พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การบังคับตามคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศ: ผลผูกพันและขอบเขตการบังคับใช้
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้กฎหมายของประเทศ สาธารณรัฐสิงคโปร์มาบังคับแก่กรณี และดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนขัดต่อกฎหมายหรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชน คำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงผูกพันลูกหนี้ เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดยไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2602/2533 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการต่างประเทศผูกพันลูกหนี้ และบังคับได้ในไทย หากไม่ขัดกฎหมาย
เจ้าหนี้กับลูกหนี้มีข้อสัญญาว่า เมื่อมีข้อพิพาทเกี่ยวกับสัญญาให้ใช้กฎหมายของประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์มาบังคับแก่กรณีและดำเนินกระบวนพิจารณาทางอนุญาโตตุลาการในประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์ เมื่อการดำเนินกระบวนพิจารณาและคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการไม่ปรากฏว่ามีข้อผิดพลาด ไม่ถูกต้องตามขั้นตอนขัดต่อกฎหมาย หรือขัดต่อความสงบเรียบร้อยของประชาชนคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการแห่งประเทศสาธารณรัฐสิงคโปร์จึงผูกพันลูกหนี้เจ้าหนี้นำมาฟ้องบังคับในศาลไทยได้โดยไม่จำต้องให้ศาลไทยกลับไปวินิจฉัยอีกว่าลูกหนี้หรือเจ้าหนี้เป็นฝ่ายผิดสัญญา เจ้าหนี้จึงอาศัยคำชี้ขาดทางอนุญาโตตุลาการดังกล่าว ขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ทั้งสองได้.
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 503/2526
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ข้อตกลงแต่งตั้งอนุญาโตตุลาการอิสลาม และบังคับตามคำชี้ขาดเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน
เมื่อบิดาโจทก์จำเลยถึงแก่กรรม บุตร 6 คนขอรับโอนมรดกที่ดินพิพาท ต่อมาบุตร 4 คนยกที่ดินเฉพาะส่วนของตนให้โจทก์จำเลยแล้วโจทก์จำเลยทำบันทึกตกลงแบ่งกรรมสิทธิ์รวมในที่ดินพิพาทแต่ยังมิได้รังวัดแบ่งแยกโฉนด ต่อมาสามีจำเลยและโจทก์ลงชื่อในฐานะคู่กรณี จำเลยลงชื่อในฐานะพยานในเอกสารมีข้อความว่า ทั้งสองฝ่ายยอมปฏิบัติตามคำวินิจฉัยชี้ขาดของคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร และยอมให้นำเอกสารคำวินิจฉัยชี้ขาดเป็นหลักในการตัดสินชี้ขาดของศาล ดังนี้ ถือได้ว่าเป็นข้อตกลงตั้งคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานครเป็นอนุญาโตตุลาการชี้ขาดข้อพิพาทของโจทก์จำเลยเกี่ยวกับที่ดินพิพาททั้งหมด เมื่อคณะกรรมการฯ ทำคำชี้ขาดและแจ้งจำเลยแล้ว จำเลยก็ต้องปฏิบัติตามศาลต้องบังคับให้เป็นไปตามคำชี้ขาดดังกล่าว
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 416/2524
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานเรื่องค่าครองชีพของคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์และการเป็นที่สุดของคำชี้ขาด
การที่ลูกจ้างเรียกร้องให้นายจ้างจ่ายค่าครองชีพ เป็นการเรียกร้องเอาค่าจ้างหรือประโยชน์อื่นอันเกี่ยวกับการจ้างหรือการทำงาน จึงเป็นการเรียกร้องเกี่ยวกับสภาพการจ้างตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 5 เมื่อข้อเรียกร้องนั้นพนักงานประนอมข้อพิพาทแรงงานไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ ย่อมกลายเป็นข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ตามมาตรา 22 วรรคสามคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ที่ได้รับแต่งตั้งเป็นคณะบุคคลตามประกาศกระทรวงมหาดไทยเรื่อง แต่งตั้งคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงาน ลงวันที่ 14ตุลาคม 2519 จึงมีอำนาจชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานนี้ได้
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินซึ่งมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 6ตุลาคม 2519 และยังไม่ยกเลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมแต่งตั้งคณะบุคคลให้ทำการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 25 ได้
คณะปฏิรูปการปกครองแผ่นดินซึ่งมีอำนาจบริหารราชการแผ่นดินได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 6ตุลาคม 2519 และยังไม่ยกเลิก รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยย่อมแต่งตั้งคณะบุคคลให้ทำการชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานที่ตกลงกันไม่ได้ โดยอาศัยอำนาจตามพระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 25 ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลแรงงานจำกัดหลังมีคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.แรงงานสัมพันธ์ ต้องโต้แย้งความไม่ชอบด้วยกฎหมายชัดเจน
ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522 มาตรา 8 แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งวรรคท้ายของมาตรานี้ ซึ่งบัญญัติไว้ว่าจะดำเนินการในศาลแรงงานได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้แล้ว
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 25 วรรคแรก ได้บัญญัติขั้นตอนและวิธีการให้ปฏิบัติจนกระทั่งมีคำวินิจฉัยชี้ขาดจากคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานไว้แล้ว และวรรคสอง บัญญัติให้คำชี้ขาดของคณะบุคคลนั้นเป็นที่สุด ดังนี้ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างย่อมจะต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านหรือดำเนินการในศาลแรงงานได้อีก เว้นเสียแต่ว่า โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก็ต้องเป็นเรื่องฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลยพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ หรือขัดแย้งต่อพยานหลักฐาน หรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างเช่นนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 25 วรรคแรก ได้บัญญัติขั้นตอนและวิธีการให้ปฏิบัติจนกระทั่งมีคำวินิจฉัยชี้ขาดจากคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานไว้แล้ว และวรรคสอง บัญญัติให้คำชี้ขาดของคณะบุคคลนั้นเป็นที่สุด ดังนี้ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างย่อมจะต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านหรือดำเนินการในศาลแรงงานได้อีก เว้นเสียแต่ว่า โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก็ต้องเป็นเรื่องฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลยพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ หรือขัดแย้งต่อพยานหลักฐาน หรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างเช่นนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2641/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์มีผลเป็นที่สุด นายจ้างนำคดีต่อศาลแรงงานไม่ได้ หากมิได้อ้างเหตุไม่ชอบด้วยกฎหมาย
ศาลแรงงานมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิหรือหน้าที่ตามกฎหมายว่าด้วยแรงงานสัมพันธ์ ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 แต่ก็ต้องอยู่ภายใต้บังคับแห่งวรรคท้ายของมาตรานี้ซึ่งบัญญัติไว้ว่าจะดำเนินการในศาลแรงงานได้ต่อเมื่อได้ปฏิบัติตามขั้นตอนและวิธีการที่กฎหมายดังกล่าวบัญญัติไว้แล้ว
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 25 วรรคแรกได้บัญญัติขั้นตอนและวิธีการให้ปฏิบัติจนกระทั่งมีคำวินิจฉัยชี้ขาดจากคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานไว้แล้ว และวรรคสอง บัญญัติให้คำชี้ขาดของคณะบุคคลนั้นเป็นที่สุด ดังนี้ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างย่อมจะต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านหรือดำเนินการในศาลแรงงานได้อีก เว้นเสียแต่ว่า โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก็ต้องเป็นเรื่องฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ หรือขัดแย้งต่อพยานหลักฐานหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างเช่นนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 25 วรรคแรกได้บัญญัติขั้นตอนและวิธีการให้ปฏิบัติจนกระทั่งมีคำวินิจฉัยชี้ขาดจากคณะบุคคลเพื่อชี้ขาดข้อพิพาทแรงงานไว้แล้ว และวรรคสอง บัญญัติให้คำชี้ขาดของคณะบุคคลนั้นเป็นที่สุด ดังนี้ ฝ่ายนายจ้างและฝ่ายลูกจ้างย่อมจะต้องปฏิบัติตามคำชี้ขาดนั้น ไม่มีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านหรือดำเนินการในศาลแรงงานได้อีก เว้นเสียแต่ว่า โจทก์ฟ้องกล่าวหาว่าคำชี้ขาดนั้นไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งก็ต้องเป็นเรื่องฟังข้อเท็จจริงหรือใช้ดุลพินิจโดยไม่มีพยานหลักฐานหรือมีเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ หรือขัดแย้งต่อพยานหลักฐานหรือมิได้เป็นไปโดยสุจริต เมื่อโจทก์มิได้กล่าวอ้างเช่นนั้น โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่เป็นที่สุดหากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย หรือขาดเหตุผลสนับสนุน ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้อง
