คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำพิพากษาศาลฎีกา

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 38 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7333/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ฟ้องบังคับตามสิทธิได้ ไม่ถือเป็นฟ้องซ้ำ
โจทก์เคยฟ้องให้จำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านเลขที่ 50/4 ออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่พิพาท คดีถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้อง โดยศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ ช. และจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ช. ส่วนจำเลยคดีนี้กับพวกรวม 5 คน ก็เคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันนี้และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้ยกฟ้อง โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ ช. ซึ่งได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนและทายาททุกคนเข้าครอบครองที่ดินมรดกที่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นของตนแล้ว จำเลยคดีนี้กับพวกจึงไม่มีสิทธิขอแบ่งอีก ดังนี้ กรณีถือได้ว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของสองศาลซึ่งต่างชั้นกันขัดกัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 146 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า ซึ่งคดีนี้ก็คือคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ถูกงดเสียโดยคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ย่อมอาศัยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวซึ่งผูกพันโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 มาฟ้องบังคับตามสิทธิของตนได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนที่โจทก์เคยฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7333/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์: ฟ้องขับไล่ไม่ซ้ำคดีเดิม
โจทก์เคยฟ้องให้จำเลยและบริวารรื้อถอนบ้านเลขที่ 50/4 ออกไปจากที่ดินโฉนดเลขที่พิพาท คดีถึงที่สุดแล้วตามคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ที่ให้ยกฟ้อง โดยศาลอุทธรณ์ฟังข้อเท็จจริงว่า ที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ ช. และจำเลยมีสิทธิครอบครองในที่ดินพิพาทในฐานะทายาทของ ช. ส่วนจำเลยคดีนี้กับพวกรวม 5 คน ก็เคยฟ้องโจทก์ขอแบ่งที่ดินพิพาทแปลงเดียวกันนี้และคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาที่ให้ยกฟ้อง โดยศาลฎีกาฟังข้อเท็จจริงว่าที่ดินพิพาทเป็นส่วนหนึ่งของทรัพย์มรดกของ ช. ซึ่งได้มีการแบ่งปันทรัพย์มรดกแก่ทายาททุกคนและทายาททุกคนเข้าครอบครองที่ดินมรดกที่ได้รับส่วนแบ่งมาเป็นของตนแล้ว จำเลยคดีนี้กับพวกจึงไม่มีสิทธิขอแบ่งอีก ดังนี้ กรณีถือได้ว่าคำพิพากษาอันเป็นที่สุดของสองศาลซึ่งต่างชั้นกันขัดกัน ซึ่งตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 146 วรรคหนึ่ง บัญญัติให้ถือตามคำพิพากษาของศาลที่สูงกว่า ซึ่งคดีนี้ก็คือคำพิพากษาศาลฎีกา ดังนั้น เมื่อคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ได้ถูกงดเสียโดยคำพิพากษาศาลฎีกา โจทก์ย่อมอาศัยผลของคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีแพ่งดังกล่าวซึ่งผูกพันโจทก์จำเลยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 มาฟ้องบังคับตามสิทธิของตนได้ ฟ้องโจทก์คดีนี้จึงไม่ซ้ำกับคดีแพ่งเรื่องก่อนที่โจทก์เคยฟ้องจำเลย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7210/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวินิจฉัยข้อเท็จจริงโดยอาศัยคำพิพากษาศาลฎีกาคดีอื่นที่ไม่ผูกพัน ถือเป็นข้อผิดพลาด
