คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่ง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 377 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 532/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำฟ้องครบถ้วน การอ้างอิงคำสั่งนายกฯ/ผู้ว่าฯ เป็นข้อเท็จจริง ไม่ใช่ข้อกฎหมาย ฟ้องไม่เคลือบคลุม
คำสั่งของนายกรัฐมนตรีและคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดที่แนบท้ายฟ้องเป็นข้อเท็จจริงอย่างหนึ่งที่โจทก์จะต้องนำสืบถึงความมีอยู่จริงของเอกสารและความถูกต้องแท้จริงของเอกสาร ถือเป็นข้อเท็จจริงประกอบให้ฟ้องสมบูรณ์ตาม ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) มิใช่ข้อกฎหมายที่โจทก์อ้างมาท้ายฟ้องตามมาตรา 158 (6) ฉะนั้น การที่โจทก์บรรยายฟ้องว่า จำเลยเลี้ยงกุ้งกุลาดำระบบความเค็มต่ำ ฝ่าฝืนคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัด โดยได้แนบคำสั่งของนายกรัฐมนตรีและคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดซึ่งได้เท้าความอ้างเหตุถึงการมีคำสั่งให้ระงับการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในเขตพื้นที่โดยเด็ดขาด แม้ตอนท้ายของคำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดจะมิได้ระบุคำว่าความเค็มต่ำตอนท้ายคำว่ากุ้งกุลาดำเอาไว้ แต่ตอนต้นของคำสั่งได้เท้าความอ้างเหตุความเสียหายของการเพาะเลี้ยงกุ้งกุลาดำไว้ คำสั่งของผู้ว่าราชการจังหวัดจึงเป็นคำสั่งที่ออกตามที่ได้รับมอบอำนาจจากนายกรัฐมนตรีตามคำสั่งของนายกรัฐมนตรีโดยถูกต้อง และเป็นคำสั่งที่ชอบด้วยกฎหมาย ถือได้ว่าคำฟ้องโจทก์ได้ระบุการกระทำทั้งหลายที่อ้างว่าจำเลยได้กระทำผิดข้อเท็จจริงและรายละเอียดที่เกี่ยวกับเวลาและสถานที่ซึ่งเกิดการกระทำนั้น ทั้งบุคคลหรือสิ่งของที่เกี่ยวข้องด้วยพอสมควรเท่าที่จะทำให้จำเลยเข้าใจข้อหาได้ดีชอบด้วย ป.วิ.อ. มาตรา 158 (5) ฟ้องโจทก์ไม่เคลือบคลุม

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4281/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งศาลล้มละลายที่ไม่อนุญาตขยายเวลาอุทธรณ์ ถือเป็นอุทธรณ์ต้องห้ามตามกฎหมาย
คำสั่งของศาลล้มละลายกลางที่ให้ยกคำร้องขอขยายระยะเวลาอุทธรณ์ไม่ใช่คำพิพากษาหรือคำสั่งอย่างหนึ่งอย่างใดที่ได้รับยกเว้นให้อุทธรณ์ได้ตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 24 อุทธรณ์ของจำเลยจึงเป็นอุทธรณ์ที่ต้องห้าม และเมื่อไม่มีเหตุที่จะรับคดีนี้ไว้พิจารณาพิพากษาตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลล้มละลายและวิธีพิจารณาคดีล้มละลายฯ มาตรา 26 วรรคสี่ ศาลฎีกาจึงไม่รับอุทธรณ์ของจำเลยไว้พิจารณา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 415/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งต้องมีคำสั่งเป็นหนังสือ การมีเพียงมติของ กกต. ยังไม่ถือเป็นการเพิกถอนสิทธิ
การเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของบุคคลหนึ่งบุคคลใดคณะกรรมการการเลือกตั้งต้องทำคำสั่งเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาวินิจฉัยทุกคน แต่ข้อเท็จจริงคดีนี้ไม่ปรากฏว่าภายหลังจากคณะกรรมการการเลือกตั้งมีมติเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของผู้ร้องแล้วคณะกรรมการการเลือกตั้งได้มีคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้องเป็นหนังสือลงลายมือชื่อของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่พิจารณาวินิจฉัยทุกคน มติของคณะกรรมการการเลือกตั้งให้เพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้องเป็นเพียงกระบวนการเพื่อนำไปสู่การออกคำสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้ร้อง ตราบใดที่คณะกรรมการการเลือกตั้งยังไม่มีคำสั่งดังกล่าว มติของคณะกรรมการการเลือกตั้งที่ให้เพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งของผู้ร้องยังไม่มีผลทางกฎหมาย จึงถือไม่ได้ว่าผู้ร้องเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 106 (4) แห่งรัฐธรรมนูญราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540 อันจะเป็นบุคคลผู้มีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรตามมาตรา 109 (3) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2540

