พบผลลัพธ์ทั้งหมด 120 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2466/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกรรมการ ผู้ถือหุ้น และผู้สั่งการในสัญญาจัดอบรมสัมมนา
เมื่อฝ่ายจำเลยกับโจทก์ทำสัญญากันให้โจทก์จัดสถานที่ อบรมสัมมนาที่พักพร้อมอาหารเครื่องดื่มให้แก่ฝ่ายจำเลยซึ่งวัตถุประสงค์แห่งสัญญาดังกล่าวไม่ต้องห้ามตามกฎหมาย ไม่ขัดต่อความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน สัญญาตามฟ้องจึงไม่เป็นโมฆะ ส่วนโจทก์แม้จะยังไม่ได้ รับอนุญาตให้ดำเนินกิจการโรงแรมก็เป็นการไม่ปฏิบัติตาม พระราชบัญญัติโรงแรม พ.ศ. 2478 ซึ่งเป็นคนละเรื่องกันไม่มีผลกระทบสัญญา โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ถึงที่ 5 ได้มาติดต่อใช้โรงแรม ของโจทก์จัดอบรมสัมมนา และตกลงชำระค่าจัดอบรมสัมมนา เป็นเช็คโดยมีข้อตกลงกันว่า หากธนาคารปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยทั้งห้าจะร่วมกันชำระหนี้ให้แก่โจทก์ ซึ่งต่อมาธนาคารได้ ปฏิเสธการจ่ายเงิน จำเลยที่ 3 กับจำเลยที่ 4 ก็ออกเช็คชำระหนี้ บางส่วนให้แก่โจทก์ทั้งจำเลยที่ 5 ชำระหนี้บางส่วนเป็นเงิน 50,000 บาท ให้แก่โจทก์ด้วย ย่อมเป็นการบ่งชี้ว่าจำเลยที่ 4 และที่ 5 มีส่วนร่วมในการจัดอบรมสัมมนา นอกจากนี้ยังปรากฏว่า การดำเนินกิจการและการจ่ายเงินของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 4 เป็นผู้สั่งและตัดสินใจคนเดียว ดังนั้นแม้จำเลยที่ 4 จะเป็น ข้าราชการแต่ก็ได้ให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นกรรมการ ของจำเลยที่ 1แทน แสดงว่าจำเลยที่ 4 ร่วมดำเนินกิจการกับ จำเลยที่ 1 ด้วย ข้อเท็จจริงจึงรับฟังได้ว่าจำเลยที่ 4 และ ที่ 5 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 ดำเนินกิจการ อบรมสัมมนาและทำสัญญาตามฟ้องกับโจทก์ จำเลยที่ 4 และ ที่ 5 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 1 ที่ 2 และที่ 3 รับผิดชำระหนี้ ให้แก่โจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 83/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ตัวแทนจำหน่ายเช็ค-ใบเสร็จผูกพันนายจ้าง: ความรับผิดร่วมกันกรณีพนักงานยักยอกเงิน
จำเลยที่ 1 จัดพิมพ์ตราไปรษณียากรที่ระลึกเพื่อการสะสมออกจำหน่ายโดยมีจำเลยที่ 2 พนักงานของจำเลยที่ 1มีหน้าที่จำหน่ายและรับสั่งจองจากผู้ซื้อ โจทก์ติดต่อสั่งจองซื้อจากจำเลยที่ 2 และมอบเช็คเงินสดให้จำเลยที่ 2แม้โจทก์สั่งจ่ายเช็คเงินสดให้แก่ผู้ถือแทนที่จะสั่งจ่ายเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 จะผิดระเบียบ แต่ถ้าผู้รับสั่งจองคือจำเลยที่ 2 นำเงินเข้าบัญชีของจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1ก็จะจัดส่งตราไปรษณียากรที่ระลึกให้โจทก์ ปัญหาจึงเกิดจากจำเลยที่ 1 ไม่ได้รับเงิน จึงปฎิเสธการกระทำของจำเลยที่ 2หากจำเลยที่ 1 ได้รับเงินก็จะไม่ปฎิเสธโดยอ้างว่าเป็นใบเสร็จรับเงินปลอมหรือจำเลยที่ 2 ทำนอกเหนืออำนาจเมื่อไม่ปรากฎว่าโจทก์ทราบระเบียบแล้วจงใจฝ่าฝืน โจทก์จึงมิได้ประมาทเลินเล่อในการสั่งซื้อ เหตุเกิดจากจำเลยที่ 1มิได้ควบคุมดูแลการปฎิบัติหน้าที่ของจำเลยที่ 2 เป็นเหตุให้จำเลยที่ 2 นำเช็คที่รับไว้ไปเรียกเก็บเงินและนำเงินไปใช้ประโยชน์ส่วนตัวและจำเลยที่ 1 ก็มิได้ถือเอาการกระทำของจำเลยที่ 2 เป็นการผิดระเบียบหรือนอกเหนืออำนาจหน้าที่ดังนี้ การที่จำเลยที่ 2 รับสั่งจองซื้อและรับเช็คเงินสดจากโจทก์จึงเป็นการปฎิบัติหน้าที่แทนจำเลยที่ 1 โดยชอบมีผลผูกพันจำเลยที่ 1 จำเลยที่ 1 ต้องร่วมกับจำเลยที่ 2รับผิดต่อโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมกันของกิจการเดินรถและการใช้เอกสารประกอบการพิจารณาคดี
จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์เป็นเงิน และจำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 กับยอมให้จำเลยที่ 3 พ่นสีตัวถังตราของจำเลยที่ 3 หมายเลขประจำรถ ชื่อเส้นทางก่อนส่งมอบรถให้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ประกอบกิจการรับขนคนโดยสารร่วมกันในลักษณะที่แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของจำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ในผลแห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย
