พบผลลัพธ์ทั้งหมด 497 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8492/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาในการพิจารณาคำร้องขอคืนของกลาง การปฏิบัติหน้าที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมาย
ศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลจังหวัดมีคำสั่งริบรถจักรยานยนต์ของกลาง เมื่อผู้ร้องยื่นคำขอคืนของกลางโดยอ้างว่าผู้ร้องเป็นเจ้าของรถจักรยานยนต์และผู้ร้องมิได้รู้เห็นเป็นใจด้วยในการกระทำความผิดของจำเลย ศาลชั้นต้นต้องมีผู้พิพากษาอย่างน้อยสองคนจึงเป็นองค์คณะในการสั่งคำร้องดังกล่าวตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 26 การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้องโดยผู้พิพากษาคนเดียวเป็นผู้พิจารณาพิพากษาคดีนั้นเป็นการไม่ชอบด้วยมาตรา 24 (2) และมาตรา 26 เนื่องจากเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีซึ่งไม่อยู่ในอำนาจของผู้พิพากษาคนเดียวที่จะออกคำสั่งได้ตาม มาตรา 25
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7603/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาต้องห้ามเนื่องจากทุนทรัพย์ไม่เกิน 200,000 บาท และการฟ้องซ้อนคำร้องขอให้พิจารณาใหม่
คดีนี้มีทุนทรัพย์ที่พิพาทกันไม่เกิน 200,000 บาท ต้องห้ามฎีกาในข้อเท็จจริงตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 248 วรรคหนึ่ง ซึ่งการฎีกาในข้อเท็จจริงเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ก็อยู่ในบังคับของบทบัญญัติดังกล่าวเช่นเดียวกัน ดังนั้น ฎีกาของจำเลยที่คัดค้านดุลพินิจของศาลล่างทั้งสองที่ไม่อนุญาตให้ขยายระยะเวลายื่นฎีกาในชั้นขอให้พิจารณาใหม่ซึ่งเป็นฎีกาในข้อเท็จจริง จึงต้องห้ามมิให้ฎีกาตามบทบัญญัติดังกล่าว
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำร้องขอให้พิจารณาใหม่ถือเป็นคำฟ้องตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) หลังจากศาลอุทธรณ์พิพากษายืนตามคำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 แล้ว จำเลยยื่นคำร้องขอขยายระยะเวลายื่นฎีกา แต่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้อง จำเลยอุทธรณ์คำสั่งและศาลชั้นต้นมีคำสั่งรับอุทธรณ์ กรณีถือว่าคดีเกี่ยวกับคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ของจำเลยฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม 2542 อยู่ในระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ การที่จำเลยยื่นคำร้องขอให้พิจารณาใหม่ฉบับลงวันที่ 22 ตุลาคม 2544 โดยอ้างเหตุเดิมอีกในระหว่างนั้น จึงเป็นการฟ้องเรื่องเดียวกันนั้นต่อศาลเดียวกัน เป็นฟ้องซ้อนต้องห้ามตามมาตรา 173 วรรคสอง (1) มิใช่เรื่องการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้อน
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7565/2548 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
เขตอำนาจศาลบังคับคดี: คำร้องรับชำระหนี้ต้องยื่นต่อศาลที่ออกหมายบังคับคดี (ศาลชั้นต้นที่พิจารณาคดี)
