พบผลลัพธ์ทั้งหมด 277 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3492/2547
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลฎีกาตัดสินพิพากษาเกินคำขอและอุทธรณ์นอกประเด็นเดิม โดยยกประเด็นค่าเสื่อมราคาและราคารถยนต์ที่ขายทอดตลาด
โจทก์มิได้ฟ้องและมีคำขอให้จำเลยทั้งสองใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อเนื่องจากนำรถยนต์ที่เช่าซื้อออกขาย ทอดตลาดได้ราคาต่ำกว่าราคาที่เช่าซื้อหรือราคาท้องตลาด หรือให้จำเลยทั้งสองร่วมกันใช้ค่าเสื่อมราคาเนื่องจาก รถยนต์ที่เช่าซื้อเสื่อมสภาพ จึงไม่มีประเด็นว่าราคารถยนต์ที่เช่าซื้อขาดจำนวนจากการขายทอดตลาดหรือเสื่อมราคาหรือไม่ เพียงใด แม้โจทก์อุทธรณ์ขอให้จำเลยทั้งสองใช้ราคารถยนต์ที่เช่าซื้อจำนวน 380,000 บาท ตามฟ้อง โดยอ้าง ข้อเท็จจริงว่า จำเลยที่ 1 ส่งมอบรถยนต์ที่เช่าซื้อคืนโจทก์ในสภาพทรุดโทรม โจทก์ต้องนำรถยนต์ที่เช่าซื้อไปซ่อม เป็นเงิน 149,410 บาท และขายทอดตลาดได้เงินเพียง 60,747.66 บาท ก็เป็นการอุทธรณ์ในข้อเท็จจริงที่ไม่ได้ยกขึ้น ว่ากันมาแล้วโดยชอบในศาลชั้นต้น เป็นอุทธรณ์ที่ไม่ชอบตาม ป.วิ.พ. มาตรา 225 วรรคหนึ่ง ชอบที่ศาลอุทธรณ์ จะไม่รับวินิจฉัยให้ การที่ศาลอุทธรณ์รับวินิจฉัยและพิพากษาให้โจทก์ได้รับชำระราคาที่ขาดจำนวนจากการขาย ทอดตลาดรถยนต์ที่เช่าซื้อได้ราคาต่ำเป็นเงิน 109,953 บาท จึงไม่ชอบ ทั้งเป็นการพิพากษาเกินคำขอหรือที่ไม่ได้ กล่าวมาในคำฟ้อง ต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 วรรคหนึ่ง แม้จำเลยทั้งสองจะมิได้ฎีกาหรือกล่าวไว้ในคำแก้ฎีกา ให้เป็นประเด็นไว้ แต่ปัญหาดังกล่าวเป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกา จึงมีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยเองได้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 (5) ประกอบด้วยมาตรา 246 และมาตรา 247
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3191/2547 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สัญญาประนีประนอมยอมความ: ศาลพิพากษาตามสัญญาได้ แม้เกินคำขอในฟ้อง ไม่ขัดกฎหมาย
กรณีที่โจทก์จำเลยตกลงทำสัญญาประนีประนอมยอมความต่อหน้าศาลและศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความนั้น มิใช่เป็นการวินิจฉัยชี้ขาดอย่างคดีธรรมดาที่ต้องพิจารณาพยานหลักฐานของโจทก์จำเลยแล้วจึงพิพากษาชี้ขาดข้อพิพาทไป ข้อตกลงในสัญญาประนีประนอมยอมความดังกล่าวจึงอาจมีผลไม่ตรงหรือเกินกว่าที่ปรากฏในคำฟ้องได้ ถ้าข้อตกลงนั้นเกี่ยวพันกับประเด็นแห่งคดีและไม่เป็นการฝ่าฝืนต่อกฎหมายเพราะเป็นไปตามข้อตกลงที่คู่ความต่างยอมผ่อนผันให้แก่กัน จึงไม่ตกอยู่ในบังคับแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 142 ซึ่งต้องห้ามมิให้พิพากษาเกินคำขอหรือนอกจากที่ปรากฏในคำฟ้อง ดังนั้น การที่ศาลพิพากษาไปตามสัญญาประนีประนอมยอมความซึ่งมีการกำหนดอัตราดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดร้อยละ 10 ต่อปี เกินกว่าร้อยละ 7.5 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์จึงหาเป็นการต้องห้ามตาม ป.วิ.พ. มาตรา 142 และขัดต่อบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 138 (2) ไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 922/2546 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิครอบครองที่ดิน: การฟ้องแย่งครอบครองต้องมีการยึดถือครอบครองจริง การพิพากษาต้องเป็นไปตามคำขอ
