พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 314/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ค่าฤชาธรรมเนียมศาล: ข้อจำกัดการอุทธรณ์เฉพาะดุลพินิจ หากมิได้โต้แย้งความถูกต้องของการคำนวณ
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 168ห้ามมิให้คู่ความอุทธรณ์หรือฎีกาในปัญหาเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมอย่างเดียว เว้นแต่จะได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณให้ถูกต้องตามกฎหมาย โจทก์อุทธรณ์ว่าการที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาฯ คืนค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์สามในสี่ส่วนในกรณีที่โจทก์ถอนฟ้องโดยหักไว้หนึ่งในสี่คิดเป็นเงินจำนวน 50,000 บาท เป็นการหักไว้มากเกินไปขอให้หักเงินค่าขึ้นศาลไว้ไม่เกิน 5,000 บาท และคืน ค่าขึ้นศาลให้แก่โจทก์เพิ่มอีก 45,000 บาท นั้น เป็นการ อุทธรณ์โต้แย้งเฉพาะดุลพินิจในการสั่งคืนค่าธรรมเนียมศาล อันเป็นปัญหาในเรื่องค่าฤชาธรรมเนียมเพียงอย่างเดียว โดยมิได้ยกเหตุว่าค่าฤชาธรรมเนียมนั้นมิได้กำหนดหรือคำนวณ ให้ถูกต้องตามกฎหมายแต่อย่างใด จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ ตามบทบัญญัติดังกล่าวประกอบด้วยพระราชบัญญัติ จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ. 2539 มาตรา 26 ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัยให้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มค่าอากร: เศษเดือนนับเป็นหนึ่งเดือน และเป็นเงินอากร
พ.ร.บ. ศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวา ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329 ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่มให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึงวันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร ดังนั้นในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้องนับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมายศุลกากร
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากร ที่นำมาชำระโดยไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออก ถึงวันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าวระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็น เงินอากร ดังนั้น ในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้อง นับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1465/2542 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณเงินเพิ่มอากรขาเข้า: เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ. 2469 มาตรา 112 จัตวาซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 329ลงวันที่ 13 ธันวาคม 2515 ข้อ 15 บัญญัติว่า เมื่อผู้นำเข้าหรือผู้ส่งของออกนำเงินมาชำระค่าอากรที่ต้องเสียหรือเสียเพิ่ม ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มในอัตราร้อยละหนึ่งต่อเดือนของค่าอากรที่นำมาชำระโดย ไม่คิดทบต้น นับแต่วันที่ได้ส่งมอบหรือส่งของออกจนถึง วันที่นำเงินมาชำระ ฯลฯ และวรรคสามของมาตราดังกล่าว ระบุไว้อย่างชัดแจ้งว่าในการคำนวณเงินเพิ่มตามวรรคหนึ่งและวรรคสอง เศษของเดือนให้นับเป็นหนึ่งเดือนและเงินเพิ่มนั้นให้ถือเป็นเงินอากร ดังนั้น ในการคำนวณเงินเพิ่มนั้นเศษของเดือนจึงต้องนับเป็นหนึ่งเดือนด้วย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3656/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การคำนวณทุนทรัพย์คดี และการกำหนดค่าทนายความตามอัตราขั้นสูงในคดีที่มีทุนทรัพย์และไม่มีทุนทรัพย์
ศาลชั้นต้นจดรายงานกระบวนพิจารณาว่า คดีนี้จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์จึงเป็นคดีมีทุนทรัพย์ ให้โจทก์ไปประเมินราคาที่พิพาทและเสียค่าขึ้นศาลเพิ่ม ทนายโจทก์ยื่นคำแถลงขอเสียค่าขึ้นศาลเพิ่มตามจำนวนทุนทรัพย์ที่เจ้าพนักงานที่ดินประเมินราคาที่พิพาทซึ่งศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับไว้ในวันเดียวกันนั้นเองจึงเป็นกรณีที่มีการ คำนวณทุนทรัพย์และเสียค่าขึ้นศาลตามจำนวนทุนทรัพย์นั้นแล้ว โจทก์ฟ้องขอให้เพิกถอนหนังสือรับรองการทำประโยชน์และขับไล่จำเลยพร้อมบริวารออกไปจากที่พิพาท จำเลยให้การต่อสู้กรรมสิทธิ์ จึงเป็นคดีที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์ อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้และอาจคำนวณเป็นราคาเงินได้รวมอยู่ด้วยกัน การกำหนดค่าทนายความใช้แทนให้แก่ผู้ชนะคดีต้องถือเอาค่าทนายความในอัตราขึ้นสูงกว่า ตามตาราง 6ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง เป็นหลัก ศาลชั้นต้นกำหนดให้จำเลยใช้ค่าทนายความแทนโจทก์ในศาลชั้นต้นสูงกว่าอัตราขั้นสูงตามกฎหมาย แม้จำเลยมิได้ฎีกาในปัญหาข้อนี้ แต่เป็นปัญหาข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลฎีกาเห็นสมควรแก้ไขให้ถูกต้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3405/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรับฟังพยานหลักฐานเอกสารและผลของการคำนวณหนี้ที่ไม่ถูกต้อง
โจทก์ได้อ้างต้นฉบับเอกสารซึ่งเป็นหลักฐานแห่งหนี้ที่จำเลยได้เดินสะพัดทางบัญชีกับโจทก์เป็นพยานต่อศาลทั้งโจทก์นำพนักงานโจทก์มาสืบเป็นพยานเกี่ยวกับเอกสารดังกล่าวไว้ชัดแจ้งแล้ว พยานเอกสารดังกล่าวจึงรับฟังเป็นพยานหลักฐานได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 93 ส่วนความไม่ถูกต้องในการคำนวณอัตราดอกเบี้ยมิใช่เป็นกรณีเป็นหนี้ที่ไม่มีหลักฐาน เพียงแต่หลักฐาน ที่นำมาคำนวณโต้แย้งสิทธิของจำเลย ไม่ถูกต้อง ซึ่งหากศาลพิพากษาไปอาจเป็นโทษ แก่จำเลยได้และภาระในการคำนวณยอดหนี้ เป็นหน้าที่ของโจทก์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้อง และให้โอกาสโจทก์ที่จะฟ้องคดีใหม่นั้นจึงเป็นคุณแก่จำเลย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2162/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนที่ดิน: การคำนวณค่าทดแทนที่ถูกต้อง, ราคาที่ดินสูงขึ้น และดอกเบี้ย
ขณะที่โจทก์ทั้งสี่ฟ้องคดีนี้ได้มีประกาศคณะรักษาความสงบ เรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 44 เรื่องการแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมายว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีผลใช้บังคับแล้ว ตามข้อ 1 และข้อ 5 ของกฎหมายฉบับนี้ได้แก้ไขหลักเกณฑ์ในการ กำหนดเงินค่าทดแทนที่ดินจากเดิมซึ่งให้กำหนดโดยถือราคา ตามมาตรา 21(2) หรือ (3) แห่งพระราชบัญญัติ ว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530 แล้วแต่ราคาใด จะสูงกว่าเป็นเกณฑ์ มาเป็นว่าให้กำหนดโดยอาศัยหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 21 และเนื่องจากไม่มีบทบัญญัติเกี่ยวกับการกำหนด เงินค่าทดแทนให้แก่โจทก์ทั้งสี่ไว้เป็นพิเศษใน พระราชบัญญัติเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฉบับใดโดยเฉพาะ การกำหนด เงินค่าทดแทนดังกล่าวจึงต้องกำหนดโดยคำนึงถึงหลักเกณฑ์ ตามมาตรา 21(1) ถึง (5) ประกอบกัน ดังนั้นการที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นฯ ได้กำหนดเงินค่าทดแทนตามราคาประเมินทุนทรัพย์เพื่อเรียกเก็บค่าธรรมเนียมในการจดทะเบียนสิทธิและนิติกรรมของกรมที่ดินปี 2531 ถึง 2534 เพียง อย่างเดียวจึงยังไม่เป็นธรรม ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ พ.