คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่งทางปกครอง

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 33 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7263/2543

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ มติคณะกรรมการการแพทย์เป็นเพียงการตอบข้อหารือ ไม่ใช่คำสั่งทางปกครอง จึงไม่ตัดสิทธิผู้ประกันตนในการเรียกร้องค่าอุปกรณ์ทางการแพทย์
มติของคณะกรรมการการแพทย์ สำนักงานประกันสังคมเป็นเพียงการตอบข้อหารือในเรื่องการจ่ายค่าอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาโรค ตามที่โรงพยาบาล ม. หารือไป มิใช่คำสั่งของพนักงานเจ้าหน้าที่ตามกฎหมาย แม้จำเลยจะส่งมติดังกล่าวไปให้โรงพยาบาลม. อันเป็นสถานพยาบาลที่โจทก์เลือกเพื่อเข้ารับการรักษาตามสิทธิก็ไม่มีผลบังคับให้โรงพยาบาล ม. ต้องปฏิบัติตาม ทั้งไม่มีผลตัดสิทธิของโจทก์ที่จะได้รับค่าอุปกรณ์ในการบำบัดรักษาจนเต็มจำนวนหากโจทก์มีสิทธิตามกฎหมายที่จะเรียกได้ มติของคณะกรรมการการแพทย์ดังกล่าวจึงไม่เป็นการโต้แย้งสิทธิของโจทก์ โจทก์ไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6623/2541 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งพักราชการเป็นคำสั่งทางปกครอง ชอบฟ้องต่อศาลได้
แม้อธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยทั้งสองจะอาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ.2535มาตรา 107 ประกอบ พ.ร.บ.ระเบียบข้าราชการตำรวจ พ.ศ.2521 มาตรา 60และ 61 แต่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยโจทก์ ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชารวมทั้งมีคำสั่งพักราชการโจทก์ในระหว่างการสอบสวนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา อันเป็นการใช้อำนาจดุลพินิจโดยเฉพาะของจำเลยทั้งสองก็ตาม แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับดังกล่าวพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ได้ประกาศใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามพ.ร.บ.ดังกล่าว ได้บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองไว้โดยเฉพาะ คำสั่งกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับดังกล่าวเป็นการพิจารณาทางปกครองของจำเลยทั้งสองในฐานะเจ้าหน้าที่จึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 16 แห่ง พ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 เฉพาะอย่างยิ่งคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 322/2541 ลงวันที่3 กรกฎาคม 2541 ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งพักราชการโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามนัยที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5 (1) แห่ง พ.ร.บ.ดังกล่าวซึ่งให้นิยามคำว่า "คำสั่งทางปกครอง"หมายความว่า "(1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อ เปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือชั่วคราวเช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติ การวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียน แต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ" ดังนี้ การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งพักราชการโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณามีผลทำให้กระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ แม้จะเป็นการชั่วคราว แต่ก็ถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2 (พ.ศ.2540) ออกตามความในพ.ร.บ.วิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ.2539 ที่ให้คำสั่งทางปกครองในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 30 วรรคสอง (6) คือ (1) การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสั่งพักงาน หรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อน หรือการให้พ้นจากตำแหน่ง ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการทำการพิจารณาทางปกครอง และมีคำสั่งทางปกครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จนต้องถูกสั่งพักราชการเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณา ย่อมเป็นการกระทำที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามความหมายแห่งป.วิ.พ.มาตรา 55 แล้ว จึงชอบที่ศาลจะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาดำเนินการต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 6623/2541

