พบผลลัพธ์ทั้งหมด 83 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 999/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจดทะเบียนบริษัทใช้ชื่อทางการค้าที่คล้ายคลึงกัน: สิทธิการใช้ชื่อบริษัทและการพิสูจน์ความสุจริต
คำว่าโตเกียวออฟติคอล ที่จำเลยนำมาใช้จดทะเบียนเป็นชื่อทางการค้าและโจทก์ขอให้ศาลสั่งห้ามจำเลยที่1ใช้ชื่อนี้ตามที่จำเลยที่1จดทะเบียนไว้และให้เพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่1นี้เป็นชื่อของบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอลจำกัดที่ประเทศญี่ปุ่น บริษัทนี้จดทะเบียนต่อสำนักงานทะเบียนบริษัทประเทศญี่ปุ่น ตั้งแต่พ.ศ.2497มีกิจการค้าอยู่ในต่างประเทศหลายแห่งเช่นที่ประเทศสิงคโปร์ เมืองฮ่องกงและไต้หวัน สถานการค้าในต่างประเทศล้วนใช้ชื่อบริษัทที่่ประเทศญี่ปุ่น บางแห่งมีชื่อเมืองที่ตั้งอยู่นั้นต่อท้ายด้วยเช่นบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล(ฮ่องกง) จำกัดต่อมาบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นเปิดสถานการค้าในประเทศไทยโดยใช้ชื่อบริษัทเช่นเดียวกับชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นและมีคำว่า(ประเทศไทย)ต่อท้ายแล้วนำไปขอจดทะเบียนเป็นบริษัทจำเลยที่1ตามคำขอจดทะเบียนบริษัทจำกัดทั้งได้ขอใช้ชื่อนิติบุคคลเป็นภาษาอังกฤษอ่านว่าโตเกียวอ๊อพติคอล(ไทยแลนด์)คัมปะนีลิมิเต็ด โดยมีผู้เริ่มก่อการเป็นชาวญี่ปุ่น 3คนคือจำเลยที่2ถึงที่4ชาวไทย4คนคือจำเลยที่5ถึงที่8หลังจากจำเลยที่1ได้รับอนุญาตให้จดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดแล้วจำเลยที่1ประกอบกิจการค้าจำพวกแว่นตาและโฆษณาชื่อบริษัทนี้ในทางการค้าตลอดมาการค้าของบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นซึ่งจำเลยที่1เป็นบริษัทในเครือได้ประกอบกิจการมาตั้งแต่พ.ศ.2497ก่อนที่โจทก์จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดใช้ชื่อว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล จำกัดเมื่อวันที่7พฤศจิกายน2526หลายปีการที่จำเลยที่1นำเอาชื่อบริษัทแม่ที่ประเทศญี่ปุ่นไปจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดในประเทศไทยก็เพราะจำเลยที่1เป็นเครือเดียวกับบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่น ทั้งการจดทะเบียนที่ประเทศไทยมีคำว่า(ประเทศไทย)ต่อท้ายจึงไม่มีเหตุผลให้เชื่อว่าจำเลยที่1จงใจลอกเลียนชื่อบริษัทของโจทก์แล้วนำมาจดทะเบียนเป็นชื่อบริษัทจำเลยที่1จำเลยที่1ได้จดทะเบียนคำว่าบริษัทโตเกียวอ๊อพติคอล(ประเทศไทย จำกัดโดยสุจริตจำเลยที่1ย่อมมีสิทธิในการที่จะใช้ชื่อบริษัทนี้โดยชอบโจทก์จะขอให้สั่งห้ามจำเลยที่1ใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวและเพิกถอนการจดทะเบียนชื่อบริษัทจำเลยที่1ไม่ได้การกระทำของจำเลยที่1จึงไม่ถือว่าเป็นการละเมิดต่อโจทก์โดยเอาชื่อบริษัทโจทก์ซึ่งได้จดทะเบียนแล้วมาใช้เป็นชื่อบริษัทจำเลยที่1 จำเลยที่1ในฐานะส่วนตัวและในฐานะผู้รับมอบอำนาจจากบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นให้มีอำนาจฟ้องร้องผู้ลอกเลียนชื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้จำเลยที่1จึงมี2ฐานะหากจำเลยที่1จะฟ้องแย้งในฐานะผู้ได้รับมอบอำนาจจำเลยที่่1ต้องฟ้องแย้งในนามบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นผู้เป็นตัวการแต่เมื่อบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นมิได้เข้ามาเป็นคู่ความในคดีนี้จำเลยที่1จึงไม่อาจอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจฟ้องแย้งแทนบริษัทที่ประเทศญี่ปุ่นได้ โจทก์ใช้ชื่อโตเกียวออฟติคอล