พบผลลัพธ์ทั้งหมด 57 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4497/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดกตามกฎหมาย โดยศาลใช้ดุลพินิจพิจารณาความเหมาะสมและประโยชน์สูงสุดของกองมรดก
คดีนี้มีการร้องต่อศาลขอให้ตั้งผู้จัดการมรดกโดยไม่มีข้อกำหนดพินัยกรรมตาม ป.พ.พ.มาตรา 1713 วรรคท้าย ซึ่งศาลเป็นผู้ใช้ดุลพินิจชี้ขาดโดยพิเคราะห์พฤติการณ์และความเหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่กองมรดก ผู้ร้องได้แก้ฎีกาว่าตามพฤติการณ์แล้วสมควรให้ผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกคนเดียว ดังนั้น แม้หากจะฟังว่าผู้คัดค้านมีส่วนได้เสียโดยเป็นผู้รับมรดกของ ช. ผู้ตายซึ่งเป็นเจ้ามรดกสืบทอดจากจ.ซึ่งถึงแก่ความตายก่อนเจ้ามรดก เมื่อผู้คัดค้านไม่ใช่พี่น้องร่วมบิดามารดาเดียวกันกับผู้ร้อง แต่เป็นหลานโดยเป็นบุตรของพี่ผู้ร้องซึ่งเป็นทายาทโดยธรรมในลำดับชั้นถัดลงมาตามกฎหมาย และไม่ปรากฏว่าผู้ร้องมีคุณสมบัติบกพร่องในการจัดการมรดก ประกอบกับเจตนาของ ช. เจ้ามรดกผู้เป็นต้นตระกูลตามที่ระบุไว้ในพินัยกรรมว่า "ขอให้บรรดาทายาทของข้าพเจ้าจงมีความสมานสามัคคี ช่วยกันผดุงส่งเสริมตระกูลของเราให้เจริญรุ่งเรืองสืบไป" แล้ว ดังนี้ ตามพฤติการณ์และความเหมาะสมจึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะตั้งผู้คัดค้านร่วมเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายกับผู้ร้องด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4496/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การสละมรดกและการถอนผู้จัดการมรดก: สิทธิของผู้สละมรดกและการพิจารณาความเหมาะสมของผู้จัดการมรดก
ศาลชั้นต้นมีคำสั่งตั้งผู้คัดค้านเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดก ศาลล่างทั้งสองมีคำสั่งถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกและตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย แต่ระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกาผู้ร้องยื่นคำร้องว่า ผู้ร้องกับผู้คัดค้านได้ตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความในคดีอื่นและศาลชั้นต้นได้พิพากษาตามยอมแล้ว โดยผู้ร้องในฐานะบุตรบุญธรรมขอสละมรดกของผู้ตายโดยสิ้นเชิงและไม่มีเงื่อนไขทั้งขอถอนตัวจากการเป็นผู้จัดการมรดกคดีนี้และไม่คัดค้านในการที่ผู้คัดค้านร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายอีกต่อไป ดังนี้ เมื่อผู้ร้องได้แสดงเจตนาชัดแจ้งขอสละมรดกของผู้ตายโดยทำเป็นสัญญาประนีประนอมยอมความ การสละมรดกของผู้ร้องย่อมมีผลใช้บังคับได้ตาม ป.พ.พ.มาตรา 1612 และตามมาตรา 1615 กำหนดให้การสละมรดกนั้นมีผลย้อนหลังไปถึงเวลาที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ดังนั้น ผู้ร้องย่อมไม่มีสิทธิได้รับมรดกของผู้ตายในขณะที่เจ้ามรดกถึงแก่ความตาย ผู้ร้องจึงไม่ใช่ผู้มีส่วนได้เสียที่จะขอถอดถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกได้ ประกอบกับทายาทอื่นเห็นว่าผู้คัดค้านเหมาะสมที่จะเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายต่อไป กรณีจึงยังไม่มีเหตุสมควรที่จะถอนผู้คัดค้านจากการเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8437/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การกำหนดค่าทดแทนเวนคืนที่เหมาะสม ศาลมีอำนาจปรับเพิ่มจากราคาประเมินทุนทรัพย์ได้
คดีนี้โจทก์ฟ้องว่า จำเลยกำหนดราคาเบื้องต้นและจ่ายเงินค่าทดแทนที่ถูกเวนคืนให้แก่โจทก์จำนวน 1,797,750 บาท ไม่เป็นธรรม เพราะโจทก์รับซื้อฝากมาราคา 4,287,500 บาท เงินค่าทดแทนจำนวนดังกล่าวเป็นราคาที่ต่ำกว่าความเป็นจริงและก่อให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่โจทก์ เจ้าหน้าที่เวนคืนของจำเลยกำหนดราคาเบื้องต้นสำหรับที่ดินในการจ่ายเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ต่ำกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บเงินค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมขัดต่อ พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 และประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 ดังนี้ ฟ้องโจทก์ดังกล่าวได้กล่าวอ้างว่าจำเลยกำหนดเงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ไม่ชอบด้วยหลักเกณฑ์ตามมาตรา 21 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ด้วยแล้ว ซึ่งศาลก็ได้กำหนดเป็นประเด็นในคดีว่า จำเลยกำหนดค่าทดแทนเป็นธรรมหรือไม่ แต่เนื่องจากไม่ปรากฏราคาที่ซื้อขายกันตามปกติในท้องตลาดของอสังหาริมทรัพย์ที่จะต้องเวนคืน ศาลล่างทั้งสองจึงกำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมทำนองเดียวกับที่คณะกรรมการฯใช้เป็นเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนเพียงแต่ศาลล่างทั้งสองเห็นว่าการกำหนดค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์เพียง 50เปอร์เซนต์ ของราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมไม่เป็นธรรม จึงได้กำหนดให้เพิ่มขึ้นเป็นตารางวาละ 1,200 บาทซึ่งไม่สูงกว่าราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรม ทั้งนี้โดยได้คำนึงถึงสภาพและที่ตั้งของที่พิพาท เหตุและวัตถุประสงค์ในการเวนคืนแล้ว เป็นการกำหนดเงินค่าทดแทนที่ชอบด้วยมาตรา 21 แล้ว ศาลล่างทั้งสองหาได้พิพากษานอกประเด็นหรือแก้ไขหลักเกณฑ์ในการกำหนดเงินค่าทดแทนตามกฎหมายดังที่จำเลยฎีกา ทั้งตามมาตรา 25 และ 26 แห่ง พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 ก็บัญญัติให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนอุทธรณ์ต่อรัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชกฤษฎีกาเวนคืนฯ และให้มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลได้ ศาลย่อมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาบังคับให้จำเลยชำระค่าทดแทนเพิ่มแก่โจทก์ได้ตามบทกฎหมายดังกล่าว
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง
เมื่อจำเลยต้องชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้แก่โจทก์ตามคำวินิจฉัยของศาล โจทก์จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น ซึ่งอัตราดอกเบี้ยสูงสุดนี้ในเวลาที่ต่างกันอาจเพิ่มขึ้นหรือลดลงก็ได้ตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ.2530 มาตรา 26 วรรคสาม ที่ศาลล่างทั้งสองให้จำเลยชำระดอกเบี้ยในอัตราคงที่เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จจึงไม่ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7631/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิใช้ทางจำเป็นเมื่อที่ดินถูกล้อมรอบ แม้ที่ดินจำเลยไม่ติดกับที่ดินผู้ใช้ทาง ศาลกำหนดความกว้างทางจำเป็นตามความเหมาะสม