ศ. 2530มาตรา 21 วรรคสี่ บัญญัติว่า "การคำนวณว่าอสังหาริมทรัพย์ใดมีราคาสูงขึ้นตามวรรคสองหรือราคาลดลงตามวรรคสามให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการที่กำหนดในพระราชกฤษฎีกา" ปรากฏว่า ได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคา ที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ. 2537 ประกาศใช้บังคับเมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2537ต่อมาได้มีพระราชกฤษฎีกายกเลิก พระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณราคาที่สูงขึ้นหรือลดลงของอสังหาริมทรัพย์ที่เหลือจากการเวนคืน พ.ศ. 2537 พ.ศ. 2538ซึ่งใช้บังคับเมื่อวันที่ 16 พฤศจิกายน 2538 เท่ากับว่าขณะนี้ไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณราคาดังกล่าวอย่างไรก็ตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 21 วรรคสองและวรรคสาม กำหนดหลักการไว้ว่าถ้าการเวนคืนทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาสูงขึ้นให้เอาราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทน หรือทำให้อสังหาริมทรัพย์ที่เหลือมีราคาลดลง ให้กำหนดเงินค่าทดแทนให้เฉพาะส่วนที่ราคาลดลงด้วย ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความเป็นธรรมแก่ ผู้ถูกเวนคืนและสังคม ดังนั้น ถ้าไม่หักราคาที่สูงขึ้นออกจากเงินค่าทดแทน ก็จะไม่เป็นธรรมแก่สังคม หรือถ้าไม่กำหนดเงินค่าทดแทนเฉพาะส่วนที่ลดลงให้ก็ย่อมไม่เป็นธรรมแก่ผู้ถูกเวนคืนหรือโจทก์ทั้งสี่ ซึ่งขัดต่อหลักการสำคัญดังกล่าวส่วนบทบัญญัติมาตรา 21 วรรคสี่ นั้น เป็นเพียงวิธีการที่ จะดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการสำคัญของมาตรา 21 วรรคหนึ่งวรรคสอง และวรรคสาม เท่านั้น แม้ยังไม่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดหลักเกณฑ์วิธีการคำนวณออกใช้บังคับ ก็หาใช่เหตุที่จะทำให้ไม่สามารถนำหลักการสำคัญดังกล่าวมาใช้บังคับได้ไม่ถ้าได้ความว่าที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนของโจทก์ทั้งสี่มีราคาสูงขึ้นหรือลดลง ศาลย่อมมีอำนาจนำราคาที่สูงขึ้นหักออกจากเงินค่าทดแทนหรือกำหนดเงินค่าทดแทนสำหรับที่ดินที่เหลือจากการเวนคืนซึ่งราคาลดลงได้ ฝ่ายจำเลยไม่ได้จ่ายเงินค่าทดแทนที่ดินหรือวางเงินค่าทดแทนที่ดินให้แก่โจทก์ทั้งสี่ โดยผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่เวนคืนอสังหาริมทรัพย์มีหนังสือแจ้งราคาค่าทดแทนและแจ้งการเข้าครอบครองอสังหาริมทรัพย์ให้แก่โจทก์ทั้งสี่ที่ดินส่วนที่เหลือจากการเวนคืนมีราคาสูงขึ้น เมื่อคิดคำนวณและหักกลบลบกันกับเงินค่าทดแทนแล้วเกลื่อนกลืนกันไม่ต้องจ่ายค่าทดแทนให้สำหรับที่ดินส่วนที่ถูกเวนคืนจำเลยที่ 1มีความจำเป็นจะต้องใช้พื้นที่ทำการก่อสร้างทางหลวง จึงแจ้งการเข้าครอบครองที่ดินหลังจากครบกำหนด 60 วันนับจากวันที่โจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือโจทก์ทั้งสี่ได้รับหนังสือเมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2534 