เอกสารที่แสดงให้เห็นถึงข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ประสงค์จะอ้างอิงและไม่ยอมเสียค่าอ้าง ทำให้ไม่สามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารของจำเลยที่ 3 ได้ และเมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยที่ 3 เห็นว่าข้อความในเอกสารจะเป็นโทษแก่ฝ่ายตนเอง จึงกลับใจไม่เสียค่าอ้างเอกสาร เพื่อไม่ให้ศาลรับฟังข้อความในเอกสารนั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลจำต้องใช้เอกสารนั้นวินิจฉัยประเด็นสำคัญแห่งคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารนั้นได้
เอกสารที่แสดงให้เห็นถึงข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3 ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญ แม้จำเลยที่ 3จะไม่ประสงค์จะอ้างอิงและไม่ยอมเสียค่าอ้าง ทำให้ไม่สามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารของจำเลยที่ 3 ได้ และเมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยที่ 3 เห็นว่าข้อความในเอกสารจะเป็นโทษแก่ฝ่ายตนเอง จึงกลับใจไม่เสียค่าอ้างเอกสาร เพื่อไม่ให้ศาลรับฟังข้อความในเอกสารนั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลจำต้องใช้เอกสารนั้นวินิจฉัยประเด็นสำคัญแห่งคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5014/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมของเจ้าของรถและผู้ประกอบการขนส่งต่อละเมิดจากคนขับรถ
จำเลยที่ 2 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุเข้าร่วมกิจการเดินรถกับจำเลยที่ 3 โดยจำเลยที่ 3 ได้รับผลประโยชน์เป็นเงิน และจำเลยที่ 2 ยอมให้จำเลยที่ 3 นำรถยนต์โดยสารคันเกิดเหตุไปทำสัญญาประกันภัยไว้กับจำเลยที่ 4 กับยอมให้จำเลยที่ 3 พ่นสีตัวถังตราของจำเลยที่ 3 หมายเลขประจำรถชื่อเส้นทางก่อนส่งมอบรถให้ ถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3ประกอบกิจการรับขนคนโดยสารร่วมกันในลักษณะที่แบ่งปันผลประโยชน์ร่วมกัน ดังนั้น เมื่อจำเลยที่ 1 ซึ่งเป็นลูกจ้างของจำเลยที่ 2 ได้กระทำละเมิดต่อโจทก์ในทางการที่จ้างของ จำเลยที่ 2 จำเลยที่ 3 จึงต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่ 2 ในผล แห่งละเมิดของจำเลยที่ 1 ด้วย เอกสารที่แสดงให้เห็นถึงข้อตกลงระหว่างจำเลยที่ 2และที่ 3 ว่ามีความสัมพันธ์ระหว่างจำเลยที่ 2 และที่ 3ซึ่งเป็นเอกสารสำคัญ แม้จำเลยที่ 3 จะไม่ประสงค์จะอ้างอิงและไม่ยอมเสียค่าอ้าง ทำให้ไม่สามารถรับฟังเป็นพยานเอกสารของจำเลยที่ 3 ได้ และเมื่อจำเลยที่ 3 ยื่นเอกสารดังกล่าวเข้าสู่สำนวนแล้ว แต่จำเลยที่ 3 เห็นว่าข้อความในเอกสารจะเป็นโทษแก่ฝ่ายตนเอง จึงกลับใจไม่เสียค่าอ้างเอกสารเพื่อไม่ให้ศาลรับฟังข้อความในเอกสารนั้นก็ตาม แต่เมื่อศาลจำต้องใช้เอกสารนั้นวินิจฉัยประเด็นสำคัญแห่งคดีเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม ศาลย่อมมีอำนาจรับฟังเอกสารนั้นได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1416/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ละเมิด, ความรับผิดร่วม, คดีแพ่งเกี่ยวเนื่องคดีอาญา, ค่าเสียหายจากการขาดประโยชน์, การจดทะเบียนซ้ำ, การยุยงพนักงาน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 ชดใช้ค่าเสียหายในส่วนที่ยุยงพนักงานโจทก์ให้ทำงานกับจำเลยที่ 1 และที่ 2 เป็นเงิน 1,000,000 บาท และให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาปีละ 500,000 บาท นับแต่วันที่ 30 มิถุนายน 2534 จนกว่าจำเลยที่ 3 จะส่งยาให้โจทก์จำหน่าย โจทก์มิได้อุทธรณ์ คำพิพากษาศาลชั้นต้นที่เกี่ยวกับจำนวนค่าเสียหายในส่วนนี้จึงถึงที่สุด โจทก์จะฎีกาขอให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 และจำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายเพิ่มขึ้นอีกไม่ได้ แต่ในส่วนค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาปีละ 500,000 บาท ที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาแก้เป็นว่าให้นับจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2539 โจทก์มีสิทธิฎีกาได้
