คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความเท็จ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 79 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 951/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีอาญาเกี่ยวกับความเท็จและเอกสารปลอม: ผู้เสียหายต้องเป็นผู้ได้รับผลกระทบโดยตรง
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยทั้งหกเบิกความเท็จ และแสดงพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ ในคดีที่จำเลยที่ 2 ร้องขอให้ศาลสั่งว่า อ. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถ และขอให้ตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้พิทักษ์กับคดีที่จำเลยที่ 2 ร้องขอให้ศาลสั่งว่า อ. เป็นคนไร้ความสามารถ และตั้งจำเลยที่ 2 เป็นผู้อนุบาล โดยโจทก์อ้างว่าจำเลยเบิกความและแสดงหลักฐานว่าจำเลยที่ 2 เป็นบุตร อ.ซึ่งเป็นความเท็จ ดังนี้ เมื่อโจทก์มิได้เป็นคู่ความในคดีทั้งสอง การเบิกความก็ดี การนำสืบหรือแสดงพยานหลักฐานก็ดีเป็นการกระทำต่อศาล เนื้อความก็เป็นเรื่องเกี่ยวกับ อ. มิได้เกี่ยวกับโจทก์ คดีเป็นเพียงเรื่องขอให้สั่งให้ อ. เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถและไร้ความสามารถเท่านั้น แม้โจทก์จะเป็นทายาทอันดับ 3 ความเท็จที่จำเลยเบิกความหรือนำสืบยังไม่กระทบกระเทือนต่อสิทธิหรือส่วนได้เสียของโจทก์โดยตรง โจทก์จึงไม่ใช่ผู้เสียหายอันจะมีอำนาจฟ้องคดีในความผิดดังกล่าว
ส่วนความผิดฐานปลอมเอกสารและใช้เอกสารปลอมนั้น โจทก์อ้างว่าจำเลยที่ 2 ปลอมสูติบัตรของจำเลยที่ 2 และจำเลยทั้งหกร่วมกันปลอมสำเนาทะเบียนบ้านของจำเลยทั้งหก แล้วใช้อ้างเป็นพยานต่อศาลในคดีที่ร้องขอให้ อ. เป็นคนไร้ความสามารถ สูติบัตร และสำเนาทะเบียน ต่างเป็นเอกสารที่เจ้าหน้าที่ของรัฐทำขึ้น หากจะมีการปลอมแปลงก็มิใช่เป็นการกระทำตอ่โจทก์ ข้อความในสูติบัตรและสำเนาทะเบียนบ้านไม่เกี่ยวกับโจทก์ การอ้างเอกสารดังกล่าวเป็นพยานก็กระทำต่อศาล มิได้กระทำต่อโจทก์โจทก์จึงมิใช่ผู้เสียหายในความผิดดังกล่าวเช่นเดียวกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 680/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความเพียงพอของฟ้องอาญา: การแจ้งความเท็จเพื่อขอมีบัตรประชาชน แม้ไม่ระบุชื่อเจ้าพนักงาน
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยที่ 1 ได้ยื่นคำขอมีบัตรประจำตัวประชาชนโดยแจ้งข้อความอันเป็นเท็จต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ว่าตนเป็นผู้มีสัญชาติไทยอันเป็นการฝ่าฝืนต่อ พ.ร.บ.บัตรประจำตัวประชาชน พ.ศ. 2505 ดังนี้แม้จะมิได้ระบุชื่อของเจ้าพนักงานผู้รับแจ้งก็ชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158.(ที่มา-ส่งเสริม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5278/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาทด้วยการโฆษณา: การพิสูจน์ความเท็จและการบรรเทาความเสียหาย