โจทก์บรรยายฟ้องว่า โจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท จำเลยรบกวนการครอบครองโดยนำเจ้าพนักงานที่ดินไปทำการรังวัดออกโฉนด ขอให้พิพากษาว่าโจทก์เป็นผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทและให้จำเลยจดทะเบียนเปลี่ยนชื่อผู้มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาทจากชื่อจำเลยเป็นชื่อโจทก์ ตามคำฟ้องโจทก์ดังกล่าว โจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาท ดังนั้น เพียงแต่การที่จำเลยนำพนักงานเจ้าหน้าที่ไปรังวัดออกโฉนดที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยไม่ได้เข้าไปยึดถือครอบครอง ข้ออ้างในการที่จำเลยแย่งการครอบที่ดินพิพาทยังไม่เกิด ทั้งตามคำขอท้ายฟ้องโจทก์มิได้ขอให้ศาลขจัดข้อที่โจทก์อ้างว่าถูกจำเลยโต้แย้งสิทธิ คือมิได้ขอให้ห้ามมิให้จำเลยออกโฉนดที่ดินพิพาท เมื่อโจทก์เป็นฝ่ายครอบครองที่ดินพิพาทโดยที่จำเลยไม่ได้เข้าไปแย่งการครอบครอง โจทก์จึงไม่มีสิทธิฟ้องขอให้ศาลมีคำสั่งว่าโจทก์มีสิทธิครอบครองที่ดินพิพาท
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 878/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ และการนำสืบพยานหลักฐานเพิ่มเติมในชั้นไต่สวน
ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยชำระหนี้แก่โจทก์ จำเลยอุทธรณ์พร้อมกับยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วเห็นว่าจำเลยเป็นผู้ถือหุ้นบริษัท ม. ถึง 250 หุ้น หุ้นละ 1,000 บาท จึงมีเงินพอเสียค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ได้ มิได้ยากจนจริงจึงยกคำร้อง จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ใหม่ โดยจะนำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าจำเลยมิใช่ผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. อีกต่อไป กรณีจึงเป็นเรื่องที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลพิจารณาคำขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคสี่ คำสั่งของศาลชั้นต้นที่สั่งยกคำร้องในกรณีนี้ ไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายให้เป็นที่สุด ดังนั้น เมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 3 เห็นชอบตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องของจำเลย จำเลยย่อมใช้สิทธิฎีกาคัดค้านคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 3 ได้ และการยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งในกรณีนี้ไม่จำต้องเสียค่าขึ้นศาลชั้นฎีกา ต้องคืนเงิน 200 บาท แก่จำเลย
เมื่อหนังสือรับรองของบริษัทและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. ซึ่งไม่มีชื่อจำเลยเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นที่จำเลยนำมาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้นนายทะเบียนออกให้ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลย กรณีจึงเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยสามารถนำเข้าสืบได้ในชั้นไต่สวนคำร้องอยู่แล้ว แต่จำเลยไม่นำพยานหลักฐานดังกล่าวมาศาล ส่อเจตนาหน่วงเหนี่ยวคดีให้ล่าช้า อันมีลักษณะประวิงคดี พฤติการณ์จึงไม่สมควรอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาแสดงเพิ่มเติมอีก
เมื่อหนังสือรับรองของบริษัทและสำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นของบริษัท ม. ซึ่งไม่มีชื่อจำเลยเป็นกรรมการและผู้ถือหุ้นที่จำเลยนำมาเป็นพยานหลักฐานเพิ่มเติมนั้นนายทะเบียนออกให้ก่อนวันที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ของจำเลย กรณีจึงเป็นพยานหลักฐานที่จำเลยสามารถนำเข้าสืบได้ในชั้นไต่สวนคำร้องอยู่แล้ว แต่จำเลยไม่นำพยานหลักฐานดังกล่าวมาศาล ส่อเจตนาหน่วงเหนี่ยวคดีให้ล่าช้า อันมีลักษณะประวิงคดี พฤติการณ์จึงไม่สมควรอนุญาตให้จำเลยนำพยานหลักฐานดังกล่าวมาแสดงเพิ่มเติมอีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6965/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาล ต้องมีพฤติการณ์พิเศษ หรือเหตุสุดวิสัยที่ไม่อาจยื่นคำขอได้ทันเวลา
การขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ เป็นกรณีที่อยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 23 ที่ให้พึงกระทำได้ก็ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษและคู่ความมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้น ส่วนข้อความในบทบัญญัติดังกล่าวที่ว่า "เว้นแต่ในกรณีมีเหตุสุดวิสัย" นั้น ใช้บังคับเฉพาะในกรณีที่มีเหตุการณ์อย่างหนึ่งอย่างใดอันเป็นเหตุสุดวิสัยที่ทำให้คู่ความฝ่ายนั้นไม่อาจมีคำขอขึ้นมาก่อนสิ้นระยะเวลานั้นและได้มีคำขอภายหลังเมื่อสิ้นระยะเวลาเช่นว่านั้นไปแล้ว ซึ่งกรณีเช่นว่านี้การขอขยายระยะเวลานอกจากจะพึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษแล้วยังจะต้องเป็นกรณีที่มีเหตุสุดวิสัยด้วย เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 2 ยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลาวางเงินค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์ซึ่งยังอยู่ภายในระยะเวลาที่ยังสามารถนำเงินมาชำระได้ คำร้องดังกล่าวจึงพึงกระทำได้ต่อเมื่อมีพฤติการณ์พิเศษเท่านั้นไม่อยู่ในบังคับว่าต้องเป็นกรณีมีเหตุสุดวิสัยด้วย ดังนั้น การที่ศาลอุทธรณ์ไม่วินิจฉัยไปถึงว่าคำร้องของจำเลยที่ 2 มีเหตุสุดวิสัยหรือไม่ จึงชอบแล้ว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 615/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิจารณาใหม่: การใช้กฎหมายที่ใช้บังคับ ณ วันฟ้อง และข้อเท็จจริงที่ต้องแสดงในคำขอ
โจทก์ยื่นฟ้องจำเลยก่อนวันที่พระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง (ฉบับที่ 19) ใช้บังคับ คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงอยู่ในบังคับของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในวันที่โจทก์ยื่นฟ้องจำเลย ที่ศาลอุทธรณ์นำมาตรา 199 จัตวา แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ซึ่งเป็นบทกฎหมายที่แก้ไขเพิ่มเติมใหม่มาบังคับแก่คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยจึงไม่ถูกต้อง
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่า ดอกเบี้ยตามคำพิพากษาเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินไป อัตราที่เหมาะสมควรจะเป็นอัตราร้อยละ 13 ถึง 14 ต่อปี โดยมิได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าเหตุใดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่จำเลยตกลงจะชำระให้แก่โจทก์ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้นเป็นเบี้ยปรับ รวมทั้งมีเหตุประการใดที่แสดงว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน และมีเหตุสมควรอย่างใดที่จะให้ศาลลดลงเหลือเพียงอัตราร้อยละ 13 ถึง 14 ต่อปี อันเป็นข้อสำคัญที่จำเลยจะต้องกล่าวคัดค้านมาในคำขอให้พิจารณาใหม่โดยละเอียดชัดแจ้ง เมื่อคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยกล่าวเพียงว่า ดอกเบี้ยตามคำพิพากษาเป็นเบี้ยปรับซึ่งสูงเกินไป อัตราที่เหมาะสมควรจะเป็นอัตราร้อยละ 13 ถึง 14 ต่อปี โดยมิได้คัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นว่าเหตุใดอัตราดอกเบี้ยตามสัญญาที่จำเลยตกลงจะชำระให้แก่โจทก์ตามที่ศาลชั้นต้นพิพากษามานั้นเป็นเบี้ยปรับ รวมทั้งมีเหตุประการใดที่แสดงว่าเบี้ยปรับสูงเกินส่วน และมีเหตุสมควรอย่างใดที่จะให้ศาลลดลงเหลือเพียงอัตราร้อยละ 13 ถึง 14 ต่อปี อันเป็นข้อสำคัญที่จำเลยจะต้องกล่าวคัดค้านมาในคำขอให้พิจารณาใหม่โดยละเอียดชัดแจ้ง เมื่อคำขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยมิได้กล่าวโดยละเอียดชัดแจ้งซึ่งข้อคัดค้านคำตัดสินชี้ขาดของศาลชั้นต้นจึงเป็นการไม่ชอบด้วยประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 208 วรรคสอง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4423/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
โทษทวีคูณลิขสิทธิ์: ต้องพ้นโทษปรับก่อนจึงจะลงโทษทวีคูณได้ และการริบของกลางต้องมีคำขอ
จำเลยกระทำความผิดคดีนี้ก่อนต้องโทษและพ้นโทษปรับในคดีก่อน จึงไม่อาจวางโทษทวีคูณของโทษที่กฎหมายกำหนดไว้สำหรับความผิดคดีนี้ได้ ตาม พ.ร.บ. ลิขสิทธิ์ ฯ มาตรา 73 ปัญหานี้เป็นปัญหาข้อกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อย แม้จำเลยไม่ได้อุทธรณ์ ศาลฎีกาแผนกคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศสามารถแก้ไขให้ถูกต้องได้
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า มีการยึดทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเป็นของกลาง และคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ได้ขอให้ริบทรัพย์สินดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สิน ฯ กลางพิพากษาให้ริบสิ่งที่ได้ใช้ในขณะกระทำความผิดด้วย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ฟ้องโจทก์ไม่ได้บรรยายว่า มีการยึดทรัพย์สินที่ใช้ในการกระทำความผิดเป็นของกลาง และคำขอท้ายฟ้องก็ไม่ได้ขอให้ริบทรัพย์สินดังกล่าว การที่ศาลทรัพย์สิน ฯ กลางพิพากษาให้ริบสิ่งที่ได้ใช้ในขณะกระทำความผิดด้วย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 432/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
บทบัญญัติมาตรา 73 พ.ร.บ.ลิขสิทธิ์ มิใช่บทเพิ่มโทษ แต่เป็นบทกำหนดโทษที่หนักขึ้น และการริบของกลางต้องมีคำขอ
การมีแผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมไว้เพื่อขายและเสนอขายกับการประกอบกิจการให้เช่า แลกเปลี่ยนหรือจำหน่ายเทปหรือวัสดุโทรทัศน์ในคราวเดียวกันนั้น เป็นการกระทำโดยอาศัยเจตนาที่แยกต่างหากจากกันและเป็นการกระทำความผิดต่อกฎหมายคนละฉบับกัน จึงเป็นความผิดสองกรรมต่างกัน
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 73 เป็นบทระวางโทษที่หนักขึ้นเป็นสองเท่าของระวางโทษตามมาตรา 70 วรรคสองหาใช่บทเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยให้หนักขึ้นเป็นสองเท่าไม่
โจทก์มีคำขอเพียงให้แผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมของกลาง ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ไม่มีของกลางรายการอื่นที่โจทก์ขอให้ริบอีก ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ริบสิ่งของที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดมาด้วยจึงเป็นการเกินคำขอ
พระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ฯ มาตรา 73 เป็นบทระวางโทษที่หนักขึ้นเป็นสองเท่าของระวางโทษตามมาตรา 70 วรรคสองหาใช่บทเพิ่มโทษที่จะลงแก่จำเลยให้หนักขึ้นเป็นสองเท่าไม่
โจทก์มีคำขอเพียงให้แผ่นวิดีโอซีดีแผ่นซีดีและแผ่นซีดีรอมของกลาง ตกเป็นของเจ้าของลิขสิทธิ์เท่านั้น ไม่มีของกลางรายการอื่นที่โจทก์ขอให้ริบอีก ดังนั้น การที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลางพิพากษาให้ริบสิ่งของที่จำเลยใช้ในการกระทำความผิดมาด้วยจึงเป็นการเกินคำขอ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ศาลอุทธรณ์มีอำนาจย้อนสำนวนหากศาลชั้นต้นพิพากษาไม่ครบถ้วนตามข้อหาที่ฟ้อง และการพิพากษาไม่เกินคำขอ