จำเลยที่ 3 ไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายตามสัญญาตั้งแต่ประมาณเดือนมิถุนายน 2534 และตามสัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาของจำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียวในประเทศไทยจะสิ้นสุดสัญญาอีกครั้งในวันที่ 1 มกราคม 2539 ประกอบกับตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้แก่โจทก์ตามปกติ นับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2539 อันตรงกับวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายได้อีก และจำเลยที่ 3 มีสิทธิส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายได้ คำขอโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด กรรมการโจทก์มี 6 คน คือ ว. ส. และ พ. กับกรรมการอื่นอีก 3 คน กรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ เมื่อคำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความระบุว่าโจทก์โดย ส. และ พ. กรรมการผู้มีอำนาจ แม้จะแตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า กรรมการผู้มีอำนาจโจทก์คือ ว. และ พ. ก็ตาม แต่บุคคลทั้งสามตามที่ระบุชื่อต่างก็เป็นกรรมการโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้สัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยของจำเลยที่ 3 จะมิได้มีกรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับของโจทก์ก็ตาม แต่ก็มีข้อความระบุชื่อคู่สัญญาไว้ชัดเจนว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 3 กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาในนามโจทก์ จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นคู่สัญญา ทั้งภายหลังทำสัญญาโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างถือเอาสัญญานั้นมาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของตน ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 3 แล้ว
ปัญหาว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาโดยนับแต่ปี 2532 จนกว่าจำเลยที่ 3 จะหยุดส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายหรือไม่นั้น เป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกและความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด จึงไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ และระหว่างที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการโจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดให้จำเลยที่ 3 ยกเลิกไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายหรือชักนำให้จำเลยที่ 3 แต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยแทนโจทก์ และการที่จำเลยที่ 1 นำยาของจำเลยที่ 3 ที่โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนไปจดทะเบียนซ้ำต่อคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2534 จำเลยที่ 1 ได้สั่งยาหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับยาที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ขาดรายได้ปกติและไม่มียาดังกล่าวจำหน่าย ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จึงต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ฟังยุติดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด ไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 สั่งหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ เป็นการกระทำภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีอำนาจกระทำได้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้จำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิด กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันมิอาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
