พบผลลัพธ์ทั้งหมด 16 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5530/2539 เวอร์ชัน 3 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำต้องห้าม: คำฟ้องบังคับจำนองซ้ำกับคำร้องขอในคดีอื่น
การที่โจทก์ยื่นคำร้องขอต่อศาลในคดีแพ่งเรื่องอื่นให้เอาเงินที่ได้จากการขายทอดตลาดทรัพย์ของจำเลยซึ่งจดทะเบียนจำนองไว้แก่โจทก์มาชำระหนี้ให้แก่โจทก์ก่อนเจ้าหนี้อื่น ๆ ย่อมเป็นคำฟ้องที่ขอให้บังคับจำนองโดยอาศัยบุริมสิทธิของเจ้าหนี้ผู้รับจำนองด้วยวิธีการเป็นพิเศษตามที่บัญญัติไว้ใน ป.วิ.พ. มาตรา 289ดังนั้น คู่ความในคดีดังกล่าวกับคดีนี้จึงเป็นคู่ความรายเดียวกัน และเมื่อคำสั่งของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้โจทก์ได้รับชำระหนี้ในคดีดังกล่าวก่อนเจ้าหนี้อื่นนั้นถึงที่สุดแล้วและมูลหนี้กับหลักประกันคือสัญญาจำนองที่โจทก์นำมาฟ้องคดีนี้ก็เป็นประเด็นที่ศาลจะต้องวินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคำร้องขอของโจทก์ในคดีดังกล่าว ฟ้องโจทก์จึงเป็นฟ้องซ้ำต้องห้ามตามมาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6172/2538 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวในคดีไม่มีข้อพิพาทต้องมีกฎหมายรองรับ การขอคืนรถยนต์ที่ยึดจากอุบัติเหตุต้องฟ้องเป็นคดีมีข้อพิพาท
บุคคลใดจะยื่นคำร้องขอต่อศาลโดยทำเป็นคำร้องขอฝ่ายเดียวเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 ได้นั้น จะต้องเป็นกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้อำนาจไว้ การยื่นคำร้องขอของผู้ร้องที่ขอให้ศาลมีคำสั่งให้พนักงานสอบสวนคืนรถยนต์พิพาทที่ถูกยึดไว้ในคดีที่รถยนต์พิพาทเกิดอุบัติเหตุเพื่อประกอบคดีนั้นไม่มีกฎหมายใดสนับสนุนให้ผู้ร้องยื่นคำร้องขอฝ่ายเดียวเป็นคดีไม่มีข้อพิพาทได้ หากผู้ร้องถูกโต้แย้งสิทธิหรือหน้าที่เกี่ยวกับรถยนต์พิพาทประการใด ผู้ร้องก็ชอบที่จะเสนอคดีของตนต่อศาลส่วนแพ่งที่มีเขตอำนาจได้ โดยเป็นโจทก์ยื่นฟ้องอย่างคดีมีข้อพิพาทตามป.วิ.พ. มาตรา 55 ผู้ร้องไม่มีสิทธิยื่นคำร้องขอต่อศาลอย่างคดีไม่มีข้อพิพาท
เมื่อผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ ผู้ร้องย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอ แม้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ก็ไม่สามารถดำเนินคดีต่อไปอย่างคดีที่มีข้อพิพาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ได้
เมื่อผู้ร้องไม่อาจใช้สิทธิทางศาลได้ ผู้ร้องย่อมไม่มีอำนาจยื่นคำร้องขอ แม้ผู้คัดค้านจะยื่นคำคัดค้านเข้ามาในคดี ก็ไม่สามารถดำเนินคดีต่อไปอย่างคดีที่มีข้อพิพาท ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 188 (4) ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3405/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาชี้การวินิจฉัยข้อเท็จจริงในคดีครอบครองปรปักษ์ ไม่ถือเป็นการพิพากษาเกินคำร้องขอ
แม้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 จะพิพากษาให้ผู้คัดค้านทั้งหกชนะคดีแต่ผู้คัดค้านทั้งหกฎีกาคัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2 ว่าพิพากษาเกินคำร้องขอของผู้ร้อง ซึ่งไม่มีผลผูกพันผู้คัดค้านทั้งหก ฎีกาของผู้คัดค้านทั้งหกจึงเป็นฎีกาที่คัดค้านคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 2ว่าพิพากษาไม่ถูกต้องตรงตามประเด็นและผลของคำพิพากษาทำให้เสียสิทธิของผู้คัดค้านทั้งหก ผู้คัดค้านทั้งหกจึงมีสิทธิฎีกาได้ ผู้ร้องยื่นคำร้องขอตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382ขอให้ศาลมีคำสั่งแสดงว่าที่พิพาทเป็นของผู้ร้อง ผู้คัดค้านทั้งหกคัดค้านว่า ที่ดินพิพาทเป็นของผู้คัดค้านทั้งหกมิใช่เป็นของผู้ร้องผู้ร้องเป็นเพียงผู้อาศัย คดีจึงมีประเด็นข้อพิพาทเพียงว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ในที่ดินพิพาทโดยการครอบครองหรือไม่ การที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 ฟังข้อเท็จจริงไปด้วยว่าที่ดินพิพาทฟังไม่ได้ว่าห.