คำพิพากษาที่อยู่ใน Tags
คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์

พบผลลัพธ์ทั้งหมด 19 รายการ

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 889/2530

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องทราบประกาศคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเพื่อยื่นคำขอรับชำระหนี้ การแจ้งซ้ำไม่จำเป็น
เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แจ้งกำหนดระยะเวลาในการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้บรรดาเจ้าหนี้ทั้งหลายทราบในคำโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ต้องถือว่าเจ้าหนี้ทุกคนได้ทราบประกาศแล้ว ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องแจ้งเรื่องการยื่นคำขอรับชำระหนี้ให้โจทก์ทราบอีกชั้นหนึ่ง.(ที่มา-ส่งเสริมฯ)

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 3396/2527 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายต้องเป็นไปตามกำหนดเวลา แม้ไม่ทราบคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของลูกหนี้เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จะขอรับชำระหนี้ได้ก็โดยปฏิบัติตามวิธีการที่กล่าว ไว้ในกฎหมายล้มละลายเท่านั้น แม้จะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเป็นเจ้าหนี้ที่ได้ฟ้องคดีแพ่งไว้แล้วแต่คดียัง อยู่ในระหว่างการพิจารณาหรือเป็นเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ ก็ต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเว้นแต่เจ้าหนี้อยู่นอกราชอาณาจักรเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จะขยายกำหนดเวลาให้อีกได้ไม่เกิน2 เดือน ทั้งนี้ตามพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483มาตรา 27 และ 91 เมื่อเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ เป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาและมิได้อยู่นอกราชอาณาจักร ได้ ยื่นคำขอรับชำระหนี้รายนี้เกินกำหนดเวลาตามที่กฎหมายระบุ ไว้ถึง 5 เดือนเศษจึงเป็นการไม่ชอบด้วยบทบัญญัติ แห่งกฎหมายดังกล่าวข้างต้น
ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนการขายทอดตลาดโรงงานทำเฟอร์นิเจอร์ของ ลูกหนี้ที่ 2 ที่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้รายนี้นำยึด ก็ เพราะปรากฏว่าโรงงานแห่งนั้นติดการจำนองโดยลูกหนี้ที่ 2 ได้เอาจำนองไว้แก่ธนาคารมาก่อนที่จะถูกยึด เมื่อ เจ้าพนักงานบังคับคดีทำการขายทอดตลาดโรงงานที่ว่านี้อย่างปลอดจำนองโดยมิได้แจ้งให้ธนาคารผู้รับจำนองทราบ ย่อมเป็นการไม่ชอบ และศาลชั้นต้นคงสั่งเพิกถอนเฉพาะการ ขายทอดตลาดโรงงานดังกล่าว แต่การยึดยังมีผลอยู่ หาถูกเพิกถอนไปแต่อย่างใดไม่ จึงถือไม่ได้ว่า เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้เป็นบุคคลผู้ได้รับความเสียหายตามนัยบทบัญญัติมาตรา 115 ที่จะให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลายตามมาตรา 92 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483
เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ประกาศโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ลูกหนี้ที่ 2 เด็ดขาดในหนังสือพิมพ์รายวันและใน ราชกิจจานุเบกษาแล้วเจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ก็ต้องผูกพัน ที่จะต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลา 2 เดือนนับ แต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ถ้าให้เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้เกินกำหนดเวลา ดังกล่าวก็เท่ากับเป็นการขยายกำหนดเวลาตามมาตรา 91 ออกไป อาจทำให้เกิดความไม่เป็นธรรมแก่บรรดาเจ้าหนี้อื่น และลูกหนี้ ทั้งไม่มีกฎหมายสนับสนุนให้ทำได้

