พบผลลัพธ์ทั้งหมด 1,842 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5204/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การงดสืบพยานศาลชั้นต้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย และประเด็นความเสียหายพิเศษจากการรุกล้ำทางสาธารณประโยชน์
อุทธรณ์ของโจทก์เป็นการโต้แย้งดุลพินิจในการรับฟังพยานหลักฐานของศาลชั้นต้น และเป็นการโต้เถียงข้อเท็จจริงว่า การที่จำเลยทั้งสองปลูกสร้างสิ่งปลูกสร้างรุกล้ำเข้ามาในทางสาธารณประโยชน์อันเป็นการกีดขวางทางเข้าออกที่ดินของโจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเดือดร้อนเกินที่ควรคิดหรือคาดหมายได้ว่าจะเป็นไปตามปกติและเหตุอันควร และได้รับความเสียหายเป็นพิเศษ เพื่อนำไปสู่ปัญหาข้อกฎหมายที่ว่าการกระทำของจำเลยทั้งสองเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ทำให้โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยทั้งสองได้ จึงเป็นการอุทธรณ์ในปัญหาข้อเท็จจริง การที่ศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์ในปัญหาดังกล่าวโดยตรงต่อศาลฎีกาโดยเห็นว่าปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายนั้นจึงไม่ถูกต้อง
เมื่อข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ยังไม่ปรากฏจากคำฟ้องและการนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองหลังจากสืบพยานโจทก์ได้เพียงปากเดียวแล้วพิพากษายกฟ้องจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้นในอุทธรณ์ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 243 (2), 247
เมื่อข้อเท็จจริงที่จะนำมาวินิจฉัยว่าโจทก์ได้รับความเสียหายหรือไม่ยังไม่ปรากฏจากคำฟ้องและการนำสืบพยานหลักฐานของโจทก์ จึงเป็นข้อเท็จจริงที่คู่ความต้องนำสืบต่อไปจนสิ้นกระแสความ การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานโจทก์จำเลยทั้งสองหลังจากสืบพยานโจทก์ได้เพียงปากเดียวแล้วพิพากษายกฟ้องจึงไม่ต้องด้วยบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. ในข้อที่มุ่งหมายจะยังให้การเป็นไปด้วยความยุติธรรมในการพิจารณาคดีและการพิจารณาพยานหลักฐาน เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกามีอำนาจที่จะยกขึ้นวินิจฉัยให้เพิกถอนคำพิพากษาและคำสั่งงดสืบพยานของศาลชั้นต้นได้ แม้โจทก์จะไม่ได้มีคำขอเช่นนั้นในอุทธรณ์ ทั้งนี้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 27 ประกอบมาตรา 243 (2), 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4766/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับสัญญาซื้อขายสูงเกินควร ศาลลดค่าปรับให้เหมาะสมกับความเสียหายจริง
ตามสัญญาซื้อขาย เมื่อจำเลยผิดสัญญาไม่สามารถส่งมอบสิ่งของที่ซื้อขายให้โจทก์ได้ตามสัญญา โจทก์มีสิทธิที่จะได้รับค่าเสียหายได้หลายทาง ซึ่งข้อกำหนดตามสัญญาซื้อขายด้งกล่าวเป็นการกำหนดค่าเสียหายให้แก่ผู้ซื้อไว้ล่วงหน้าในกรณีผู้ขายไม่ปฏิบัติตามสัญญา จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ ถ้ากำหนดไว้สูงเกินส่วน ศาลจะลดลงเป็นจำนวนพอสมควรก็ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง ส่วนการที่จะลดลงเป็นจำนวนมากน้อยเพียงใดนั้น กฎหมายให้พิเคราะห์ถึงทางได้เสียของเจ้าหนี้ทุกอย่างอันชอบด้วยกฎหมาย ไม่ใช่แต่เพียงทางได้เสียในเชิงทรัพย์สินโจทก์จึงต้องนำสืบให้ศาลเห็นว่าโจทก์ได้รับความเสียหายเนื่องจากจำเลยผิดสัญญามากน้อยเพียงใด แต่โจทก์ไม่นำสืบให้ศาลเห็น ศาลจึงต้องกำหนดให้เป็นจำนวนพอสมควร
