พบผลลัพธ์ทั้งหมด 48 รายการ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6552/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองแรงงานถึงที่สุด การไม่อุทธรณ์ทำให้จำเลยหมดสิทธิโต้แย้งคำสั่ง
โจทก์ซึ่งเป็นลูกจ้างได้ยื่นคำร้องต่อพนักงานตรวจแรงงานตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงาน พ.ศ.2541 มาตรา 123 และพนักงานตรวจแรงงานมีคำสั่งให้จำเลยผู้เป็นนายจ้างจ่ายค่าชดเชยแก่โจทก์ตามมาตรา 124 เมื่อพนักงานตรวจแรงงานได้มีคำสั่งตามมาตรา 124 แล้วถ้านายจ้างไม่พอใจคำสั่งนั้น ให้นำคดีไปสู่ศาลได้ภายในสามสิบวันนับแต่วันทราบคำสั่ง ในกรณีที่นายจ้างไม่นำคดีไปสู่ศาลภายในกำหนด ให้คำสั่งนั้นเป็นที่สุดตามมาตรา 125 ดังนี้ เมื่อจำเลยผู้เป็นนายจ้างไม่นำคดีมาสู่ศาลภายใน 30 วัน นับแต่วันทราบคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าว คำสั่งนั้นจึงถึงที่สุดตามมาตรา 125 จำเลยจะดำเนินการในศาลแรงงานในปัญหาดังกล่าวซึ่งรวมตลอดถึงการให้การต่อสู้อีกไม่ได้ ต้องห้ามตาม พ.ร.บ.จัดตั้งศาลแรงงานและวิธีพิจารณาคดีแรงงาน พ.ศ.2522 มาตรา 8 วรรคท้าย เมื่อโจทก์นำคดีมาฟ้องเพื่อขอให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงาน จำเลยจึงไม่มีสิทธิที่จะต่อสู้คดีว่าคำสั่งของพนักงานตรวจแรงงานดังกล่าวไม่ชอบด้วยกฎหมาย อันเป็นการโต้แย้งคำสั่งอันถึงที่สุดแล้วได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1817/2542
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำร้องขัดทรัพย์ซ้ำ: ศาลยกคำร้องเนื่องจากเคยมีคำสั่งถึงที่สุดแล้วในประเด็นเดียวกัน
ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดให้ยกคำร้องขัดทรัพย์ของผู้ร้อง ในคราวก่อนเพราะผู้ร้องไม่มีพยานมาสืบ เท่ากับว่าผู้ร้องไม่มีพยานหลักฐานเพียงพอที่จะสนับสนุนข้ออ้างในประเด็น แห่งคดีที่ผู้ร้องนำมาฟ้อง เป็นการวินิจฉัยชี้ขาด ประเด็นแห่งคดีของผู้ร้องนั้นแล้ว ผู้ร้องจะร้องขัดทรัพย์ ในประเด็นที่ได้วินิจฉัยชี้ขาดโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกัน อีกไม่ได้ เป็นการต้องห้ามตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 148 และกรณีไม่เข้าข้อยกเว้นตามมาตรา 148(1) เพราะมาตรา 288 ให้ศาลพิจารณาชี้ขาดคดีคำร้องขัดทรัพย์ นั้นเหมือนคดีธรรมดา คำร้องของ ผู้ร้องจึงเป็นคำร้องซ้ำ
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 4545/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องซ้ำในคดีแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเมื่อศาลเคยมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
ที่ดินพิพาทที่ผู้ร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์คดีนี้เป็นส่วนหนึ่งของที่ดินที่ผู้ร้องเคยร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ในคดีก่อน เมื่อปรากฏว่าศาลชั้นต้นมีคำสั่งในคดีก่อนให้ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินโดยระบุชัดว่าป็นที่ดินส่วนใต้สุดมุมตะวันตก ซึ่งเป็นการรับรองว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ 200 ตารางวา