จำเลยพิมพ์โฆษณาข้อความอันฝ่าฝืนความจริงทางหนังสือพิมพ์ซึ่งเมื่ออ่านข้อความทั้งหมดประกอบกันแล้วทำให้เข้าใจได้ว่าโจทก์เป็นผู้ก่อการร้ายคอมมิวนิสต์และเคยเป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย กำลังวางแผนจัดตั้งพรรคการเมืองที่ถูกต้องตามกฎหมายโดยยอมรับหลักลัทธิคอมมิวนิสต์ การไขข่าวเช่นนี้ ในขณะที่ประเทศไทยมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขและมีพระราชบัญญัติป้องกันการกระทำอันเป็นคอมมิวนิสต์ใช้บังคับอยู่ย่อมทำให้โจทก์ซึ่งเป็นคนไทยคนหนึ่งเป็นที่รังเกียจ ถูกดูหมิ่นเกลียดชังจากประชาชนทั่วไป ทำให้โจทก์เสียหาย จำเลยจึงต้องร่วมกันชดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่โจทก์ ข้อความดังกล่าวเป็นการหมิ่นประมาทชื่อเสียงเกียรติคุณของโจทก์และอาจกระทบถึงทางเจริญหรือทางทำมาหาได้ของโจทก์ โจทก์จึงมีสิทธิเรียกค่าสินไหมทดแทน แต่จำเลยได้ลงแก้ข่าวให้โจทก์ทางหนังสือพิมพ์หลายฉบับติดต่อกันหลายวันอันเป็นการบรรเทาความเสียหายไปส่วนหนึ่งแล้ว ศาลฎีกาจึงกำหนดค่าเสียหายให้โจทก์ 50,000 บาท

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3334/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความชัดเจนของคำฟ้องอาญา: การระบุตำแหน่งเจ้าหน้าที่ที่ดินในการแจ้งความเท็จ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยได้แจ้งให้ ถ. เจ้าหน้าที่ที่ดินอำเภอผู้ทำหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนต่าง ๆ จดข้อความอันเป็นเท็จลงในเอกสารคำขอออกใบแทนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และเอกสารบันทึกถ้อยคำซึ่งเป็นเอกสารราชการและมีวัตถุประสงค์สำหรับใช้เป็นพยานหลักฐานว่าหนังสือรับรองการทำประโยชน์ได้หายไป แม้มิได้บรรยายว่า ถ.เป็นเจ้าพนักงานที่ดิน ก็ย่อมเข้าใจได้ว่า ถ. เป็นเจ้าพนักงานผู้กระทำการตามหน้าที่ ตามความหมายของประมวลกฎหมายอาญามาตรา 267 แล้ว ฟ้องโจทก์หาเป็นฟ้องที่เคลือบคลุมหรือขาดองค์ประกอบความผิดไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2083/2531 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาต้องห้าม – ปัญหาข้อเท็จจริง – การแจ้งข้อผิดพลาดบัญชีไม่ใช่ความเท็จ – เอกสารขาดหายไปไม่ใช่เอกสารทางราชการ
ศาลชั้นต้นพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยวินิจฉัยว่าการกระทำของจำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 157,162 จำเลยอื่นจึงไม่มีความผิดตามฟ้องด้วย ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยว่า จำเลยที่ 1 ถึงที่ 3 เป็นผู้ตรวจสอบบัญชีงบดุลร้านสหกรณ์ ห. ได้แจ้งต่อที่ประชุมกรรมการร้านสหกรณ์ว่าโจทก์ทำเงินขาดบัญชี และทำสินค้าขาดหายไปก็เนื่องจากจำเลยทั้งสามตรวจพบข้อผิดพลาดของบัญชีร้านสหกรณ์ดังกล่าว จึงไม่เป็นการกระทำโดยมิชอบอันจะเป็นความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 157สำหรับความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 162 นั้น เอกสารที่โจทก์อ้างว่าจำเลยร่วมกันทำเป็นความเท็จให้พนักงานอัยการเป็นหลักฐานดำเนินคดีกับโจทก์เป็นเพียงรายการสินค้าที่ระบุว่าสินค้าขาดหายไปเท่านั้น และไม่มีจำเลยคนใดซึ่งเป็นเจ้าพนักงานมีหน้าที่เกี่ยวข้องกับเอกสารและรับรองเอกสารดังกล่าวแล้วพิพากษายืนดังนี้ เป็นการพิพากษายกฟ้องโจทก์โดยอาศัยข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลชั้นต้น ต้องห้ามมิให้คู่ความฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220 โจทก์ฎีกาว่า จำเลยร่วมกันทำเอกสารขึ้นตามหน้าที่ของจำเลยเพื่อรับรองความถูกต้องของเอกสารดังกล่าวอันเป็นเท็จ พฤติการณ์ต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่าจำเลยกระทำโดยมิชอบ และมีมูลที่ศาลจะรับพิจารณาต่อไป เป็นฎีกาในปัญหาข้อเท็จจริง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1808-1809/2531

