พบผลลัพธ์ทั้งหมด 140 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1957/2546
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
แก้ไขคำพิพากษาเรื่องดอกเบี้ยผิดนัด: การแก้ไขต้นเงินคำนวณดอกเบี้ยให้ตรงกับเหตุผลในคำวินิจฉัยศาล ถือเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดเล็กน้อย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งแก้ไขคำพิพากษาตามคำร้องของจำเลยจากการให้จำเลยชำระเงิน 5,267,594.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี นับแต่วันที่ 22มีนาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์ เป็นให้จำเลยชำระเงิน 5,267,594.91 บาท พร้อมดอกเบี้ยอัตราร้อยละ 7.5 ต่อปี จากต้นเงิน 4,627,729.55บาท นับแต่วันที่ 22 มีนาคม 2542 เป็นต้นไปจนกว่าจะชำระเสร็จแก่โจทก์นั้น เป็นการแก้ไขเพื่อให้ถูกต้องตรงกับเหตุผลแห่งคำวินิจฉัยของศาลชั้นต้นที่กล่าวไว้ในคำพิพากษาว่าจำเลยต้องรับผิดชำระดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดของต้นเงินค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับ เมื่อคิดถึงวันฟ้องแล้วรวมเป็นเงิน 5,267,594.91 บาท จำนวนเงินดังกล่าวจึงเป็นยอดรวมของค่าสินค้ากับดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดถึงวันฟ้อง ทั้งเมื่อรวมค่าสินค้าตามใบแจ้งหนี้แต่ละฉบับเข้าด้วยกันแล้วจะได้เท่ากับ 4,627,729.55 บาท ตรงกับต้นเงินที่จำเลยต้องรับผิดพร้อมดอกเบี้ยระหว่างผิดนัดนับแต่วันฟ้องจนกว่าจะชำระเสร็จ ดังนั้นคำสั่งของศาลชั้นต้นที่แก้ไขคำพิพากษาดังกล่าวจึงเป็นการแก้ไขข้อผิดพลาดหรือข้อผิดหลงเล็กน้อยตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 143 วรรคหนึ่ง กรณีมิใช่เป็นการทำคำสั่งซึ่งเป็นการกลับหรือแก้คำวินิจฉัยในคำพิพากษาเดิม
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3647/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สถานะสมาชิกสมาคมแรงงานเมื่อถูกไล่ออกแล้วกลับเข้าทำงาน: คำวินิจฉัยการเพิกถอนคำสั่งที่ถูกต้อง
แม้โจทก์จะถูกคำสั่งลงโทษไล่ออกจากการเป็นลูกจ้างของบริษัท ก. แต่โจทก์ได้อุทธรณ์คำสั่ง คำสั่งลงโทษไล่ออกจึงยังไม่เป็นที่สุด จนกว่าจะมีคำวินิจฉัยของกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ซึ่งต่อมาบริษัท ก. ได้มีคำสั่งให้ยกเลิกคำสั่งลงโทษไล่ออกดังกล่าวโดยลงโทษโจทก์ด้วยการตัดเงินเดือนและให้โจทก์กลับเข้าทำงานตามปกติโดยนับอายุงานต่อเนื่อง รวมทั้งวันที่โจทก์ได้หยุดงานไปในระหว่างถูกไล่ออกด้วย จึงถือได้ว่าโจทก์ถูกลงโทษเพียงตัดเงินเดือนมิได้ถูกลงโทษไล่ออก โจทก์จึงไม่ขาดคุณสมบัติหรือพ้นสภาพจากการเป็นสมาชิกและกรรมการของสมาคมหรือสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจการบินไทย
จำเลยเป็นนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมดังกล่าว เมื่อจำเลยใช้อำนาจของนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยและยืนยันว่าการใช้อำนาจดังกล่าวถูกต้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยได้
จำเลยเป็นนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ โจทก์เป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมดังกล่าว เมื่อจำเลยใช้อำนาจของนายทะเบียนสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจ จำหน่ายชื่อโจทก์ออกจากการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยและยืนยันว่าการใช้อำนาจดังกล่าวถูกต้อง การกระทำของจำเลยจึงเป็นการโต้แย้งสิทธิการเป็นสมาชิกและกรรมการสมาคมพนักงานรัฐวิสาหกิจการบินไทยของโจทก์แล้ว โจทก์จึงมีอำนาจฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2545 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การยื่นฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้า: ไม่มีกำหนดระยะเวลา 90 วันในการฟ้อง