จำเลยที่ 3 ไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายตามสัญญาตั้งแต่ประมาณเดือนมิถุนายน 2534 และตามสัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาของจำเลยที่ 3 แต่ผู้เดียวในประเทศไทยจะสิ้นสุดสัญญาอีกครั้งในวันที่ 1 มกราคม 2539 ประกอบกับตามคำขอท้ายฟ้อง โจทก์ขอให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้แก่โจทก์ตามปกติ นับแต่วันฟ้องจนถึงวันที่ 1 มกราคม 2539 อันตรงกับวันสิ้นสุดของสัญญาดังกล่าว เมื่อปรากฏว่าสัญญาสิ้นสุดลงแล้ว โจทก์ย่อมไม่อาจบังคับให้จำเลยที่ 3 ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายได้อีก และจำเลยที่ 3 มีสิทธิส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายได้ คำขอโจทก์ในส่วนนี้จึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
โจทก์จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัด กรรมการโจทก์มี 6 คน คือ ว. ส. และ พ. กับกรรมการอื่นอีก 3 คน กรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ เมื่อคำฟ้องโจทก์ในช่องคู่ความระบุว่าโจทก์โดย ส. และ พ. กรรมการผู้มีอำนาจ แม้จะแตกต่างจากที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า กรรมการผู้มีอำนาจโจทก์คือ ว. และ พ. ก็ตาม แต่บุคคลทั้งสามตามที่ระบุชื่อต่างก็เป็นกรรมการโจทก์มีอำนาจลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราสำคัญของโจทก์มีผลผูกพันโจทก์ได้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้อง
แม้สัญญาตั้งโจทก์เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยของจำเลยที่ 3 จะมิได้มีกรรมการ 2 คน ลงลายมือชื่อร่วมกันและประทับตราของโจทก์ตามข้อบังคับของโจทก์ก็ตาม แต่ก็มีข้อความระบุชื่อคู่สัญญาไว้ชัดเจนว่าเป็นสัญญาที่ทำขึ้นระหว่างจำเลยที่ 3 กับโจทก์โดยมีจำเลยที่ 1 ทำสัญญาในนามโจทก์ จึงต้องถือว่าโจทก์เป็นคู่สัญญา ทั้งภายหลังทำสัญญาโจทก์และจำเลยที่ 3 ต่างถือเอาสัญญานั้นมาใช้เป็นประโยชน์ในการดำเนินธุรกิจของตน ย่อมถือว่าโจทก์ได้ให้สัตยาบันและมีผลผูกพันโจทก์และจำเลยที่ 3 แล้ว
ปัญหาว่า จำเลยทั้งสามได้ร่วมทำละเมิดต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายใด ๆ จากจำเลยที่ 1 และที่ 2 และมีสิทธิขอให้จำเลยทั้งสามชดใช้ค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยาโดยนับแต่ปี 2532 จนกว่าจำเลยที่ 3 จะหยุดส่งยาให้จำเลยที่ 1 และที่ 2 จำหน่ายหรือไม่นั้น เป็นมูลคดีเดียวกับคดีอาญาที่โจทก์ฟ้องจำเลยที่ 1 ในความผิดฐานยักยอกและความผิดต่อ พ.ร.บ.กำหนดความผิดเกี่ยวกับห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน ห้างหุ้นส่วนจำกัด บริษัทจำกัด สมาคมและมูลนิธิ พ.ศ. 2499 จึงเป็นคดีแพ่งที่เกี่ยวเนื่องกับคดีอาญา ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง ศาลจะต้องถือข้อเท็จจริงตามที่ปรากฏในคำพิพากษาคดีส่วนอาญา ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 46
ศาลฎีกามีคำพิพากษาถึงที่สุดในคดีอาญาโดยฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด จึงไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหายแก่ประโยชน์ในลักษณะที่เป็นทรัพย์สินของโจทก์ และระหว่างที่จำเลยที่ 1 เป็นกรรมการโจทก์อยู่ จำเลยที่ 1 ไม่ได้จัดให้จำเลยที่ 3 ยกเลิกไม่ส่งยาให้โจทก์จำหน่ายหรือชักนำให้จำเลยที่ 3 แต่งตั้งจำเลยที่ 2 เป็นตัวแทนจำหน่ายยาแต่ผู้เดียวในประเทศไทยแทนโจทก์ และการที่จำเลยที่ 1 นำยาของจำเลยที่ 3 ที่โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนไปจดทะเบียนซ้ำต่อคณะกรรมการอาหารและยา กระทรวงสาธารณสุข หรือเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2534 จำเลยที่ 1 ได้สั่งยาหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับยาที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ ทำให้โจทก์ขาดรายได้ปกติและไม่มียาดังกล่าวจำหน่าย ล้วนเป็นข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ทั้งสิ้น ดังนี้ ในการพิพากษาคดีส่วนแพ่ง จึงต้องถือข้อเท็จจริงในคดีอาญาที่ฟังยุติดังกล่าวว่า จำเลยที่ 1 ร่วมก่อการตั้งจำเลยที่ 2 ในขณะที่จำเลยที่ 1 ยังเป็นกรรมการโจทก์อยู่ แต่จำเลยที่ 2 ยังมิได้ประกอบกิจการอันใด ไม่เป็นเหตุให้เกิดความเสียหาย จึงไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ และจำเลยที่ 1 และที่ 2 สั่งหรือนำเข้ายาชนิดเดียวกันกับที่จำเลยที่ 3 ส่งให้โจทก์จำหน่ายอยู่ก่อนมาจำหน่ายแทนโจทก์ เป็นการกระทำภายหลังจากที่จำเลยที่ 1 พ้นจากการเป็นกรรมการโจทก์ จำเลยที่ 1 และที่ 2 จึงมีอำนาจกระทำได้ไม่เป็นการละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องเรียกค่าเสียหายที่เป็นค่าขาดประโยชน์จากการจำหน่ายยา