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ คำสั่งทางปกครองและการโต้แย้งสิทธิ: ศาลฎีกามีคำพิพากษากลับให้รับฟ้อง กรณีคำสั่งพักราชการขัดต่อกฎหมาย
แม้อธิบดีกรมตำรวจและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทยจำเลยทั้งสองจะอาศัยอำนาจตาม พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2535 มาตรา 107ประกอบ พระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการตำรวจพ.ศ. 2521 มาตรา 60 และ 61 แต่งตั้งกรรมการสอบสวนข้อเท็จจริง และแต่งตั้งกรรมการสอบสวนวินัยโจทก์ซึ่งเป็นผู้ใต้บังคับบัญชารวมทั้งมีคำสั่งพักราชการโจทก์ในระหว่างการสอบสวนเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาอันเป็นการใช้อำนาจดุลพินิจโดยเฉพาะของจำเลย ทั้งสองก็ตาม แต่ขณะที่จำเลยทั้งสองออกคำสั่งกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับดังกล่าวพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองพ.ศ. 2539 ได้ประกาศใช้บังคับแล้ว ซึ่งตามพระราชบัญญัติดังกล่าว ได้บัญญัติถึงวิธีปฏิบัติราชการทางปกครองไว้โดยเฉพาะ คำสั่งกระทรวงมหาดไทยทั้งสามฉบับดังกล่าวเป็นการพิจารณาทางปกครองของจำเลยทั้งสองในฐานะเจ้าหน้าที่จึงตกอยู่ในบังคับของมาตรา 16แห่งพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539เฉพาะอย่างยิ่งคำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ 322/2541ลงวันที่ 3 กรกฎาคม 2541 ที่จำเลยที่ 1 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย สั่งพักราชการโจทก์เพื่อรอ ฟังผลการสอบสวนพิจารณาเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามนัยที่บัญญัติไว้ในมาตรา 5(1) แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าวซึ่งให้นิยามคำว่า "คำสั่งทางปกครอง" หมายความว่า"(1) การใช้อำนาจตามกฎหมายของเจ้าหน้าที่ที่มีผลเป็นการสร้างนิติสัมพันธ์ขึ้นระหว่างบุคคลในอันที่จะก่อเปลี่ยนแปลง โอน สงวน ระงับ หรือมีผลกระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของบุคคล ไม่ว่าจะเป็นการถาวรหรือ ชั่วคราว เช่น การสั่งการ การอนุญาต การอนุมัติการวินิจฉัยอุทธรณ์ การรับรอง และการรับจดทะเบียนแต่ไม่หมายความรวมถึงการออกกฎ" ดังนี้การที่จำเลยที่ 1 มีคำสั่งพักราชการโจทก์เพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณามีผลทำให้กระทบต่อสถานภาพของสิทธิหรือหน้าที่ของโจทก์ แม้จะเป็นการชั่วคราวแต่ก็ถือว่าคำสั่งดังกล่าวเป็นคำสั่งทางปกครอง ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 2(พ.ศ. 2540) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิธีปฏิบัติราชการทางปกครอง พ.ศ. 2539ที่ให้คำสั่งทางปกครองในกรณีดังต่อไปนี้ เป็นคำสั่งทางปกครองตามมาตรา 30 วรรคสอง (6) คือ (1)การบรรจุ การแต่งตั้ง การเลื่อนขั้นเงินเดือน การสั่งพักงาน หรือสั่งให้ออกจากงานไว้ก่อน หรือการให้พ้นจากตำแหน่ง ดังนั้น การกระทำของจำเลยทั้งสองที่โจทก์อ้างว่า จำเลยทั้งสองกับพวกร่วมกันกระทำละเมิดต่อโจทก์ด้วยการทำการพิจารณาทางปกครอง และมีคำสั่งทางปกครองโดยฝ่าฝืนต่อกฎหมายไม่ให้ความเป็นธรรมแก่โจทก์ ทำให้โจทก์ได้รับความเสียหาย จนต้องถูก สั่งพักราชการเพื่อรอฟังผลการสอบสวนพิจารณาย่อมเป็นการกระทำที่โต้แย้งสิทธิของโจทก์ตามความหมาย แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 55แล้ว จึงชอบที่ศาลจะรับฟ้องของโจทก์ไว้พิจารณาดำเนินการ ต่อไปได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3668/2540