คำร้องของผู้ร้องที่ขอรับชำระหนี้จำนองจากเงินที่ขายทอดตลาดทรัพย์จำนองก่อนเจ้าหนี้อื่นตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 เป็นคำร้องที่เสนอเกี่ยวเนื่องกับการบังคับคดีตามคำพิพากษา ซึ่งจำต้องมีคำวินิจฉัยของศาลก่อนที่การบังคับคดีจะได้ดำเนินไปได้โดยครบถ้วนและถูกต้อง คำร้องเช่นนี้ มาตรา 7 (2) บัญญัติให้เสนอต่อศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีตามมาตรา 302 และศาลที่มีอำนาจในการบังคับคดีโดยมีอำนาจในการออกหมายบังคับคดีและทำคำวินิจฉัยชี้ขาดในเรื่องใดๆ อันเกี่ยวด้วยการบังคับคดีตามคำพิพากษานั้น มาตรา 302 วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า คือศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น ดังนั้น ศาลที่ออกหมายบังคับคดีตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 289 ย่อมหมายถึงศาลที่ได้พิจารณาและชี้ขาดตัดสินคดีในชั้นต้น และแม้มาตรา 15 วรรคสอง จะบัญญัติให้ศาลที่มีการบังคับคดีนอกเขตศาลที่ออกหมายบังคับคดีดำเนินไปเสมือนหนึ่งเป็นศาลที่บังคับคดีแทนตามมาตรา 32 วรรคสาม แต่ก็หาได้บัญญัติให้ถือเสมือนหนึ่งว่า ศาลที่บังคับคดีแทนเป็นศาลที่ออกหมายบังคับคดีแต่อย่างใดไม่ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องดังกล่าวต่อศาลที่บังคับคดีแทนจึงเป็นการไม่ชอบ
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 และให้ผู้ร้องไปดำเนินการที่ศาลที่มีอำนาจต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับหรือคืนคำร้องไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ จึงต้องคืนค่าคำร้องแก่ผู้ร้อง
คำสั่งศาลชั้นต้นที่ให้ยกคำร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 289 และให้ผู้ร้องไปดำเนินการที่ศาลที่มีอำนาจต่อไป มีผลเท่ากับเป็นการสั่งไม่รับหรือคืนคำร้องไปเพื่อยื่นต่อศาลที่มีเขตอำนาจ จึงต้องคืนค่าคำร้องแก่ผู้ร้อง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7341/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลที่ไม่รับคำร้องเรียกบุคคลภายนอกเข้าเป็นโจทก์ฟ้องแย้งร่วม เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณา ไม่อุทธรณ์ได้
การที่จำเลยซึ่งเป็นคู่ความยื่นคำร้องขอให้หมายเรียกธนาคาร ก. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกเข้าเป็นคู่ความในคดีคือเป็นโจทก์ฟ้องแย้งร่วม คำร้องของจำเลยดังกล่าวไม่มีลักษณะเป็นคำฟ้องหรือคำคู่ความตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 1 (3) และ (5) เมื่อศาลชั้นต้นสั่งยกคำร้องของจำเลยจึงไม่ใช่คำสั่งไม่รับหรือคืนคำคู่ความตามมาตรา 18 แต่เป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตามมาตรา 226
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5777/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถาต้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นพร้อมคำฟ้องฎีกา ไม่สามารถระบุในคำฟ้องได้
กรณีที่จำเลยที่ 1 มีความจำนงจะขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นฎีกา จำเลยที่ 1 จะต้องยื่นคำขอโดยทำเป็นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอฟ้องฎีกาอย่างคนอนาถามาพร้อมกับคำฟ้องฎีกาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 156 วรรคหนึ่ง จะขอมาในคำฟ้องฎีกาไม่ได้ เมื่อปรากฏว่าจำเลยที่ 1 ไม่ได้ยื่นคำร้องขอดังกล่าว คำขอของจำเลยที่ 1 ที่ขอมาในคำฟ้องฎีกาจึงไม่ชอบด้วยบทบัญญัติของกฎหมาย ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5642-5644/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอายัดทรัพย์และการเฉลี่ยทรัพย์: ระยะเวลาการยื่นคำร้องเริ่มนับเมื่อมีการจัดสรรเงิน