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 363/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินต่อศาลก่อนฟ้องคดีแรงงาน: นายจ้างต้องวางเงินตามจำนวนที่โต้แย้ง หรือชำระส่วนที่ไม่โต้แย้งก่อน
พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 125 กำหนดให้นายจ้างที่ไม่พอใจคำสั่งพนักงานตรวจแรงงานที่สั่งให้นายจ้างต้องจ่ายเงินให้แก่ลูกจ้าง และนายจ้างประสงค์จะนำคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งนั้น นายจ้างจะต้องวางเงินตามจำนวนที่นายจ้างประสงค์จะโต้แย้งต่อศาลซึ่งอาจเป็นจำนวนทั้งหมดตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานหรือบางส่วนก็ได้ และในกรณีที่เป็นการโต้แย้งคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานเพียงบางส่วน นายจ้างจะต้องชำระเงินส่วนที่ไม่ติดใจโต้แย้งแก่ลูกจ้างเสียก่อน จึงจะมีอำนาจฟ้อง
จำเลยที่ 2 ซึ่งเป็นพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้โจทก์จ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3 ถึงที่ 11 ซึ่งเป็นลูกจ้างของโจทก์เป็นเงินรวม 90,512.17 บาท โจทก์เพียงแต่อ้างว่าโจทก์ควรจ่ายเงินให้แก่จำเลยที่ 3 ถึง 11 เพียง 6,560 บาท เท่านั้นแต่ก็ไม่ปรากฏว่าโจทก์ได้ชำระเงินจำนวนดังกล่าวให้แก่จำเลยที่ 3 ถึง 11 แต่อย่างใด ฉะนั้น หากโจทก์ต้องการนำคดีไปสู่ศาลแรงงานเพื่อขอให้เพิกถอนคำสั่งของจำเลยที่ 2 ดังกล่าว โจทก์ต้องนำเงินจำนวน 90,512.17 บาท ไปวางต่อศาลแรงงานก่อน โจทก์จึงจะมีอำนาจฟ้อง มิใช่วางเงินเพียง 6,560 บาท ตามที่โจทก์อ้าง ศาลแรงงานกลางมีคำสั่งไม่รับฟ้องโจทก์ชอบแล้ว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2915/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจศาลในการพิจารณาคำขอเรียกทายาทเป็นคู่ความแทนผู้มรณะ และผลของการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น
เมื่อจำเลยตายในระหว่างการพิจารณาของศาลฎีกา จึงเป็นอำนาจของศาลฎีกาที่จะพิจารณาและมีคำสั่งเกี่ยวกับคำขอของโจทก์ที่ขอให้เรียกทายาทของคู่ความผู้มรณะหรือผู้จัดการทรัพย์มรดกของผู้มรณะหรือบุคคลอื่นใดที่ปกครองทรัพย์มรดกไว้ เข้ามาเป็นคู่ความแทนผู้มรณะตาม ป.วิ.พ. มาตรา 42 และ 43 การที่ศาลชั้นต้นนัดไต่สวนคำขอให้เรียกผู้คัดค้านเข้ามาเป็นคู่ความแทนที่จำเลยของโจทก์ จึงถือว่าเป็นกระบวนพิจารณาที่ศาลชั้นต้นทำแทนศาลฎีกาเท่านั้น หากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่พอใจคำสั่งของศาลชั้นต้นเกี่ยวกับการดำเนินกระบวนพิจารณาของศาลชั้นต้นที่ทำแทนศาลฎีกาเช่นนี้ ก็หามีสิทธิที่จะอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวต่อศาลอุทธรณ์ไม่ เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่อนุญาตให้ผู้คัดค้านเลื่อนการไต่สวนแล้วมีคำสั่งให้รวบรวมถ้อยคำสำนวนส่งศาลฎีกา ผู้คัดค้านจึงไม่มีสิทธิอุทธรณ์คัดค้านคำสั่งของศาลชั้นต้นดังกล่าวไปยังศาลอุทธรณ์ การที่ศาลอุทธรณ์วินิจฉัยอุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้นเช่นว่านี้จึงเป็นการไม่ชอบ แม้ผู้คัดค้านฎีกาต่อมาก็ถือว่าเป็นฎีกาในข้อที่มิได้ยกขึ้นว่ากันมาโดยชอบในศาลอุทธรณ์ไม่ชอบด้วย ป.วิ.พ. มาตรา 249 วรรคหนึ่ง ศาลฎีกาไม่รับวินิจฉัย