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 964/2524

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ สิทธิเรียกร้องจากเช็คหลังล้มละลาย: เช็คที่ออกหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด ไม่อาจใช้ขอรับชำระหนี้ได้
มูลหนี้ที่ลูกหนี้ผู้ล้มละลายออกเช็คชำระหนี้ให้แก่เจ้าหนี้ผู้ขอรับชำระหนี้ไม่มีอยู่ต่อกัน เพราะไม่ได้รับชำระหนี้เป็นเช็คตามคำขอชำระหนี้จากลูกหนี้ผู้ล้มละลายโดยตรงแต่เจ้าหนี้ได้รับชำระหนี้เป็นเช็คจาก ท. ซึ่งเป็นบุคคลภายนอก โดย ท. ได้รับเช็ครายนี้มาจากลูกหนี้ผู้ล้มละลายโดยอาศัยมูลหนี้ที่มีต่อกันอย่างไรไม่ปรากฏ ดังนี้ เจ้าหนี้จึงคงมีสิทธิในมูลหนี้ตามเช็คในฐานะผู้ทรงเช็คนั้นได้ตั้งแต่วันที่ถึงกำหนดสั่งจ่ายที่เขียนระบุไว้ในเช็คเท่านั้นเช็คลงวันที่สั่งจ่าย 22 ธันวาคม 2521 ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดเมื่อวันที่ 27 พฤศจิกายน 2521มูลหนี้ตามเช็คที่ให้สิทธิแก่เจ้าหนี้ในฐานะผู้ทรงจึงเกิดขึ้นภายหลังวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว เจ้าหนี้จึงไม่มีสิทธิที่จะอาศัยมูลหนี้ตามเช็คที่เกิดขึ้นภายหลังจากวันที่ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดมาขอรับชำระหนี้จากกองทรัพย์สินของลูกหนี้ตามมาตรา 94 แห่งพระราชบัญญัติล้มละลาย พุทธศักราช 2483

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2523

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ หนี้ภาษีเกิดจากเจตนาซื้อขายที่ดินที่ไม่เป็นจริง เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์และศาลไม่ต้องผูกพันตามคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
ถึงแม้ว่าหนี้ที่ขอรับชำระต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์จะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือหนี้ที่เป็นมูลให้ศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดก็ตามแต่ก็ไม่มีผลผูกพันให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลจำต้องถือตาม
เมื่อข้อเท็จจริงฟังได้ว่าลูกหนี้มิได้มีเจตนาซื้อและขายที่ดินและมิได้รับเงินค่าขายที่ดินไว้ลูกหนี้จึงมิใช่ผู้ประกอบการค้า ประเภทการค้า 11 การค้าอสังหาริมทรัพย์ ตามบัญชีอัตราภาษีการค้าและไม่มีเงินได้พึงประเมินจากการขายทรัพย์สินไม่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีการค้าและภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทั้งสองประเภท ส่วนเงินได้พึงประเมินเกี่ยวกับค่าจ้างของลูกหนี้ในปี 2510 เป็นเงินประมาณ 3,000 บาทก็ไม่อยู่ในบังคับที่จะต้องยื่นรายการเพื่อเสียภาษีเงินได้ตาม ประมวลรัษฎากร มาตรา 56

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2517 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และหลักเกณฑ์ 'คดีมีมูล' ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว ศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้อง และในวันนัดได้สอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้วเห็นว่าวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวนต่อไป วินิจฉัยให้ยกคำร้องของจำเลยเสียนั้น ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้ว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยล้มละลายจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 คำว่าคดีมีมูล ตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 17 ซึ่งเป็นบทว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้ในระหว่างนั้นจึงมีความหมายว่ามีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หาได้หมายความเพียงมีมูลเป็นหนี้สินกันอยู่จริงแต่อย่างเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 599/2517