ที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะ แต่โจทก์มีทางออกสู่ทางสาธารณะโดยออกตามทางด้านทิศตะวันตกของที่ดินของโจทก์ซึ่งกว้างประมาณ 8 เมตร ยาวประมาณ 300 เมตร แล้วผ่านทางพิพาทยาวประมาณ 100 เมตร และผ่านทางสาธารณประโยชน์ยาวประมาณ 100 เมตร สู่ถนนซอยอมรพันธุ์นิเวศน์ 4ทางพิพาทซึ่งเป็นที่ดินของจำเลย จึงเป็นทางจำเป็นแก่ที่ดินของโจทก์ บทบัญญัติของประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1349มีความหมายว่าเมื่อที่ดินแปลงใดมีที่ดินแปลงอื่นล้อมอยู่จนไม่มีทางออกถึงทางสาธารณะได้แล้ว เจ้าของที่ดินแปลงนั้นย่อมมีสิทธิผ่านที่ดินซึ่งล้อมอยู่ไปสู่ทางสาธารณะได้โดยไม่จำกัดว่าจะมีสิทธิผ่านที่ดิน ที่ล้อมอยู่เฉพาะที่ดินแปลงที่อยู่ติดกับที่ดินแปลงนั้นเท่านั้น ดังนั้นเมื่อฟังได้เป็นที่ยุติแล้วว่าที่ดินของโจทก์มีที่ดินของผู้อื่นล้อมรอบอยู่จนไม่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้แต่มีทางออกสู่ทางสาธารณะได้โดยผ่านที่ดินของผู้อื่นก่อนแล้วผ่านที่ดินของจำเลยและที่ดินอื่น แม้ที่ดินของจำเลยมิได้อยู่ติดต่อกับที่ดินของโจทก์ โจทก์ซึ่งเป็นเจ้าของที่ดินซึ่งถูกล้อมอยู่ก็มีสิทธิใช้ทางจำเป็นผ่านที่ดินของจำเลยออกไปสู่ทางสาธารณะได้ ที่จำเลยฎีกาในส่วนของฟ้องแย้งว่าจำเลยได้รับความเสียหาย100,000 บาท ไม่ใช่ 10,000 บาท ดังที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยนั้นเป็นฎีกาโต้เถียงดุลพินิจของศาลอุทธรณ์จึงเป็นฎีกาในข้อเท็จจริงเมื่อฟ้องแย้งของจำเลยมีจำนวนทุนทรัพย์ที่พิพาทกันในชั้นฎีกาไม่เกิน200,000 บาท จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 248 วรรคหนึ่งศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย ทางจำเป็นต้องเลือกทำพอควรแก่ความจำเป็นของผู้มีสิทธิจะผ่านโดยให้เสียหายแก่ที่ดินที่ล้อมอยู่น้อยที่สุด จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องกำหนดทางจำเป็นในที่ดินของจำเลยให้มีความกว้างถึง 8 เมตร และควรกำหนดให้ทางจำเป็นมีความกว้าง3.50 เมตร ซึ่งพอสมควรที่จะใช้เป็นทางจำเป็นในสภาพที่เป็นถนนในรถยนต์รวมทั้งรถบรรทุกผ่านเข้าออกได้เท่านั้น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1257/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: ศาลพิจารณาประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกเป็นหลัก แม้ผู้คัดค้านใกล้ชิดผู้ตายแต่ไม่ได้หมายความเหมาะสมเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว
การตั้งผู้จัดการมรดกศาลย่อมใช้ดุลพินิจคำนึงถึงความเหมาะสมประกอบกับพฤติการณ์ที่จะให้ประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกการที่ผู้คัดค้านอ้างว่าผู้ร้องไม่ได้อยู่ใกล้ชิดกับผู้ตายไม่ทราบว่ามีทรัพย์มรดกอะไรบ้างทั้งไม่ทราบเจตนาของผู้ตายว่าประสงค์จะยกทรัพย์มรดกส่วนใดให้แก่ผู้ใดส่วนผู้คัดค้านอยู่ใกล้ชิดกับผู้ตายรู้ว่าทรัพย์มรดกอยู่แห่งใดและทราบความประสงค์ของผู้ตายว่าต้องการยกทรัพย์มรดกส่วนใดให้แก่ผู้ใดนั้นไม่ใช่เหตุผลที่แสดงถึงความเหมาะสมที่ผู้คัดค้านจะเป็นผู้จัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียวผู้ร้องไม่เป็นผู้ต้องห้ามตามกฎหมายที่จะเป็นผู้จัดการมรดกการให้ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้จัดการมรดกร่วมกันน่าจะเป็นประโยชน์แก่ทายาทและกองมรดกมากกว่าให้ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งจัดการมรดกแต่เพียงผู้เดียว ผู้ร้องและผู้คัดค้านต่างก็อ้างว่าตนสมควรเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายและขอให้ศาลตั้งให้ตนเป็นผู้จัดการมรดกของผู้ตายเท่านั้นคดีไม่มีประเด็นว่าทรัพย์สินใดเป็นมรดกของผู้ตายการที่ผู้คัดค้านฎีกาว่าทรัพย์สินดังกล่าวไม่ใช่มรดกของผู้ตายจึงเป็นเรื่องนอกเหนือจากคำขอและนอกประเด็น
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 396/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาประโยชน์กองมรดก, เจตนาเจ้ามรดก, และความเหมาะสมของผู้จัดการ
ในคดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดก ประเด็นแห่งคดีมีว่าสมควรตั้งผู้ร้องเป็นผู้จัดการมรดกหรือไม่เท่านั้น เมื่อทรัพย์มรดกของผู้ตายยังแบ่งปันไม่เสร็จสิ้น ยังมีทรัพย์มรดกที่จะต้องจัดการต่อไป จึงเป็นเหตุที่จะต้องตั้งผู้จัดการมรดก ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1713 วรรคท้าย การตั้งผู้จัดการมรดกนั้นให้ศาลตั้งเพื่อประโยชน์แก่กองมรดกตามพฤติการณ์และโดยคำนึงถึงเจตนาของเจ้ามรดกแล้วแต่ศาลจะเห็นสมควร แม้ศาลอุทธรณ์จะยังมิได้หยิบยกขึ้นวินิจฉัย แต่ผู้ร้องและผู้คัดค้านได้สืบพยานจนเสร็จสำนวนแล้ว ศาลฎีกาเห็นสมควรวินิจฉัยไปเสียทีเดียวได้ พฤติการณ์ของผู้ร้องและผู้คัดค้านมีข้อโต้แย้งกันเกี่ยวกับการแบ่งปันทรัพย์มรดก การจะให้จัดการมรดกร่วมกันไม่อาจทำได้ต้องตั้งผู้ที่มีความเหมาะสมมากกว่าเป็นผู้จัดการมรดก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4713/2536 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เบี้ยปรับในสัญญา: ศาลมีอำนาจลดจำนวนได้ตามความเหมาะสม
เงินค่าปรับตามที่กำหนดไว้ในสัญญาถือได้ว่าเป็นเบี้ยปรับเพื่อการที่จะชดใช้บรรเทาความเสียหายอันอาจจะมีหรือเกิดขึ้นไว้ล่วงหน้า เพื่อให้เป็นความพอใจแก่ฝ่ายที่มิได้ผิดสัญญา ศาลมีอำนาจใช้ดุลพินิจลดจำนวนค่าปรับหรือเบี้ยปรับตามสัญญานั้นลงได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 383 วรรคแรก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2182/2535 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การตั้งผู้จัดการมรดก: พิจารณาความเหมาะสมของผู้ถูกเสนอชื่อตามข้อเท็จจริงและผลประโยชน์ของทายาท
คดีร้องขอเป็นผู้จัดการมรดกมีปัญหาจะต้องวินิจฉัยเพียงว่าสมควรตั้งผู้คัดค้านที่ 1 หรือ น. เป็นผู้จัดการมรดกร่วมกับผู้อื่นหรือไม่เท่านั้น เมื่อพินัยกรรมที่ผู้คัดค้านอ้างไม่มีข้อความกำหนดแต่งตั้งให้บุคคลใดเป็นผู้จัดการมรดกไว้ จึงไม่มีประเด็นที่จะต้องวินิจฉัยไปถึงว่า พินัยกรรมนั้นปลอมหรือไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1697/2535
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การป้องกันตนทางอาญา: การประเมินภยันตรายและความเหมาะสมของการป้องกัน
แม้ลักษณะบาดแผลตามคำเบิกความของจำเลยในชั้นพิจารณาจะต่างกับรายงานผลการชันสูตรบาดแผลของแพทย์ แต่ได้ความว่าผู้เสียหายและ ข. ได้บุกรุกขึ้นมาบนบ้านจำเลย ผู้เสียหายได้กระทำอนาจาร ส.ส. ร้องให้จำเลยช่วยเหลือพอจำเลยลุกขึ้นจากที่นอนก็ถูก ข.ใช้ขวดสุราตีจนจำเลยล้มลงไปอีก จำเลยจึงใช้ขวานฟันไปทันที 1 ครั้ง ถือได้ว่าการกระทำของจำเลยดังกล่าวเป็นการป้องกันตนและบุตรสาวของตนให้พ้นจากภยันตรายที่เกิดจากการประทุษร้ายอันละเมิดต่อกฎหมายพอสมควรแก่เหตุ ทั้งมิใช่เป็นเรื่องบันดาลโทสะ เพราะขณะที่จำเลยได้กระทำลงไปนั้นจำเลยก็ดีบุตรสาวของจำเลยก็ดี ยังไม่พ้นจากภยันตรายอันเกิดจากการกระทำของผู้เสียหายและ ข..
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1113/2535 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การร้องสอดคดี: ศาลมีอำนาจพิจารณาอนุญาตหรือไม่ตามความเหมาะสมของคดี
การร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความตาม ป.วิ.พ. มาตรา 57(1)ศาลไม่จำต้องอนุญาตทุกกรณี คดีนี้ผู้ร้องสอดยื่นคำร้องขอเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามเมื่อศาลชั้นต้นได้พิจารณาคดีไปจนกระทั่งสืบพยานจำเลยจะเสร็จสิ้นแล้ว และหากผู้ร้องสอดมีสิทธิดังที่อ้างในคำร้อง ก็ย่อมยกสิทธิเช่นว่านั้นขึ้นอ้างยันผู้อื่นหรือมีสิทธิที่จะดำเนินคดีต่อผู้เกี่ยวข้องได้เป็นอีกคดีหนึ่งต่างหาก กรณีของผู้ร้องสอดยังไม่มีเหตุสมควรที่จะอนุญาตให้ผู้ร้องสอดเข้ามาเป็นคู่ความฝ่ายที่สามตามคำร้อง.