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณาคดี: ศาลฎีกาไม่รับฎีกาคำสั่งก่อนมีคำพิพากษาคดี
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ถูกต้องเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และมิใช่คำสั่งอย่างใดอย่างหนึ่งตามที่ระบุไว้ในมาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตาม ป.วิ.พ. มาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 แม้โจทก์จะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้อง ก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้ว ไม่มีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2689/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ ฎีกาคำสั่งระหว่างพิจารณา: โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกาคำสั่งให้เสียค่าขึ้นศาลก่อนมีคำพิพากษา
คำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ที่ให้โจทก์เสียค่าขึ้นศาลชั้นอุทธรณ์เพิ่มให้ถูกต้องเป็นคำสั่งก่อนที่ศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งชี้ขาดตัดสินคดี และมิใช่คำสั่งตามที่ระบุไว้ใน มาตรา 227 และ 228 แห่ง ป.วิ.พ. จึงเป็นคำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ซึ่งต้องห้ามมิให้ฎีกาคำสั่งนั้นในระหว่างพิจารณาตามมาตรา 226 (1) ประกอบด้วยมาตรา 247 ฎีกาของโจทก์เป็นฎีกาคำสั่งของศาลอุทธรณ์ภาค 1 ในระหว่างพิจารณา จึงต้องห้ามตามบทบัญญัติดังกล่าว โจทก์ยังไม่มีสิทธิฎีกา แม้โจทก์จะเห็นว่าคำสั่งดังกล่าวไม่ชอบหรือไม่ถูกต้องก็มีสิทธิเพียงโต้แย้งคำสั่งนั้นไว้เพื่อใช้สิทธิฎีกาต่อไปเมื่อศาลอุทธรณ์ภาค 1 ได้มีคำพิพากษาหรือคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นแห่งคดีนั้นแล้ว หามีสิทธิที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2520/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การวางเงินค่าธรรมเนียมเพื่ออุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้น: คำสั่งให้วางเงินไม่ใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์
จำเลยที่ 1 ยื่นอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่อนุญาตให้จำเลยที่ 1 เลื่อนคดี หากศาลชั้นต้นเห็นว่าเป็นกรณีที่จำเลยที่ 1 ต้องนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลพร้อมกับอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 แต่จำเลยที่ 1 มิได้ปฏิบัติตาม ศาลชั้นต้นก็ชอบที่จะมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ได้ทันที แต่เมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งจะต้องใช้แทนโจทก์ตามคำพิพากษามาวางศาลภายในเวลาที่กำหนดก่อนแล้วจึงจะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 เท่ากับศาลชั้นต้นเปิดโอกาสให้จำเลยที่ 1 นำเงินค่าธรรมเนียมมาวางศาลให้ถูกต้องครบถ้วนอีกครั้งหนึ่งก่อนที่จะพิจารณาสั่งอุทธรณ์ของจำเลยที่ 1 คำสั่งศาลชั้นต้นดังกล่าวถือเป็นกระบวนการชั้นตรวจคำฟ้องอุทธรณ์ตามมาตรา 232 มิใช่คำสั่งไม่รับอุทธรณ์อันจะทำให้จำเลยที่ 1 มีสิทธิยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งนั้นไปยังศาลอุทธรณ์ตามมาตรา 234 ได้ เมื่อจำเลยที่ 1 ไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว จึงไม่ก่อสิทธิที่จะฎีกาต่อมา

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2095/2548

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งศาลล้มละลายเกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ การอุทธรณ์ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีผู้พิพากษา
การที่ศาลล้มละลายกลางมีคำสั่งให้ยกคำร้องของผู้ร้องที่ขอให้ยกเลิกการประชุมเจ้าหนี้เพื่อพิจารณาคำขอแก้ไขแผน ถือว่าเป็นคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดคดีของศาลในส่วนที่เกี่ยวกับการฟื้นฟูกิจการ เมื่อผู้ร้องมิได้รับอนุญาตให้อุทธรณ์เป็นหนังสือจากอธิบดีผู้พิพากษาศาลล้มละลายกลาง จึงต้องห้ามมิให้อุทธรณ์ตาม พ.ร.บ.ล้มละลายฯ มาตรา 90/79 (เดิม)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1520/2548 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่รับอุทธรณ์ และหน้าที่การวางเงินค่าธรรมเนียมตามกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง
จำเลยอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของศาลชั้นต้นที่อนุญาตให้สืบพยานโจทก์ต่อไป ศาลชั้นต้นมีคำสั่งให้จำเลยนำเงินค่าธรรมเนียมซึ่งต้องชำระให้แก่โจทก์มาวางศาลพร้อมอุทธรณ์ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 229 ภายในกำหนด 15 วัน แต่จำเลยไม่นำเงินมาวาง ศาลชั้นต้นมีคำสั่งไม่รับอุทธรณ์ของจำเลย จำเลยยื่นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งไม่รับอุทธรณ์ แม้เป็นการอุทธรณ์คำสั่งศาลชั้นต้นที่ไม่รับอุทธรณ์คำสั่ง ก็เป็นการอุทธรณ์ตามมาตรา 234 จำเลยก็ต้องนำค่าฤชาธรรมเนียมทั้งปวงมาวางศาลและนำเงินมาชำระตามคำพิพากษาหรือหาประกันให้ไว้ต่อศาล เมื่อจำเลยไม่ปฏิบัติตามบทบัญญัติดังกล่าวจึงเป็นคำร้องอุทธรณ์คำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย
การที่ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาซึ่งหมายถึงการสั่งไม่รับอุทธรณ์คำสั่งระหว่างพิจารณาของจำเลย ซึ่งในกรณีนี้ต้องคืนค่าธรรมเนียมศาลชั้นอุทธรณ์แก่จำเลยด้วย ตาม ป.วิ.พ. มาตรา 151 วรรคหนึ่ง
of 38