ดังนั้น วันที่ถัดจากวันที่ครบกำหนด 60 วัน อันเป็นวันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินของโจทก์ทั้งสี่คือวันที่ 18 กุมภาพันธ์ 2535 แต่ก่อนการเข้าครอบครองหรือใช้ที่ดินนั้น เจ้าหน้าที่หรือผู้ซึ่งได้รับมอบหมายจากเจ้าหน้าที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนดังที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 13 ก่อนเมื่อโจทก์ทั้งสี่มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนที่ดินที่จะต้องเวนคืนเป็นเงิน 2,505,000 บาทโจทก์ทั้งสี่จึงมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยจากเงินค่าทดแทนที่ดินที่ศาลกำหนดให้เพิ่มขึ้นจากที่ฝ่ายจำเลยกำหนดด้วย นับแต่วันที่ฝ่ายจำเลยมีสิทธิเข้าครอบครองที่ดินโจทก์ทั้งสี่คือวันที่18 กุมภาพันธ์ 2535 อันถือได้ว่าเป็นวันที่ต้องจัดให้มีการจ่ายหรือวางเงินค่าทดแทนตามมาตรา 26 วรรคท้าย ส่วนอัตราดอกเบี้ยเป็นไปตามบัญญัติแห่งกฎหมายมาตราดังกล่าวข้างต้นซึ่งเป็นอัตราขึ้นลงไม่คงที่โดยเป็นไปตามประกาศ ของธนาคารออมสินแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปีตามที่โจทก์ทั้งสี่ขอ โจทก์ทั้งสี่เป็นเจ้าของรวมในที่ดินโฉนดเลขที่ 3742โดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัด โจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสี่ใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนอันเนื่องมาจากการเวนคืนที่ดินดังกล่าวมาจำนวนเดียวกัน เป็นการใช้สิทธิร่วมกันมิใช่กรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว โจทก์ทั้งสี่จึงมีหน้าที่ชำระค่าขึ้นศาลในทุนทรัพย์รวม มิใช่แยกชำระค่าขึ้นศาลเป็นรายบุคคล ดังนั้น ที่โจทก์ทั้งสี่ชำระค่าขึ้นศาลในศาลชั้นต้นเกิน 200,000 บาทมานั้นไม่ถูกต้อง สมควรสั่งคืนส่วนที่เกินให้แก่โจทก์ทั้งสี่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1946/2541
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ค่าธรรมเนียมบังคับคดี: คำนวณจากหนี้ที่บังคับได้จริง ไม่ใช่ราคาทรัพย์ที่ยึด
ตามตาราง 5 ท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งที่ได้ กำหนดเรื่องค่าธรรมเนียมเจ้าพนักงานบังคับคดีในกรณีเมื่อยึด ทรัพย์สินซึ่งไม่ใช่ตัวเงินแล้วไม่มีการขายหรือจำหน่าย โดย ให้เสียค่าธรรมเนียมร้อยละ 3 ครึ่ง ของราคาทรัพย์สินที่ยึดนั้น คำว่า ราคาทรัพย์สินที่ยึด หมายถึง ราคาทรัพย์สินที่ยึดซึ่ง ต้องไม่เกินจำนวนหนี้ที่จะต้องรับผิดในการบังคับคดีด้วย เมื่อศาลชั้นต้นพิพากษาให้จำเลยทั้งสองร่วมกันชำระเงินจำนวน 26,957.13 บาท แก่โจทก์พร้อมดอกเบี้ยร้อยละ 13.5 ต่อปี ในต้นเงินดังกล่าวนับแต่วันที่ 7 กันยายน 2522 เป็นต้นไป เมื่อคิดคำนวณยอดหนี้พร้อมดอกเบี้ยที่จำเลยทั้งสองจะต้อง รับผิดต่อโจทก์ตามคำพิพากษาโดยคิดถึงวันที่ 13 มกราคม 2538 อันเป็นวันที่โจทก์ขอถอนการยึดทรัพย์ของจำเลยเนื่องจากจำเลย ได้ชำระหนี้แก่โจทก์แล้ว ยังมีจำนวนไม่ถึง 160,000 บาท อันเป็นราคาทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดและเจ้าพนักงานบังคับคดี ประเมินราคาไว้ในครั้งแรก โจทก์จึงต้องเสียค่าธรรมเนียม การยึดทรัพย์สินแล้วไม่มีการขายร้อยละ 3 ครึ่ง ของจำนวนหนี้ ที่จำเลยทั้งสองจะต้องรับผิดในการบังคับคดีอันมีจำนวนน้อยกว่า ราคาทรัพย์สินที่โจทก์นำยึดดังกล่าว ดังนั้น ไม่ว่าราคาทรัพย์สิน ที่โจทก์นำยึดทรัพย์จะมีราคาประเมินจำนวน 160,000 บาท หรือ จำนวน 2,527,300 บาท ก็ไม่มีผลทำให้ความรับผิดในค่าธรรมเนียม เจ้าพนักงานบังคับคดีของโจทก์เปลี่ยนแปลงไปได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8221/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์: การคำนวณค่าทดแทนที่เหมาะสมและดอกเบี้ยตามกฎหมาย