ประกอบกิจการค้าแว่นตาก่อนที่จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดหลายปีต่อมาได้นำชื่อทางการค้านี้ไปจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลประเภทบริษัทจำกัดที่จังหวัดเชียงใหม่เมื่อวันที่7พฤศจิกายน2526ก่อนที่จำเลยที่1จะจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเมื่อวันที่18มีนาคม2535ประมาณ9ปีการที่โจทก์และโจทก์ร่วมทั้งเจ็ดใช้ชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์เพราะโจทก์ไม่ทราบมาก่อนว่ามีชื่อบริษัทนี้ที่ประเทศญี่ปุ่นหลังจากโจทก์จดทะเบียนชื่อทางการค้าดังกล่าวเป็นชื่อบริษัทโจทก์แล้วโจทก์ก็ประกอบกิจการค้าแว่นตาต่อจากที่ทำอยู่เดิมตลอดมาทั้งทำการโฆษณาแพร่หลายเป็นที่รู้จักในทางการค้าแก่บุคคลทั่วไปนับตั้งแต่วันจดทะเบียนเป็นบริษัทจำกัดเป็นเวลาเกือบ10ปีการใช้ชื่อบริษัทของโจทก์เป็นการกระทำโดยสุจริตเช่นเดียวกับจำเลยที่1โจทก์ย่อมมีสิทธิที่จะใช้ชื่อบริษัทดังกล่าวได้โดยชอบจำเลยที่1จึงไม่่อาจขอให้สั่งห้ามโจทก์ใช้ชื่อโตเกียวออพติคอล เป็นชื่อบริษัทโจทก์และเรียกค่าเสียหายนับแต่วันฟ้องแย้งจากโจทก์ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2518/2540 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ภาษีอากร และการงดเบี้ยปรับเนื่องจากความสุจริตของผู้เสียภาษี
โจทก์บรรยายฟ้องว่า เจ้าพนักงานของจำเลยที่ 1 แจ้งการประเมินให้โจทก์เสียเบี้ยปรับตามมาตรา 89 (4) แห่ง ป.รัษฎากร โจทก์ไม่เห็นด้วยกับการประเมินดังกล่าว จึงอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์คณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์วินิจฉัยให้ลดเบี้ยปรับที่เรียกเก็บลงบางส่วน โจทก์เห็นว่า การประเมินภาษีมูลค่าเพิ่มของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายเพราะโจทก์ยื่นแบบแสดงรายการภาษีพร้อมใบกำกับภาษีไว้ถูกต้องชัดเจนแล้ว ขอให้เพิกถอนการประเมินของจำเลยที่ 1 และคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ หากศาลพิจารณาแล้วเห็นว่า การกระทำของโจทก์ผิดต่อมาตรา 89 (4)แห่ง ป.รัษฎากร ขอศาลงดเบี้ยปรับแก่โจทก์ด้วย ฟ้องโจทก์บรรยายแจ้งชัดซึ่งสภาพแห่งข้อหาและข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักแห่งข้อหาแล้ว ส่วนการประเมินและคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ไม่ชอบด้วยเหตุผลและกฎหมายใด เป็นข้อเท็จจริงที่อาจนำสืบในชั้นพิจารณา ฟ้องโจทก์จึงไม่เคลือบคลุม
ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนภาษีเป็นใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่แท้จริง โจทก์ชำระภาษีซื้อไปตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจริง แต่ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งกำลังก่อสร้างเพื่อให้เช่าเป็นสำนักงานและใช้ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองเฉพาะส่วนที่ใช้เป็นสำนักงานของโจทก์เท่านั้น แต่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2535 จะเห็นได้ว่าภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนและได้รับคืนไปแล้วคือ ภาษีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองของการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ส่วนหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวแม้จะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่เพิ่งประกาศในวันที่ 9 มีนาคม 2535 หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ไปแล้ว อีกทั้งผู้ตรวจสอบภาษีและผู้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่างก็มีความเห็นว่าโจทก์ไม่จงใจกระทำผิดและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ เมื่อคำนึงว่าภาษีที่โจทก์ขอคืนเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยงงอน กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อตามฟ้องได้จึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด
กรณีของโจทก์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เมื่อบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากรดังกล่าวให้โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ หากเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีบทบัญญัติตามป.รัษฎากรให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ เพราะหากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แล้วการฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
ใบกำกับภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนภาษีเป็นใบกำกับภาษีซื้อของเดือนมกราคม กุมภาพันธ์ เมษายน และพฤษภาคม 2535 ซึ่งเป็นใบกำกับภาษีซื้อที่แท้จริง โจทก์ชำระภาษีซื้อไปตามใบกำกับภาษีดังกล่าวจริง แต่ใบกำกับภาษีซื้อดังกล่าวส่วนใหญ่เป็นใบกำกับภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารของโจทก์ซึ่งกำลังก่อสร้างเพื่อให้เช่าเป็นสำนักงานและใช้ส่วนหนึ่งเป็นสำนักงานของโจทก์ในการประกอบกิจการของโจทก์ ซึ่งโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อที่เกิดจากการก่อสร้างอาคารเพื่อใช้ในการประกอบกิจการของตนเองเฉพาะส่วนที่ใช้เป็นสำนักงานของโจทก์เท่านั้น แต่โจทก์ต้องปฏิบัติตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรเกี่ยวกับภาษีมูลค่าเพิ่ม(ฉบับที่ 29) เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการเฉลี่ยภาษีซื้อ ตามมาตรา 82/6 แห่ง ป.รัษฎากร ลงวันที่ 9 มีนาคม 2535 ซึ่งใช้บังคับตั้งแต่วันที่1 มกราคม 2535 จะเห็นได้ว่าภาษีซื้อที่โจทก์ขอคืนและได้รับคืนไปแล้วคือ ภาษีเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ซึ่งเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองของการประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่ม กล่าวคือเริ่มใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ตามพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ป.รัษฎากร (ฉบับที่ 30) พ.ศ.2534 ส่วนหลักเกณฑ์การเฉลี่ยภาษีซื้อสำหรับการก่อสร้างอาคารตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวแม้จะใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2535 ก็ตาม แต่เพิ่งประกาศในวันที่ 9 มีนาคม 2535 หลังจากที่โจทก์ขอคืนและรับภาษีซื้อเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2535 ไปแล้ว อีกทั้งผู้ตรวจสอบภาษีและผู้พิจารณาอุทธรณ์ของโจทก์ต่างก็มีความเห็นว่าโจทก์ไม่จงใจกระทำผิดและไม่มีเจตนาหลีกเลี่ยงภาษีสมควรลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์ เมื่อคำนึงว่าภาษีที่โจทก์ขอคืนเป็นเดือนแรกและเดือนที่สองที่ประกาศใช้ภาษีมูลค่าเพิ่มและเมื่อโจทก์ถูกทักท้วงว่าโจทก์ไม่มีสิทธิขอคืนภาษีดังกล่าวโจทก์ก็คืนภาษีในส่วนที่รับคืนไปแล้วโดยมิได้อิดเอื้อนและเกี่ยงงอน กรณีน่าเชื่อว่าโจทก์เชื่อโดยสุจริตว่าโจทก์มีสิทธิขอคืนภาษีซื้อตามฟ้องได้จึงสมควรงดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่มที่เรียกเก็บจากโจทก์ทั้งหมด
กรณีของโจทก์ไม่ต้องห้ามอุทธรณ์คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ต่อศาล ตาม ป.รัษฎากร มาตรา 30 (2) เมื่อบทบัญญัติตาม ป.รัษฎากรดังกล่าวให้โจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ หากเมื่อโจทก์ไม่พอใจคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ ย่อมเข้าใจได้แล้วว่าศาลมีอำนาจในการพิจารณาว่า คำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์เหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่ หาใช่ว่าการงดหรือลดเบี้ยปรับให้แก่โจทก์เป็นอำนาจของเจ้าพนักงานจำเลยซึ่งเป็นอำนาจของฝ่ายบริหาร ไม่มีบทบัญญัติตามป.รัษฎากรให้อำนาจศาลงดหรือลดเบี้ยปรับดังที่จำเลยกล่าวอ้างไม่ เพราะหากแปลความว่าโจทก์มีสิทธิฟ้องต่อศาลได้ แต่ห้ามศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาคำวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการพิจารณาอุทธรณ์ว่าเหมาะสมและชอบด้วยกฎหมายหรือไม่แล้วการฟ้องคดีของโจทก์ย่อมไม่ก่อให้เกิดประโยชน์อันใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5467/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ผลกระทบของสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอกและการระงับสิทธิ การโอนสิทธิการเช่า และความสุจริตของผู้รับโอน
