธีการชั่วคราวก่อนพิพากษามาคุ้มครองให้โจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1234/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลทหารคดีความมั่นคงและผลของประกาศคณะปฏิวัติ แม้มีรัฐธรรมนูญ
การที่ศาลได้รับคำฟ้องไว้เพื่อไต่สวนมูลฟ้องนั้น ไม่จำเป็นจะต้องสืบพยานหรือต้องวินิจฉัยว่าฟ้องมีมูลหรือไม่เสมอไป ถ้าศาลเห็นว่าเป็นฟ้องที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายก็ชอบที่จะงดการไต่สวนมูลฟ้องและพิพากษายกฟ้องได้
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยโฆษณาหรือประกาศให้บุคคลอื่นประทุษร้ายต่อชีวิตโจทก์ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 85และมีคำขอท้ายฟ้องโดยอ้างมาตรา 288 มาด้วย ต้องถือว่า โจทก์มีความประสงค์ให้ลงโทษตามมาตรา 288 เพราะตามมาตรา 85 นั้น เมื่อจะใช้ก็ต้องโยงไปประกอบมาตรา 288 ด้วย ดังนั้น เมื่อเหตุในคดีนี้เกิดขึ้นระหว่างที่มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก และความผิดตามมาตรา 288 อยู่ในอำนาจของศาลทหารที่จะพิจารณาพิพากษา คดีนี้จึงไม่อยู่ในอำนาจของศาลอาญา
เมื่อคณะปฏิวัติหรือคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินยึดอำนาจการปกครองแผ่นดินได้เป็นผลสำเร็จ หัวหน้าคณะปฏิวัติหรือหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินย่อมมีอำนาจออกประกาศ หรือคำสั่งอันถือว่าเป็นกฎหมายใช้บังคับแก่ประชาชนได้ แม้จะมีรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยประกาศใช้แล้วก็ตาม แต่เมื่อไม่มีกฎหมายยกเลิกประกาศหรือคำสั่งดังกล่าวประกาศหรือคำสั่งนั้นก็ยังคงเป็นกฎหมายใช้บังคับอยู่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2519 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ อายัดทรัพย์สินเพื่อความมั่นคง และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นที่สุด
การที่นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินของ ถ. อันเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทซึ่งมีชื่อภริยาของ ถ. ทางทะเบียนถูกอายัดไปด้วยนั้น เนื่องมาจากคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ดังกล่าว มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งเดิม ให้ทรัพย์สินที่ถูกอายัดหรือยึดไว้ตามคำสั่งฉบับแรกตกเป็นของรัฐทันที ในกรณีที่บุคคลใดอ้างว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตนให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าผู้ร้องไม่อาจพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ตนได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนทรัพย์สินให้ การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด คำสั่งที่ให้การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการในกรณีไม่คืนทรัพย์เป็นที่สุดนั้น ก็เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีที่สั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการที่วินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่าคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไรบ้าง การที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่ารถยนต์เป็นของโจทก์ควรจะคืนให้โจทก์ จึงเป็นเรื่องโต้เถียงคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการซึ่งโจทก์มีความเห็นไม่ตรงกับคณะกรรมการเท่านั้น หาใช่คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ เมื่อคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นไปโดยชอบ คำสั่งจึงเป็นอันยุติเด็ดขาดเพียงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2291/2519

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ อายัดทรัพย์สินเพื่อความมั่นคง และการวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการถือเป็นที่สุด
การที่นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีอาศัยอำนาจตาม มาตรา17 ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร มีคำสั่งให้อายัดทรัพย์สินของ ถ. อันเป็นเหตุให้รถยนต์พิพาทซึ่งมีชื่อภริยาของ ถ. ทางทะเบียนถูกอายัดไปด้วยนั้น เนื่องมาจากคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย และเมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 ดังกล่าว มีคำสั่งต่อเนื่องจากคำสั่งเดิม ให้ทรัพย์สินที่ถูกอายัดหรือยึดไว้ตามคำสั่งฉบับแรกตกเป็นของรัฐทันที ในกรณีที่บุคคลใดอ้างว่าทรัพย์สินนั้นเป็นของตนให้ยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งขึ้น ถ้าคณะกรรมการเห็นว่าผู้ร้องไม่อาจพิสูจน์ให้เป็นที่พอใจได้ว่าเป็นทรัพย์ที่ตนได้มาโดยสุจริตและโดยชอบ ให้คณะกรรมการวินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนทรัพย์สินให้ การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการให้เป็นที่สุด คำสั่งที่ให้การวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการในกรณีไม่คืนทรัพย์เป็นที่สุดนั้น ก็เป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีที่สั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย
โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนคำสั่งของคณะกรรมการที่วินิจฉัยชี้ขาดไม่คืนรถยนต์พิพาทให้โจทก์ แต่โจทก์มิได้กล่าวมาในฟ้องว่าคณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบอย่างไรบ้าง การที่โจทก์อ้างมาในฎีกาว่ารถยนต์เป็นของโจทก์ควรจะคืนให้โจทก์จึงเป็นเรื่องโต้เถียงคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการซึ่งโจทก์มีความเห็นไม่ตรงกับคณะกรรมการเท่านั้น หาใช่คณะกรรมการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบไม่ เมื่อคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการเป็นไปโดยชอบ คำสั่งจึงเป็นอันยุติเด็ดขาดเพียงนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1740/2518