ได้ยกให้ท. กับ ล.และมิได้ครอบครองจนได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองปรปักษ์ ที่ดินพิพาทจึงเป็นมรดกของ ห. ตกทอดได้แก่ทายาทรวมทั้งผู้ร้องและผู้คัดค้านที่ 1 ถึงที่ 4 และส.ซึ่งเป็นบุตรของ ท.ซึ่งมีสิทธิเข้ารับมรดกแทนที่ ผู้ร้องจึงไม่ได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 1382 คำพิพากษาของศาลอุทธรณ์ในส่วนที่ฟังข้อเท็จจริงดังกล่าวเป็นการวินิจฉัยพยานหลักฐานของผู้คัดค้านทั้งหกที่นำสืบหักล้างพยานหลักฐานของผู้ร้อง อันเป็นการฟังข้อเท็จจริงจากพยานหลักฐานในคดีประกอบเพื่อนำไปสู่การวินิจฉัยในประเด็นข้อพิพาทแห่งคดีนั้น หาใช่เป็นการที่ศาลอุทธรณ์ภาค 2 พิพากษาเกินคำร้องขอของผู้ร้องไม่ เมื่อคำวินิจฉัยในส่วนนี้มิใช่การฟังข้อเท็จจริงในประเด็นข้อพิพาทโดยตรงแล้วย่อมไม่มีผลผูกพันผู้คัดค้านทั้งหกตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 145 ผู้คัดค้านทั้งหกอุทธรณ์และฎีกาโดยเพียงแต่มีคำขอให้ศาลอุทธรณ์ภาค 2 และศาลฎีกาพิพากษาว่าคำพิพากษาของศาลชั้นต้นบางส่วนไม่มีผลผูกพันผู้คัดค้านทั้งหก ไม่ได้ขอให้ผู้คัดค้านทั้งหกชนะคดีโดยเห็นด้วยในผลของคำพิพากษาที่ให้ยกคำร้องขอของผู้ร้องจึงเป็นอุทธรณ์และฎีกาที่มีคำขอให้ปลดเปลื้องทุกข์อันไม่อาจคำนวณเป็นราคาเงินได้ ต้องเสียค่าขึ้นศาลอย่างคดีไม่มีทุนทรัพย์ตามตาราง 1 ท้าย ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง ข้อ (3)(ก)
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 125/2526 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
องค์คณะผู้พิพากษาคดีขัดทรัพย์: การพิจารณาคำร้องขอต้องมีองค์คณะตามกฎหมาย
คดีร้องขัดทรัพย์ซึ่งมีทุนทรัพย์เกินกว่าห้าหมื่นบาท ผู้พิพากษานายเดียวตรวจคำร้องขอแล้วมีคำสั่งยกคำร้องขอ เป็นการไม่ชอบด้วยพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 21(2) เพราะเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดข้อพิพาทแห่งคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 131(2) และเป็นกรณีที่ต้องมีผู้พิพากษาเป็นองค์คณะพิจารณาพิพากษาอย่างน้อยสองนาย ตามพระธรรมนูญศาลยุติธรรม มาตรา 22, 23 เมื่อศาลชั้นต้นมิได้ปฏิบัติให้ถูกต้องตามกฎหมาย ศาลอุทธรณ์ยังไม่มีอำนาจพิจารณาพิพากษา ศาลฎีกาพิพากษายกคำสั่งศาลชั้นต้นและคำพิพากษาศาลอุทธรณ์ โดยให้ศาลชั้นต้นดำเนินการให้ถูกต้องโดยให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งใหม่ให้มีผู้พิพากษาครบองค์คณะ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1904/2559
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลในการพิจารณาคำร้องขอเพิ่มเติมหลังมีคำสั่งแต่งตั้งผู้อนุบาล และการฟ้องร้องดำเนินคดีแยกต่างหาก