จำเลยที่ 5 โจทก์ทั้งสอง และจำเลยที่ 1 มาเจรจาตกลงกันตามบันทึกเอกสารหมาย ล.8 ซึ่งจำเลยที่ 5 ได้ไกล่เกลี่ยให้จำเลยที่ 1 และโจทก์ทั้งสองตกลงกันในเรื่องเงินช่วยค่าก่อสร้างโดยถืออัตราค่าก่อสร้างเฉพาะตัวอาคารเป็นเกณฑ์กำหนดตามที่กรมธนารักษ์แจ้งมา และโจทก์ทั้งสองก็ยินยอมเสียเงินช่วยค่าก่อสร้างอาคารตามจำนวนที่จำเลยที่ 5 ไกล่เกลี่ย แม้จำเลยที่ 1 ไม่ยินยอมและตกลงด้วยก็ถือได้ว่า โจทก์ทั้งสองแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 แล้ว ดังนั้น จำเลยที่ 1และที่ 5 จึงหาอาจจะเปลี่ยนแปลง หรือระงับสิทธินั้นในภายหลังได้ไม่ ตาม ป.พ.พ.มาตรา 375
แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ จ.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้ถือสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 5 อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 5โดยไม่สุจริตก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 4 รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมา ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่สุจริต ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ได้
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 5แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงต้องรบผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง สำหรับจำเลยที่ 2และที่ 3 นั้น มิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 4 นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต ยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
แม้จะได้ความว่า จำเลยที่ 2 และที่ 3 เป็นบุตรของ จ.หุ้นส่วนผู้จัดการของจำเลยที่ 1 ย่อมจะรู้ถือสิทธิของโจทก์ทั้งสองที่มีต่อจำเลยที่ 1และจำเลยที่ 5 อันจะถือได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่ากับจำเลยที่ 5โดยไม่สุจริตก็ตาม แต่เมื่อจำเลยที่ 2 และที่ 3 โอนสิทธิการเช่าแก่จำเลยที่ 4จำเลยที่ 4 ได้ชื่อว่าเป็นบุคคลภายนอกซึ่งได้รับประโยชน์จากข้อสันนิษฐานของกฎหมายว่ากระทำการโดยสุจริต ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 โจทก์ทั้งสองจึงมีภาระการพิสูจน์ว่าจำเลยที่ 4 รับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต แต่โจทก์ทั้งสองนำสืบได้แต่เพียงว่าจำเลยที่ 4 ได้สอบถามเรื่องราวเกี่ยวกับอาคารพิพาทจากโจทก์ทั้งสองตลอดมา ซึ่งยังไม่อาจชี้ชัดได้ว่าจำเลยที่ 4 ไม่สุจริต ด้วยเหตุนี้จึงไม่อาจเพิกถอนสัญญาเช่าอาคารระหว่างจำเลยที่ 4 กับจำเลยที่ 5 ได้
สัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 5 เป็นสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก เมื่อโจทก์ทั้งสองซึ่งเป็นบุคคลภายนอกแสดงเจตนาแก่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ว่าจะถือเอาประโยชน์จากสัญญาระหว่างจำเลยที่ 1 และที่ 5แล้ว การที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 ระงับสิทธิของโจทก์ทั้งสองโดยให้จำเลยที่ 2 และที่ 3 เข้าทำสัญญาเช่าอาคารแทนที่จำเลยที่ 1 และที่ 5 จึงต้องรบผิดชำระค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง แต่โจทก์ทั้งสองประสงค์จะเรียกร้องค่าเสียหายเอากับจำเลยที่ 1 เท่านั้น จึงบังคับให้ได้เท่าที่โจทก์ทั้งสองเรียกร้อง สำหรับจำเลยที่ 2และที่ 3 นั้น มิใช่คู่สัญญาในสัญญาเพื่อประโยชน์บุคคลภายนอก จึงไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสองไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสอง ส่วนจำเลยที่ 4 นอกจากฟังไม่ได้ว่ารับโอนสิทธิการเช่าโดยไม่สุจริต ยังไม่มีนิติสัมพันธ์กับโจทก์ทั้งสอง จึงไม่ต้องรับผิดใช้ค่าเสียหายแก่โจทก์ทั้งสองเช่นกัน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3919/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การลอกเลียนเครื่องหมายการค้า การลวงสาธารณชน และความสุจริตในการยื่นจดทะเบียน