และจำนวนเนื้อที่ตามที่ศาลชั้นต้นระบุนั้นเป็นเพียงการกะประมาณเท่านั้น ต่อมาปรากฏจากการรังวัดว่าที่ดินที่ผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์โดยการครอบครองนั้น มีเนื้อที่ถึง 240ตารางวา ดังนี้ผู้ร้องย่อมได้กรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวทั้งหมดซึ่งรวมถึงที่ดินพิพาท40 ตารางวานี้ด้วย ชอบที่ผู้ร้องต้องไปดำเนินการบังคับเกี่ยวกับที่ดินพิพาทเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นดังกล่าวในคดีก่อนได้ การที่ผู้ร้องยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินพิพาทในจำนวนเนื้อที่ที่เพิ่มขึ้นเป็นคดีนี้เพื่อให้ศาลวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกันกับคดีก่อนซึ่งศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำตาม ป.วิ.พ.มาตรา 148
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5892/2539
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำหลังศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว และผลของการประนอมหนี้หลังล้มละลาย
ลูกหนี้เคยยื่นคำร้องขอให้ถอนการยึดที่ดินคืนให้แก่ลูกหนี้และเจ้าของกรรมสิทธิ์รวมคนอื่น ศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้วว่า การยกเลิกการล้มละลายไม่กระทบถึงการใดที่ศาลหรือเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้กระทำไปแล้ว กรณีตามคำร้องเป็นกรณีที่ได้กระทำไปแล้วไม่มีเหตุที่จะหยิบยกขึ้นพิจารณาใหม่หรือให้ศาลมีคำสั่งให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ถอนการยึดที่ดินตามคำร้องได้การที่ลูกหนี้กลับมาดำเนินกระบวนพิจารณาขอคืนโฉนดที่ดินเป็นคดีนี้อีกโดยมีข้ออ้างที่อาศัยเป็นหลักอย่างเดียวกันซึ่งศาลชั้นต้นได้มีคำสั่งวินิจฉัยชี้ขาดในประเด็นนั้นแล้วเท่ากับเป็นการดำเนินกระบวนพิจารณาซ้ำ และเป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชนแม้ไม่มีคู่ความฝ่ายใดยกขึ้นอ้าง ศาลมีอำนาจยกขึ้นวินิจฉัยได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5398/2539 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งศาลคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลเป็นที่สุด เมื่อศาลชั้นต้นยกคำร้อง
พ.ร.บ.การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล พ.ศ.2482 ตามนัยมาตรา 58 วรรคแรก เมื่อศาลได้รับคำร้องคัดค้านการเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาลแล้ว ให้ดำเนินการพิจารณาตาม ป.วิ.พ. โดยเร็ว โดยให้เจ้าหน้าที่ผู้ดำเนินการเลือกตั้งที่มีส่วนได้เสียมีโอกาสต่อสู้การคัดค้านนั้น เมื่อศาลสั่งอย่างใดให้แจ้งคำสั่งไปยังเทศบาลโดยมิชักช้า คำสั่งศาลนั้นให้เป็นที่สุด ดังนั้นเมื่อศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกคำร้องของผู้ร้อง คำสั่งของศาลชั้นต้นจึงถึงที่สุด และผู้ร้องไม่มีสิทธิอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวต่อไป ตามบทบัญญัติแห่ง ป.วิ.พ. มาตรา 223 ที่กำหนดในเรื่องการอุทธรณ์ไว้ว่า คำพิพากษาหรือคำสั่งของศาลชั้นต้น ให้ยื่นอุทธรณ์ต่อศาลอุทธรณ์ เว้นแต่คำพิพากษาหรือคำสั่งนั้นประมวลกฎหมายนี้หรือกฎหมายอื่นจะได้บัญญัติว่าให้เป็นที่สุด
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8018/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฎีกาเกี่ยวกับการเพิกถอนการขายทอดตลาด: คำสั่งศาลถึงที่สุดและการไม่อุทธรณ์
จำเลยยื่นคำร้องขอให้มีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดศาลชั้นต้นมีคำสั่งว่าตามคำร้องผู้ร้องอ้างว่าผู้เสนอราคาสมคบกันกระทำการโดยไม่สุจริตมิได้กล่าวอ้างว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการไปโดยไม่สุจริตเมื่อการดำเนินการขายทอดตลาดเป็นไปโดยชอบแล้วจึงไม่มีเหตุที่จะเพิกถอนให้ยกคำร้องเท่ากับเป็นการวินิจฉัยชี้ขาดคดีตามคำร้องของจำเลยที่ขอให้ยกกระบวนวิธีการบังคับคดีตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา296วรรคสองซึ่งจำเลยชอบที่จะอุทธรณ์ได้ภายในหนึ่งเดือนนับแต่วันที่ได้อ่านคำสั่งนั้นเมื่อมิได้อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวย่อมเป็นที่สุดตั้งแต่ระยะเวลาเช่นว่านั้นได้สิ้นสุดลงตามมาตรา147วรรคสองและมาตรา229การที่จำเลยยื่นคำร้องฉบับต่อมาในวันรุ่งขึ้นขอให้ศาลชั้นต้นมีคำสั่งยกเลิกหรือเพิกถอนการขายทอดตลาดอีกครั้งหนึ่งโดยอ้างเหตุเพิ่มเติมว่าเจ้าพนักงานบังคับคดีดำเนินการขายทอดตลาดทรัพย์โดยไม่สุจริตก็ไม่มีผลลบล้างคำสั่งเดิมซึ่งเป็นที่สุดไปแล้วจึงสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดไม่ได้
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 410/2538
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
การฟ้องคดีอย่างคนอนาถาที่ศาลฎีกามีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว โจทก์ไม่สามารถขอแก้ไขกระบวนพิจารณาใหม่ได้ แต่ศาลต้องให้โอกาสชำระค่าขึ้นศาล
ศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งยกคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาเพราะโจทก์มอบอำนาจให้ ก.ผู้ฟ้องคดีแทนเป็นผู้สาบานตัวโจทก์อุทธรณ์คำสั่งดังกล่าวและเมื่อศาลฎีกาให้ยกคำร้องอุทธรณ์คำสั่งแล้วคำสั่งศาลฎีกาดังกล่าวจึงถึงที่สุดโจทก์จะยื่นคำร้องต่อศาลภาษีอากรอีกเพื่อขอให้กรรมการบริษัทสาบานตัวประกอบคำร้องขอฟ้องคดีอย่างคนอนาถาเพื่อชี้แจงว่าโจทก์ไม่มีทรัพย์สินพอจะเสียค่าธรรมเนียมศาลอันเป็นการขอแก้ไขกระบวนพิจารณาเกี่ยวกับคำร้องที่ไม่ถูกต้องเสียใหม่ ย่อมไม่อาจทำได้เพราะไม่มีคำร้องโจทก์เหลืออยู่ให้ดำเนินการแก้ไขกระบวนพิจารณาเสียใหม่ได้และคำร้องดังกล่าวมิได้ร้องขอต่อศาลให้พิจารณาคำขอนั้นใหม่เพื่ออนุญาตให้โจทก์นำพยานหลักฐานมาแสดงเพิ่มเติมว่าโจทก์เป็นคนยากจนตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งมาตรา156วรรคสี่ เมื่อศาลภาษีอากรกลางมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งที่รับคำร้องและนัดไต่สวนโจทก์ที่ขอให้ศาลภาษีอากรกลางอนุญาตให้โจทก์นำกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนโจทก์เข้าสาบานตัวแล้วมีคำสั่งใหม่เป็นให้ยกคำร้องโจทก์ศาลจะต้องกำหนดเวลาให้โจทก์นำค่าขึ้นศาลมาชำระในเวลาอันสมควรจะมีคำสั่งไม่รับคำฟ้องของโจทก์ไปทันทีหาชอบไม่