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์พ.ศ. 2530 มาตรา 26 วรรคสาม ที่บัญญัติว่า "ในกรณีที่รัฐมนตรีหรือศาลวินิจฉัยให้ชำระเงินค่าทดแทนเพิ่มขึ้นให้ผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้น" จากบทกฎหมายดังกล่าว เมื่อโจทก์เป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าทดแทนเพิ่มโดยที่ศาลวินิจฉัยให้ก็ย่อมมีสิทธิได้รับดอกเบี้ยในอัตราสูงสุดของดอกเบี้ยเงินฝากประเภทฝากประจำของธนาคารออมสินในจำนวนเงินที่เพิ่มขึ้นแต่ไม่เกินอัตราร้อยละ 13 ต่อปี ตามคำขอของโจทก์ทั้งสาม โดยไม่จำต้องพิจารณาว่าจำเลยทั้งสองกระทำละเมิดหรือ ผิดนัดชำระหนี้ต่อโจทก์หรือไม่ โจทก์ทั้งสามเป็นเจ้าของรวมในที่ดินและสิ่งปลูกสร้างที่ถูกเวนคืนโดยมิได้มีการแบ่งแยกการครอบครองเป็นส่วนสัดโจทก์ทุกคนจึงมีส่วนเป็นเจ้าของทุกส่วนรวมกัน เมื่อโจทก์ทั้งสามใช้สิทธิฟ้องเรียกเงินค่าทดแทนมาจำนวนเดียวกันโดย มิได้แบ่งแยกว่าแต่ละคนมีสิทธิได้เงินค่าทดแทนเท่าใดอันเป็นการใช้สิทธิร่วมกัน มิใช่เป็นกรณีที่โจทก์แต่ละคนใช้สิทธิเฉพาะตัว จึงต้องเสียค่าขึ้นศาลรวมกัน สำหรับคดีนี้โจทก์ทั้งสามต้องร่วมกันเสียค่าขึ้นศาลในอัตราสูงสุดคือศาลละ 200,000 บาท เนื่องจากมีการเรียกเก็บค่าขึ้นศาลเฉพาะในชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาเกินกว่าศาลละ 200,000 บาทจึงต้องคืนค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์และชั้นฎีกาในส่วนที่เรียกเก็บเกินกว่าศาลละ 200,000 บาท ให้แก่โจทก์ทั้งสาม ค่าทดแทนที่ดินและสิ่งปลูกสร้างของโจทก์ที่คณะกรรมการกำหนดราคาเบื้องต้นกำหนดให้แก่โจทก์ และจำเลยยังจ่ายให้แก่โจทก์ทั้งสามไม่ครบนั้น เมื่อฝ่ายจำเลยไม่ได้โต้แย้งว่าโจทก์ไม่มีสิทธิได้รับ หรือโต้แย้งว่าจะไม่จ่ายเงินค่าทดแทนดังกล่าวให้แก่โจทก์ โจทก์จึงชอบที่จะไปขอ รับเงินค่าทดแทนที่ยังจ่ายไม่ครบดังกล่าวนั้นจากจำเลย ทั้งสองได้อีก
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5089/2540
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การวางเงินประกันค่าฤชาธรรมเนียม: คำนวณเฉพาะแต่ละชั้นศาล ไม่รวมตลอดทั้งสามศาล
บทบัญญัติของประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 253และมาตรา 253 ทวิ ในกรณีที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้โจทก์วางเงินต่อศาลหรือหาประกันมาให้เพื่อการชำระค่าฤชาธรรมเนียม ที่จะเกิดขึ้นในระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้น ศาลอุทธรณ์หรือ ศาลฎีกานั้น จำนวนเงินที่จะให้วางหรือหาประกันมาคงคำนวณเฉพาะ ค่าฤชาธรรมเนียมและค่าใช้จ่ายที่จะเกิดขึ้นเฉพาะในแต่ละชั้นศาล เท่านั้น หาใช่ต้องคำนวณให้พอตลอดทั้งสามศาล โดยไม่จำต้อง พิจารณาว่าฝ่ายใดจะเป็นฝ่ายแพ้หรือชนะคดี เพราะศาลมีอำนาจ ที่จะพิพากษาให้ฝ่ายที่ชนะคดีเสียค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงได้ ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 161 และอัตราค่าทนายความท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง คดีนี้โจทก์ฟ้องโดยมีทุนทรัพย์ 18,378,312 บาท ศาลชั้นต้นสั่ง ให้โจทก์วางเงินประกันจำนวน 60,000 บาท จึงเป็นการเพียงพอแล้ว