เมื่อข้อเท็จจริงฟังไม่ได้ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 ทำละเมิดต่อโจทก์ โจทก์ไม่มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลยที่ 1 และที่ 2 แม้จำเลยที่ 3 มิได้ฎีกาก็ตาม แต่โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสามให้ร่วมกันรับผิดในผลแห่งละเมิด กรณีจึงเป็นเรื่องเกี่ยวด้วยการชำระหนี้อันมิอาจแบ่งแยกได้ ศาลฎีกามีอำนาจพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่ 3 ที่มิได้ฎีกาด้วยตาม ป.วิ.พ. มาตรา 245 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 85/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความเช่าซื้อ, การละเสียซึ่งอายุความ, ความรับผิดร่วมในการจัดสรรที่ดิน
โจทก์ฟ้องให้จำเลยทั้งสามจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทโฉนดเลขที่ 7804 และ 8282 ให้โจทก์ตามสัญญาเช่าซื้ออ้างว่าโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้ว การฟ้องบังคับตามสัญญาเช่นนี้เป็นการใช้สิทธิเรียกร้องตาม ป.พ.พ.มาตรา 193/9 จึงต้องบังคับภายในระยะเวลาอันกฎหมายกำหนดไว้ เมื่อการฟ้องบังคับตามสัญญาเช่าซื้อไม่มีกฎหมายบัญญัติไว้โดยเฉพาะ จึงมีอายุความ 10 ปี ตามมาตรา 193/30
ตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป การเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อใช้เงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องที่จะบังคับให้ผู้ให้เช่าซื้อปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่พิพาทเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2516 และมาฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเมื่อวันที่23 มิถุนายน 2535 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ปรากฏว่าหลังจากขาดอายุความแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการทวงถามเพื่อให้จำเลยทั้งสามโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแก่โจทก์จำเลยทั้งสามก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดโดยยกอายุความเป็นข้ออ้างขึ้นใช้ยันโจทก์แต่ประการใด ตรงกันข้ามเมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปถึงจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 20มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีใจความว่าจำเลยที่ 1 ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจำนวน 2 แปลงและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ดินจัดสรรให้แก่โจทก์ต่อไป ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้โต้แย้งจำเลยที่ 1 ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแต่อย่างใด ตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา193/24 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อจัดสรร แล้วจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้นำที่ดินแปลงพิพาทไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อซึ่งเมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 จะนำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวชำระให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้เช่าซื้อ พฤติกรรมและข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จัดสรรที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลภายนอก โดยแบ่งหน้าที่กันทำมิใช่เป็นตัวการตัวแทนตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม โดยอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมจัดสรรที่ดินกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริงส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่ามิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ แต่มิได้ให้การปฏิเสธถึงความไม่ถูกต้องของสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว แม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยที่ 1 ว่า มีการทำสัญญาเช่าซื้อกันจริง จึงไม่เป็นกรณีต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แก้ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจนำที่ดินไปให้เช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อย่อมเป็นโมฆะก็ดี โจทก์สืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเช่าซื้อขัดกับกฎหมายก็ดี เป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