การฟ้องคดีขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้ายืนตามคำสั่งของนายทะเบียน การใช้สิทธิทางศาล ในกรณี เช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดใน พ.ร.บ. เครื่องหมายการค้า พ.ศ. 2534 หรือในกฎหมายอื่นใด บัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดี ภายใน 90 วัน นับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า ดังนั้นโจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องภายหลังกำหนดดังกล่าวได้โดยไม่จำเป็นต้องยื่นคำร้องขอให้ศาลขยายกำหนดระยะเวลาให้แต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3542/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิฟ้องคดีเพิกถอนคำวินิจฉัยเครื่องหมายการค้า ไม่จำกัดระยะเวลา และการยื่นคำฟ้องเกินเวลาทำการ
แม้คำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าที่ปฏิเสธไม่รับจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของโจทก์ยืนตามคำสั่งของนายทะเบียนจะเป็นที่สุดตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ มาตรา 18 วรรคหนึ่ง แต่โจทก์ก็มีสิทธินำคดีมาฟ้องต่อศาลเพื่อขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยนั้นได้ หากเป็นคำวินิจฉัยที่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย และการใช้สิทธิทางศาลในกรณีเช่นนี้ ไม่มีบทบัญญัติใดในพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ หรือในกฎหมายอื่นใดบัญญัติให้โจทก์ต้องใช้สิทธิทางศาลหรือฟ้องคดีภายใน 90 วันนับแต่วันทราบคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า โจทก์ย่อมมีสิทธิยื่นฟ้องคดีนี้โดยไม่จำต้อง ขอให้ศาลขยายกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำฟ้องแต่อย่างใด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3200/2545 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
สิทธิภาษีมูลค่าเพิ่ม 7% คำวินิจฉัยอธิบดีกรมสรรพากรเป็นเพียงขั้นตอนเบื้องต้น โจทก์มีสิทธิฟ้องร้องต่อศาลได้
ประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการ ที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2540 ข้อ 4 ระบุว่า ในกรณีที่มีปัญหา ในการปฏิบัติและการวินิจฉัยตามประกาศนี้ ให้อธิบดีมีอำนาจวินิจฉัยและคำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุดนั้น แม้ประกาศดังกล่าวออกโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย แต่กฎหมายที่ให้อำนาจในการออกประกาศฉบับนี้มิได้บัญญัติให้อำนาจอธิบดีกรมสรรพากรที่จะออกประกาศกำหนดว่า ถ้ามีปัญหาในการปฏิบัติและอธิบดีมีคำวินิจฉัยแล้ว ให้ถือเป็นที่สุด ฟ้องร้องต่อศาลไม่ได้ ดังนั้น คำว่า "คำวินิจฉัยของอธิบดีให้ถือเป็นที่สุด" ตามประกาศอธิบดีกรมสรรพากรฉบับดังกล่าวจึงมีความหมายเพียงว่า เป็นที่สุดในขั้นตอนการปฏิบัติงานในชั้นวินิจฉัยว่า ผู้ประกอบการที่ยื่นคำขอรับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป ได้รับสิทธินั้นหรือไม่เท่านั้น เพื่อจะได้ดำเนินการตามขั้นตอนอื่นต่อไป ดังนั้นเมื่อคำวินิจฉัยของอธิบดีกรมสรรพากรเป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ย่อมมีอำนาจฟ้องคดีต่อศาลได้
บันทึกข้อตกลงท้ายสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม แต่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 มิใช่สัญญาที่ได้มีการทำสัญญาก่อน วันที่ 16 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ ส่วนบันทึกข้อตกลงโครงการคอนโดมิเนียมทำขึ้นหลังพ้นกำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างทั้งสองฉบับ ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างฉบับเดิม สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแตกต่างไปจากเดิมมาก บันทึกข้อตกลงฉบับนี้จึงเป็นสัญญาที่โจทก์และบริษัท ม. ทำขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม มิใช่สัญญาที่ได้มีการทำสัญญาก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อ 1(3) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 7 ต่อไป ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป
บันทึกข้อตกลงท้ายสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างเป็นสัญญาที่ทำขึ้นเพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม แม้จะระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาเดิม แต่ทำขึ้นเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2540 มิใช่สัญญาที่ได้มีการทำสัญญาก่อน วันที่ 16 สิงหาคม 2540 ซึ่งเป็นวันที่ พ.ร.ฎ. ออกตามความใน ป.รัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่ม (ฉบับที่ 309) พ.ศ. 2540 ใช้บังคับ ส่วนบันทึกข้อตกลงโครงการคอนโดมิเนียมทำขึ้นหลังพ้นกำหนดเวลาทำงานให้แล้วเสร็จตามสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างทั้งสองฉบับ ไม่มีข้อความระบุว่าเป็นส่วนหนึ่งของสัญญาจ้างเหมางานก่อสร้างฉบับเดิม สิทธิและหน้าที่ของคู่สัญญาแตกต่างไปจากเดิมมาก บันทึกข้อตกลงฉบับนี้จึงเป็นสัญญาที่โจทก์และบริษัท ม. ทำขึ้น เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2541 เพื่อเปลี่ยนแปลงแก้ไขข้อตกลงตามสัญญาเดิม มิใช่สัญญาที่ได้มีการทำสัญญาก่อนวันที่ 16 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงมิใช่ผู้ประกอบการภายใต้เงื่อนไขที่ระบุไว้ในข้อ 1(3) แห่งประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการขายสินค้าหรือการให้บริการที่จะได้รับสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตรา ร้อยละ 7 ต่อไป ลงวันที่ 13 สิงหาคม 2540 โจทก์จึงไม่มีสิทธิเสียภาษีมูลค่าเพิ่มในอัตราร้อยละ 7 ต่อไป
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2544 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน: จำเลยคือคณะกรรมการในฐานะตำแหน่งหน้าที่
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกระทำในรูปคณะบุคคลอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตาม พ.ร.บ.เงินทดแทน พ.ศ.2537 แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก็มีผลผูกพันกรรมการทุกคนไม่ว่าจะได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาวินิจฉัยด้วยหรือไม่ ดังนั้น การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในฐานะส่วนตัวแต่เป็นการฟ้องในทางตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทั้งคณะจึงถูกฟ้องเป็นจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1470/2544
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องเพิกถอนคำวินิจฉัยคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทน การฟ้องเป็นคณะบุคคล และอำนาจฟ้อง
การพิจารณาวินิจฉัยอุทธรณ์ของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนกระทำในรูปคณะบุคคลอันเป็นการปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่งตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ. 2537 แม้คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจะมิได้มีฐานะเป็นนิติบุคคล คำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนก็มีผลผูกพันกรรมการทุกคนไม่ว่าจะได้เข้าร่วมประชุมพิจารณาวินิจฉัยด้วยหรือไม่ ดังนั้น การฟ้องขอให้เพิกถอนคำวินิจฉัยของคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนจึงไม่ใช่เป็นการฟ้องคณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนในฐานะส่วนตัว แต่เป็นการฟ้องในทางตำแหน่งหน้าที่ตามกฎหมาย คณะกรรมการกองทุนเงินทดแทนทั้งคณะจึงถูกฟ้องเป็นจำเลยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8176/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
กำหนดเวลาฟ้องคดีเวนคืนที่ดิน: นับจากวันพ้นกำหนด 60 วันของอุทธรณ์ หรือวันรับแจ้งคำวินิจฉัย
แม้ตามคำให้การของจำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่าคดีของโจทก์ขาดอายุความด้วยแต่ก็ให้การต่อสู้โดยอ้างถึงบทบัญญัติของมาตรา 26แห่งพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯ และข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับวันที่รัฐมนตรีฯ ได้รับคำอุทธรณ์ของโจทก์และต่อสู้ว่าโจทก์ไม่ได้ฟ้องคดีเสียภายในหนึ่งปีนับตั้งแต่วันที่พ้นกำหนดหกสิบวันตามกฎหมายดังกล่าว อันเป็นคำให้การที่ยกข้อต่อสู้ในเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดไว้แล้ว ที่จำเลยที่ 1 ใช้ถ้อยคำว่าคดีของโจทก์จึงขาดอายุความแล้วนั้นเป็นเพียงการใช้ถ้อยคำที่ผิดพลาดไปเท่านั้น ไม่ถึงกับทำให้คำให้การของจำเลยที่ 1 ไม่มีประเด็นเรื่องโจทก์ฟ้องคดีเกินระยะเวลาที่กฎหมายกำหนดที่ศาลล่างทั้งสองวินิจฉัยในประเด็นดังกล่าวจึงเป็นการวินิจฉัยไปตามประเด็นแห่งคดีแล้ว มิได้วินิจฉัยนอกประเด็นหรือนอกข้อต่อสู้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น2 กรณี กรณีแรกรัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีและในกรณีที่สองที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เพราะจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับถ้อยคำของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ทั้งขัดกับเหตุผลและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯที่ประสงค์ให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดยรวดเร็ว