แม้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ข้อ 138 จะกำหนดว่าหากจำนวนค่าปรับจะเกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างให้ส่วนราชการพิจารณาบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการปรับตามสัญญาเท่าที่จำเป็น เมื่อจำเลยมิได้ยินยอมให้ส่วนราชการปรับส่วนราชการจึงต้องบอกเลิกสัญญา แต่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ มิใช่กฎหมาย เป็นเพียงข้อแนะนำว่าด้วยเรื่องพัสดุของทางราชการเท่านั้น จึงมิใช่ข้อบังคับโจทก์ห้ามเรียกค่าเสียหายเกินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของที่ซื้อขายแต่อย่างใด
แม้ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ ข้อ 138 จะกำหนดว่าหากจำนวนค่าปรับจะเกินร้อยละ 10 ของวงเงินค่าพัสดุหรือค่าจ้างให้ส่วนราชการพิจารณาบอกเลิกสัญญาหรือข้อตกลง เว้นแต่คู่สัญญาจะได้ยินยอมเสียค่าปรับให้แก่ทางราชการโดยไม่มีเงื่อนไขใดๆ ทั้งสิ้น ให้หัวหน้าส่วนราชการพิจารณาผ่อนปรนการปรับตามสัญญาเท่าที่จำเป็น เมื่อจำเลยมิได้ยินยอมให้ส่วนราชการปรับส่วนราชการจึงต้องบอกเลิกสัญญา แต่ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุฯ มิใช่กฎหมาย เป็นเพียงข้อแนะนำว่าด้วยเรื่องพัสดุของทางราชการเท่านั้น จึงมิใช่ข้อบังคับโจทก์ห้ามเรียกค่าเสียหายเกินร้อยละ 10 ของราคาสิ่งของที่ซื้อขายแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4757/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การใช้บัตรภาษีเท็จชำระภาษีอากรทำให้เกิดความเสียหายต่อโจทก์ จำเลยต้องรับผิดชดใช้เงินและดอกเบี้ย
จำเลยยื่นคำขอต่อพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์อ้างว่า จำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรสำหรับสินค้าส่งออกซึ่งเป็นเท็จ ความจริงจำเลยไม่มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากรตามกฎหมาย พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์หลงเชื่อว่าจำเลยเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินชดเชยค่าภาษีอากร จึงออกบัตรภาษีให้แก่ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ตามคำขอของจำเลย ธนาคารกรุงเทพฯ พาณิชย์การ จำกัด (มหาชน) ได้นำบัตรภาษีไปใช้ชำระค่าภาษีอากรแทนเงินสดและโจทก์ได้ใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีเป็นค่าภาษีอากรแทนแล้ว โจทก์จึงนำคดีมาฟ้องขอให้จำเลยรับผิดใช้เงินตามมูลค่าบัตรภาษีดังกล่าว การกระทำของจำเลยเช่นนี้เป็นการจงใจกระทำต่อโจทก์โดยผิดกฎหมายให้โจทก์เสียหายแก่ทรัพย์สินอันเป็นการทำละเมิด ซึ่งจำเลยได้ชื่อว่าเป็นผู้ผิดนัดมาแต่เวลาที่ทำละเมิด จำเลยจึงต้องรับผิดใช้ดอกเบี้ยนับแต่วันที่ธนาคารดังกล่าวได้รับบัตรภาษีไปจากโจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 420, 206 และ 224 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิม ไม่เป็นฟ้องซ้ำ