ตามมาตรา 193/12 บัญญัติว่า อายุความให้เริ่มนับแต่ขณะที่อาจบังคับสิทธิเรียกร้องได้เป็นต้นไป การเช่าซื้อนั้นเมื่อผู้เช่าซื้อใช้เงินค่าเช่าซื้อครบถ้วนแล้วย่อมเกิดสิทธิเรียกร้องที่จะบังคับให้ผู้ให้เช่าซื้อปฏิบัติตามสัญญาเช่าซื้อคือโอนกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สินที่เช่าซื้อได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 572 เมื่อโจทก์ชำระค่าเช่าซื้อที่พิพาทเสร็จสิ้นตั้งแต่ปี 2516 และมาฟ้องบังคับตามสิทธิเรียกร้องเมื่อวันที่23 มิถุนายน 2535 คดีของโจทก์จึงขาดอายุความ แต่ปรากฏว่าหลังจากขาดอายุความแล้ว โจทก์ได้ดำเนินการทวงถามเพื่อให้จำเลยทั้งสามโอนกรรมสิทธิ์ในที่พิพาทแก่โจทก์จำเลยทั้งสามก็มิได้ปฏิเสธความรับผิดโดยยกอายุความเป็นข้ออ้างขึ้นใช้ยันโจทก์แต่ประการใด ตรงกันข้ามเมื่อโจทก์มีหนังสือทวงถามไปถึงจำเลยที่ 1 เมื่อวันที่ 20มีนาคม 2535 จำเลยที่ 1 ได้มีหนังสือไปถึงจำเลยที่ 2 และที่ 3 มีใจความว่าจำเลยที่ 1 ได้ตรวจสอบหลักฐานแล้ว ปรากฏว่าโจทก์ได้ซื้อที่ดินพิพาทจำนวน 2 แปลงและได้ชำระราคาครบถ้วนแล้วจำเลยที่ 1 จึงขอให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกับกรณีที่ดินจัดสรรให้แก่โจทก์ต่อไป ซึ่งจำเลยที่ 2 และที่ 3 ก็มิได้โต้แย้งจำเลยที่ 1 ว่า คดีโจทก์ขาดอายุความแต่อย่างใด ตามพฤติการณ์แห่งคดีถือได้ว่าจำเลยทั้งสามได้ละเสียซึ่งประโยชน์แห่งอายุความตาม ป.พ.พ.มาตรา193/24 แล้ว จำเลยที่ 2 และที่ 3 จึงไม่อาจยกอายุความขึ้นต่อสู้โจทก์ได้
เมื่อจำเลยที่ 1 ทำสัญญาจะซื้อจะขายที่ดินแปลงพิพาทกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 และมีข้อตกลงให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นผู้พัฒนาที่ดินเพื่อจัดสรร แล้วจำเลยที่ 1 จะเป็นผู้นำที่ดินแปลงพิพาทไปให้บุคคลภายนอกเช่าซื้อซึ่งเมื่อผู้เช่าซื้อได้ชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยที่ 1 ครบถ้วนแล้ว จำเลยที่ 1 จะนำเงินค่าเช่าซื้อดังกล่าวชำระให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 แล้วจำเลยที่ 2 และที่ 3จะต้องโอนกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทให้แก่ผู้เช่าซื้อ พฤติกรรมและข้อตกลงดังกล่าวแสดงให้เห็นว่าจำเลยที่ 1 ได้ร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 จัดสรรที่ดินเพื่อจำหน่ายแก่บุคคลภายนอก โดยแบ่งหน้าที่กันทำมิใช่เป็นตัวการตัวแทนตามที่จำเลยที่ 1 กล่าวอ้างแต่อย่างใด จำเลยที่ 1 จึงต้องร่วมกับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ดำเนินการจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์ด้วย
โจทก์ฟ้องจำเลยทั้งสาม โดยอ้างว่าโจทก์ทำสัญญาเช่าซื้อที่ดินกับจำเลยที่ 1 มีจำเลยที่ 2 และที่ 3 ร่วมจัดสรรที่ดินกับจำเลยที่ 1 ตามสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว จำเลยที่ 1 ให้การรับว่าทำสัญญาเช่าซื้อกับโจทก์จริงส่วนจำเลยที่ 2 และที่ 3 ให้การว่ามิได้เป็นคู่สัญญาตามสัญญาเช่าซื้อ แต่มิได้ให้การปฏิเสธถึงความไม่ถูกต้องของสัญญาเช่าซื้อดังกล่าว แม้สัญญาเช่าซื้อจะมิได้ปิดอากรแสตมป์ ก็รับฟังได้ตามคำรับของจำเลยที่ 1 ว่า มีการทำสัญญาเช่าซื้อกันจริง จึงไม่เป็นกรณีต้องห้ามตาม ป.รัษฎากร มาตรา 118
ที่จำเลยที่ 2 และที่ 3 แก้ฎีกาว่าจำเลยที่ 1 มิใช่เจ้าของที่ดิน ไม่มีอำนาจนำที่ดินไปให้เช่าซื้อ สัญญาเช่าซื้อย่อมเป็นโมฆะก็ดี โจทก์สืบเพิ่มเติมข้อความในสัญญาเช่าซื้อขัดกับกฎหมายก็ดี เป็นข้อที่มิได้ว่ากล่าวกันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6933/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความละเมิดจากการก่อสร้างต่อเนื่อง และความรับผิดร่วมกันของหลายฝ่าย