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อายุความฟ้องคดีทางปกครอง: คำสั่งปลดออกจากราชการและการเทียบเคียงกับละเมิด
คำสั่งกระทรวงมหาดไทยที่ให้ปลดโจทก์ออกจากราชการเป็นคำสั่งตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2495 มาตรา 103 ประกอบพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือน พ.ศ. 2485 มาตรา 60(2) และ 62 เป็นคำสั่งทางปกครองมิใช่นิติกรรมตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ต้องใช้กำหนดเวลาทางปกครองปรับแก่คดี เมื่อตามพระราชบัญญัติระเบียบข้าราชการพลเรือนดังกล่าวไม่มีกำหนดเวลาในการที่จะนำคดีมาฟ้องศาลขอให้เพิกถอนคำสั่งดังกล่าว จึงต้องอาศัยเทียบบทกฎหมายที่ใกล้เคียงอย่างยิ่ง คือ ลักษณะละเมิดตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มาตรา 4 วรรคสอง ประกอบมาตรา 448 วรรคหนึ่ง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1490/2540 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การแจ้งคำสั่งทางปกครอง การพิสูจน์การรับทราบคำสั่ง และความรับผิดตาม พ.ร.บ.สาธารณสุข
พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 มาตรา 28 วรรคหนึ่งให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองสถานที่ระงับเหตุรำคาญที่เกิดขึ้นในสถานที่นั้น มาตรา 45 ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจสั่งให้ผู้ดำเนินกิจการนั้นแก้ไขหรือปรับปรุงให้ถูกต้อง ถ้าการดำเนินกิจการนั้นจะก่อให้เกิดอันตรายอย่างร้ายแรงต่อสุขภาพของประชาชนจะสั่งให้ผู้นั้นหยุดดำเนินกิจการไว้ทันทีเป็นการชั่วคราวจนกว่าจะเป็นที่พอใจแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าปราศจากอันตรายแล้วก็ได้ และต้องทำเป็นหนังสือแจ้งให้ผู้ดำเนินกิจการซึ่งจะต้องปฏิบัติตามคำสั่งทราบ แต่ที่จำเลยยอมรับว่าจำเลยได้ดำเนินการแก้ไข เหตุเดือดร้อนรำคาญตามคำสั่งของสำนักงานเทศบาลเมืองตรังแล้วนั้นอาจเป็นการทราบคำสั่งดังกล่าวจากเจ้าพนักงานตำรวจผู้แจ้งข้อหาให้จำเลยทราบก็ได้ เมื่อจำเลยยังไม่ได้ทราบคำสั่งของเจ้าพนักงานท้องถิ่นโดยชอบ จึงถือไม่ได้ว่าจำเลยมีความผิดตามฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 2739/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับรู้คำสั่งทางปกครอง: การรับรู้ผ่านพนักงานชั้นผู้น้อยไม่ถือว่าเป็นการรับรู้ของโจทก์โดยตรง
การที่ ป. เป็นเพียงพนักงานชั้นผู้น้อยทำหน้าที่รับส่งหนังสือของโจทก์ รับซองหนังสือและคำสั่งของอธิบดีกรมแรงงานที่สั่งให้โจทก์จ่ายเงินทดแทนแก่ ค. ไว้ ไม่ว่า ป. จะได้เปิดซองทราบเนื้อความในหนังสือนำส่งและคำสั่งแล้วหรือไม่ก็ตาม ก็ไม่อาจถือได้ว่าโจทก์โดย ป. ทราบคำสั่งนั้นแล้วเพราะ ป. มิใช่ผู้แทนของโจทก์ผู้สามารถจะแสดงความประสงค์ประการใดแทนโจทก์ได้ตาม ป.พ.พ. มาตรา 75 ฉะนั้นเมื่อคำสั่งดังกล่าวถูกนำเสนอขึ้นไปตามลำดับชั้น จนวันที่ 10 กุมภาพันธ์2530 รองผู้ว่าการผู้ทำการแทนผู้ว่าการของโจทก์จึงทราบคำสั่งเช่นนี้ต้องถือว่าโจทก์โดยรองผู้ว่าการได้ทราบคำสั่งเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2530 และครบกำหนดสามสิบวันนับแต่วันโจทก์ทราบคำสั่งอันจะทำให้คำสั่งดังกล่าวเป็นที่สุดตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่อง การคุ้มครองแรงงาน ข้อ 60 ที่แก้ไขใหม่ในวันที่ 12 มีนาคม 2530 โจทก์นำคดีมาสู่ศาลวันที่ 9 มีนาคม2530 จึงหาพ้นกำหนดตามประกาศกระทรวงมหาดไทยฯ ข้อ 60 ไม่.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3676/2529