แม้ ป.วิ.พ. ลักษณะ 2 ศาล หมวด 1 เขตอำนาจศาลได้บัญญัติเกี่ยวกับคำฟ้องหรือคำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีที่ค้างพิจารณาอยู่ในศาลว่าให้ฟ้องหรือร้องขอเข้ามาในคดีเดิมได้ตามมาตรา 7 (1) แต่คดีนี้เป็นคดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอว่า ช. และ ซ. เป็นคนไร้ความสามารถ ขอให้สั่งให้เป็นคนไร้ความสามารถ และตั้งผู้ร้องเป็นผู้อนุบาล มีผู้คัดค้านและผู้ร้องสอดต่างขอให้ตั้งตนเป็นผู้อนุบาลด้วย ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้ ช. และ ซ. เป็นคนไร้ความสามารถ และตั้งผู้ร้อง ผู้คัดค้านและผู้ร้องสอดเป็นผู้อนุบาลร่วมกัน การที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอให้บังคับ ศ. ซึ่งเป็นผู้ดูแลและรักษาเงินรายได้ของ ซ. ให้ส่งมอบเงินให้ ซ. โดย ศ. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอกและไม่ได้เป็นคู่ความในคดีและไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับความเป็นผู้อนุบาลแต่อย่างใดว่าไม่ยอมส่งมอบเงินรายได้ของคนไร้ความสามารถ อันเป็นการโต้แย้งสิทธิของผู้ร้องตาม ป.วิ.พ. มาตรา 55 นั้น ชอบที่ผู้ร้องซึ่งเป็นผู้อนุบาลจะไปฟ้องร้องดำเนินคดีกับ ศ. เป็นอีกคดีต่างหาก คำร้องขอของผู้ร้องจึงไม่ใช่คำร้องขอที่เสนอภายหลังเกี่ยวเนื่องกับคดีนี้ตามบทบัญญัติมาตรา 7 (1) ผู้ร้องไม่อาจยื่นคำร้องขอในคดีนี้ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 10878/2554
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การขยายเวลาการยื่นคำร้องขอเพิกถอนคำชี้ขาดอนุญาโตตุลาการ: การใช้ดุลพินิจของศาลเพื่อประโยชน์แห่งความยุติธรรม
ผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้ศาลเพิกถอนคำชี้ขาดของคณะอนุญาโตตุลาการครั้งแรกต่อศาลแพ่งภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับสำเนาคำชี้ขาดตาม พ.ร.บ.อนุญาโตตุลาการ พ.ศ.2545 มาตรา 40 วรรคสอง และเป็นการยื่นคำร้องภายในกำหนดเวลา 3 ปี นับแต่วันที่อาจบังคับตามคำชี้ขาดได้ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แล้ว ศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดี ต่อมาผู้ร้องยื่นคำร้องขอให้เพิกถอนคำชี้ขาดอีกครั้งต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ซึ่งยังไม่ล่วงเลยระยะเวลา 3 ปี ตามมาตรา 42 วรรคหนึ่ง แต่ล่วงเลยระยะเวลา 90 วัน ตามมาตรา 40 วรรคสอง ดังกล่าวแล้ว ซึ่งเป็นกรณีที่ต้องยื่นคำฟ้องหรือคำร้องขออีกครั้งเพราะเหตุที่การยื่นครั้งแรกมีข้อบกพร่องในเรื่องอำนาจศาลถือว่าข้อบกพร่องในการยื่นคำร้องขอแต่แรกต่อศาลหนึ่งแต่ในที่สุดศาลนั้นไม่รับคำร้องขอ เพราะคดีไม่อยู่ในอำนาจศาลนั้นจนต้องยื่นคำร้องขออีกครั้งหนึ่งต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีนั้น ไม่เป็นเหตุให้ผู้ร้องขอต้องเสื่อมเสียสิทธิ นอกจากนี้กำหนดระยะเวลาเช่นนี้ก็เป็นกำหนดระยะเวลาที่ศาลมีอำนาจที่จะสั่งให้ขยายได้ตามหลักเกณฑ์ ป.วิ.พ. มาตรา 23 หรือ พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 37 ด้วย เมื่อปรากฏว่าผู้ร้องยื่นคำร้องต่อศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง ภายหลังศาลแพ่งมีคำสั่งจำหน่ายคดีที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอฉบับแรกเพียง 60 วัน แสดงให้เห็นว่า ผู้ร้องยังประสงค์จะขอให้ศาลพิจารณาพิพากษาตามคำร้องขอของผู้ร้องอยู่ และจำเป็นต้องทำคำร้องขอยื่นใหม่ต่อศาลที่มีอำนาจพิจารณาพิพากษาภายในเวลาพอสมควร อันเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาไปตามความจำเป็นโดยสุจริต จึงมีเหตุสมควรอย่างยิ่งที่ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศกลาง จะใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่ง พ.ร.บ.จัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศและวิธีพิจารณาคดีทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ พ.ศ.2539 มาตรา 37 ประกอบมาตรา 26 และ ป.วิ.พ. มาตรา 23 สั่งให้ขยายกำหนดระยะเวลาการยื่นคำร้องขอ