แม้จะฟังได้ความว่า จำเลยทำการตอกหรือหล่อเสาเข็มแล้วเสร็จ แต่งานก่อสร้างอาคารชุดพิพาทก็ยังคงต้องดำเนินการต่อเนื่องไปจนเสร็จบริบูรณ์ จะถือเอางานช่วงใดช่วงหนึ่งที่จำเลยก่อสร้างเสร็จเป็นวันเริ่มนับอายุความฟ้องร้องหาได้ไม่ ดังนั้น ตราบใดที่จำเลยยังกระทำการก่อสร้างต่อไปซึ่งเป็นเหตุให้อาคารโจทก์ได้รับความเสียหาย ย่อมถือ ได้ว่า จำเลยที่ 2 ถึงที่ 4 กระทำละเมิดต่อโจทก์ติดต่อกันตลอดมาอยู่ตราบนั้น โจทก์มีสิทธิเรียกค่าเสียหายจากจำเลย เพราะการกระทำนั้นได้ นับแต่วันที่จำเลยก่อสร้างอาคารชุดพิพาทเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2535 อันถือได้ว่าโจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนคือจำเลยตั้งแต่วันดังกล่าว โจทก์ฟ้องคดีนี้เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2535 ยังไม่เกิน 1 ปี คดีโจทก์ไม่ขาดอายุความ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 448 วรรคแรก
จำเลยฎีกาอ้างว่า ผู้ทำการตอกเจาะหล่อเสาเข็มในการก่อสร้างอาคารชุดนั้น คือ บริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น เป็นกรณีบุคคลหลายคนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยร่วมกันทำละเมิด แม้จะไม่สามารถรู้ตัวได้แน่ว่าคนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นก็ตาม จำเลยก็ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 432
จำเลยฎีกาอ้างว่า ผู้ทำการตอกเจาะหล่อเสาเข็มในการก่อสร้างอาคารชุดนั้น คือ บริษัท ส. จำกัด ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก จำเลยไม่จำต้องชดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์นั้น เป็นกรณีบุคคลหลายคนก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์โดยร่วมกันทำละเมิด แม้จะไม่สามารถรู้ตัวได้แน่ว่าคนไหนเป็นผู้ก่อให้เกิดความเสียหายนั้นก็ตาม จำเลยก็ต้องร่วมรับผิดต่อโจทก์ตามมาตรา 432
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6257/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมขนส่ง: จำเลยไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์หากมิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหาย
แม้จำเลยจะต้องรับผิดร่วมกันกับโจทก์ในความสูญหายหรือบุบสลายต่อผู้ส่งหรือผู้รับตราส่งซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างตาม ป.พ.พ. มาตรา 616 และมาตรา 618 แต่ระหว่างโจทก์กับจำเลยซึ่งเป็นผู้ร่วมขนส่งด้วยกันจะมีความรับผิดต่อกันหรือไม่ ก็ต้องขึ้นอยู่กับว่าจำเลยมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายด้วยหรือไม่เมื่อจำเลยมิได้มีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายแก่สินค้าที่จำเลยร่วมทำการขนส่งกับโจทก์ จำเลยจึงไม่ต้องรับผิดต่อโจทก์ ความรับผิดของลูกหนี้ร่วมตามมาตรา296 ที่บัญญัติให้ต่างคนต่างต้องรับผิดเป็นส่วนเท่า ๆ กัน เว้นแต่จะได้กำหนดไว้เป็นอย่างอื่นนั้นจะบังคับแก่กรณีนี้ได้ต่อเมื่อลูกหนี้ร่วมแต่ละคนมีส่วนก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นในการร่วมกันขนส่งเท่านั้น
การที่โจทก์ฎีกาว่า ความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทอดแรกโดยจำเลยนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยกข้อนี้ขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์แม้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกข้อนี้ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
การที่โจทก์ฎีกาว่า ความเสียหายเกิดขึ้นในระหว่างการขนส่งทอดแรกโดยจำเลยนั้น เมื่อปรากฏว่าโจทก์มิได้ยกข้อนี้ขึ้นโต้แย้งในชั้นอุทธรณ์แม้ศาลอุทธรณ์จะยกขึ้นวินิจฉัยให้ ก็ถือไม่ได้ว่าเป็นข้อที่ได้ยกข้อนี้ขึ้นว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลอุทธรณ์ ต้องห้ามมิให้ฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5477/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความรับผิดร่วมในละเมิด: จำเลยที่ 2 ต้องพิสูจน์ความเป็นลูกจ้างและกระทำในทางการจ้าง