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิลูกจ้างถูกตัดชื่อจากบัญชีผู้ผ่านการทดสอบ การโต้แย้งสิทธิ และขอบเขตคำสั่งทางปกครอง
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์เป็นลูกจ้างของจำเลยเมื่อพ.ศ.2523โจทก์ผ่านการทดสอบเพื่อเลื่อนตำแหน่งและรอการแต่งตั้งอยู่ระหว่างนั้นจำเลยมีคำสั่งที่30/2529กำหนดหลักเกณฑ์การพิจารณาแต่งตั้งโยกย้ายขึ้นใหม่โดยจะตัดสิทธิไม่เลื่อนตำแหน่งพนักงานที่สอบได้หากไม่ได้รับการแต่งตั้งภายในพ.ศ.2530และต่อมาจำเลยมีหนังสือที่สอ.912/2529แจ้งว่าโจทก์ถูกคัดชื่อออกจากรายชื่อพนักงานที่ผ่านการทดสอบฯเพราะในระยะเวลาสามปีที่ผ่านไปโจทก์ไม่อุทิศตนและเวลาในการปฏิบัติงานให้แก่จำเลยเท่าที่ควรและมีวันลามากซึ่งไม่เป็นความจริงขอให้เพิกถอนคำสั่งและหนังสือดังกล่าวดังนี้หนังสือที่สอ.912/2529เป็นกรณีพิพาทเกี่ยวด้วยสิทธิตามสัญญาจ้างแรงงานเป็นเรื่องที่โจทก์ถูกโต้แย้งสิทธิโดยตรงหากข้ออ้างของจำเลยตามหนังสือดังกล่าวไม่เป็นความจริงโจทก์ชอบที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งตามผลการทดสอบได้ภายในพ.ศ.2530ชอบที่ศาลแรงงานกลางจะรับฟ้องส่วนนี้ไว้พิจารณาส่วนคำสั่งที่30/2529นั้นจะเป็นข้อตกลงเกี่ยวกับสภาพการจ้างหรือมิใช่ก็ตามก็ไม่กระทบกระเทือนหรือโต้แย้งสิทธิของโจทก์แต่ประการใดเพราะคำสั่งดังกล่าวยังให้โอกาสแก่โจทก์ที่จะได้รับการพิจารณาเลื่อนตำแหน่งได้จนถึงพ.ศ.2530หากข้ออ้างของจำเลยในการตัดชื่อโจทก์ออกจากบัญชีรายชื่อผู้ผ่านการทดสอบฯตามหนังสือที่สอ.912/2529ไม่เป็นความจริงโจทก์ก็ยังได้รับประโยชน์จากคำสั่งที่30/2530อยู่ศาลแรงงานกลางไม่รับฟ้องส่วนนี้ของโจทก์ไว้พิจารณาจึงชอบแล้ว.

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3804/2524 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ อำนาจฟ้องคดีเพิกถอนคำสั่งทางปกครอง: ผู้ถือหุ้น/กรรมการบริษัท ไม่มีสิทธิฟ้องแทนบริษัท
โจทก์ฟ้องว่าโจทก์ทั้งสองเป็นผู้ถือหุ้นและเป็นกรรมการของบริษัท ร. จำเลยที่ 1 โดยจำเลยที่ 2 ในฐานะรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ได้ออกคำสั่งให้ควบคุมบริษัท ร. แล้วตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมซึ่งเป็นการไม่ชอบด้วยกฎหมาย จำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 ใช้สิทธิโดยไม่สุจริตเสนอรายงานต่อจำเลยที่ 8 ว่าบริษัท ร. ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ จำเลยที่ 8 ซึ่งดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้นจึงสั่งเพิกถอนใบอนุญาตประกอบธุรกิจเงินทุนและธุรกิจหลักทรัพย์ของบริษัทร. ซึ่งเป็นคำสั่งที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย ขอให้พิพากษาว่าคำสั่งที่ตั้งจำเลยที่ 3 ถึงที่ 7 เป็นคณะกรรมการควบคุมบริษัท ร. และคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตไม่ชอบด้วยกฎหมายให้จำเลยเพิกถอนเสีย ดังนี้ การกระทำของจำเลยทั้งแปดตามที่โจทก์กล่าวในฟ้องเป็นการกระทำต่อบริษัท ร. ซึ่งเป็นนิติบุคคลมีสิทธิและหน้าที่ต่างหากจากโจทก์ทั้งสองผู้ที่ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับสิทธิหรือหน้าที่ก็คือบริษัทร. ถือไม่ได้ว่าโจทก์ทั้งสองในฐานะเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการของบริษัท ร. ถูกโต้แย้งสิทธิ โจทก์จึงไม่มีอำนาจฟ้อง