คู่ความไม่ได้ท้ากันให้ถือเอาผลของคำพิพากษาศาลฎีกาคดีอื่นมาเป็นข้อแพ้ชนะทั้งคู่ความไม่ได้แถลงว่าให้ถือเอาข้อเท็จจริงยุติตามคดีดังกล่าว แต่จำเลยให้การต่อสู้คดีและติดใจสืบพยานตามคำให้การ และในคดีก่อนศาลแรงงานกลางมิได้กำหนดให้คำพิพากษาหรือคำสั่งผูกพันนายจ้างหรือลูกจ้างอื่นซึ่งมีผลประโยชน์ร่วมกันในมูลความแห่งคดีตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ. 2522มาตรา 53 ที่ศาลแรงงานกลางสั่งงดสืบพยานจำเลยแล้ววินิจฉัยโดยนำข้อเท็จจริงตามคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวมาวินิจฉัย จึงไม่ชอบด้วยกฎหมาย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5189/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เอกสารปลอม สัญญาค้ำประกัน และผลผูกพันตามคำพิพากษาศาลฎีกา
จำเลยที่ 1 ที่ 2 ลงลายมือชื่อไว้โดยเอกสารสัญญากู้พิพาทยังไม่มีการกรอกข้อความ และจำเลยที่ 1 ที่ 2 ขอกู้ยืมจากโจทก์เป็นจำนวนเงินเพียง 200,000 บาท แต่ปรากฏว่าสัญญากู้ดังกล่าวกลับมีการกรอกข้อความว่าจำเลยที่ 1 ที่ 2 กู้ยืมเงินจากโจทก์เป็นจำนวน 2,800,000 บาท จึงเป็นการกรอกข้อความลงในสัญญากู้ซึ่งจำเลยที่ 1 ที่ 2 เพียงแต่ลงลายมือชื่อให้ไว้ผิดไปจากความจริงโดยจำเลยทั้งสองมิได้รู้เห็นยินยอมด้วย สัญญากู้พิพาทจึงเป็นเอกสารปลอม และสัญญาค้ำประกันที่จำเลยที่ 3 ที่ 4 ลงลายมือชื่อไว้แล้วมีการกรอกข้อความว่าเป็นการค้ำประกันหนี้จำเลยที่ 1 จำนวนเงิน 2,800,000 บาท ซึ่งผิดไปจากความเป็นจริงโดยจำเลยที่ 3 ที่ 4 มิได้รู้เห็นยินยอมด้วย จึงเป็นเอกสารปลอมเช่นกัน ถือได้ว่าการกู้ยืมเงินและการค้ำประกันคดีนี้ไม่มีหลักฐานเป็นหนังสือ โจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องบังคับตามสัญญากู้และสัญญาค้ำประกันดังกล่าว
จำเลยที่ 3 ได้ฟ้องโจทก์เป็นจำเลย ขอให้จดทะเบียนปลดจำนองรายเดียวกันนี้ต่อศาลชั้นต้นซึ่งต่อมาคดีถึงที่สุดตามคำพิพากษาศาลฎีกาว่ามีหนี้เงินกู้จำนวน 200,000 บาท ซึ่งผูกพันสัญญาจำนอง คำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันจำเลยที่ 3 และโจทก์ซึ่งเป็นคู่ความรายเดียวกันนี้ ตาม ป.วิ.พ.มาตรา145 วรรคหนึ่ง เมื่อมีหนี้เงินกู้จำนวน 200,000 บาท ซึ่งเป็นหนี้ที่มีอยู่จริงผูกพันสัญญาจำนองรายนี้ โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องบังคับจำเลยที่ 3 ตามสัญญาจำนองได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3208/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันคู่ความ การงดสืบพยานชอบด้วยกฎหมาย และการดำเนินการตามประมวลกฎหมายที่ดิน
คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนวินิจฉัยว่า ที่ดินพิพาทอยู่ในเขตที่ดินของโจทก์ดังนั้น ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความในกระบวนพิจารณาของศาลที่พิพากษา นับแต่วันที่ได้พิพากษาจนถึงวันที่คำพิพากษานั้นได้ถูกเปลี่ยนแปลงแก้ไขกลับหรืองดเสียตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ซึ่งตามคำให้การของจำเลยทั้งสามในคดีนี้ก็ไม่ปรากฏว่าหลังจากศาลฎีกาพิพากษาในคดีดังกล่าวแล้วจำเลยที่ 1 และที่ 2 ได้บอกกล่าวเปลี่ยนลักษณะแห่งการยึดถือไปยังโจทก์ว่าจำเลยที่ 1 และที่ 2 จะยึดถือครอบครองที่ดินพิพาทในฐานะเจ้าของต่อไปตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1381 และจำเลยที่ 3 ก็มิได้ให้การต่อสู้ว่าตนมีสิทธิดีกว่าโจทก์แต่ประการใด กรณีจึงต้องถือว่าจำเลยทั้งสามไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทดีไปกว่าโจทก์ คดีจึงสามารถวินิจฉัยชี้ขาดได้โดยไม่ต้องสืบพยานต่อไป การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งงดสืบพยานจึงชอบแล้ว แต่การที่ศาลล่างทั้งสองพิพากษาให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินพิพาทให้แก่โจทก์เพื่อดำเนินการแบ่งแยกนั้นประมวลกฎหมายที่ดินฯ มาตรา 78 และกฎกระทรวง ฉบับที่ 7(พ.