จำเลยที่ 1 เป็นลูกหนี้ตามคำพิพากษา 6 คดี รวมทั้งคดีของผู้ร้องทั้งสองและคดีของโจทก์คือคดีนี้ด้วยเมื่อจำเลยที่ 1 ไม่ชำระหนี้ เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทุกคดีต่างขอให้ดำเนินการบังคับคดี เจ้าพนักงานบังคับคดีในแต่ละคดีจึงขออายัดเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับจากองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยเพื่อนำมาชำระหนี้ตามคำพิพากษาโดยทำหนังสือแจ้งอายัดไปยังองค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยรวม 6 ฉบับ แต่เนื่องจากเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับมีเพียง 795,912.13 บาท องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยไม่สามารถส่งเงินตามจำนวนที่แจ้งอายัดได้ทุกคดี จึงส่งเงินที่จำเลยที่ 1 จะได้รับทั้งหมดไปให้กรมบังคับคดีคราวเดียวโดยชำระเป็นเช็คจำนวน 1 ฉบับ แต่มิได้ระบุว่าเงินจำนวนดังกล่าวส่งให้ตามหนังสือแจ้งอายัดในคดีใด ดังนั้น ในวันที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งเงินไปให้กรมบังคับคดีนั้น เจ้าหนี้ตามคำพิพากษาทุกคดีย่อมไม่อาจทราบได้ว่าจะมีการส่งเงินที่แจ้งอายัดเข้ามาในคดีใดบ้าง จำนวนเท่าใด และจะต้องไปขอเฉลี่ยเงินดังกล่าวในคดีอื่นหรือไม่ เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดสรรเงินให้ตามหนังสือแจ้งอายัดในคดีหมายเลขแดงที่ ย.711/2544 และคดีของโจทก์คดีนี้แล้ว ผู้ร้องทั้งสองจึงทราบว่าคดีของผู้ร้องทั้งสองไม่มีการส่งเงินให้ตามที่แจ้งอายัดไว้ จึงต้องมายื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินในคดีนี้ กรณีต้องถือว่าเงินที่แจ้งอายัดไว้ส่งเข้ามาในคดีนี้เมื่อเจ้าพนักงานบังคับคดีจัดสรรเงินจำนวน 474,087.25 บาท ให้เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2545 ระยะเวลาที่กำหนดไว้ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 290 วรรคห้า ให้เจ้าหนี้ตามคำพิพากษายื่นคำร้องขอเฉลี่ยทรัพย์ภายใน 14 วัน นับแต่วันชำระเงินหรือส่งทรัพย์สินตามที่อายัดไว้จึงเริ่มนับแต่วันดังกล่าว หาใช่เริ่มนับตั้งแต่วันที่องค์การโทรศัพท์แห่งประเทศไทยส่งเงินที่อายัดไปให้บังคับคดีไม่ เมื่อผู้ร้องทั้งสองยื่นคำร้องขอเฉลี่ยเงินในคดีนี้เมื่อวันที่ 23 และ 30 กรกฎาคม 2545 จึงเป็นการยื่นคำร้องขอภายในเวลาที่กฎหมายกำหนด
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม และในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนผู้ร้องทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความรวม 3,000 บาท ก็ไม่ถูกต้อง เพราะแม้คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลจะสั่งให้พิจารณารวมกัน แต่การสั่งค่าฤชาธรรมเนียมต้องพิจารณาสั่งแยกเป็นรายสำนวน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 161 กำหนดให้ศาลต้องสั่งค่าฤชาธรรมเนียม แต่ปรากฏว่าศาลชั้นต้นยังมิได้สั่งเรื่องค่าฤชาธรรมเนียม และในชั้นอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์พิพากษาให้โจทก์ใช้ค่าฤชาธรรมเนียมชั้นอุทธรณ์แทนผู้ร้องทั้งสอง โดยกำหนดค่าทนายความรวม 3,000 บาท ก็ไม่ถูกต้อง เพราะแม้คดีทั้งสามสำนวนนี้ ศาลจะสั่งให้พิจารณารวมกัน แต่การสั่งค่าฤชาธรรมเนียมต้องพิจารณาสั่งแยกเป็นรายสำนวน ศาลฎีกาแก้ไขให้ถูกต้องได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4813/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ภูมิลำเนาและอำนาจศาล: การพิจารณาคำร้องพิสูจน์สัญชาติในเขตอำนาจศาลที่ถูกต้อง
ผู้ร้องเคยถูกฟ้องที่ศาลจังหวัดเชียงใหม่ คำฟ้องระบุว่าผู้ร้องอยู่บ้านเลขที่ 155 หมู่ 1 ตำบลเวียงกาหลง อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ศาลจังหวัดเชียงรายพิพากษาลงโทษผู้ร้องจำคุก 2 ปี ผู้ร้องถูกอายัดตัวมาดำเนินคดีที่จังหวัดนครปฐม ไม่ใช่ผู้ร้องสมัครใจมายึดถิ่นที่อยู่เป็นแหล่งสำคัญที่จังหวัดนครปฐม และผู้ร้องมิได้ประกอบอาชีพใดเป็นกิจลักษณะที่จังหวัดนครปฐมที่จะถือว่าเป็นแหล่งสำคัญของถิ่นที่อยู่ การที่ผู้ร้องถูกฟ้องที่ศาลจังหวัดนครปฐมแต่ได้รับการปล่อยชั่วคราว ก็ไม่ใช่กรณีถูกจำคุกตามคำพิพากษาถึงที่สุดของศาลหรือตามคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมาย ที่จะถือว่าเรือนจำจังหวัดนครปฐมเป็นภูมิลำเนาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 47 ผู้ร้องจึงไม่มีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดนครปฐม
ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเชียงราย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลจังหวัดนครปฐม อ้างว่าเป็นคนสัญชาติไทยเกิดที่จังหวัดเชียงราย ผู้ร้องถูกกล่าวหาว่าไม่มีสัญชาติไทยและถูกดำเนินคดีที่จังหวัดเชียงรายก่อน แสดงว่ามูลคดีอาญาของผู้ร้องเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2) ให้ผู้ร้องเสนอคำร้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดหรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลซึ่งก็คือศาลจังหวัดเชียงราย ไม่ใช่ศาลจังหวัดนครปฐม
ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่จังหวัดเชียงราย ผู้ร้องยื่นคำร้องขอพิสูจน์สัญชาติต่อศาลจังหวัดนครปฐม อ้างว่าเป็นคนสัญชาติไทยเกิดที่จังหวัดเชียงราย ผู้ร้องถูกกล่าวหาว่าไม่มีสัญชาติไทยและถูกดำเนินคดีที่จังหวัดเชียงรายก่อน แสดงว่ามูลคดีอาญาของผู้ร้องเกิดขึ้นที่จังหวัดเชียงราย ซึ่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 4 (2) ให้ผู้ร้องเสนอคำร้องต่อศาลที่มูลคดีเกิดหรือต่อศาลที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ในเขตศาลซึ่งก็คือศาลจังหวัดเชียงราย ไม่ใช่ศาลจังหวัดนครปฐม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4111/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกา: ต้องส่งสำเนาคำร้องและคำฟ้องให้จำเลยเพื่อคัดค้าน
โจทก์ยื่นคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์ปัญหาข้อกฎหมายโดยตรงต่อศาลฎีกาพร้อมกับคำฟ้องอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 223 ทวิ ศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคำร้องของโจทก์ว่า "สั่งในอุทธรณ์" และมีคำสั่งในคำฟ้องอุทธรณ์ว่า "รับอุทธรณ์รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกาตามที่โจทก์ขอ" ถือได้ว่าศาลชั้นต้นอนุญาตให้โจทก์อุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแล้ว แต่ศาลชั้นต้นมิได้ส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์เพื่อให้มีโอกาสคัดค้านคำร้องก่อน จึงเป็นการไม่ชอบ การที่ศาลชั้นต้นยกฟ้องโจทก์ในชั้นตรวจคำฟ้องเพราะเห็นว่าโจทก์ไม่มีสิทธิฟ้องร้องบังคับให้จำเลยปฏิบัติตามสัญญาไม่เป็นข้อยกเว้นให้ไม่ต้องส่งสำเนาคำฟ้องอุทธรณ์และสำเนาคำร้องขออนุญาตอุทธรณ์โดยตรงต่อศาลฎีกาแก่จำเลยอุทธรณ์
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3292/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การรื้อฟื้นคดีอาญา: หลักเกณฑ์การพิจารณาคำร้อง, อำนาจศาล, และพยานหลักฐานใหม่
การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ตาม พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มีขั้นตอนการดำเนินคดีในศาลอยู่ 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนแรกเป็นการตรวจคำร้อง ขั้นตอนที่สองเป็นการไต่สวนคำร้อง และขั้นตอนที่สามเป็นการพิจารณาเนื้อหาของคำร้อง โดยมาตรา 8 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ ให้ผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นที่ได้พิจารณาคดีนั้น และมาตรา 16 ให้นำบทบัญญัติว่าด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความอาญา กฎหมายว่าด้วยพิจารณาความอาญาในศาลแขวง กฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเด็กและเยาวชน (ปัจจุบันเป็นกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว) และกฎหมายว่าด้วยธรรมนูญศาลทหารมาใช้บังคับแก่การพิจารณาพิพากษาคดีตาม พ.ร.บ. นี้ โดยอนุโลม ดังนั้น การตรวจคำร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ จึงต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ใน ป.วิ.อ. มาตรา 161 โดยคำร้องต้องอ้างเหตุตามที่ระบุไว้ในมาตรา 5 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ ซึ่งศาลชั้นต้นต้องตรวจคำร้องของจำเลย (ผู้ร้อง) ว่า ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ หากคำร้องของจำเลย (ผู้ร้อง) ไม่ปรากฏเหตุที่จะร้องขอให้รื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาพิพากษาใหม่ได้จะไม่ทำการไต่สวนคำร้องก็ได้ แต่การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง โดยมิได้ทำความเห็นไปยังศาลอุทธรณ์ภาค 1 เพื่อให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 มีคำสั่ง ไม่ชอบด้วย พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ มาตรา 10 เพราะอำนาจในการมีคำสั่งตามคำร้องในคดีนี้เป็นอำนาจของศาลอุทธรณ์ภาค 1 และแม้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 พิพากษายกคำสั่งของศาลชั้นต้น กับให้ศาลชั้นต้นรับคำร้องของผู้ร้อง และให้ไต่สวนคำร้องต่อไปโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 10 แห่ง พ.ร.บ.การรื้อฟื้นคดีอาญาขึ้นพิจารณาใหม่ฯ ก็ตาม แต่เมื่อคดีขึ้นสู่การพิจารณาของศาลฎีกาแล้ว ศาลฎีกาย่อมมีอำนาจที่จะพิจารณาคำร้องและมีคำสั่งยกคำร้องของจำเลย (ผู้ร้อง) ได้โดยไม่ต้องย้อนสำนวนไปให้ศาลอุทธรณ์ภาค 1 และศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2959/2548
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ ต้องสาบานตัวตามกฎหมาย มิฉะนั้นศาลมีอำนาจยกคำร้อง
โจทก์ยื่นอุทธรณ์พร้อมยื่นคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาชั้นอุทธรณ์ แต่โจทก์มิได้สาบานตัวภายในระยะเวลาที่ศาลชั้นต้นกำหนด ศาลชั้นต้นจึงมีคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถา โจทก์อุทธรณ์คำสั่ง ศาลอุทธรณ์ภาค 9 วินิจฉัยว่า แม้โจทก์เคยได้รับอนุญาตให้ดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในศาลชั้นต้น แต่อุทธรณ์ของโจทก์เป็นคำฟ้องอุทธรณ์ เมื่อโจทก์ขอดำเนินคดีชั้นอุทธรณ์อย่างคนอนาถา โจทก์จึงต้องสาบานตัว ตามบทบัญญัติประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคหนึ่ง คำสั่งของศาลชั้นต้นชอบแล้ว ให้ยกคำร้องขออุทธรณ์อย่างคนอนาถาของโจทก์ คำสั่งศาลอุทธรณ์ภาค 9 เป็นคำสั่งยกคำร้องขอดำเนินคดีอย่างคนอนาถาในชั้นอุทธรณ์ จึงเป็นที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 156 วรรคท้าย ศาลชั้นต้นรับฎีกาของโจทก์มาเป็นการไม่ชอบ ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย