คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความรับผิดนายจ้าง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 98 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 117/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้าง, การมีอำนาจฟ้อง, และการประเมินค่าเสียหายจากอุบัติเหตุทางรถยนต์
ตามหนังสือมอบอำนาจระบุข้อความว่ากรรมการผู้มีอำนาจทำการแทนบริษัทโจทก์ได้มอบอำนาจให้ช. มีอำนาจดำเนินคดีแพ่งแทนโจทก์ในการฟ้องร้องเพื่อบังคับตามสิทธิเรียกร้องซึ่งโจทก์มีสิทธิเรียกร้องอันเกิดจากการที่โจทก์ได้จ่ายค่าสินไหมทดแทนให้แก่ผู้เอาประกันภัยและรับช่วงสิทธินั้นเพื่อเรียกร้องเอาแก่ผู้ก่อให้เกิดความเสียหายตามที่โจทก์ได้รับประกันภัยไว้หนังสือมอบอำนาจดังกล่าวจึงเป็นหนังสือที่ได้มอบอำนาจให้ช.ฟ้องคดีรวมไปถึงคดีนี้ด้วยโดยแจ้งชัดแล้วช. จึงมีอำนาจฟ้องคดีนี้ จำเลยที่3ขับรถยนต์บรรทุกชนท้ายรถสามล้อเครื่องเป็นเหตุให้รถสามล้อเครื่องกระเด็นไปชนรถยนต์ของบริษัทง. แล้วรถยนต์ดังกล่าวไปชนกับท้ายรถยนต์โดยสารดังนี้แม้เหตุเป็นเพราะลูกยางแม่ปั๊มเบรกแตกก็ไม่ใช่เหตุสุดวิสัยเพราะหากจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้ขับรถยนต์บรรทุกได้ตรวจตราและดูแลรถยนต์บรรทุกประจำตามวิสัยของผู้มีอาชีพขับรถยนต์ก็ย่อมป้องกันไม่ให้ลูกยางแม่ปั๊มเบรกแตกโดยกะทันหันได้จำเลยที่3จึงกระทำการโดยประมาทเป็นเหตุให้รถยนต์ของบริษัทง. ได้รับความเสียหาย จำเลยที่3เป็นลูกจ้างขับรถยนต์ของจำเลยที่1และที่2ได้ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่1และที่2ซึ่งเป็นนายจ้างไปในทางการที่จ้างแล้วหลังจากนั้นแม้จำเลยที่3จะทุจริตขับรถยนต์ไปธุระส่วนตัวแล้วไปกระทำละเมิดต่อผู้อื่นก็ตามก็เป็นเรื่องการปฏิบัติงานในหน้าที่ระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างไม่ชอบแต่ในกรณีบุคคลภายนอกถือว่าเป็นการกระทำละเมิดในทางการที่จ้างซึ่งจำเลยที่1และที่2จะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่3ด้วย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9372/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการเบิกจ่ายเงินโดยประมาทเลินเล่อของพนักงาน: ศาลฎีกาวินิจฉัยว่าการวินิจฉัยของศาลอุทธรณ์ไม่ถือว่าวินิจฉัยนอกฟ้อง
คำฟ้องระบุว่าได้มีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของจำเลยที่2ซึ่งเป็นสมุห์บัญชีและจำเลยที่3ซึ่งเป็นผู้จัดการของจำเลยที่1เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าม. ก็เป็นพนักงานของจำเลยที่1เช่นเดียวกับจำเลยที่2และที่3การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่าเป็นความประมาทเลินเล่อของม.จึงเป็นการวินิจฉัยว่ามีการเบิกจ่ายเงินตามตั๋วแลกเงินโดยความประมาทเลินเล่อของพนักงานของจำเลยที่1ตามคำฟ้องนั่นเองหาใช่เป็นการวินิจฉัยนอกฟ้องไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 491/2539

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับช่วงสิทธิของผู้ขายเมื่อสินค้าเสียหายระหว่างส่งมอบ และความรับผิดของนายจ้างในผลละเมิดของลูกจ้าง
