คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำนวณผิดพลาด

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 14 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2958/2523 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ความรับผิดของเจ้าหน้าที่รังวัดและกรมที่ดิน กรณีคำนวณเนื้อที่ดินผิดพลาดจนทำให้เจ้าของที่ดินเสียประโยชน์
จำเลยที่ 2 เป็นข้าราชการในกรมที่ดินจำเลยที่ 1 และเป็นผู้เชี่ยวชาญการทำแผนที่ ได้ทำการรังวัดและคำนวณเนื้อที่ดินในแผนที่พิพาท ในคดีที่โจทก์ฟ้องผู้มีชื่อผิดพลาดด้วยความประมาทเลินเล่อ โดยว่าที่ดินของโจทก์มีเนื้อที่เกินไปจากที่ระบุไว้ในโฉนด ซึ่งความจริงที่ดินของโจทก์ก็ได้มีเนื้อที่เกินไปจากโฉนดแต่อย่างใด เป็นเหตุให้ศาลวินิจฉัยฟังว่าที่ดินพิพาทในคดีดังกล่าวอยู่นอกเขตโฉนดของโจทก์และพิพากษายกฟ้อง คดีถึงที่สุด ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย เช่นนี้จำเลยทั้งสองต้องร่วมกันรับผิดชดใช้ค่าเสียหายต่อโจทก์

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 17822/2555

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความเรียกค่าอากร: การคำนวณอากรผิดพลาดของเจ้าหน้าที่ศุลกากร ทำให้สิทธิเรียกร้องของโจทก์ขาดอายุความ
จำเลยที่ 1 นำเข้าสินค้าโดยสำแดงราคาของในใบขนสินค้า 40,446.57 บาท แต่พนักงานเจ้าหน้าที่เห็นว่าราคาต่ำไปจึงให้เพิ่มราคาเป็น 159,228.63 บาท จำเลยที่ 1 ก็ระบุราคาของเพิ่มไว้ในใบขนสินค้าแล้ว ต่อมาพนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์พบว่าจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิได้รับการลดอัตราอากรจากร้อยละ 40 เหลือร้อยละ 5 จึงแจ้งให้จำเลยที่ 1 ชำระค่าอากรเพิ่ม โดยคิดอัตราร้อยละ 40 ของราคา 40,446.57 บาทแทนที่จะใช้ราคา 159,228.63 บาท ย่อมเห็นได้ว่าเหตุที่จำนวนเงินค่าอากรขาเข้าที่จำเลยที่ 1 ต้องชำระเพิ่มขาดจำนวนไปตามที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกร้องฟ้องคดีนี้นั้น เกิดจากกรณีที่พนักงานเจ้าหน้าที่ของโจทก์คิดค่าอากรจากฐานราคาสินค้าผิดพลาด มิใช่เหตุจากการที่จำเลยที่ 1 สำแดงราคาของผิดพลาด สิทธิของโจทก์ที่จะเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุดังกล่าวจึงมีอายุความ 2 ปี นับจากวันที่นำของเข้าตามมาตรา 10 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ศุลกากร พ.ศ.2469 โจทก์ฟ้องคดีนี้เกินกำหนด 2 ปี จึงขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8708/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องเรียกค่าอากร: การสำแดงพิกัดสินค้าผิดพลาดไม่ใช่การคำนวณผิดพลาด อายุความ 10 ปี
กรณีที่มีการตรวจเก็บอากรขาดและเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจเงินอากรตรวจพบอันเป็นผลให้ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกต้องชำระอากรเพิ่มเติม แต่ไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 112 จัตวา วรรคหนึ่ง นั้น ต้องเป็นกรณีที่ผู้นำของเข้าหรือผู้ส่งของออกมิได้กระทำความผิดฐานลักลอบหนีศุลกากรหรือสำแดงเท็จ แต่ได้สำแดงรายการในใบขนสินค้าขาเข้าหรือใบขนสินค้าขาออกเป็นเหตุให้จำนวนเงินอากรขาดไป เมื่อตามทางนำสืบของโจทก์ไม่ปรากฏข้อเท็จจริงใดที่แสดงให้เห็นว่า จำเลยที่ 1 มีเจตนาที่จะสำแดงประเภทพิกัดของสินค้าพิพาทเป็นเท็จดังที่โจทก์อ้างในฟ้อง กรณีจึงไม่อาจถือได้ว่าความรับผิดของจำเลยที่ 1 ในการชำระค่าอากรที่ขาดเกิดจากการที่จำเลยที่ 1 สำแดงเท็จในใบขนสินค้าขาเข้าพิพาท แต่ต้องด้วยกรณีที่ไม่ให้เรียกเก็บเงินเพิ่มเมื่อมีการชำระอากรเพิ่มตามมาตรา 102 ตรี (3) เนื่องจากมีการตรวจเก็บอากรขาดและเจ้าหน้าที่ผู้สำรวจเงินอากรตรวจพบ โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกให้จำเลยที่ 1 ชำระเงินเพิ่มตามพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 มาตรา 112 จัตวา
ปัญหาว่า ฟ้องโจทก์ขาดอายุความหรือไม่ ตามมาตรา 10 วรรคสาม แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พ.ศ.2469 บัญญัติว่า "เว้นแต่ในกรณีที่มีการหลีกเลี่ยงหรือพยายามหลีกเลี่ยงอากร สิทธิของกรมศุลกากรที่จะเรียกเก็บเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับชนิด คุณภาพ ปริมาณ น้ำหนัก หรือราคาแห่งของใด ๆ หรือเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับของใด ๆ นั้นให้มีอายุความ 10 ปี แต่ในเหตุที่ได้คำนวณจำนวนเงินอากรผิดให้มีอายุความ 2 ปี ทั้งนี้นับจากวันที่นำของเข้าหรือส่งของออก" เมื่อการชำระอากรขาดเกิดจากจำเลยที่ 1 สำแดงประเภทพิกัดของสินค้าไม่ถูกต้อง จึงเป็นกรณีที่โจทก์ใช้สิทธิเรียกเงินอากรที่ขาดเพราะเหตุอันเกี่ยวกับอัตราอากรสำหรับสินค้าที่นำเข้า ซึ่งมีอายุความ 10 ปี นับแต่วันที่นำของเข้าตามบทบัญญัติดังกล่าว จำเลยที่ 1 นำเข้าสินค้าพิพาทในคดีนี้ ระหว่างวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2540 ถึงวันที่ 21 กรกฎาคม 2541 เมื่อนับถึงวันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2550 ซึ่งเป็นวันที่โจทก์นำคดีมาฟ้องยังไม่เกิน 10 ปี ฟ้องโจทก์จึงไม่ขาดอายุความ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7249/2553