ศ. 2497) ออกตามความในพระราชบัญญัติให้ใช้ประมวลกฎหมายที่ดินฯ กำหนดไว้แล้วว่าจะต้องดำเนินการอย่างไร ซึ่งโจทก์สามารถนำคำพิพากษาไปดำเนินการตามขั้นตอนได้อยู่แล้วโดยไม่จำต้องอาศัยคำสั่งศาลให้จำเลยทั้งสามส่งมอบโฉนดที่ดินให้แต่อย่างใดจึงต้องยกคำขอในส่วนนี้ ปัญหาดังกล่าวเป็นข้อกฎหมายเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้จำเลยทั้งสามมิได้ฎีกา ศาลฎีกาก็มีอำนาจหยิบยกขึ้นวินิจฉัยแก้ไขเสียให้ถูกต้องได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 142(5) ประกอบมาตรา 246และ 247

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2892/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลฎีกาถึงที่สุด ห้ามยื่นฎีกาคัดค้านซ้ำ องค์คณะครบถ้วนแม้ผู้พิพากษาบางคนย้าย
ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 20 วรรคสองบัญญัติไว้ว่า คดีใดซึ่งศาลฎีกาได้พิจารณาพิพากษาแล้วคู่ความหามีสิทธิที่จะทูลเกล้าฯ ถวายฎีกาคัดค้านคดีนั้นต่อไปอีกไม่ ดังนั้น คำพิพากษาศาลฎีกาในคดีนี้จึงเป็นอันถึงที่สุดแล้ว จะร้องคัดค้านหรือขอให้เพิกถอนหาได้ไม่ ผู้พิพากษาศาลฎีกาอีก 2 คนที่ได้ลงนามในต้นร่างคำพิพากษาแล้วแต่ได้เกษียณอายุราชการ 1 คน และย้ายไปดำรงตำแหน่งอื่น 1 คน ก่อนที่จะลงลายมือชื่อในคำพิพากษาดังบันทึกของประธานศาลฎีกาต่อท้ายคำพิพากษาศาลฎีกาดังกล่าวการที่องค์คณะผู้พิพากษาศาลฎีกาลงลายมือชื่อไว้ในต้นร่างคำพิพากษาย่อมแสดงแจ้งชัดแล้วว่าองค์คณะดังกล่าวมีความเห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษานั้น เมื่อประธานศาลฎีกาจดแจ้งเหตุที่พิพากษาคนนั้นมิได้ลงลายมือชื่อโดยอ้างถึงการลงลายมือชื่อในต้นร่างคำพิพากษาเป็นสำคัญ จึงเป็นการปฏิบัติตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 141 วรรคสองถือได้ว่ามีการร่วมปรึกษาครบองค์คณะตามกฎหมายและเป็นคำพิพากษาที่ชอบด้วยกฎหมายแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1734/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลของคำพิพากษาศาลฎีกาที่ขัดแย้งกับคำพิพากษาศาลอุทธรณ์และศาลชั้นต้น: สิทธิในการเรียกค่าเช่าและคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้า
โจทก์ฟ้องเรียกค่าเช่าค้างชำระจากจำเลย จำเลยให้การว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญาและฟ้องแย้งเรียกค่าเช่าล่วงหน้าคืน ศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามศาลชั้นต้นว่าจำเลยเป็นฝ่ายผิดสัญญาและให้จำเลยชำระค่าเช่าที่ค้าง เมื่อศาลฎีกาวินิจฉัยว่าโจทก์เป็นฝ่ายผิดสัญญา โจทก์จึงไม่มีสิทธิเรียกค่าเช่าตามฟ้องและไม่มีสิทธิรับเงินค่าเช่าล่วงหน้าของจำเลย เงินค่าเช่าล่วงหน้าดังกล่าวจำเลยได้ฟ้องแย้งเรียกคืนจากโจทก์และได้ฎีกาขึ้นมา แต่ศาลชั้นต้นไม่รับฎีกาในส่วนฟ้องแย้งจึงเป็นกรณีที่คำพิพากษาของสองศาลขัดกัน ต้องถือผลตามคำพิพากษาของศาลฎีกาโจทก์จึงต้องคืนเงินค่าเช่าล่วงหน้าให้แก่จำเลย ศาลฎีกาพิพากษาให้โจทก์คืนเงินค่าเช่าดังกล่าวแก่จำเลยได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7190/2538 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ระยะเวลาบังคับคดีตามคำพิพากษาเริ่มนับจากวันอ่านคำพิพากษาศาลฎีกา ไม่ใช่วันมีคำพิพากษาศาลชั้นต้น
ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271มิได้กล่าวได้โดยแจ้งว่า เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาชอบที่จะขอให้บังคับคดีตามคำพิพากษาได้ภายใน 10 ปีนับแต่วันที่มีคำพิพากษาของศาลใด แต่เมื่อมีการอุทธรณ์หรือฎีกา ผลของคำพิพากษาอาจจะเปลี่ยนแปลงคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือพิพากษาได้แล้วแต่กรณี กรณีที่มีการฎีการะยะเวลาการบังคับคดีก็ต้องนับจากวันที่ได้อ่านคำพิพากษาศาลฎีกา แม้ในชั้นฎีกาจำเลยไม่ได้ขอทุเลาการบังคับคดีและโจทก์มีสิทธิขอบังคับคดีได้ก็เป็นคนละเรื่องกับกำหนดเวลาในการบังคับคดี กำหนดเวลาในการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 271 เป็นเรื่องระยะเวลาที่เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาจะบังคับคดี แก่ลูกหนี้ตามคำพิพากษา ไม่ใช่เป็นการใช้สิทธิเรียกร้อง ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ กำหนดระยะเวลาดังกล่าว จึงไม่ใช่อายุความ ไม่อาจนำเรื่องการเริ่มนับอายุความ ตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 193/12 มาใช้บังคับได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2430/2538

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันโจทก์ หนี้สมยอมไม่มีอำนาจฟ้องคดีใหม่
ฟ้องโจทก์อ้างสิทธิการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทโดยคำพิพากษาตามยอม ขอให้เพิกถอนการได้มาซึ่งที่ดินพิพาทของจำเลยจากการซื้อทรัพย์ในการขายทอดตลาดซึ่งโจทก์เคยยื่นคำร้องคัดค้านการขายทอดตลาดที่ดินพิพาทของเจ้าพนักงานบังคับคดีและขอให้ศาลมีคำสั่งยกกระบวนวิธีการบังคับคดีทั้งปวงโดยอ้างเหตุผลเช่นเดียวกับคดีนี้มาแล้วถือว่าเป็นการฟ้องคดีอย่างหนึ่งเมื่อศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าหนี้ตามคำพิพากษาตามยอมเป็นหนี้สมยอมกันถือไม่ได้ว่าโจทก์เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาคำพิพากษาศาลฎีกาในคดีก่อนย่อมผูกพันโจทก์ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา145วรรคแรกโจทก์จึง ไม่มี อำนาจฟ้องคดีนี้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6382/2537

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ผลผูกพันคำพิพากษาศาลฎีกาต่อคู่ความและบุคคลภายนอก กรณีคดีมีมูลคดีเดียวกัน
คดีนี้เกี่ยวเนื่องกับคดีแพ่งอีกเรื่องหนึ่งซึ่งมีมูลคดีอย่างเดียวกัน ที่ดินพิพาทเป็นแปลงเดียวกัน และคู่ความทั้งหมดยกเว้นโจทก์ที่ 2 เป็นรายเดียวกัน ศาลฎีกาได้พิพากษาคดีดังกล่าวแล้ว โดยพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ คำพิพากษาดังกล่าวจึงผูกพันคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา 145 วรรคแรก โจทก์ที่ 1 ซึ่งเป็นจำเลยในคดีดังกล่าวจึงต้องถูกผูกพันด้วย ส่วนโจทก์ที่ 2 คดีนี้ถึงแม้คำพิพากษาจะไม่ผูกพันเพราะเป็นบุคคลภายนอก แต่การที่ศาลฎีกาพิพากษาว่าที่ดินพิพาทเป็นของโจทก์ ถือได้ว่าเป็นการวินิจฉัยถึงกรรมสิทธิ์แห่งที่ดินพิพาทเป็นคุณแก่โจทก์ และโจทก์ที่ 2 ก็ไม่ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าตนมีสิทธิดีกว่าคำพิพากษาศาลฎีกาจึงใช้ยันแก่โจทก์ที่ 2ได้ ตามมาตรา 145 วรรคสอง (2) เมื่อคำพิพากษาศาลฎีกาผูกพันโจทก์ที่ 1 และใช้ยันโจทก์ที่ 2 ได้เช่นนี้ โจทก์ทั้งสองย่อมไม่สามารถอ้างสิทธิใด ๆ ในที่ดินพิพาทได้ จึงไม่มีอำนาจฟ้อง
of 4