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การพิจารณาคดีความมั่นคง – การคุ้มครองข้อมูลและความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
ศาลชั้นต้นสั่งให้พิจารณานำสืบตัวจำเลยบางคนเป็นการลับและห้ามการโฆษณาข้อเท็จจริงได้ ซึ่งเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างประเทศและความปลอดภัยมั่นคงของราชอาณาจักร ศาลไม่กล่าวถึงรายละเอียดเรื่องราวต่างๆ บุคคลและสถานที่ๆ เกี่ยวข้องไว้ในคำพิพากษา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1785/2513

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจนายกฯ สั่งจำคุกเพื่อระงับภัยคุกคามความมั่นคง: การใช้อำนาจตามมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครอง
ถ้อยคำในมาตรา 17 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรที่ว่า'.....ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติของคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฯลฯ' นั้น ย่อมรวมถึงการสั่งจำคุกก็ทำได้ในเมื่อนายกรัฐมนตรีเห็นสมควรเพื่อประโยชน์ในการระงับหรือปราบปรามการกระทำอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรฯ
เมื่อนายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีคำสั่งว่า การกระทำของผู้ร้องที่ร่วมกันมียาปลอมไว้ขายและปลอมยาของผู้อื่น เป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักรให้จำคุกผู้ร้องไว้นั้นผู้ร้องจะเถียงว่าการกระทำของผู้ร้องไม่ถึงกับเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร หาได้ไม่ เพราะเป็นดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีสั่งการไปตามอำนาจที่มีอยู่ตามกฎหมาย และไม่มีบทกฎหมายใดให้ศาลมีอำนาจรื้อฟื้นแก้ไขการใช้ดุลพินิจของนายกรัฐมนตรี โดยมติของคณะรัฐมนตรีในกรณีเช่นนี้ได้ เว้นแต่มตินั้นเป็นการกระทำนอกเหนือความในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร
มาตรา 17 บัญญัติไว้เป็นข้อยกเว้น ให้นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีมีอำนาจสั่งการหรือกระทำการใด ๆ ได้ ฉะนั้นที่นายกรัฐมนตรีโดยมติคณะรัฐมนตรีใช้อำนาจตามมาตรา 17จึงไม่ขัดต่อ มาตรา 5 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร อีกทั้งการวินิจฉัยสั่งการดังกล่าวก็หาขัดต่อมาตรา 20 แห่งธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักรแต่อย่างใดไม่ เพราะไม่ใช่กรณีที่ในธรรมนูญนี้ไม่มีบทบัญญัติบังคับแก่กรณีนี้ได้ จึงจะต้องวินิจฉัยไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 321/2507

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฟ้องคดีความมั่นคงต่อศาลทหาร และการขอปล่อยชั่วคราวต่อศาลพลเรือน
ผู้ร้องถูกหาว่ากระทำการอันเป็นคอมมิวนิสต์ และกระทำความผิดต่อความมั่นคงของรัฐ ได้ถูกฟ้องเป็นจำเลยที่ศาลทหารในเวลาไม่ปกติ (สังกัดกระทรวงกลาโหม) ซึ่งศาลนั้นได้สั่งประทับฟ้องและออกหมายขังผู้ร้องไว้ ณ เรือนจำชั่วคราว ผู้ร้องจะมาร้องขอให้ศาลอาญาซึ่งเป็นศาลพลเรือนสั่งปล่อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 90 หาได้ไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1472/2496 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานปลอมเอกสารราชการเพื่อหลอกลวงและกระทบความมั่นคงระหว่างประเทศ
จำเลยสมคบกันทำเอกสารปลอมขึ้นเป็นสำเนาหนังสือราชการของกระทรวงกลาโหม เป็นคำสั่งลับมาก ถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศเทศไทย ขอให้เจรจาตอบข้อเสนอของกระทรวงกลาโหมสหภาพโซเวียตในเรื่องกิจการทหารและทางอาวุธ ซึ่งทางสหภาพโซเวียตจะให้ความช่วยเหลือและขอให้แจ้งข้อเสนอแนวทางนโยบายทางการเมืองของกระทรวงกลาโหมแห่งประเทศไทย เพื่อให้กระทรวงกลาโหมแห่งสหภาพโซเวียตทราบ โดยจำเลยได้ลงลายมือชื่อของรองผู้อำนวยการศึกษาและวิจัยกรมเสนาธิการกระทรวงกลาโหมซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ ปลอมลงในสำเนาเอกสารปลอมนั้น รับรองว่าเป็นสำเนาที่ถูกต้อง ความจริงเอกสารปลอมนั้น ไม่ใช่เอกสารของกระทรวงกลาโหม หากจำเลยคิดทำปลอมขึ้นเองทั้งนั้น แล้วทำการติดต่อกับชาวต่างประเทศเพื่อทำการขายเอกสารลับปลอมนั้นดังนี้ ย่อมเป็นความผิดตาม ก.ม.ลักษณะอาญามาตรา 105 เบ็ญจ
of 3