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 254/2520

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การรับฟังพยานหลักฐาน (สำเนาเอกสาร) และการละเมิดจากการเดินรถทับเส้นทางสัมปทาน กรณีอะลุ้มอะล่วยและคำสั่งทางปกครอง
จำเลยส่งเอกสารต่อศาลโดยไม่ส่งสำเนาให้โจทก์ ครั้นโจทก์คัดค้านว่าไม่ควรรับฟัง จำเลยแถลงว่าต้นฉบับอยู่ในความครอบครองของทางราชการจะได้หมายเรียกต้นฉบับมาแต่แล้วจำเลยก็มิได้ขอให้ศาลหมายเรียกมาเมื่อเอกสารที่จำเลยส่งศาลเป็นสำเนา ซึ่งไม่มีเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจรับรองว่าถูกต้องกับต้นฉบับ จึงรับฟังไม่ได้ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 93
จำเลยเดินรถรับส่งคนโดยสารเที่ยวกลับช่วงหนึ่งทับเส้นทางสัมปทานของโจทก์ เฉพาะทุกวันเสาร์ตั้งแต่เวลา 12 ถึง 19 น. ทั้งนี้ เนื่องจากตามวันเวลานั้นเจ้าพนักงานจราจรได้ออกประกาศให้รถเดินทางเดียวในถนนสายหนึ่งซึ่งอยู่ในเส้นทางสัมปทานของจำเลยเมื่อได้ความว่าในกรณีเช่นนี้ไม่มีข้อบังคับให้จำเลยต้องรายงานต่อกรมการขนส่งทางบกเพื่อประกาศเปลี่ยนเส้นทางให้ถูกต้องเสมอไป โดยหากไม่มีการโต้แย้งกันก็ไม่ต้องรายงานและจำเลยก็ได้เดินรถทับเส้นทางเดินรถของโจทก์เพียง 1 กิโลเมตรเศษทั้งปรากฏว่าโจทก์เองก็ต้องเปลี่ยนไปเดินรถทับเส้นทางเดินรถของผู้อื่นโดยโจทก์ไม่ได้แจ้งให้กรมการขนส่งทางบกทราบเช่นกันการเปลี่ยนเส้นทางเดินรถเอาเองในกรณีนี้จึงเป็นเรื่องอะลุ้มอะล่วยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน จำเลยมิได้เจตนาจงใจเดินรถทับเส้นทางสัมปทานของโจทก์โดยพลการโจทก์เองก็เพิ่งร้องเรียนต่อกรมการขนส่งทางบกหลังจากจำเลยเดินรถทับเส้นทาง 3 ปีเศษแล้ว ดังนี้ จะถือว่าจำเลยเดินรถทับเส้นทางเดินรถของโจทก์ โดยฝ่าฝืนคำสั่งของกรมการขนส่งทางบกหาได้ไม่ แต่เมื่อกรมการขนส่งทางบกได้สั่งให้จำเลยเปลี่ยนเส้นทางเดินรถใหม่ไม่ให้ทับเส้นทางของโจทก์ตามที่โจทก์ร้องเรียนแล้วจำเลยยังเดินรถตามเส้นทางเดิมต่อไปอีก แม้เพราะจำเลยอุทธรณ์คำสั่งต่อปลัดกระทรวงคมนาคมอยู่ก็ตามแต่เมื่อต่อมาปลัดกระทรวงคมนาคมได้สั่งให้จำเลยปฏิบัติตามคำสั่งของกรมการขนส่งทางบกแล้วการกระทำของจำเลยก็เป็นละเมิดต่อโจทก์ ตั้งแต่วันรุ่งขึ้นจากวันจำเลยได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งของกรมการขนส่งทางบก จนถึงวันสุดท้ายที่จำเลยเดินรถทับเส้นทางสัมปทานของโจทก์ ตามจำนวนวันเสาร์ในระยะนั้น

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 1950/2500 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน: สิทธิครอบครองที่ดิน vs. คำสั่งทางปกครอง – เหตุอันสมควรไม่ต้องปฏิบัติตาม
โจทก์ฟ้องว่าจำเลยขัดคำสั่งผู้รักษาราชการแทนนายอำเภอที่สั่งให้จำเลยออกไปจากที่ดินที่ทางราชการสงวนไว้สำหรับสาธารณประโยชน์
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่า จำเลยมีความเชื่อมั่นโดยสุจริตใจว่า ที่ดินนั้นเป็นของจำเลยโดยการครอบครองมาช้านานเกินกว่า 40 ปี ซึ่งอำเภอจะสั่งให้จำเลยออกจากที่ดิน โดยพละการเช่นนี้ไม่ได้ จำเลยมีเหตุผลอันดีและมีข้อแก้ตัวอันสมควร ที่จะไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้นได้ ย่อมเอาผิดแก่จำเลยไม่ได้ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 368
ตามรูปเรื่องเช่นว่านี้ สมควรที่จะดำเนินคดีว่ากล่าวถึงเรื่องสิทธิในที่ดินกันทางแพ่ง ยิ่งกว่าการฟ้องร้องทางอาญาฐานขัดคำสั่งเจ้าพนักงาน
of 4