น. ซื้อสินค้าจำพวกวัสดุก่อสร้างจากโจทก์ที่2เป็นเงิน31,300บาทได้ชำระราคาแล้วและตกลงให้โจทก์ที่2จัดส่งสินค้าที่ซื้อไปยังภูมิลำเนาของ น. โจทก์ที่2จึงให้ลูกจ้างของตนขับรถยนต์บรรทุกของโจทก์ที่1บรรทุกสินค้าดังกล่าวไปส่งให้ตามที่ตกลงระหว่างทางถูกรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่2และที่3ซึ่งจำเลยที่1ขับมาในทางการที่จ้างด้วยความประมาทเลินเล่อชนทำให้สินค้าที่ น. ซื้อมาได้รับความเสียหายโจทก์ที่2จึงชำระราคาสินค้าให้แก่ทายาทของ น. ไปเมื่อโจทก์ที่2ยังมีภาระผูกพันที่จะต้องส่งมอบสินค้าที่ น. ซื้อจากโจทก์ที่2ไปยังภูมิลำเนาของ น. ตามที่ตกลงไว้ดังนั้นแม้กรรมสิทธิ์ในสินค้าได้ตกเป็นของ น.ในขณะทำสัญญาซื้อขายกันแล้วก็ตามแต่โจทก์ที่2ก็ยังมีหน้าที่ที่จะต้องส่งมอบสินค้าให้ น.ณภูมิลำเนาของ น. เมื่อสินค้าไปไม่ถึงเพราะเกิดความเสียหายขึ้นเสียก่อนจึงเป็นหน้าที่ของโจทก์ที่2ผู้ขายที่จะต้องรับผิดชอบต่อ น. เมื่อโจทก์ที่2ชำระราคาสินค้านั้นให้แก่ทายาทของ น. ไปโจทก์ที่2จึงเข้าสู่ฐานะเป็นผู้รับช่วงสิทธิของ น. ตามบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา227มาฟ้องจำเลยที่2และที่3ในฐานะนายจ้างให้ร่วมรับผิดกับจำเลยที่1ซึ่งเป็นลูกจ้างในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่1กระทำไปในทางการที่จ้างได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9127/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อลูกจ้าง, อำนาจฟ้อง, ทุนทรัพย์พิพาท, และการยกฟ้องจำเลยที่ ๓
คดีนี้ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้จำเลยทั้งสี่ร่วมกันใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ที่ 2 จำนวน 11,830 บาท ฎีกาของจำเลยที่ 2 ที่ 3 เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2จึงมีทุนทรัพย์ที่พิพาทในชั้นฎีกาไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตาม ป.วิ.พ. มาตรา 248 วรรคหนึ่ง
จำเลยที่ 3 ไม่ได้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 3 จึงไม่ต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย โจทก์ที่ 1 และที่ 2 จึงไม่มีอำนาจฟ้องจำเลยที่ 3 ปัญหาอำนาจฟ้องเป็นปัญหาเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชน แม้คดีของจำเลยที่ 3 จะต้องห้ามฎีกาในส่วนที่เกี่ยวกับโจทก์ที่ 2 ศาลฎีกาก็มีอำนาจยกฟ้องโจทก์ที่ 2 ให้มีผลไปถึงจำเลยที่ 3 ซึ่งต้องห้ามฎีกาด้วยได้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246, 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7881/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำละเมิดของลูกจ้าง นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่
จำเลยที่ 1 ไม่ได้มีหน้าที่ขับรถยนต์ การที่จำเลยที่ 2 ลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ซึ่งเป็นหัวหน้ามีหน้าที่ควบคุมยินยอมให้จำเลยที่ 1 นำรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยที่ 3 นำบุตรของจำเลยที่ 1 ซึ่งเจ็บป่วยไปส่งโรงพยาบาลโดยไม่ได้ความว่าจำเลยที่ 3 ได้รู้เห็นยินยอมด้วยนั้น เป็นการกระทำของจำเลยที่ 2 โดยลำพังไม่ได้เกี่ยวข้องกับกิจการในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3 จึงเป็นเรื่องส่วนตัวและครอบครัวของจำเลยที่ 1 ดังนั้น การกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ถือไม่ได้ว่าเป็นการกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 3

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6198/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อละเมิดของลูกจ้างในทางการที่จ้าง แม้ไม่ได้ระบุชัดเจนในฟ้องก็ไม่ขาดสาระสำคัญ
โจทก์บรรยายฟ้องว่าจำเลยประกอบกิจการเดินรถโดยสารประจำทางปรับอากาศพนักงานประจำรถซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยกระทำละเมิดต่อโจทก์ผู้ใช้บริการรถดังกล่าวของจำเลยเป็นเหตุให้กระเป๋าสัมภาระของโจทก์ตกหายระหว่างทางทำให้โจทก์ได้รับความเสียหายจำเลยในฐานะนายจ้างจึงต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ในการที่ลูกจ้างกระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยเป็นฟ้องที่แสดงสภาพแห่งข้อหาว่าลูกจ้างของจำเลยได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยถูกต้องสมบูรณ์แล้วแม้ไม่ได้ระบุข้อความว่าเป็นกระทำตามทางการที่จ้างของจำเลยไปด้วยก็ไม่เป็นฟ้องที่ขาดสาระสำคัญซึ่งเป็นประเด็นแห่งคดี

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดนายจ้างต่อความเสียหายจากรถยนต์, การแปลเลขทะเบียน, และการนำสืบพยาน
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุและเป็นนายจ้างหรือตัวการที่ใช้ให้ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยขับรถยนต์คันเกิดเหตุเพื่อผลประโยชน์ของจำเลย และลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะเป็นใครชื่ออะไร หรือมีรูปพรรณสัณฐานอย่างไรเป็นรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญ เมื่อรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของจำเลย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการย่อมต้องรับผิดอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจะอ้างกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลในชั้นพิจารณา โจทก์มิได้ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายฟ้องด้วย ดังนั้นคำให้การของจำเลยที่ว่าขอปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์ทุกฉบับว่าไม่อาจรับฟังได้ตามกฎหมายเนื่องจากเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงเป็นการคัดค้านเฉพาะสำเนาเอกสารท้ายฟ้องเท่านั้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านสำเนากรมธรรม์ประกันภัยด้วย และเมื่อโจทก์ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลจำเลยก็มิได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้นแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนากรมธรรม์ประกันภัยนั้นถูกต้องแล้ว ศาลมีอำนาจรับฟังได้
ตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยระบุเลขหมายทะเบียนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษว่า 9 CH - 1935 แต่เนื่องจากภาษาอังกฤษอ่านออกเสียงพยัญชนะตัว "ช" และ "ฉ" คล้ายกันและพยัญชนะทั้งสองตัวนี้เมื่อเทียบกับพยัญชนะภาษาอังกฤษแล้วก็อาจใช้ตัว "CH" แทนได้ทั้งสองตัว ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ก็ใช้พยัญชนะตัว "ฉ" ดังนั้น ที่โจทก์แปลว่า 9 CH -1935 คือ 9 ช - 1935 จึงเป็นเรื่องแปลผิดไป โจทก์มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็น 9 ฉ - 1935 เพราะเป็นการสืบอธิบายว่าโจทก์แปลพยัญชนะจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผิดไปจากความเป็นจริง จึงมิใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5600/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการกระทำของลูกจ้าง และการแปลเอกสารจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทย
ตามคำฟ้องของโจทก์ได้บรรยายว่าจำเลยเป็นเจ้าของรถยนต์คันเกิดเหตุและเป็นนายจ้างหรือตัวการที่ใช้ให้ลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยขับรถยนต์คันเกิดเหตุเพื่อผลประโยชน์ของจำเลยและลูกจ้างหรือตัวแทนของจำเลยได้ขับรถด้วยความประมาทชนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยไว้ได้รับความเสียหาย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการต้องร่วมรับผิดชดใช้ค่าสินไหมทดแทนที่เกิดขึ้น คำฟ้องโจทก์ได้แสดงโดยชัดแจ้งซึ่งสภาพแห่งข้อหาของโจทก์และคำขอบังคับ ทั้งข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาเช่นว่านั้นแล้ว ส่วนคนขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะเป็นใครชื่ออะไรหรือมีรูปพรรณสัณฐานอย่างไรเป็นรายละเอียดไม่ใช่ข้อสาระสำคัญเมื่อรถยนต์คันเกิดเหตุเป็นของจำเลย จำเลยในฐานะนายจ้างหรือตัวการย่อมต้องรับผิดอยู่แล้ว ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม ตามคำฟ้องของโจทก์ระบุว่าจะอ้างกรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลในชั้นพิจารณา โจทก์มิได้ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยมาท้ายคำฟ้องด้วย ดังนั้นคำให้การของจำเลยที่ว่าขอปฏิเสธความถูกต้องแท้จริงของเอกสารท้ายฟ้องของโจทก์ทุกฉบับว่าไม่อาจรับฟังได้ตามกฎหมายเนื่องจากเป็นเพียงสำเนาเอกสารจึงเป็นการคัดค้านเฉพาะสำเนาเอกสารท้ายฟ้องเท่านั้น ฟังไม่ได้ว่าจำเลยได้คัดค้านสำเนากรมธรรม์ประกันภัยด้วย และเมื่อโจทก์ส่งสำเนากรมธรรม์ประกันภัยต่อศาลจำเลยก็ได้คัดค้านความถูกต้องแท้จริงของเอกสารนั้นแต่อย่างใด ถือได้ว่าจำเลยยอมรับว่าสำเนากรมธรรม์ประกันภัยนั้นถูกต้องแล้ว ศาลมีอำนาจรับฟังได้ ตามเอกสารแนบท้ายกรมธรรม์ประกันภัยระบุเลขหมายทะเบียนรถยนต์คันที่โจทก์รับประกันภัยเป็นภาษาอังกฤษว่า 9CH-1935แต่เนื่องจากภาษาอังกฤษอ่านออกเสียงพยัญชนะตัว"ช"และ"ฉ"คล้ายกันและพยัญชนะทั้งสองตัวนี้เมื่อเทียบกับพยัญชนะภาษาอังกฤษแล้วก็อาจใช้ตัว "CH" แทนได้ทั้งสองตัว ทั้งตามคำฟ้องโจทก์ก็ใช้พยัญชนะตัว"ฉ" ดังนั้น ที่โจทก์แปลว่า 9CH-1935 คือ9 ช-1935 จึงเป็นเรื่องแปลผิดไป โจทก์มีสิทธินำพยานบุคคลมาสืบได้ว่าเป็น 9 ฉ-1935 เพราะเป็นการสืบอธิบายว่าโจทก์แปลพยัญชนะจากภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยผิดไปจากความเป็นจริง จึงมิใช่เป็นการนำสืบเพิ่มเติมเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสาร ไม่ต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 94