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้างมูลเหตุว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์อ้างด้วยว่าหลังจากมีคำพิพากษาในคดีก่อนจำเลยทั้งสามไม่ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ โจทก์ติดตามยึดรถคืนได้ในสภาพชำรุด ความเสียหายในคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว คำขอให้บังคับจำเลยทั้งสามในคดีนี้จึงต่างจากคำขอบังคับในคดีก่อน และมิใช่ประเด็นที่คำพิพากษาในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน และมิใช่กรณีจะไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีในคดีก่อนได้ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4636/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำหรือไม่: ความเสียหายหลังคำพิพากษาเดิมไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
คดีนี้แม้โจทก์จะอ้างมูลเหตุว่าจำเลยทั้งสามผิดสัญญาเช่าซื้อและค้ำประกันเช่นเดียวกับคดีก่อน แต่โจทก์อ้างด้วยว่าหลังจากมีคำพิพากษาในคดีก่อนจำเลยทั้งสามไม่ส่งมอบรถยนต์คืนโจทก์ โจทก์ได้ติดตามยึดรถคืนได้ในสภาพชำรุด ความเสียหายในคดีนี้เกิดขึ้นภายหลังจากศาลมีคำพิพากษาในคดีก่อนแล้ว คำขอให้บังคับจำเลยทั้งสามในคดีนี้จึงต่างจากคำขอบังคับในคดีก่อน และมิใช่ประเด็นที่คำพิพากษาในคดีก่อนได้วินิจฉัยชี้ขาดแล้วโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันและมิใช่กรณีจะไปว่ากล่าวในชั้นบังคับคดีในคดีก่อนได้ ฟ้องโจทก์ในคดีนี้จึงไม่เป็นฟ้องซ้ำกับคดีก่อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4246/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาค้ำประกัน: การบังคับชำระหนี้ตามจำนวนความเสียหายที่แท้จริง ไม่ใช่จำนวนเงินตามสัญญาค้ำประกัน
จำนวนเงินตามสัญญาค้ำประกันมิใช่เงินที่บริษัท ล. มอบให้โจทก์ทันทีขณะทำสัญญา แต่เป็นเพียงหลักประกันว่าบริษัท ล. จะปฏิบัติตามสัญญาและหากบริษัท ล. ผิดสัญญาโจทก์จะได้รับชดใช้ค่าเสียหายจากจำเลยซึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์ผู้ออกหนังสือค้ำประกันนั้นแทน จึงไม่ใช่เงินมัดจำที่บริษัท ล. ให้ไว้แก่โจทก์ตาม ป.พ.พ. มาตรา 377 และ 378 ที่โจทก์จะริบได้ทันทีเมื่อบริษัท ล. ผิดสัญญาตามสัญญาจ้าง แต่ถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของค่าเสียหายฐานผิดสัญญา และมิใช่ข้อตกลงที่ให้สิทธิโจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องบังคับชำระหนี้ตามสัญญาค้ำประกันโดยไม่คำนึงว่าบริษัท ล. จะมีหนี้ที่ต้องรับผิดชำระแก่โจทก์หรือไม่จึงต้องพิจารณาว่าบริษัท ล. ต้องรับผิดชำระหนี้ต่อโจทก์เพียงใดหรือไม่ก่อน เพราะจำเลยต้องรับผิดตามสัญญาค้ำประกันเพียงเท่าที่บริษัท ล. ต้องรับผิดต่อโจทก์เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3991/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ความเสียหายจากเอกสารสิทธิปลอม ต้องกระทบต่อทรัพย์สินโดยตรง จึงถือเป็นผู้เสียหายตามกฎหมายอาญา
ความเสียหายที่เกิดขึ้นสำหรับความผิดฐานปลอมเอกสารสิทธิจะต้องเป็นความเสียหายที่เกิดขึ้นเพราะข้อความแห่งเอกสารสิทธินั้น แต่ข้อความในเอกสารสิทธิที่โจทก์ฟ้องว่าจำเลยกับพวกปลอมไม่มีข้อความเกี่ยวถึงตัวผู้ร้องเลยทั้งการที่จำเลยกับพวกนำหนังสือมอบอำนาจซึ่งเป็นเอกสารสิทธิปลอมไปยื่นต่อเจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่รับคำขอจดทะเบียนเกี่ยวกับที่ดินเพื่อแสดงว่า ฉ. ได้มอบอำนาจให้ พ. ซื้อและขายที่ดิน ก็ไม่เกิดผลกระทบโดยตรงต่อทรัพย์สินของผู้ร้อง เนื่องจากหนังสือมอบอำนาจเป็นเอกสารสิทธิปลอมจึงไม่ก่อให้เกิดสิทธิภาระซื้อและขายที่ดินระหว่าง ฉ. กับผู้ขายหรือผู้ซื้อ ที่ดินจึงมิใช่สินสมรสระหว่างผู้ร้องกับ ฉ. ผู้ร้องจึงไม่เป็นบุคคลที่ได้รับความเสียหายเพราะการกระทำของจำเลยกับพวกตามที่โจทก์ฟ้อง หากผู้ร้องได้รับความเสียหายเพราะการกระทำของจำเลยกับพวกก็ชอบที่จะไปดำเนินคดีในทางแพ่งได้ ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้เสียหายตามความหมายของ ป.