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
พระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ได้วางหลักเกณฑ์ในการนำคดีมาฟ้องต่อศาลเมื่อผู้มีสิทธิได้รับเงินค่าตอบแทนยังไม่พอใจจำนวนเงินค่าทดแทนไว้เป็น2 กรณี กรณีแรกรัฐมนตรีได้วินิจฉัยเสร็จสิ้นภายในกำหนดหกสิบวันนับแต่ได้รับคำอุทธรณ์ตามมาตรา 25 วรรคสอง ซึ่งผู้อุทธรณ์มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรีและในกรณีที่สองที่รัฐมนตรีมิได้วินิจฉัยอุทธรณ์ให้เสร็จสิ้นภายในกำหนดเวลาตามมาตรา 25 วรรคสอง กำหนดเวลาฟ้องคดีภายในหนึ่งปีจะเริ่มนับแต่วันที่พ้นหกสิบวันนับแต่วันที่รัฐมนตรีได้รับอุทธรณ์ไม่ได้นับแต่วันที่ได้รับแจ้งคำวินิจฉัยของรัฐมนตรี เพราะจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลทอดยาวนานออกไปตามแต่เวลาที่รัฐมนตรีจะใช้วินิจฉัยอุทธรณ์โดยไม่มีกำหนดเวลาที่แน่นอน ซึ่งไม่สอดคล้องกับถ้อยคำของมาตรา 25 วรรคสอง และมาตรา 26 วรรคหนึ่ง ทั้งขัดกับเหตุผลและเจตนารมณ์ของพระราชบัญญัติว่าด้วยการเวนคืนอสังหาริมทรัพย์ฯที่ประสงค์ให้การเวนคืนอสังหาริมทรัพย์เป็นไปโดยรวดเร็ว
กำหนดเวลาฟ้องคดีต่อศาลตามมาตรา 26 วรรคหนึ่ง เป็นกำหนดเวลาใช้สิทธิฟ้องคดี มิใช่อายุความอันจะเป็นเหตุให้กำหนดเวลาการใช้สิทธิฟ้องคดีสะดุดหยุดลงและเริ่มต้นนับใหม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2543 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและการส่งเรื่องวินิจฉัยรัฐธรรมนูญ: คำวินิจฉัยประธานศาลฎีกาเป็นที่สุด
ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องจำเลยต่อศาลใด เมื่อมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาแล้วว่า คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยอยู่ในอำนาจศาลเยาวชนและครอบครัวกลาง คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาดังกล่าวเป็นที่สุดตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ.2534มาตรา 13 จำเลยจะฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีกไม่ได้
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความ ต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความ ต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้นขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบจึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2540 มาตรา264 วรรคหนึ่ง
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 753/2543
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
อำนาจศาลและข้อจำกัดการส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญ: คำวินิจฉัยประธานศาลฎีกาเป็นที่สุด
ปัญหาว่า โจทก์มีอำนาจฟ้องต่อศาลใด เมื่อมีคำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาแล้วว่า คดีที่โจทก์ฟ้องจำเลยอยู่ในอำนาจศาลเยาวชน และครอบครัวกลาง คำวินิจฉัยของประธานศาลฎีกาดังกล่าวเป็นที่สุด ตามพระราชบัญญัติจัดตั้งศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2534 มาตรา 13 จำเลยจะฎีกาว่า โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้องต่อศาลเยาวชนและครอบครัวกลางอีกไม่ได้
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง
กรณีที่ศาลจะส่งเรื่องไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามคำขอของคู่ความต้องเป็นกรณีที่คู่ความโต้แย้งว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ศาลจะใช้บังคับแก่คดีนั้น ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ แต่คำร้องของจำเลยที่ขอให้ศาลชั้นต้นส่งสำนวนไปยังศาลรัฐธรรมนูญเพื่อพิจารณาวินิจฉัยกล่าวอ้างแต่เพียงว่าคำพิพากษาศาลฎีกาคดีนี้ไม่ชอบ จึงไม่ต้องด้วยหลักเกณฑ์ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 มาตรา 264 วรรคหนึ่ง