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6260/2537
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งไม่รับฟ้องถึงที่สุด ทำให้โจทก์ไม่สามารถฎีกาได้ตามมาตรา 220
ศาลชั้นต้นตรวจคำฟ้องของโจทก์แล้วมีคำสั่งให้เพิกถอนคำสั่งเดิมที่รับฟ้องเป็นไม่รับฟ้อง ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน ผลเท่ากับศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์พิพากษายกฟ้องโจทก์ โจทก์จึงฎีกาไม่ได้ทั้งในปัญหาข้อเท็จจริงและข้อกฎหมายเพราะต้องห้ามฎีกาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 220
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1112/2536
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
คำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาถูกยกเลิกโดยศาลอุทธรณ์ ถือเป็นคำสั่งถึงที่สุด โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
โจทก์ยื่นคำร้องขอคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาต่อศาลชั้นต้นในกรณีฉุกเฉิน ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งอนุญาต จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลชั้นต้นขอให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาดังกล่าวเป็นกรณีฉุกเฉินเช่นกัน ศาลชั้นต้นไต่สวนและมีคำสั่งให้ยกคำร้องของ จำเลย จำเลยอุทธรณ์คำสั่งดังกล่าว ศาลอุทธรณ์พิพากษากลับ ให้ยกเลิกคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวก่อนพิพากษาของศาลชั้นต้นเสีย คำสั่งของศาลอุทธรณ์ดังกล่าวย่อมถึงที่สุดตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 267 วรรคสอง โจทก์ไม่มีสิทธิฎีกา
คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 5756/2533 เวอร์ชัน 4 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ
ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้
ฟ้องซ้ำ: การรื้อฟ้องคดีกรรมสิทธิ์ที่ดินเดิมที่ศาลมีคำสั่งถึงที่สุดแล้ว
ผู้ร้องเคยยื่นคำร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ที่ดินเฉพาะส่วนในโฉนดที่ดินเลขที่ 1417 ที่ผู้คัดค้านมีชื่อถือกรรมสิทธิ์โดยผู้ร้องได้แนบแผนที่สังเขปแสดงรูปลักษณะของที่ดินที่ผู้ร้องได้ครอบครองมา ท้ายคำร้องขอด้วย และศาลชั้นต้นก็ได้วินิจฉัยว่าผู้ร้องครอบครองที่ดินแปลงตามคำร้องขอจนได้กรรมสิทธิ์ตามประมวลกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ มาตรา 1382 ครั้นผู้ร้องมายื่นคำร้องขอในคดีนี้ก็กล่าวในคำร้องขอว่าเป็นที่ดินที่ผู้ร้องได้ครอบครองอยู่ในขณะที่ยื่นคำร้องขอ ในคดีเดิม เมื่อที่พิพาทในคดีนี้เป็นที่ดินแปลงเดียวกันกับที่ดินที่ผู้ร้องร้องขอแสดงกรรมสิทธิ์ และศาลได้มีคำสั่งถึงที่สุดแล้วว่าผู้ร้องได้กรรมสิทธิ์ตามคดีเดิม ฉะนั้น ที่ผู้ร้องมายื่นคำร้องขอเป็นคดีนี้อีกจึงเป็นการรื้อร้องเพื่อให้ศาลวินิจฉัยโดยอาศัยเหตุอย่างเดียวกับคดีก่อนนั่นเอง ถือว่าเป็นฟ้องซ้ำ
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.
ปัญหาเรื่องฟ้องซ้ำ แม้จะไม่มีฝ่ายใดยกขึ้นว่ากล่าว แต่เป็นข้อกฎหมายอันเกี่ยวด้วยความสงบเรียบร้อยของประชาชน ศาลยกขึ้นวินิจฉัยเองได้.