วิ.อ. มาตรา 2 (4) ไม่มีสิทธิขอเข้าร่วมเป็นโจทก์กับพนักงานอัยการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3774/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ทางจำเป็น: การกำหนดความกว้างที่เหมาะสมและค่าทดแทนความเสียหาย
ที่ดินโจทก์ทั้งสองแปลงมีที่ดินของจำเลยและบุคคลอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้ โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้ ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคหนึ่ง เนื่องจากที่ดินของโจทก์ทั้งสองแปลงที่ถูกปิดล้อมทิศเหนือติดถนนคอนกรีตซึ่งอยู่บนที่ดินของจำเลย และมีรั้วคอนกรีตสูงประมาณ 1.5 เมตร กั้นตลอดแนว การเปิดทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยดังกล่าวย่อมเหมาะสมที่สุด เพราะเพียงแต่ทุบรั่วคอนกรีตออกเท่านั้น ก็จะมีทางออกสู่ทางสาธารณะได้สะดวกที่สุด หากจะเปิดทางจำเป็นด้านที่ติดที่ดินของ ส. ก็ไม่สามารถกระทำได้เนื่องจากหนังสือข้อตกลงเรื่องภาระจำยอมระหว่างจำเลยและ น. กับ ส. กำหนดไว้ว่า ทางภาระจำยอมที่จำเลยและ น. ยินยอมให้ ส. ใช้ผ่านนั้นให้ใช้เป็นทางผ่านเข้าที่ดินของ ส. เท่านั้น ด้านทิศตะวันออกที่ติดคลองเปรมประชากร มีชาวบ้านชุมชนแออัดปลูกบ้านอยู่อาศัยบนที่ดินของกรมชลประทานตามแนวคลองติดรั้วคอนกรีตของโจทก์ ทำให้โจทก์ไม่สามารถใช้ทางออกสู่ทางสาธารณะตามแนวคลองได้ โจทก์จึงมีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยได้
ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม กำหนดว่า ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยกว้าง 6 เมตร จึงเกินความจำเป็นที่โจทก์จะต้องใช้ เพราะโจทก์ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นเพื่อให้โจทก์ใช้ทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น ศาลฎีกาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นกว้าง 3.50 เมตร
ในกรณีทางจำเป็น โจทก์มีสิทธิใช้ทางได้โดยอำนาจของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 โดยไม่ต้องจดทะเบียน จำเลยจะฟ้องแย้งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมค่าภาษี กับค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนทางจำเป็นหาได้ไม่
ป.พ.พ. มาตรา 1349 วรรคสาม กำหนดว่า ที่และวิธีทำทางผ่านนั้นต้องเลือกให้พอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่าน กับทั้งให้คำนึงถึงที่ดินที่ล้อมอยู่ให้เสียหายแต่น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าจำเป็น ผู้มีสิทธิจะผ่านจะสร้างถนนเป็นทางผ่านก็ได้ การที่ศาลอุทธรณ์ให้จำเลยเปิดทางจำเป็นให้โจทก์ผ่านที่ดินของจำเลยกว้าง 6 เมตร จึงเกินความจำเป็นที่โจทก์จะต้องใช้ เพราะโจทก์ฟ้องขอเปิดทางจำเป็นเพื่อให้โจทก์ใช้ทางเข้าออกสู่ถนนสาธารณะเท่านั้น ศาลฎีกาให้จำเลยเปิดทางจำเป็นกว้าง 3.50 เมตร
ในกรณีทางจำเป็น โจทก์มีสิทธิใช้ทางได้โดยอำนาจของกฎหมายตาม ป.พ.พ. มาตรา 1349 โดยไม่ต้องจดทะเบียน จำเลยจะฟ้องแย้งให้โจทก์เสียค่าธรรมเนียมค่าภาษี กับค่าใช้จ่ายในการจดทะเบียนทางจำเป็นหาได้ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3595/2549 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญาเช่าซื้อสูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 383