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การไต่สวนคำร้องเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชั่วคราว และหลักเกณฑ์ 'คดีมีมูล' ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย
จำเลยยื่นคำร้องขอให้ศาลชั้นต้นสั่งเพิกถอนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์จำเลยชั่วคราว ศาลชั้นต้นนัดพิจารณาคำร้อง และในวันนัดได้สอบข้อเท็จจริงจากคู่ความแล้วเห็นว่าวินิจฉัยได้โดยไม่ต้องทำการไต่สวนต่อไป วินิจฉัยให้ยกคำร้องของจำเลยเสียนั้น ถือได้ว่าเป็นการไต่สวนคำร้องของจำเลยแล้ว
ตามพระราชบัญญัติล้มละลายฯ ศาลจะพิพากษาให้จำเลยล้มละลายจะต้องพิจารณาให้ได้ความจริงตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดไว้ในมาตรา 9 หรือ 10 คำว่าคดีมีมูล ตามที่บัญญัติไว้ใน มาตรา 17 ซึ่งเป็นบทว่าด้วยการคุ้มครองชั่วคราวในระหว่างพิจารณาเพื่อป้องกันความเสียหายอันเกิดจากการกระทำของลูกหนี้ในระหว่างนั้นจึงมีความหมายว่ามีมูลที่จะพิพากษาให้ลูกหนี้ล้มละลายได้หาได้หมายความเพียงมีมูลเป็นหนี้สินกันอยู่จริงแต่อย่างเดียวไม่

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 8304/2559

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การเพิกถอนการจดจำนองในคดีล้มละลาย: การจำนองก่อนคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ชอบด้วยกฎหมาย ส่วนการจำนองหลังคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เป็นโมฆะ
แม้การปลดจากการล้มละลายมีผลทำให้จำเลยที่ 2 หลุดพ้นจากการล้มละลายและมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนได้ก็ตาม แต่จำเลยที่ 2 มีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของตนที่ได้มานับตั้งแต่วันที่ได้รับการปลดจากการล้มละลายเท่านั้น ที่ดินตราจองตามคำร้อง จำเลยที่ 2 ได้มาตั้งแต่ปี 2526 ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาด ซึ่งถือว่าเป็นเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลายและขณะศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาด จำเลยที่ 2 ยังเป็นผู้ถือกรรมสิทธิ์ที่ดินดังกล่าวอยู่ ที่ดินดังกล่าวจึงเป็นทรัพย์สินในคดีล้มละลายอันอาจแบ่งแก่เจ้าหนี้ได้ ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 109 (1) ผู้ร้องจึงมีอำนาจจัดการที่ดินดังกล่าวของจำเลยที่ 2 เพื่อแบ่งแก่เจ้าหนี้ทั้งหลาย ประกอบกับจำเลยที่ 2 ซึ่งถูกปลดจากการล้มละลายยังมีหน้าที่ช่วยในการจำหน่ายและแบ่งทรัพย์สินของตนซึ่งตกอยู่กับเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ตามที่เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ต้องการ ดังนั้น แม้ผู้ร้องจะยื่นคำร้องหลังจากจำเลยที่ 2 ได้รับการปลดจากการล้มละลายแล้วก็ตาม เมื่อทรัพย์สินดังกล่าวตกอยู่ในอำนาจของผู้ร้องในขณะเวลาเริ่มต้นแห่งการล้มละลาย ผู้ร้องจึงมีอำนาจยื่นคำร้องอันเกี่ยวด้วยทรัพย์สินอันอาจแบ่งได้ในคดีล้มละลายได้
สำหรับการจดทะเบียนจำนองเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549 นั้น เมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549 จำเลยที่ 2 กู้ยืมเงินจากผู้คัดค้านไปชำระหนี้ไถ่ถอนจำนองที่ดินตามคำร้องต่อธนาคาร ก. และในวันเดียวกันจำเลยที่ 2 นำที่ดินมาจดทะเบียนจำนองแก่ผู้คัดค้านอันอยู่ในระยะเวลาสามเดือนก่อนมีการขอให้จำเลยที่ 2 ล้มละลายก็ตาม แต่การที่จำเลยที่ 2 ทำสัญญาจำนองกับผู้คัดค้าน ซึ่งเป็นสหกรณ์ออมทรัพย์ก็เพื่อนำเงินที่ได้จากการจำนองต่อผู้คัดค้านมาชำระหนี้ให้แก่ธนาคาร ก. ซึ่งเป็นผู้รับจำนองที่ดินดังกล่าวอยู่ ทั้งเมื่อจำเลยที่ 2 ได้รับเงินจากผู้คัดค้านแล้ว จำเลยที่ 2 ก็นำเงินดังกล่าวไปชำระหนี้และไถ่ถอนจำนองจากธนาคาร ก. แล้วนำที่ดินที่ไถ่ถอนจำนองนั้นมาจดทะเบียนจำนองต่อผู้คัดค้านในทันที กรณีจึงเป็นเพียงการเปลี่ยนสถาบันการเงินผู้รับจำนอง เช่นนี้ การจดทะเบียนจำนองที่ดินระหว่างจำเลยที่ 2 และผู้คัดค้านเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2549 จึงเป็นเพียงสัญญาจำนองที่สืบเนื่องมาจากสัญญาจำนองเดิมเท่านั้น ไม่อาจถือได้ว่าเป็นการกระทำโดยมุ่งหมายให้เจ้าหนี้คนหนึ่งคนใดได้เปรียบเจ้าหนี้อื่น ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 115 จึงไม่อาจเพิกถอนการจดทะเบียนจำนองได้ ส่วนที่จำเลยที่ 2 จดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและจำนองที่ดินตามคำร้องแก่ผู้คัดค้าน เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2550 วันที่ 16 พฤษภาคม 2551 วันที่ 2 มิถุนายน 2552 และวันที่ 16 ธันวาคม 2552 นั้น เป็นการกระทำภายหลังจากวันที่จำเลยที่ 2 ถูกศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดแล้ว ซึ่งเมื่อศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ของจำเลยที่ 2 เด็ดขาดแล้ว เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียวมีอำนาจจัดการกิจการและทรัพย์สินของจำเลยที่ 2 ห้ามมิให้จำเลยที่ 2 กระทำการใด ๆ เกี่ยวกับทรัพย์สินหรือกิจการของตน ตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2483 มาตรา 22 และมาตรา 24 ดังนั้น การจดทะเบียนไถ่ถอนจำนองและจำนองที่ดินที่จำเลยที่ 2 กระทำขึ้นในวันดังกล่าวเป็นการต้องห้ามชัดแจ้งโดยกฎหมาย จึงตกเป็นโมฆะตาม ป.พ.พ. มาตรา 150