ก่อนที่จำเลยที่1จะขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า MINMAXจำเลยที่1รู้อยู่ก่อนแล้วโดยการทักท้วงของ ม.ว่าเครื่องหมายการค้าดังกล่าวเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าMICMAC ของโจทก์ที่ ม. เป็นผู้ดำเนินการจดทะเบียนให้ก่อนแล้วอย่างมากเมื่อปรากฏว่าจำเลยที่1เคยเป็นพนักงานขายสินค้าของโจทก์มานาน10ปีและเคยเป็นผู้ดูแลการผลิตสินค้าของโจทก์จึงมีเหตุให้เชื่อว่าจำเลยที่1ต้องการใช้ประสบการณ์ของจำเลยที่1ดังกล่าวมาผลิตสินค้าจำพวกเดียวกับสินค้าของโจทก์และพยายามจะใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ให้ใกล้เคียงกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์เพื่อให้สาธารณชนที่เคยรู้จักคุณภาพหรือเคยใช้สินค้าของโจทก์สับสนหลงผิดว่าสินค้าของจำเลยที่1เป็นสินค้าของโจทก์จำเลยที่1จึงขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าโดยไม่สุจริตมาแต่แรกแม้จำเลยที่1จะได้ความคิดเรื่องเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จากการดูรายการข่าวพยากรณ์อากาศทางโทรทัศน์แล้วนำคำว่า MIN ซึ่งย่อมาจากคำว่า MINIMUM และคำว่า MAX ซึ่งย่อมาจากคำ MAXIMUM มารวมเป็นคำว่า MINMAXก็ตามเครื่องหมายการค้าที่จำเลยที่1ยื่นขอจดทะเบียนก็ยังเหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันอาจทำให้สาธารณชนสับสนหลงผิดได้นับได้ว่าจำเลยที่1ลอกเลียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์มาใช้เป็นเครื่องหมายการค้าของจำเลยโจทก์จึงชอบที่จะคัดค้านการขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1และมีสิทธิฟ้องบังคับให้จำเลยที่1งดใช้เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ทั้งมีสิทธิฟ้องให้จำเลยที่2ซึ่งเป็นนายทะเบียนเครื่องหมายการค้าระงับหรือเพิกถอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ได้ เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1ใช้คำโรมัน2คำมาประกอบกันแล้วอ่านหรือเรียกขานว่า MINMAX ประกอบด้วยอักษรโรมัน6ตัวขึ้นต้นพยางค์แรกด้วยอักษร MI และลงท้ายพยางค์หลังด้วยอักษร MA เช่นเดียวกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์ที่อ่านหรือเรียกขานว่า MICMAC ซึ่งโจทก์ได้จดทะเบียนไว้แล้วตั้งแต่ปี2518เมื่อเปรียบเทียบตัวอักษรตัวต่อตัวแล้วจะเห็นได้ว่าคล้ายคลึงหรือใกล้เคียงกันมากถึงขนาดที่คนทั่วไปแม้จะสามารถอ่านอักษรโรมันได้แต่ถ้าไม่ได้สังเกตให้ดีแล้วจะต้องเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเครื่องหมายการค้าอันเดียวกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าคนที่ไม่สามารถอ่านหรือไม่รู้จักตัวอักษรโรมันด้วยแล้วจะไม่สามารถแยกข้อแตกต่างระหว่างเครื่องหมายการค้าของโจทก์กับจำเลยที่1พยางค์แรกคือคือว่า MIC และ MIN จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "มิค" กับ "มิน" เพี้ยนกันเล็กน้อยส่วนพยางค์หลังคือคือว่า MAC และ MAX จะออกเสียงอ่านหรือเรียกขานเป็น "แม็ก" หรือ "แม็กซ์" เหมือนกันแม้เครื่องหมายการค้าของโจทก์มีอักษร M ประดิษฐ์ประกอบอยู่ด้วยก็เป็นข้อแตกต่างปลีกย่อยมิใช่สาระสำคัญของเครื่องหมายการค้าของโจทก์และจำเลยที่1เครื่องหมายการค้าของจำเลยที่1จึงคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของโจทก์อันจะเป็นการลวงสาธารณชนให้หลงผิดได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 980/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กรรมสิทธิ์ที่ดิน: ครอบครองปรปักษ์, การซื้อขายที่ดิน, และความสุจริตของผู้ซื้อ