ตามสัญญาเช่าซื้อโจทก์ต้องชำระค่าเช่าซื้อให้จำเลยโดยผ่อนชำระเป็นระยะเวลา 20 เดือน เป็นรายวัน วันละ 650 บาท ทุก 7 วัน เป็นเงิน 4,550 บาท หากไม่ส่งตามที่กำหนดปรับวันละ 100 บาท ปรับทุกครั้งไปจนกว่าชำระเสร็จให้แก่จำเลย เป็นการกำหนดค่าเสียหายไว้ล่วงหน้า จึงมีลักษณะเป็นเบี้ยปรับ การชำระค่าเช่าซื้อของโจทก์ชำระงวดละ 4,550 บาท ทุก 7 วัน ถ้าโจทก์ผิดนัดจะต้องเสียค่าปรับวันละ 100 บาท จนกว่าจะชำระเสร็จเท่ากับโจทก์ต้องเสียค่าปรับ 803 เปอร์เซ็นต์ต่อปี เป็นเบี้ยปรับที่สูงเกินส่วน ศาลมีอำนาจลดลงเป็นจำนวนพอสมควรได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3509/2549
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อัยการใช้อำนาจสั่งไม่ฟ้องคดีหมิ่นประมาทโดยมิชอบ ก่อความเสียหายแก่ผู้เสียหาย มีความผิดตาม ม.157, 200
จำเลยซึ่งเป็นพนักงานอัยการมีคำสั่งไม่ฟ้องบริษัท ส. และ ป. ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ทั้งที่หนังสือพิมพ์ ด. ซึ่งบริษัท ส. เป็นเจ้าของและ ป. เป็นบรรณาธิการ ลงข้อความในหนังสือพิมพ์เป็นความเท็จ และก่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ เป็นการใช้ดุลพินิจที่มิได้อยู่บนรากฐานของความสมเหตุสมผล แต่เป็นการใช้ดุลพินิจตามอำเภอใจ จึงเกินล้ำออกนอกของเขตของความชอบด้วยกฎหมายและในฐานะที่จำเลยเป็นข้าราชการอัยการชั้นสูง จำเลยย่อมทราบดีถึงเกณฑ์วินิจฉัยมูลความผิดของพนักงานอัยการ การใช้ดุลพินิจผิดกฎหมายในกรณีนี้ จำเลยเห็นได้อยู่ในตัวแล้วว่าเป็นการมิชอบและมีเจตนาเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ซึ่งเป็นผู้เสียหาย อีกทั้งเพื่อจะช่วยบริษัท ส. และ ป. มิให้ต้องโทษจากการกระทำความผิดของตนอีกด้วย จำเลยจึงมีความผิดตาม ป.อ. มาตรา 157 และมาตรา 200 วรรคหนึ่ง
การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดคือการใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่น ๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว
การกระทำของจำเลยที่เป็นความผิดคือการใช้อำนาจในฐานะพนักงานอัยการสั่งไม่ฟ้องผู้ที่ถูกกล่าวหาว่าหมิ่นประมาทโจทก์ ผลของการกระทำของจำเลยคือ โจทก์ในฐานะผู้เสียหายไม่ได้รับการเยียวยาตามกฎหมาย ดังนั้น โจทก์จึงเป็นผู้เสียหายจากการกระทำผิดของจำเลยโดยตรง โจทก์จึงเป็นผู้เสียหาย
ตามฟ้องข้อ 1 (ก) แม้ข้อความว่า "เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" จะอยู่ต่อจากและติดข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์" กล่าวคือ เมื่ออ่านรวมกันมีข้อความว่า "...ผู้ต้องหาทั้งสองมีเจตนาหมิ่นประมาทใส่ความโจทก์เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์" แต่การทำความเข้าใจข้อความในคำฟ้อง ต้องทำความเข้าใจในข้อความดังกล่าวประกอบข้อความส่วนอื่น ๆ ของคำฟ้องด้วย ซึ่งเห็นได้ว่าข้อความดังกล่าวเป็นข้อความสืบเนื่องจากการสั่งไม่ฟ้องคดีของจำเลยดังที่โจทก์บรรยายไว้อย่างชัดเจนในตอนต้น จึงเข้าใจได้อยู่ในตัวว่า ในการอ้างว่าจำเลยมีเจตนาพิเศษเพื่อให้เกิดความเสียหายแก่โจทก์ โจทก์หมายถึงเจตนาที่สืบเนื่องจากการใช้อำนาจสั่งฟ้องคดีของจำเลย ฟ้องของโจทก์จึงชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 แล้ว