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5376/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างในฐานะผู้กระทำละเมิดจากความประมาทเลินเล่อของลูกจ้าง และประเด็นอายุความฟ้องร้อง
แม้ว่าตามระเบียบของกรมชลประทานจำเลย การที่จะนำรถยนต์คันเกิดเหตุขับออกไปข้างนอกได้ต้องได้รับอนุญาต จากผู้บังคับบัญชาเสียก่อนก็ตาม แต่ในทางปฏิบัติกลับไม่ปรากฏว่าผู้บังคับบัญชาคนใดเป็นผู้เก็บกุญแจรถยนต์คันเกิดเหตุที่ท.ต้องนำคำอนุมัติการใช้รถยนต์ไปเสนอแล้วจึงขอรับกุญแจรถยนต์คันเกิดเหตุไปขับรถยนต์คันเกิดเหตุ การที่จำเลยมอบการครอบครองรถยนต์คันเกิดเหตุและกุญแจของรถยนต์คันเกิดเหตุให้ ท.ซึ่งทำให้ท.พร้อมที่จะขับรถยนต์คันเกิดเหตุได้ตลอดเวลาเช่นนี้แสดงว่าจำเลยได้อนุญาตให้ ท.ใช้รถยนต์คันเกิดเหตุแล้ว ดังนั้นที่ ท.ขับรถยนต์คันเกิดเหตุออกจากกรมชลประทานสามเสนไปแล้วไปชน ศ.ตาย แล้วขับรถยนต์คันเกิดเหตุเข้ามากรมชลประทานสามเสนเหมือนเดิม โดยไม่ว่าในการขับรถยนต์คันเกิดเหตุจะเป็นความประสงค์ของ ท.เองหรือพนักงานของกรมชลประทานคนใดของจำเลยก็ตาม ก็ต้องถือว่าจำเลยได้อนุญาตให้ ท.กระทำเช่นนั้นได้ การขับรถยนต์คันเกิดเหตุของ ท.ดังกล่าวจึงถือว่ากระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยแล้ว โจทก์ที่ 1 เพิ่งรู้ว่า ท.เป็นผู้ขับรถยนต์คันเกิดเหตุของจำเลยชนผู้ตายเมื่อวันที่ 28 เมษายน 2531 โจทก์ที่ 1จึงได้ร้องทุกข์ต่อเจ้าพนักงานตำรวจในวันที่ 28 เมษายน 2531จึงฟังได้ว่า โจทก์ทั้งสามรู้ถึงการทำละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนในวันที่ 28 เมษายน 2531เมื่อโจทก์ทั้งสามฟ้องคดีนี้ในวันที่ 11 เมษายน 2532จึงไม่เกิน 1 ปี ฟ้องโจทก์ทั้งสามจึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4982/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของนายจ้างต่อการประมาทของลูกจ้าง และการชดใช้ค่าเสียหายจากการบาดเจ็บทางร่างกาย
โจทก์ที่ 5 ได้บรรยายฟ้องว่า โจทก์ที่ 5 เป็นเจ้าของรถยนต์บรรทุก รถยนต์ดังกล่าวของโจทก์ที่ 5 ได้ถูกจำเลยที่ 1ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 3 ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศชนได้รับความเสียหายโดยความประมาท ของจำเลยที่ 1โจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าซ่อมไปเป็นเงิน 80,300 บาทเงินค่าซ่อมรถยนต์ของโจทก์ที่ 5 จำนวน 80,300 บาท นี้เป็นยอดค่าเสียหายรวมที่โจทก์ที่ 5 ต้องการให้จำเลยทั้งสี่ทราบว่า ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 5 เสียหายคิดเป็นเงินทั้งหมดเท่าไร ค่าเสียหายส่วนนี้จำเป็นที่โจทก์ที่ 5 จะต้องบรรยายไว้ในฟ้อง ส่วนรายละเอียดแห่งความเสียหายที่ว่าโจทก์ที่ 5 ต้องเสียค่าใช้จ่ายในการซ่อมรถส่วนไหนเป็นเงินเท่าไร แม้โจทก์ที่ 5 จะไม่ได้บรรยายฟ้องไว้ก็หาทำให้ฟ้องของโจทก์ที่ 5 เคลือบคลุมไม่ เพราะโจทก์ที่ 5 ชอบที่จะนำสืบถึงรายละเอียดแห่งการซ่อมในชั้นพิจารณาได้ จำเลยที่ 1 เป็นฝ่ายขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุโดยประมาทเพียงฝ่ายเดียว หากจำเลยที่ 1 ไม่ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันดังกล่าวล้ำเส้นแบ่งกึ่งกลางถนนที่เกิดเหตุเข้าไปในช่องเดินรถของโจทก์ที่ 6 การเฉี่ยวชนของรถยนต์ทั้งสองคันและความเสียหายทั้งปวงก็จะไม่เกิดขึ้นจำเลยที่ 3 นายจ้างของจำเลยที่ 1 จะเฉลี่ยความรับผิดไปให้แก่โจทก์ที่ 6 ด้วยไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 446 ผู้เสียหายจากการที่ถูกผู้อื่นทำให้เสียหายแก่ร่างกายและอนามัยชอบที่จะเรียกร้องเอาค่าสินไหมทดแทนจากผู้ทำให้เสียหายได้ แม้ค่าเสียหายนั้น มิใช่ตัวเงินก็ตาม กฎหมายมาตรานี้มิได้บังคับให้เรียกได้เฉพาะค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินได้หากแต่บัญญัติเปิดโอกาสให้ผู้เสียหายเรียกค่าเสียหายที่คำนวณเป็นเงินไม่ได้แต่กำหนดขึ้นมาเพื่อทดแทนความเสียหายนั้นที่ศาลล่างทั้งสองกำหนดค่าสินไหมทดแทนให้โจทก์ที่ 6ที่ต้องทุกข์ทรมานในระหว่างรักษาตัวเป็นตัวเงินจึงไม่ขัดต่อบทบัญญัติของกฎหมายดังกล่าว ผลแห่งการละเมิดของจำเลยที่ 1 ทำให้โจทก์ที่ 6 ได้รับอันตรายแก่กาย ถึงขนาดม้ามแตก ไตแตก และตับ ขาด จนแพทย์ต้องผ่าตัดไตทิ้งไปข้างหนึ่งเป็นเหตุให้ร่างกายไม่สามารถขับถ่ายของเสียได้ตามปกติ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่ร่างกายของโจทก์ที่ 6 ซึ่งมีอวัยวะไม่ครบบริบูรณ์จะต้องอ่อนแอ กว่าตอนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอันตรายจากการกระทำละเมิดของจำเลยที่ 1 ลักษณะของความอ่อนแอ หรือความเสื่อมโทรมของร่างกายของโจทก์ที่ 6 นี้ แม้โจทก์ที่ 6จะยังประกอบการงานตามปกติได้ก็ตาม แต่ความอ่อนแอ หรือความเสื่อมโทรมนั้นจะค่อยเป็นค่อยไปจนในที่สุดโจทก์ที่ 6ก็จะมีร่างกายที่อ่อนแอ หรือเสื่อมโทรมเร็วกว่าที่ควรจะเป็นไปตามปกติ และจะไม่สามารถทำงานได้ตามปกติเหมือนก่อน ในระหว่างพักรักษาตัว โจทก์ที่ 5 ได้จ่ายค่าแรงงานให้โจทก์ที่ 6 เพียงครึ่งหนึ่งของค่าจ้างเงินค่าแรงงานส่วนที่โจทก์ที่ 6 ไม่ได้รับอีกครึ่งหนึ่งนี้เห็นได้ว่าเป็นการเรียกค่าเสียหายที่ต้องขาดประโยชน์ทำมาหาได้เพราะไม่สามารถประกอบการงานอันเป็นผลจากการทำละเมิดของจำเลยที่ 1 โดยตรงโจทก์ที่ 6 ชอบที่จะเรียกเอาจากจำเลยที่ 3 ผู้เป็นนายจ้างของจำเลยที่ 1ผู้ทำละเมิดได้ ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อที่ว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 และที่ 4 หรือไม่ และจำเลยที่ 2 กับจำเลยที่ 4 มีผลประโยชน์ในกิจการเดินรถร่วมกับจำเลยที่ 3หรือไม่นั้น เมื่อจำเลยที่ 3 ให้การทั้งสองสำนวนรับว่า จำเลยที่ 1 เป็นลูกจ้างและเป็นผู้ขับรถยนต์โดยสารปรับอากาศคันเกิดเหตุในขณะเกิดเหตุ และข้อเท็จจริงฟังได้ว่าเหตุรถชนเกิดเพราะความประมาทของจำเลยที่ 1 ฝ่ายเดียว และจำเลยที่ 3 ในฐานะนายจ้างต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่ 1 ด้วย ฎีกาของจำเลยที่ 3 ในข้อนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดี เพราะไม่ทำให้ผลแห่งคดีเปลี่ยนแปลงไป ทั้งจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 4 ไม่ได้ฎีกาขึ้นมาจึงไม่มีประเด็นในชั้นฎีกา ศาลฎีกาไม่วินิจฉัยให้
of 10