การที่โจทก์ฟ้องคดีโดยยังไม่มีหลักฐานให้ความยินยอมจากภริยาเป็นเพียงข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถซึ่งศาลจะพึงสั่งให้โจทก์ดำเนินการแก้ไขเสียก่อนตาม ป.วิ.พ. มาตรา 56 ได้ แต่ศาลชั้นต้นมิได้สั่งให้โจทก์แก้ไข ก่อนที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาได้มี พ.ร.บ. แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ (ฉบับที่ 10) พ.ศ.2533 ใช้บังคับซึ่งมาตรา 1476 ประกอบด้วยมาตรา 1477 ที่แก้ไขเพิ่มเติมได้บัญญัติให้มีผลว่า สำหรับการจัดการทรัพย์สินดังเช่นกรณีที่โจทก์ฟ้องคดีนี้ สามีหรือภริยามีอำนาจจัดการหรือฟ้องคดีได้โดยมิต้องได้รับความยินยอมจากอีกฝ่ายหนึ่ง ดังนั้นเท่ากับมีบทบัญญัติแห่งกฎหมายแก้ไขข้อบกพร่องเกี่ยวกับความสามารถของโจทก์แล้ว โจทก์จึงฟ้องคดีได้เองโดยหาจำต้องได้รับความยินยอมของภริยาเสียก่อนไม่
การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ พ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลัง จึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขาย เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถ ซึ่ง พ. ก็รู้เห็นตลอดมา แต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใด กลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่า ที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็ก ๆ ปลูกอยู่ ซึ่ง พ. บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไร อาศัย พ. อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจาก พ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใด การที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง 770,000 บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้าน พ. เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่ง ถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต จำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
การซื้อขายที่ดินพิพาทระหว่างจำเลยกับ พ. แม้จะยอมให้มีการผ่อนชำระราคาที่ดินกันก็ตาม แต่เมื่อไม่ปรากฏมีข้อสัญญาว่าหากชำระราคาครบถ้วนแล้วจะไปจดทะเบียนโอนที่ดินพิพาทกันภายหลัง จึงเป็นการซื้อขายเสร็จเด็ดขาดมิใช่เป็นสัญญาจะซื้อขาย เมื่อมิได้ทำเป็นหนังสือและจดทะเบียนต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ย่อมตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 456 หลังจากจำเลยซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. แล้วได้เข้าครอบครองที่ดินพิพาทโดยเปิดเผยด้วยเจตนาเป็นเจ้าของตลอดมาโดยการสร้างรั้วมีลักษณะเป็นการถาวรล้อมรอบที่พิพาทและปลูกสร้างโรงเก็บของและโรงเก็บรถ ซึ่ง พ. ก็รู้เห็นตลอดมา แต่มิได้แสดงเจตนาหวงแหนที่ดินพิพาทหรือห้ามปรามจำเลยแต่อย่างใด กลับยอมให้จำเลยครอบครองที่ดินพิพาทโดยความสงบตลอดมาติดต่อกันเป็นเวลากว่า 10 ปี จำเลยจึงได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองปรปักษ์ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1382
ก่อนที่โจทก์จะซื้อที่ดินพิพาทโจทก์เห็นอยู่ก่อนแล้วว่า ที่ดินพิพาทมีการล้อมรั้วและมีบ้านหลังเล็ก ๆ ปลูกอยู่ ซึ่ง พ. บอกโจทก์ว่าเป็นบ้านของจำเลยลูกพี่ลูกน้องโจทก์ ถ้าโจทก์ต้องการก็จะให้รื้อไป แต่ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้สอบถามจำเลยให้แน่ชัดเสียก่อนที่จะซื้อที่ดินพิพาทจาก พ. ว่าจำเลยครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะอะไร อาศัย พ. อยู่ในที่ดินพิพาทหรือไม่ ทั้งโจทก์ก็ไม่ได้ขอโฉนดที่ดินพิพาทจาก พ. มาดูเพื่อตรวจสอบว่าที่ดินพิพาทมีเนื้อที่มากน้อยเพียงใด การที่โจทก์ตัดสินใจซื้อที่ดินพิพาทซึ่งมีราคาถึง 770,000 บาทโดยอาศัยการมองจากหน้าต่างบ้าน พ. เพียงอย่างเดียวมิได้เข้าไปดูที่ดินพิพาทด้วยตนเองผิดวิสัยวิญญูชนโดยทั่วไปที่จะพึงกระทำจึงเป็นพิรุธอย่างยิ่ง ถือได้ว่าโจทก์ซื้อที่ดินพิพาทโดยไม่สุจริต จำเลยย่อมยกการครอบครองปรปักษ์ที่ดินพิพาทขึ้นเป็นข้อต่อสู้โจทก์ได้ จำเลยจึงมีสิทธิในที่ดินพิพาทดีกว่าโจทก์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 9213/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การจำนองหลังศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเป็นโมฆะ เจ้าหนี้ไม่อาจอ้างความสุจริตได้