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ. 2518 มาตรา 25 วรรคสอง และประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 บัญญัติว่า คำชี้ขาดของคณะบุคคล (คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์) นั้นให้เป็นที่สุด หมายความว่า เป็นคำชี้ขาดที่ถูกต้องตามที่กฎหมายให้อำนาจที่จะชี้ขาดเช่นนั้นได้ หากคำชี้ขาดใดไม่มีกฎหมายให้อำนาจ หรือปราศจากพยานหลักฐานและเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ คำชี้ขาดนั้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นที่สุด ผู้ที่ได้รับความเสียหายเพราะคำชี้ขาดย่อมมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ต้องท้ายตามมาตรา 25 วรรคสอง ดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องกล่าวอ้างว่า คำชี้ขาดจำเลยเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีเหตุผลเพียงพอในการทำคำวินิจฉัยแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่จะต้องรับไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2323/2523
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำชี้ขาดคณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์ไม่เป็นที่สุดหากไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ผู้เสียหายมีสิทธิฟ้องเพิกถอนได้
พระราชบัญญัติแรงงานสัมพันธ์ พ.ศ.2518 มาตรา 25 วรรคสองและประกาศกระทรวงมหาดไทย ฉบับลงวันที่ 14 ตุลาคม 2519 ข้อ 1 บัญญัติว่า คำชี้ขาดของคณะบุคคล(คณะกรรมการแรงงานสัมพันธ์) นั้นให้เป็นที่สุด หมายความว่า เป็นคำชี้ขาดที่ถูกต้องตามที่กฎหมาย ให้อำนาจที่จะชี้ขาดเช่นนั้นได้ หากคำชี้ขาดใดไม่มีกฎหมายให้อำนาจหรือปราศจากพยานหลักฐานและเหตุผลสนับสนุนเพียงพอ คำชี้ขาดนั้นย่อมไม่ชอบด้วยกฎหมายและไม่เป็นที่สุด ผู้ที่ได้รับความเสียหายเพราะคำชี้ขาดย่อมมีอำนาจฟ้องคดีขอให้ศาลเพิกถอนหรือเปลี่ยนแปลงได้ ไม่ต้องห้ามตามมาตรา 25 วรรคสองดังนั้น เมื่อตามคำฟ้องกล่าวอ้างว่า คำชี้ขาดของจำเลยเป็นคำชี้ขาดที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย และไม่มีเหตุผลเพียงพอในการทำคำวินิจฉัยแล้ว จึงเป็นคำฟ้องที่จะต้องรับไว้พิจารณาต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2522 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล และอำนาจการขอให้ศาลมีคำพิพากษาตามคำชี้ขาด
ที่ดินของผู้ร้องถูกเวนคืน อนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้อง และผู้คัดค้าน กำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินซึ่งถูกเวนคืนไม่เท่ากัน ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งประธาน ศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วตั้ง อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาดคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการ จนถึงเวลาที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้ง อ. เป็นประธานต่างฝ่ายต่างไม่มีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น อนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้นจึงเป็นการตั้งกันเองโดยศาลมิได้รับรู้ มิใช่เป็นการตั้งตามมาตรา 210 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล แม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งตั้งให้ อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาด ก็ยังถือไม่ได้ว่าไม่เป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล กรณีเช่นนี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ อ. และอ. มิใช่คู่กรณี อ. จึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของ อ. ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 502/2522
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาล และอำนาจการขอให้ศาลพิพากษาตามคำชี้ขาด
ที่ดินของผู้ร้องถูกเวนคืน อนุญาโตตุลาการฝ่ายผู้ร้องและผู้คัดค้านกำหนดค่าทดแทนราคาที่ดินซึ่งถูกเวนคืนไม่เท่ากัน ผู้ร้องจึงได้ยื่นคำร้องต่อศาลให้มีคำสั่งตั้งประธานศาลชั้นต้นไต่สวนแล้วตั้ง อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาดคำชี้ขาดของอนุญาโตตุลาการ ตลอดระยะเวลาที่ทั้งสองฝ่ายตั้งอนุญาโตตุลาการจนถึงเวลาที่ผู้ร้องร้องขอให้ศาลตั้ง อ.เป็นประธานต่างฝ่ายต่างไม่มีคดีอยู่ในระหว่างการพิจารณาของศาลชั้นต้น อนุญาโตตุลาการที่ทั้งสองฝ่ายตั้งขึ้นจึงเป็นการตั้งกันเองโดยศาลมิได้รับรู้มิใช่เป็นการตั้งตามมาตรา 210 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ถือได้ว่าเป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาลแม้ต่อมาศาลชั้นต้นจะได้มีคำสั่งตั้งให้ อ. เป็นประธานเพื่อชี้ขาด ก็ยังถือไม่ได้ว่าไม่เป็นกรณีที่เสนอข้อพิพาทให้อนุญาโตตุลาการชี้ขาดนอกศาลกรณีเช่นนี้ต้องบังคับตามบทบัญญัติมาตรา 221 แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เมื่อไม่ปรากฏว่าคู่กรณีฝ่ายใดไม่ยอมปฏิบัติตามคำชี้ขาดของ อ.และอ. มิใช่คู่กรณี อ. จึงไม่มีอำนาจที่จะร้องขอต่อศาลให้มีคำพิพากษาตามคำชี้ขาดของ อ. ได้