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ พินัยกรรมยกที่ดิน: เจตนาที่แท้จริง, การคำนวณเนื้อที่ผิดพลาด, และผลกระทบต่อการแบ่งมรดก
ผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับแรก ข้อ 1 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2668 ให้แก่บุตร 5 คน คนละ 626.8 ตารางวา ข้อ 2 ยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 เท่ากับที่ยกให้บุตรตามข้อ 1 ต่อมาผู้ตายทำพินัยกรรมฉบับที่สองว่า ที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา ที่เหลือจากยกให้จำเลยที่ 2 ยินดียกให้โจทก์ทั้งหมด ดังนี้ เห็นได้ว่าเกิดจากการคำนวณเนื้อที่ดินเฉพาะส่วนของผู้ตายผิดพลาดว่าเนื้อที่ 1 ไร่ 3 งาน 10 ตารางวา หรือ 710 ตารางวา แต่ความจริงที่ดินส่วนของผู้ตายมีเนื้อที่เพียง 606.66 ตารางวา เมื่อยกที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เฉพาะส่วนของผู้ตายให้แก่จำเลยที่ 2 จำนวน 606.66 ตารางวา ยังไม่ครบตามจำนวนเนื้อที่ดินที่ผู้ตายระบุไว้ตามที่พินัยกรรมฉบับแรก จึงไม่มีที่ดินโฉนดเลขที่ 2308 เหลือแบ่งแก่โจทก์ ข้อกำหนดพินัยกรรมที่ยกที่ดินแก่โจทก์จึงสิ้นผล
of 2