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้วพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 บัญญัติให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการและจำหน่ายทรัพย์สินของลูกหนี้และห้ามมิให้ลูกหนี้กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน เว้นแต่จะได้กระทำตามคำสั่งหรือความเห็นชอบของศาล เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ ฯลฯ ดังนั้นเมื่อศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดเมื่อวันที่ 10 พฤศจิกายน 2532 จำเลยที่ 2 จึงหมดอำนาจที่จะจัดการหรือกระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินของตน อำนาจดังกล่าวย่อมตกแก่ผู้ร้องในฐานะเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวตามบทกฎหมายดังกล่าว จำเลยที่ 2 จึงไม่มีอำนาจจดทะเบียนจำนองที่ดินแก่ผู้คัดค้านในวันที่29 พฤศจิกายน 2532 ซึ่งเป็นการกระทำเกี่ยวกับทรัพย์สินของตนภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด การจดทะเบียนจำนองจึงเป็นการฝ่าฝืนต่อพระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 24ซึ่งเป็นกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยของประชาชนการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 แก่ผู้คัดค้านจึงเสียเปล่าเป็นโมฆะ ไม่มีผลผูกพันคู่กรณีตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 150 พระราชบัญญัติล้มละลาย พ.ศ. 2483 มาตรา 22 และมาตรา 24เป็นบทบังคับเด็ดขาด แม้ผู้คัดค้านได้จดทะเบียนรับจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2 ในเวลาที่ยังไม่ประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยที่ 2 เด็ดขาดในราชกิจจานุเบกษาและผู้คัดค้านไม่ทราบว่าก. คือ จำเลยที่ 2 ที่ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตามประกาศดังกล่าว ผู้คัดค้านก็ไม่อาจยกความสุจริตขึ้นอ้างเพื่อลบล้างบทกฎหมายดังกล่าวได้ เมื่อการจดทะเบียนจำนองที่ดินของจำเลยที่ 2เป็นโมฆะจึงเป็นความเสียเปล่ามาแต่เริ่มแรกไม่มีผลใด ๆ เกิดขึ้นตามกฎหมาย ในกรณีเช่นนี้ไม่ถือว่าที่ดินของจำเลยที่ 2 จำนองเพื่อประกันการชำระหนี้แก่ผู้คัดค้าน ผู้คัดค้านไม่อาจอ้างได้ว่ามีสิทธิใด ๆ เหนือที่ดินของจำเลยที่ 2 ได้ จึงไม่มีกรณีที่จะให้ผู้คัดค้านได้กลับคืนสู่ฐานะเดิม โดยให้ผู้คัดค้านได้รับการชดใช้หนี้เงินกู้และหนี้กู้เบิกเงินเกินบัญชีจากผู้ร้องในฐานลาภมิควรได้ซึ่งเป็นคนละเรื่องกับการจำนองที่ผู้ร้องร้องขอให้เพิกถอน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7806/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
หน้าที่ต่อสู้คดีด้วยตนเอง หรือมอบหมายทนายความ ความเข้าใจผิดไม่ใช่เหตุขาดนัดพิจารณา
แม้จะเป็นความจริงว่าจำเลยรู้เท่าไม่ถึงการณ์และไม่เข้าใจในการดำเนินคดีของศาล ทั้งเชื่อโดยสุจริตว่าได้ซื้อที่ดินพิพาทโดยสุจริต ได้ทำการโอนกรรมสิทธิ์ ณ สำนักงานที่ดินพร้อมทั้งเข้าครอบครองที่ดินพิพาทแล้ว จึงไม่ต้องทำอะไรอีก ก็ไม่อาจกล่าวได้ว่าจำเลยมิได้จงใจขาดนัดพิจารณาเพราะจำเลยมีหน้าที่ต้องต่อสู้คดีของจำเลยเอง หากไม่เข้าใจวิธีการต่อสู้คดีหรือไม่สามารถต่อสู้คดีด้วยตนเองได้ ก็ควรต้องมอบหมายให้ทนายความดำเนินการแทน จำเลยจะอ้างเอาความเข้าใจผิดมาเป็นข้อแก้ตัวว่ามิได้จงใจขาดนัดพิจารณาหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6925/2538 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เจตนาฉ้อภาษีเป็นองค์ประกอบความผิด แม้ พ.ร.บ.ศุลกากร (ฉบับที่ 9) พ.ศ.2482 มิได้บังคับให้ต้องมีเจตนา