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 7873/2553 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ การยื่นคำขอรับชำระหนี้หลังพ้นกำหนดในคดีล้มละลาย เจ้าหนี้ต้องยื่นภายใน 2 เดือนนับจากวันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์
เจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ระบุว่า เจ้าหนี้ได้ชำระเงินมัดจำและราคาบางส่วนตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดให้แก่ลูกหนี้ไปแล้วเป็นเงิน 819,840 บาท เมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ได้ดำเนินการนำห้องชุดที่จะซื้อขายออกขายทอดตลาดโดยมีผู้ซื้อไปแล้วการชำระหนี้ของลูกหนี้จึงตกเป็นพ้นวิสัยทำให้เจ้าหนี้ได้รับความเสียหายจึงขอรับชำระหนี้ตามจำนวนเงินที่เจ้าหนี้ชำระให้แก่ลูกหนี้ เป็นการขอรับชำระหนี้ในหนี้เงินโดยไม่มีเจตนาที่จะขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขาย เจ้าหนี้จึงต้องยื่นคำขอรับชำระหนี้ภายในกำหนดเวลาสองเดือนนับแต่วันโฆษณาคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดตาม พ.ร.บ.ล้มละลาย พ.ศ.2883 มาตรา 27 ประกอบมาตรา 91 เมื่อเจ้าหนี้มิได้ขอให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพยืปฏิบัติตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดก่อน จึงไม่ต้องด้วยกรณีเจ้าหนี้ซึ่งได้รับความเสียหายมีสิทธิขอรับชำระหนี้สำหรับค่าเสียหายตามมาตรา 122 เจ้าหนี้จึงไม่อาจยื่นคำขอรับชำระหนี้ได้ทันทีในเมื่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ยังไม่ยอมรับสิทธิตามสัญญาจะซื้อขายกรรมสิทธิ์ห้องชุดดังกล่าว

คำพิพากษาศาลฎีกาที่ 809/2552 เวอร์ชัน 2 คำพิพากษาฎีกานี้ มีเนื้อหาจากเว็บทางการหลายรูปแบบ

ชื่อเรื่องฎีกานี้ถูกสร้างโดย Ai ทางเว็บขอไม่รับรองความถูกต้อง โปรดตรวจสอบความถูกต้องก่อนนำไปใช้ เจ้าหนี้ต้องแสดงหลักฐานมูลหนี้ในคดีล้มละลายก่อนศาลสั่งพิทักษ์ทรัพย์ มิใช่พึ่งเอกสารในสำนวนศาล
การขอรับชำระหนี้ในคดีล้มละลายไม่ว่าจะเป็นเจ้าหนี้ตามคำพิพากษาหรือเจ้าหนี้ผู้เป็นโจทก์ก็ตาม มีหน้าที่ต้องนำพยานหลักฐานมาแสดงต่อเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ในชั้นสอบสวนเพื่อพิสูจน์ให้เห็นว่า มูลหนี้ที่ยื่นคำขอรับชำระหนี้ยังคงมีอยู่จริงก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์ทรัพย์และลูกหนี้ต้องรับผิดในหนี้ดังกล่าวแม้หนี้ที่ขอรับชำระหนี้จะเป็นมูลหนี้เดียวกับที่โจทก์นำมาฟ้องขอให้ลูกหนี้ล้มละลายก็ตาม ก็หาผูกพันเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือศาลต้องถือตามไม่ ทั้งในการตรวจคำขอรับชำระหนี้ไม่ว่าจะเป็นหนี้ตามคำพิพากษาหรือไม่ เจ้าหนักงานพิทักษ์ทรัพย์มีอำนาจออกหมายเรียกให้เจ้าหนี้ ลูกหนี้ หรือบุคคลใดมาสอบสวนในเรื่องหนี้สินที่ขอรับชำระหนี้ตาม พ.ร.บ. ล้มละลายฯ มาตรา 105 มิใช่หน้าที่ของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ที่จะต้องไปตรวจสอบเอกสารแห่งมูลหนี้ในสำนวนศาลหรือสำนักงานบังคับคดีตามที่เจ้าหนี้กล่าวอ้างแต่ประการใด
เมื่อเจ้าหนี้ไม่นำพยานหลักฐานมาให้การสอบสวนและนำส่งเอกสารตามกำหนดนัดของเจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์โดยไม่แจ้งเหตุขัดข้องใด ๆ ให้ทราบ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์จึงต้องทำความเห็นไปตามพยานหลักฐานเท่าที่ปรากฏในสำนวนการสอบสวน ซึ่งปรากฏว่าเจ้าหนี้ยื่นคำขอรับชำระหนี้ในมูลหนี้ตามคำพิพากษาในคดีแพ่งของศาลจังหวัดระยองโดยมีเพียงสำเนาคำพิพากษาฉบับผู้รับมอบอำนาจเจ้าหนี้รับรองด้วยตนเองแนบท้ายคำขอรับชำระหนี้ สำเนาเอกสารดังกล่าวไม่มีเจ้าหน้าที่ศาลรับรองความถูกต้อง ต้องห้ามมิให้รับฟังตาม ป.วิ.พ. มาตรา 93 ดังนี้ เจ้าหนี้จึงไม่มีพยานหลักฐานใดมานำสืบว่า ลูกหนี้เป็นหนี้เจ้าหนี้ก่อนวันที่ศาลมีคำสั่งพิทักษ์พิทักษ์ทรัพย์เด็ดขาดหรือไม่ เพียงใด ข้อเท็จจริงรับฟังไม่ได้ว่า เจ้าหนี้สิทธิได้รับชำระหนี้ตามคำขอรับชำระหนี้
of 2