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หมิ่นประมาททางหนังสือพิมพ์: ข้อความแสดงความรู้สึก vs. ยืนยันข้อเท็จจริงที่เป็นความเท็จ
ข้อความที่จำเลยลงพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นว่า ผู้เสียหายเรียกตัวยากหาตัวลำบากแถมยังมีราคีเรื่องอื่น ๆ เป็นข้อความที่แสดงความรู้สึกว่าไม่อาจเรียกตัวผู้เสียหาย หรือพบตัวผู้เสียหายลำบากเท่านั้น มิได้แสดงว่าผู้เสียหายมีราคีมัวหมองในเรื่องใด ทั้งปรากฏว่าผู้เสียหายได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอีกสมัย ผู้เสียหายจึงมิได้ถูกใส่ความโดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียงถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชัง การกระทำของจำเลยไม่เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาท
ส่วนข้อความที่ลงพิมพ์ว่า 'เหตุไฉนรัฐมนตรีบัญญัติจึงพูดบิดเบือนความจริง เรื่องศาลากลาง สนามกีฬา ทำไมไม่พูดเรื่องกัญชาข้อหาฉกรรจ์เพราะประชาชนข้องใจ แต่ที่จำได้ ส.ส. ขี่ควายไม่อายเท่าใด ส.ส. ค้ายาเสพติดนั่นคือสิ่งที่ประชาชนสนใจ' นั้นประชาชนผู้อ่านหนังสือพิมพ์ย่อมเข้าใจได้ว่า รัฐมนตรีบัญญัติผู้เสียหายซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรค้ายาเสพติดให้โทษคือกัญชาซึ่งไม่ตรงกับความจริง จำเลยหาได้ติชมด้วยความเป็นธรรมหรือโดยความสุจริตใจแต่อย่างใดไม่และมิใช่ข้อความที่ไม่เหมาะสม แต่เป็นการยืนยันข้อเท็จจริงว่าผู้เสียหายค้ายาเสพติดให้โทษ จึงเป็นข้อความที่ใส่ความผู้เสียหายด้วยการแพร่ข่าวสารทางหนังสือพิมพ์โดยประการที่น่าจะทำให้ผู้เสียหายเสียชื่อเสียง ถูกดูหมิ่นหรือถูกเกลียดชังตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 328.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4669/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งความกล่าวหาผู้อื่น ต้องมีเหตุสงสัยตามสมควร ไม่เช่นนั้นอาจเป็นความเท็จได้
จำเลยเป็นเกษตรอำเภอทราบจากผู้ใต้บังคับบัญชาว่าโจทก์ซึ่งเป็นผู้ช่วยเกษตรจังหวัดได้ไปรื้อค้นสำนักงานและโต๊ะทำงานของจำเลยขณะจำเลยไม่อยู่ ปรากฏว่าเงินที่จำเลยเก็บไว้ในลิ้นชักโต๊ะทำงานสูญหายไป จำเลยย่อมมีเหตุที่จะสงสัยว่าโจทก์อาจเป็นคนร้ายลักเงินไป จึงไปแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนว่าโจทก์บุกรุกสำนักงานและลักทรัพย์ โดยแจ้งรายละเอียดและพฤติการณ์ของโจทก์พร้อมทั้งระบุด้วยว่าจำเลยทราบเรื่องจากผู้ใด ดังนี้ แม้จะได้ความว่าโจทก์ไปตรวจราชการตามอำนาจหน้าที่โดยชอบด้วยกฎหมาย และจำเลยไม่มีพยานหลักฐานว่าโจทก์ได้กระทำผิดตามข้อกล่าวหาของจำเลย ก็ถือไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นความเท็จ อันจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 และที่จำเลยทำบันทึกถึงนายอำเภอมีข้อความทำนองเดียวกับที่จำเลยแจ้งความต่อพนักงานสอบสวนก็ถือไม่ได้ว่าจำเลยทำพยานหลักฐานอันเป็นเท็จตาม ป.อ.มาตรา 179
การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเกี่ยวกับความผิดอาญาแก่พนักงานสอบสวนซึ่งจะเป็นความผิดตาม ป.อ. มาตรา 172 ต้องเป็นกรณีที่ผู้แจ้งแกล้งแจ้งข้อความให้ผิดไปจากความจริง การที่แจ้งข้อกล่าวหาคลาดเคลื่อนไปจะถือว่าแจ้งข้อความอันเป็นเท็จเสมอไปหาได้ไม่ เช่นเดียวกับการตั้งข้อหาเป็นอำนาจหน้าที่ของพนักงานสอบสวนซึ่งไม่จำเป็นต้องตั้งข้อหาตามข้อกล่าวหาของผู้แจ้งความเสมอไปเช่นกัน.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2550/2529 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ แจ้งความเท็จ - การพิสูจน์ความเท็จของข้อความ - ต้องมีพยานหลักฐานยืนยัน
ข้อเท็จจริงที่ปรากฏในคำฟ้องของโจทก์ได้ความว่า การที่จำเลยไปแจ้งว่าชายคนที่ไปร้านของจำเลยคือโจทก์นั้น ก็เป็นการแจ้งไปตามคำบอกเล่าของเด็กที่อยู่ในร้าน โจทก์มิได้ยืนยันข้อเท็จจริงให้ปรากฏในคำฟ้องว่าเด็กในร้านมิได้บอกกับจำเลยเช่นนั้น อันจะทำให้เห็นว่าข้อที่จำเลยแจ้งนั้นเป็นเท็จ เมื่อฟังไม่ได้ว่าข้อความที่จำเลยแจ้งเป็นเท็จแล้ว การแจ้งความของจำเลยก็ไม่มีมูลความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 137

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2394/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เบิกความเท็จในคดีแพ่ง ไม่ถือเป็นเท็จโดยอัตโนมัติ โจทก์ต้องพิสูจน์ความเท็จเอง
ในคดีอาญาที่ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยได้เบิกความเท็จในคดีแพ่งนั้น แม้ศาลที่พิจารณาพิพากษาคดีแพ่งจะไม่เชื่อข้อเท็จจริงที่พยานจำเลยนำสืบและพิพากษาให้โจทก์ชนะคดีและคดีถึงที่สุดแล้วก็ตาม ก็จะนำเอาผลของคำพิพากษานั้นมาฟังว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จหาได้ไม่ เพราะประเด็นในการวินิจฉัยในคดีแพ่งกับปัญหาวินิจฉัยในคดีอาญาแตกต่างกัน คำพิพากษาในคดีแพ่งก็มีผลผูกพันเฉพาะคู่ความในคดีแพ่งเท่านั้น ไม่ใช่เป็นข้อเท็จจริงที่รู้กันอยู่ทั่วไปหรือไม่อาจโต้แย้งได้ เพราะมิฉะนั้นคู่ความหรือพยานฝ่ายที่แพ้คดีก็จะต้องมีความผิดฐานเบิกความเท็จเสมอไป เมื่อโจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าจำเลยเบิกความเท็จ โจทก์ก็มีหน้าที่ต้องพิสูจน์ให้ได้ความว่าคำเบิกความของจำเลยเป็นเท็จ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3436/2526

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นค่าใช้จ่ายเลือกตั้งโดยไม่มีหลักฐาน ไม่ถือเป็นความเท็จตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2522 ไม่มีบทมาตราใดที่บัญญัติว่า การยื่นรายการค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งโดยไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินหรือมีหลักฐานการจ่ายเงินไม่ครบถ้วนตาม มาตรา 34(3) ให้ถือว่าการยื่นรายการค่าใช้จ่ายดังกล่าวเป็นเท็จตาม มาตรา 87 ฉะนั้นการยื่นรายการค่าใช้จ่ายเป็นเท็จที่จะต้องรับโทษตาม มาตรา 87 จึงหมายถึงการยื่นรายการค่าใช้จ่ายที่ไม่ตรงกับค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเลือกตั้งที่จำเลยได้จ่ายไปจริง การที่จำเลยไม่มีหลักฐานการจ่ายเงินตามรายการที่ยื่นไว้ให้ครบถ้วนตาม มาตรา 34(3) เป็นการยื่นที่บกพร่องหรือไม่สมบูรณ์ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้เท่านั้น ซึ่งไม่มีบทกำหนดโทษเอาไว้
of 8