บทบัญญัติของมาตรา16แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร(ฉบับที่9)พ.ศ.2482ซึ่งบัญญัติว่า"การกระทำที่บัญญัติไว้ในมาตรา27แห่งพระราชบัญญัติศุลกากรพุทธศักราช2469นั้นให้ถือว่าเป็นความผิดโดยมิพักต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือหาไม่"หาได้ลบล้างองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27ที่ว่าจะต้องกระทำ"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ให้สิ้นไปไม่เพราะมาตรา16หมายความถึงแต่เพียงมิให้คำนึงถึงเจตนาแห่งการกระทำเท่านั้นส่วนความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลนั้นยังคงต้องเป็นองค์ประกอบความผิดตามมาตรา27อยู่คำว่า"โดยเจตนาจะฉ้อค่าภาษี"ตามความหมายของกฎหมายในขณะนั้นย่อมหมายถึงความมุ่งหมายแห่งการกระทำหรือความประสงค์ต่อผลต่างหากจากเจตนากระทำการจำเลยทั้งสองจะมีความผิดต่อเมื่อข้อเท็จจริงที่รับฟังได้ว่ามีเจตนาจะฉ้อค่าภาษีของรัฐบาล การที่จำเลยทั้งสองสำแดงในใบขนสินค้าและแบบแสดงรายการการค้าตามเอกสารที่ผู้ขายส่งมาให้เมื่อเปิดหีบห่อออกตรวจก็พบเห็นได้ชัดเจนว่ามีสินค้าเกินจำนวนซึ่งจำเลยยอมชำระค่าภาษีอากรเพิ่มกับเบี้ยปรับตามคำสั่งของกรมศุลกากรแสดงถึงความสุจริตใจไม่มีเจตนาจะหลีกเลี่ยงหรือฉ้อโกงไม่เสียภาษีจำเลยจึงไม่มีความผิด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายที่ดินโดยภริยาที่ไม่ยินยอม และผลของการสันนิษฐานความสุจริตของผู้ซื้อ
เมื่อโจทก์และจำเลยที่ 1 ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทหลังจากป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 ใช้บังคับแล้ว แม้โจทก์และจำเลยที่ 1 จะสมรสกันก่อน ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ได้ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519ใช้บังคับก็ต้องนำ ป.พ.พ. บรรพ 5 ที่ตรวจชำระใหม่ พ.ศ.2519 มาใช้บังคับจำเลยที่ 1 ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่ 2 โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์ และจำเลยที่ 2 นำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่ 3 แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่ 2 และที่ 3 ทราบว่าโจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่ 1 กับจำเลยที่ 2 และที่ 3 ไม่สุจริตอย่างไร โจทก์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนโอนขายและการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทไม่ได้
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
ตาม ป.พ.พ. มาตรา 6 ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริต ดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่า จำเลยที่ 2 และจำเลยที่ 3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3274/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การซื้อขายและจำนองสินสมรสโดยบุคคลภายนอกที่สุจริต: โจทก์ต้องพิสูจน์ความไม่สุจริต
เมื่อโจทก์และจำเลยที่1ซื้อที่ดินและบ้านพิพาทหลังจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519ใช้บังคับแล้วแม้โจทก์และจำเลยที่1จะสมรสกันก่อนประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์บรรพ5ที่ได้ตรวจชำระใหม่พ.ศ.2519มาใช้บังคับจำเลยที่1ขายที่ดินและบ้านพิพาทให้จำเลยที่2โดยปราศจากความยินยอมของโจทก์และจำเลยที่2นำไปจดทะเบียนจำนองแก่จำเลยที่3แต่โจทก์นำสืบไม่ได้ว่าจำเลยที่2และที่3ทราบว่าโจทก์เป็นภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายของจำเลยที่1กับจำเลยที่2และที่3ไม่สุจริตอย่างไรโจทก์จึงขอให้ศาลเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองที่ดินและบ้านพิพาทไม่ได้ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา6ให้สันนิษฐานไว้ก่อนว่าบุคคลทุกคนกระทำการโดยสุจริตดังนั้นการที่โจทก์อ้างว่าจำเลยที่2และจำเลยที่3กระทำการโดยไม่สุจริตโจทก์จึงมีภาระการพิสูจน์เพื่อหักล้างข้อสันนิษฐานดังกล่าว