การที่จำเลยที่2ต้องรับผิดร่วมกับจำเลยที่1ในผลแห่งละเมิดที่จำเลยที่1ก่อขึ้นต้องได้ความว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2เมื่อพยานโจทก์เบิกความเพียงว่าจำเลยที่1ขับรถยนต์บรรทุกของจำเลยที่2มาชนรถยนต์ของโจทก์เป็นเหตุให้โจทก์ได้รับความเสียหายส่วนข้อที่ว่าจำเลยที่1จะเป็นลูกจ้างและกระทำไปในทางการที่จ้างของจำเลยที่2หรือไม่พยานมิได้เบิกความถึงประกอบกับจำเลยที่2ก็นำสืบปฎิเสธว่าจำเลยที่1ไม่ได้เป็นลูกจ้างของตนด้วยโจทก์จึงนำสืบได้ไม่สมฟ้องการที่ศาลสันนิษฐานหรือถือว่าจำเลยที่1เป็นลูกจ้างและกระทำในทางการที่จ้างของจำเลยที่2จึงไม่ชอบ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2628/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อายุความฟ้องคดี, ความรับผิดร่วม, การแบ่งแยกหนี้, การฟ้องคดีถึงที่สุด, อำนาจฟ้อง
จำเลยที่3ดำรงตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์ตั้งแต่วันที่5กุมภาพันธ์2519ถึงวันที่14พฤศจิกายน2519แต่โจทก์ฟ้องจำเลยที่3เมื่อวันที่1กรกฎาคม2528แม้จะฟังว่าโจทก์ฟ้องคดีภายในกำหนด1ปีนับแต่วันที่โจทก์รู้ถึงการละเมิดและรู้ตัวผู้จะพึงต้องใช้ค่าสินไหมทดแทนก็ตามแต่เมื่อนับถึงวันที่จำเลยที่3ทำละเมิดก็ต้องหมายถึงว่าในขณะที่จำเลยที่3ปฎิบัติหน้าที่ในตำแหน่งหัวหน้ากองสวัสดิการของโจทก์นั่นเองดังนั้นการทำละเมิดของจำเลยที่3ต่อโจทก์ช่วงตั้งแต่วันที่5กุมภาพันธ์2519ถึงวันที่30มิถุนายน2519ซึ่งเป็นช่วงเวลาก่อนฟ้อง10ปีฟ้องของโจทก์ย่อมขาดอายุความตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา448วรรคหนึ่งโจทก์คงฟ้องจำเลยที่3ได้เฉพาะการทำละเมิดในช่วงระยะเวลาตั้งแต่วันที่1กรกฎาคม2519ถึงวันที่14พฤศจิกายน2519ซึ่งเมื่อนับถึงวันฟ้องแล้วยังไม่เกิน10ปีเท่านั้น โจทก์ฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ว่าจำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9ปฎิบัติหน้าที่ราชการโดยความบกพร่องและโดยความประมาทเลินเล่อไม่ปฎิบัติตามระเบียบที่โจทก์กำหนดไว้อันเป็นการละเมิดต่อโจทก์ซึ่งเป็นฎีกาโต้เถียงในข้อเท็จจริงไม่ใช่ฎีกาโต้เถียงในเรื่องแปลความหมายของระเบียบหรือคำสั่งของโจทก์อันจะเป็นข้อกฎหมายเมื่อโจทก์ฎีกาให้จำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9รับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาศาลชั้นต้นซึ่งศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่3ร่วมรับผิดไม่เกิน140,645บาทจำเลยที่4ร่วมรับผิดไม่เกิน70,820บาทจำเลยที่6ร่วมรับผิดไม่เกิน64,145บาทจำเลยที่8ร่วมรับผิดไม่เกิน97,835บาทและจำเลยที่9ร่วมรับผิดไม่เกิน104,400บาทแยกจากกันจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีการะหว่างโจทก์กับจำเลยที่3ที่4ที่6ที่8และที่9แต่ละรายไม่เกิน200,000บาทคดีโจทก์จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา248วรรคหนึ่ง หนี้ที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยที่10และที่11ชดใช้ให้แก่โจทก์จำนวน264,735บาทและจำนวน277,320บาทตามลำดับเป็นหนี้ที่ถึงที่สุดแล้วโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและหนี้ทั้งสองจำนวนดังกล่าวแม้จะเป็นหนี้ร่วมกับจำเลยอื่นอันเกิดจากมูลละเมิดก็ตามแต่เกิดจากการกระทำที่แตกต่างกันและศาลชั้นต้นก็ได้แยกความรับผิดที่จำเลยอื่นจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่10และที่11ไว้โดยชัดแจ้งแล้วว่าจำเลยคนไหนจะต้องร่วมรับผิดกับจำเลยที่10และที่11ต่อโจทก์จึงเป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้เมื่อหนี้ที่จำเลยที่10และที่11จะต้องรับผิดต่อโจทก์ร่วมกับจำเลยอื่นที่อุทธรณ์เป็นหนี้ที่แบ่งแยกได้คดีของจำเลยที่10และที่11จึงไม่ได้ตกอยู่ในบังคับแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา245(1)ศาลอุทธรณ์จะอาศัยอำนาจตามกฎหมายดังกล่าวพิพากษาให้มีผลถึงจำเลยที่10และที่11ที่คดีถึงที่สุดโดยคำพิพากษาของศาลชั้นต้นแล้วเพื่อมิให้จำเลยที่10และที่11ต้องรับผิดชดใช้เงินแก่โจทก์ด้วยไม่ได้ ฎีกาของจำเลยที่9ในข้อที่ว่าโจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องและคดีโจทก์สำหรับจำเลยที่9ขาดอายุความนั้นเมื่อตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์จำเลยที่9ไม่ต้องรับผิดชดใช้ค่าเสียหายให้แก่โจทก์ฎีกาของจำเลยที่9ทุกข้อจึงไม่เป็นสาระแก่คดีอันควรได้รับการวินิจฉัยเพราะไม่ทำให้ผลคดีเปลี่ยนแปลง