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีว่า ให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิเฉพาะส่วนของโจทก์ เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา คืนแก่โจทก์ กับขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินจำนวน 1 ไร่ กลับคืนเป็นของโจทก์ คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำลยให้คืนที่ดินตาม น.ส.3 เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งแปลงเพียงแต่เหตุแห่งการเพิกถอนต่างกันเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และโอนที่ดินทั้งแปลงคืนแก่โจทก์ จึงไม่เกินคำขอ
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามป.พ.พ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนี้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตาม ป.วิ.พ มาตรา 142 วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามป.วิ.พ มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามป.พ.พ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนี้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตาม ป.วิ.พ มาตรา 142 วรรคหนึ่งศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามป.วิ.พ มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2596/2545
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การพิพากษาเกินคำขอและอำนาจศาลในการย้อนสำนวนคดีแพ่ง
คำขอท้ายฟ้องของโจทก์มีว่า ให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และจดทะเบียนโอนกรรมสิทธิเฉพาะส่วนของโจทก์ เนื้อที่ 3 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา คืนแก่โจทก์ กับขอให้เพิกถอนการจดทะเบียนการให้ที่ดินจำนวน 1 ไร่ กลับคืนเป็นของโจทก์ คำขอท้ายฟ้องดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า โจทก์ประสงค์จะขอให้ศาลบังคับจำเลยให้คืนที่ดินตาม น.ส.3เนื้อที่ 4 ไร่ 1 งาน 81 ตารางวา แก่โจทก์ทั้งแปลงเพียงแต่เหตุแห่งการเพิกถอนต่างกันเท่านั้น ดังนั้นการที่ศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยส่งมอบต้นฉบับ น.ส.3 และโอนที่ดินทั้งแปลงคืนแก่โจทก์ จึงไม่เกินคำขอ
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนื้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน
เมื่อศาลชั้นต้นฟังข้อเท็จจริงว่า จำเลยประพฤติเนรคุณต่อโจทก์ศาลชั้นต้นก็พิพากษาให้เพิกถอนการให้ได้ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 531 แต่คดีนี้ปรากฏว่า โจทก์มิได้ยกที่ดินให้จำเลยทั้งแปลง คดีจึงยังมีประเด็นว่า โจทก์ยกที่ดินให้จำเลยเนื้อที่เท่าใดซึ่งศาลชั้นต้นยังไม่ได้วินิจฉัยแต่ได้พิพากษาให้เพิกถอนการโอนที่ดินทั้งแปลง คำพิพากษาศาลชั้นต้นจึงมิได้ตัดสินตามข้อหาทุกข้อตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142 วรรคหนึ่ง ศาลอุทธรณ์มีอำนาจที่จะยกคำพิพากษาศาลชั้นต้นแล้วส่งสำนวนคืนไปยังศาลชั้นต้นให้พิพากษาใหม่ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 243(1) อำนาจที่จะย้อนสำนวนไปให้ศาลชั้นต้นพิพากษาใหม่นี้เป็นดุลพินิจของศาลอุทธรณ์ หากศาลอุทธรณ์เห็นว่าข้อเท็จจริงและพยานหลักฐานในสำนวนเพียงพอที่จะวินิจฉัยคดีได้ ศาลอุทธรณ์ก็สามารถวินิจฉัยคดีได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวน