คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
ความไว้วางใจ

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 20 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1674/2522

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ขอบเขตความผิดยักยอกทรัพย์: ลูกจ้างกลุ่มเกษตรกรไม่ใช่ผู้จัดการทรัพย์สินหรือผู้มีอาชีพที่ประชาชนไว้วางใจ
สมุห์บัญชีและพนักงานบัญชีของกลุ่มเกษตรกรไม่ใช่ผู้ได้รับมอบหมายให้จัดการทรัพย์สิน หรือมีอาชีพธุรกิจที่ประชาชนไว้วางใจการยักยอกไม่เป็นความผิดตาม ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา353,354

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 841/2506

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดพนักงานธนาคารฉ้อโกง ยักยอกเงินผู้ฝาก ผู้จัดการต้องรับผิดฐานทรยศความไว้วางใจ
การที่จำเลยซึ่งเป็นผู้จัดการมีหน้าที่เป็นผู้รับผิดชอบทั่วไปในธุระกิจและควบคุมบังคับบัญชาพนักงานของธนาคารออมสินสาขาบังอาจปลอมใบถอนเงินของผู้ฝากแล้วกรอกจำนวนเงินนำไปเบิกต่อธนาคารออมสินที่จำเลยเป็นพนักงานเจ้าหน้าที่แล้วเบียดบังยักยอกไว้เป็นของตนโดยทุจริตนั้นถือว่าเป็นความผิดที่จำเลยได้กระทำในฐานะเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1976-1977/2505

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยักยอกเงินของธนาคารโดยผู้จัดการสาขา, การฟ้องเรียกดอกเบี้ย, และการพิจารณาโทษตามกฎหมายอาญามาตรา 354
1. การร้องทุกข์นั้น ย่อมมอบอำนาจให้ร้องทุกข์แทนกันได้ (อ้างฎีกาที่ 890/2503) 2. ในคดีอาญา อัยการไม่มีอำนาจฟ้องขอให้เรียกดอกเบี้ยในจำนวนเงินที่จำเลยยักยอกไป เพราะดอกเบี้ยไม่ใช่ทรัพย์สินหรือราคาที่ผู้เสียหายสูญเสียไป เนื่องจากการกระทำผิดตามที่บัญญัติไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 43 แต่เนื่องจากผู้เสียหายได้เป็นโจทก์ร่วมกับพนักงานอัยการ โดยถือเอาคำฟ้องของพนักงานอัยการเป็นของตนเช่นนี้ถือได้ว่า ผู้เสียหายได้เรียกดอกเบี้ยแล้ว แต่เมื่อยังไม่ได้เสียค่าธรรมเนียมเนื่องจากการฟ้องเรียกดอกเบี้ยมารวมทั้ง 3 ศาล เช่นนี้ ศาลฎีกามีอำนาจสั่งให้เรียกได้ เมื่อเสียค่าธรรมเนียมแล้ว จึงจะพิจารณาวินิจฉัยต่อไปเกี่ยวกับกรณีนี้ได้ 3. จำเลยเป็นผู้จัดการธนาคารยักยอกเงินธนาคาร ถือว่าเป็นการกระทำในฐานเป็นผู้มีอาชีพหรือธุรกิจอันย่อมเป็นที่ไว้วางใจของประชาชนตามถ้อยคำในประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 แล้ว 4. ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 354 เป็นคุณแก่จำเลยกว่ากฎหมายลักษณะอาญา มาตรา 319 (ข้อ 2 โดยประชุมใหญ่ ครั้งที่ 26/2505)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 74/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์โดยความไว้วางใจ: อำนาจฟ้องคดีอาญาแผ่นดินเมื่อผู้เสียหายถอนฟ้อง
คำบรรยายฟ้องว่า จำเลยกับโจทก์ร่วมเข้าหุ้นส่วนกันเพื่อซื้อไม้หมอนรถไฟขายแก่บริษัทพันธมิตรจำกัด ไม่ปรากฎว่าได้จดทะเบียนเป็นห้างหุ้นส่วน จำเลยเป็นผู้เก็บรักษาเงินและเป็นผู้จัดการงาน และผู้เป็นหุ้นส่วนได้ร้องทุกข์ขอให้ลงโทษจำเลยฐานยักยอกเงินของหุ้นส่วน ดังนี้ คดีไม่ต้องลักษณะของความผิด ตามมาตรา 319 (2) (3) แห่ง ก.ม. ลักษณะอาญา
ความผิดในข้อ 2 และ 3 แห่งมาตรา 319 ก.ม. ลักษณะอาญานั้น เป็นความผิดที่กระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณะชน มิใช่จำกัดความไว้วางใจโดยฉะเพาะผู้เสียหาย ฉะนั้นจึงเป็นความผิดอาญาแผ่นดิน.
ในคำฟ้องของอัยยการโจทก์อ้างมาตรา 314,319 เมื่อคำบรรยายฟ้องของโจทก์ไม่เข้าลักษณะความผิดตามมาตรา 319 แต่เป็นความผิดตามมาตรา 314 และผู้เสียหายได้ยอมความขอให้ถอนคดีแล้วอัยยการก็ไม่มีอำนาจจะดำเนินคดีต่อไป. ต้องจำหน่ายคดีเสีย./

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2492 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกต้องเกี่ยวข้องกับความไว้วางใจของสาธารณะ การเช่าเพื่อรับจ้างไม่เข้าข่าย
ความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 319(3) ต้องเป็นการกระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณะชน.
เช่าจักรยานไปขับขี่รับจ้างแล้วยักยอกเสีย เป็นผิดตามมาตรา 314 ไม่ใช่มาตรา 319.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1736/2492

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดยักยอกต้องเกี่ยวกับการไว้วางใจสาธารณะ การเช่าแล้วยักยอกไม่ใช่ความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 319(3)
ความผิดฐานยักยอกตามมาตรา 319(3) ต้องเป็นการกระทำในกิจการเกี่ยวแก่ความไว้วางใจของสาธารณะชน
เช่าจักรยานไปขับขี่รับจ้างแล้วยักยอกเสีย เป็นผิดตามมาตรา 314 ไม่ใช่ มาตรา 319

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2485 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความผิดฐานยักยอกทรัพย์: ความไว้วางใจเป็นหลัก ไม่เน้นประโยชน์ผู้มอบ
จะเป้นความผิดฐานยักยอกนั้นกฎหมายต้องการความไว้+ใจในตัวผู้รับมอบหมายทรัพย์เป็หลัก หาได้เพ่งเล็งถึงประโยชน์ของผู้มอบหรือผู้รับมอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 566/2485

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ยักยอก: ความไว้วางใจผู้รับมอบหมายทรัพย์เป็นหลัก
ที่จะเป็นความผิดฐานยักยอกนั้นกฎหมายต้องการความไว้วางใจในตัวผู้รับมอบหมายทรัพย์เป็นหลัก หาได้เพ่งเล็งถึงประโยชน์ของผู้มอบหรือผู้รับมอบไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 13160/2558

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเลิกจ้างพนักงานบัญชี: ความไว้วางใจและความรับผิดชอบต่อหน้าที่
โจทก์เป็นพนักงานบัญชีและการเงินมีหน้าที่จ่ายและรับคืนเงิน การปฏิบัติหน้าที่ของโจทก์ต้องอาศัยความละเอียด รอบคอบ ซื่อสัตย์ และได้รับความไว้วางใจจากนายจ้าง แม้จะได้ความว่าการที่โจทก์นำเงินไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านจะไม่เป็นการผิดระเบียบของจำเลย แต่การนำเงินของจำเลยไปเก็บรักษาไว้ที่บ้านของโจทก์โดยไม่ได้นำมาคืนจนกระทั่งเวลาผ่านไปเกือบ 5 เดือน และโจทก์นำมาคืนให้เมื่อจำเลยตรวจพบและทวงถาม ทั้งยังอ้างเหตุความหลงลืม อันแสดงถึงความไม่รอบคอบและไม่รับผิดชอบต่อหน้าที่ จำเลยผู้เป็นนายจ้างย่อมมีเหตุผลที่จะหวาดระแวงและไม่ไว้วางใจให้โจทก์ทำงานต่อไป ถือได้ว่าเป็นการเลิกจ้างที่มีเหตุอันสมควร ไม่เป็นการเลิกจ้างที่ไม่เป็นธรรม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8680/2551

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เหตุเลิกห้างหุ้นส่วนจำกัด: ความขัดแย้งระหว่างหุ้นส่วน, ขาดความไว้วางใจ, และการดำเนินงานที่เหลือวิสัย
ห้างหุ้นส่วนจำกัดมีผู้เป็นหุ้นส่วนสองคน คือโจทก์ซึ่งเป็นหุ้นส่วนจำพวกจำกัดความรับผิด และจำเลยเป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิดและเป็นหุ้นส่วนผู้จัดการ โจทก์กล่าวหาว่าจำเลยยักยอกทรัพย์ของห้างจนถึงขั้นฟ้องร้องเป็นคดีอาญา ไม่ปรองดองกัน หากจะเปลี่ยนตัวหุ้นส่วนผู้จัดการก็ไม่มีทางทำได้ เพราะมีจำเลยคนเดียวที่เป็นหุ้นส่วนจำพวกไม่จำกัดความรับผิด จึงมีเหตุทำให้ห้างเหลือวิสัยที่จะดำรงอยู่ต่อไปได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 1057 (3) ประกอบมาตรา 1080 ศาลย่อมพิพากษาให้ห้างหุ้นส่วนจำกัดเลิกกันได้
เมื่อห้างหุ้นส่วนจำกัดเหลือวิสัยที่จะดำรงคงอยู่ต่อไปได้ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องจำเลยซึ่งเป็นผู้โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามกฎหมายขอให้เลิกห้าง อันเป็นการเลิกสัญญาจัดตั้งห้างหุ้นส่วนระหว่างโจทก์กับจำเลยได้โดยตรง โดยไม่จำต้องฟ้องห้างหุ้นส่วนจำกัดเป็นจำเลยด้วย
of 2